สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อีกก้าวของ เศรษฐกิจจีน

จากประชาชาติธุรกิจ

ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่น่าทึ่งอย่างมาก หากมองย้อนกลับไปดูประเทศจีนเมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศซึ่งปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อย่างเคร่งครัด โดยการโอนปัจจัยการผลิตทุกอย่างเข้าเป็นของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน ทุน ยกเว้นแรงงาน ระบบนารวม ระบบคอมมูน กิจการทุกอย่างเป็นของรัฐ

ความอด อยากยากจนปรากฏให้เห็นทั่วไป คนไทยเมื่อจะไปเยี่ยมญาติก็จะไปซื้อจักรยาน ซื้อทองคำ และเตรียมเงินสดไปให้ญาติที่อยู่ที่ประเทศจีน ข่าวเรื่องความยากจนอดอยากในประเทศจีน เป็นข่าวปกติที่ประเทศตะวันตกนำไปทำโฆษณาชวนเชื่อ เป็นเรื่องปกติของการทำสงครามเย็นในยุคนั้น

หลังจากที่จีนได้ปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ด้วย "นโยบาย 4 ทันสมัย" ของเติ้ง เสี่ยวผิง ที่ว่า "ไม่ว่าจะเป็นแมวดำแมวขาว ขอให้จับหนูได้ ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี"

จีน ประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจโดยการเปิดเสรีในด้านการผลิต การลงทุน และการตลาด เชื้อเชิญให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ ราคาสินค้าและบริการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามกลไกตลาด ทำให้รัฐวิสาหกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ ที่ประสบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ต้องถูกขายออกหรือยกเลิกไป ถ้าไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในตลาด

หลังจาก นั้น เศรษฐกิจของประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด การลงทุนจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างก็หลั่งไหลเข้าไปลงทุน โดยอาศัยกำลังซื้อหรือตลาดภายในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเป็นตลาด หลัก จีนเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นเงื่อนไขหลักในการอนุญาตให้กับการเข้ามาลง ทุน การลงทุนจากต่างประเทศจะต้องมีเงื่อนไขในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็น ปัจจัยสำคัญ ถึงอย่างนั้นทุนจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทุนจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และที่อื่นก็ยังหลั่งไหลเข้าไปลงทุนในประเทศจีนอย่างมากมาย

ในไม่ช้า จีนก็สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมทุกชนิดได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเหล็ก วัตถุที่เป็นโลหะอย่างอื่น ปิโตรเคมี วัสดุต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมอวกาศและดาวเทียม ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมจีนสามารถบุกตีตลาดต่าง ๆ ได้ทั่วโลก ด้วยสินค้ามีราคาถูกและคุณภาพใช้ได้ เป็นเหตุให้สินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เคยมีราคาแพงเพราะถูกผูกขาดโดยประเทศตะวันตก มีราคาถูกลงและสูญเสียตลาดให้กับประเทศจีนไปพร้อมกัน

ประมาณการกัน ว่าสินค้าและบริการที่จีนผลิตมีสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก ในขณะเดียวกันการค้าระหว่างประเทศก็เป็นของจีนในสัดส่วนเดียวกัน คือประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ด้วย เศรษฐกิจของจีนจึงมีขนาดใหญ่เป็นที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา มีการพยากรณ์กันว่า ถ้าหากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐอเมริกายังอยู่ในระดับที่ เป็นอยู่อย่างปัจจุบัน ขนาดเศรษฐกิจของจีนจะแซงหน้าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า จีนจะเป็นอภิมหาอำนาจแซงหน้าสหรัฐในอนาคตข้างหน้า เพราะรายได้ต่อหัวและระดับความสามารถในด้านเทคโนโลยี ทั้งในด้านพลเรือนและการทหาร ยังต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาอยู่มาก

แม้ว่า ในด้านการผลิตและการค้า จีนจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา แต่อิทธิพลทางด้านตลาดทุนและการเงินนั้น จีนยังมีอิทธิพลต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น อยู่เป็นอันมาก

สหรัฐ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น มีอิทธิพลเหนือกว่าธนาคารโลก เหนือกว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF รวมทั้งธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB อยู่เป็นอันมาก เงินทุนที่เกินดุลการค้าและดุลบัญชีดิน สะพัด ก็ไหลกลับไปซื้อพันธบัตรหรือลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทเอกชนในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อชดเชยการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกาและยุโรป รวมทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอื่น ๆ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนประกาศตั้งธนาคารระหว่างประเทศที่ตนเองจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ "ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย" หรือ AIIB ใน การจัดตั้งธนาคารระหว่างประเทศแห่งนี้ สหรัฐ ญี่ปุ่นพยายามขัดขวาง เพราะจะเป็นการลดความสำคัญของธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชียลง แต่ก็มีหลายประเทศที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐสมัครร่วมลงทุน เพื่อจะได้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง เช่น ไทย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น แม้แต่ไต้หวันก็พยายามเป็นสมาชิกแต่ได้รับการปฏิเสธ ทุนเริ่มต้น 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จีนจะถือหุ้น 50,000 ล้านเหรียญ ที่เหลือจัดโควตาให้ประเทศต่าง ๆ เข้าใจว่ามีประเทศต่าง ๆ จองถือครบแล้ว

ดังนั้น "ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย" ก็จะเป็นทางเลือกสำหรับการกู้ยืมเงินระยะยาว เพื่อการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มเติมจากธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา

ในการ ประชุมระดับเจ้าหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนที่แล้ว เพื่อกำหนดน้ำหนักของเงินตราสกุลหลักในตะกร้าที่ไอเอ็มเอฟใช้กำหนดค่าเงิน SDR (Special Drawing Rights) หรือ "สิทธิถอนเงินพิเศษ" ซึ่งเป็นเงินตราที่ออกโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้บรรจุเงินหยวนของจีน หรืออีกชื่อหนึ่ง "เหรินหมินปี้" หรือ "เงินประชาชน" เข้า ในตะกร้าเงินที่ SDR ใช้เทียบค่าเงินด้วย เพื่อให้กองทุนการเงินฯนับเงินหยวนของจีนที่ถือโดยธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เข้าเป็น "ทุนสำรอง" ของธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ด้วย โดยให้เหตุผลว่า เศรษฐกิจของจีนใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐ ธุรกรรมในตลาดการค้าของโลกที่เกิดขึ้นจากการส่งออกนำเข้าก็เป็นของจีนกว่า ร้อยละ 25 ของการค้าระหว่างประเทศ

จากการประมาณการของจีน ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ถือเงินหยวนเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2558 นี้ ประมาณ 666,700 ล้านหยวน หรือมีมูลค่าประมาณ 107,410 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยทุนสำรองของธนาคารทั่วโลกมีประมาณ 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเงินดอลลาร์ร้อยละ 60 ยูโรร้อยละ 23 เป็นเงินเยนร้อยละ 4 และร้อยละ 3.9 เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ถือเงินหยวนรองลงมาจากเงินดอลลาร์แคนาดาและออสเตรเลีย

การยอมรับเงิน หยวนในการใช้ชำระหนี้ก็มีมากขึ้นอย่างมากในระยะหลัง ๆ กล่าวคือ จากตัวเลขของทางการจีน ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศของจีนที่ทำในรูปของเงินหยวน เพิ่มขึ้นจาก 0.2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2552 เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557 ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดที่เหนือการคาดหมายมาก

การต่อรองระหว่างกองทุน การเงินระหว่างประเทศกับธนาคารกลางของจีนในประเด็นนี้ก็คือ ถ้าจีนจะให้ไอเอ็มเอฟประกาศรับรองให้เงินหยวนของจีน เป็นเงินที่ประเทศต่าง ๆ สามารถถือเป็นทุนสำรองของทางการได้ ก็ต่อเมื่อทางการจีนยอมเปิดเสรีทางการเงิน การเคลื่อนย้ายเงินทุนต้องเป็นไปอย่างเสรี การชำระค่าสินค้าและบริการในรูปของเงินหยวนต้องทำได้อย่างเสรีกว่าที่เป็น อยู่ในขณะนี้ จีนต้องยอมให้ผู้นำเข้าส่งออกในจีนสามารถรับและจ่ายเป็นเงินหยวนได้อย่าง เสรี อนุญาตให้ต่างชาติสามารถลงทุนในพันธบัตรและตราสารในรูปของเงินหยวนได้ อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องเคลื่อนไหวอย่างเสรี รวมทั้งจีนต้องเปิดสถาบันประกันเงินฝากด้วย เงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าวล้วนเป็นคุณสมบัติของเงินดอลลาร์ เงินยูโร เงินเยน และเงินปอนด์สเตอร์ลิงอยู่แล้ว

การเจรจาต่อรองระหว่างกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศกับจีน เพื่อให้ไอเอ็มเอฟประกาศรับเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินที่จะนับเป็นทุนสำรอง ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ หรือเป็น "Reserve Currency" ก็เท่ากับเป็นการเจรจาต่อรองระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา หรือระหว่างพญาอินทรีกับพญามังกร

คง จะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จีนจะยอมเปิดเสรีตลาดทุน ลดการควบคุมตลาดเงินตลาดทุนลง ยอมให้อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงได้อย่างเสรี เพื่อแลกกับการยอมรับเงินหยวนให้เป็นเงินที่ถูกนับเป็นทุนสำรองระหว่าง ประเทศอย่างเป็นทางการ

ต้องคอยดูลีลาของพญามังกรกับพญาอินทรีต่อไป


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อีกก้าว เศรษฐกิจจีน

view