สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฝึกบริหารธุรกิจจากโจทย์จริง

ฝึกบริหารธุรกิจจากโจทย์จริง

โดย :
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634933#sthash.jVE7kF8f.dpuf

ฝึกบริหารธุรกิจจากโจทย์จริง
โดย : เรวัต ตันตยานนท์
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




แนว ทางในการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริง และได้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมนำเสนอตลาด เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักศึกษา

ความประทับใจและที่มาของเรื่องราวในสัปดาห์นี้เกิดขึ้นมาจาก การที่ผมได้รับเชิญจาก รศ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบการเรียนการสอน MBA วิชาการจัดการการตลาด ของวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารกรุงเทพประกันภัย ถนนสาทร ให้ไปร่วมเป็นกรรมการตัดสินผลงานของนักศึกษาร่วมกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อื่นๆ อีก 9 ท่าน

แนวทางในการเรียนการสอนในเทอมที่ผ่านมาเป็นการแนะนำให้นักศึกษาให้เข้าใจ ถึงการจัดการการตลาด โดยเน้นไปที่ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ที่นี่ นักศึกษาจะได้โอกาสเรียนรู้ภาคทฤษฏีและได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจถึงเนื้อหาและหัวใจสำคัญของทฤษฏีด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง

โจทย์ที่อาจารย์มอบให้กับนักศึกษาก็คือ เรื่องของการทำการตลาดและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับข้าวหอมมะลิ 100% ของจังหวัดลพบุรี โดยนักศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 จำนวนกลุ่มละประมาณ 6-7 คน จะต้องจัดทำแผนการตลาดพร้อมกับต้นแบบเท่าจริง (Mock-up) ของบรรจุภัณฑ์มานำเสนอในตอนท้ายของวิชา

เพื่อให้นักศึกษาทั้ง 10 กลุ่มได้มีกรอบในการฝึกปฏิบัติจริง อาจารย์ได้กำหนดโจทย์ให้เหมือนๆ กัน ดังนี้:

ทางจังหวัดลพบุรีได้ส่งเสริมข้าวหอมมะลิ 100% พันธุ์ 105 แก่เกษตรกรชาวนาและสหกรณ์การเกษตร ด้วยคุณภาพข้าวหอมมะลิจังหวัดลพบุรีมีขนาดเมล็ดข้าวขาวยาว เมื่อหุงแล้วเมล็ดสวย มีกลิ่นหอมไม่แพ้ข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ในฤดูกาลนี้มีจำนวน 1,500 ตัน จะต้องสร้างยอดขายเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ภายใน 12 เดือน และมีเงื่อนไขพิเศษที่ทางจังหวัดลพบุรีต้องการ คือ ตัองใช้วัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือวัสดุที่สามารถแปรสภาพเป็นวัสดุใหม่และนำกลับมาใช้ได้อีก (Recycle) เพื่อให้มีความแตกต่างจากถุงพลาสติกที่ใช้กันอยู่ ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายในธรรมชาติได้ยาก มีขนาดจำหน่าย 2 กก. และ 5 กก.

นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องกำหนดตราสินค้าขึ้นเอง ตลอดจนตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูล รายละเอียด และความสมบูรณ์ของบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับตลาดกลุ่มเป้าหมาย

และต้องทำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบในลักษณะที่สามารถนำไปวางจำหน่ายได้จริง (บรรจุข้าวสารตามจำนวนบรรจุจริง) โดยจะต้องคำนวณถึงต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไร เพื่อกำหนดราคาจัดจำหน่ายทั้งปลีกและราคาส่ง โดยให้เกษตรกรชาวนาหรือสหกรณ์การเกษตรจัดจำหน่ายได้เอง เพื่อลดจำนวนพ่อค้าคนกลางและไม่ผ่านช่องทางซุปเปอร์มาร์เก็ตและซุป เปอร์สโตร์ที่มีการเรียกค่าเข้าวางจำหน่ายในราคาสูง

ทั้งนี้ นักศึกษาทุกกลุ่มจะมีโอกาสได้พบปะ พูดคุย และสัมภาษณ์ กลุ่มเกษตรกรชาวนา หรือสหกรณ์การเกษตรของจังหวัดลพบุรี เพื่อหาข้อมูลจริงได้อย่างเต็มที่ ตามที่แต่ละกลุ่มต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาเรียนตามที่กำหนดไว้

ในวันเสนอผลงาน รศ.ดร.ครรชิตพล ได้เชิญกรรมการภายนอกจำนวน 10 ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในด้านบริหารธุรกิจหลากหลาย รวมทั้งนักวิชาการจากกรมการข้าว มาร่วมตัดสินและให้ข้อเสนอแนะกับผลงานของนักศึกษา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนานและตื่นเต้นสำหรับทั้งนักศึกษาและกรรมการ ประเมินผล

นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะได้พื้นที่แสดงผลงานเป็นโต๊ะ จำนวนกลุ่มละ 1 ตัว เพื่อจัดแสดงและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และเตรียมพร้อมสำหรับการตอบคำถาม เพิ่มเติม

อาจารย์ผู้สอน ได้กำหนดให้กรรมการประเมินผลใน 10 ประเด็นสำคัญที่สอดคล้องกับความรู้ภาคทฤษฎีที่ให้กับนักศึกษาไปก่อนล่วงหน้า ซึ่งได้แก่

1. ชื่อตราสินค้าและตราสินค้าสามารถรับรู้และกระตุ้นถึงความต้องการผู้บริโภค

2. ความสมบูรณ์ครบถ้วนองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ซึ่งรวมถึงหน้าที่ประโยชน์และความสะดวกเหมาะสมกับการใช้งาน

3. วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์

5. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้สวยงาม สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

6. บรรจุภัณฑ์สื่อสารถึงเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิจังหวัดลพบุรี

7. บรรจุภัณฑ์สื่อสารถึงความถูกต้องน่าเชื่อถือและความมั่นใจในคุณภาพข้าวหอมมะลิ จังหวัดลพบุรี

8. บรรจุภัณฑ์สามารถวางจำหน่ายในช่องทางการค้าปลีกและช่องทางการค้าส่ง

9. บรรจุภัณฑ์แสดงถึงคุณภาพข้าวหอมมะลิจังหวัดลพบุรี เหมาะสมกับราคาที่ตั้งไว้

10. ความประทับใจโดยรวมของกรรมการผู้ประเมิน

ผลงานของนักศึกษาที่ได้ออกมาก็คือ ข้าวหอมตราสินค้าต่างๆ เช่น ตราละโว้ ตราปรางค์สามยอด ตรารวงนารายณ์ ตรารวงพิกุล ตรารวงทอง ตราลักษณ์ ตราวันเพ็ญ เป็นต้น ส่วนบรรจุภัณฑ์ก็จะเป็นวัสดุที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น กระดาษที่เคลือบโพลิเมอร์ด้านใน พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือแม้แต่เป็นกระดาษที่ออกแบบให้มีความแข็งแรงเพียงพอ เนื่องจากกระดาษสามารถนำไปใช้ต่อในรูปแบบอื่นๆ หรือแม้แต่จะนำกลับมาทำเป็นเยื่อกระดาษเพื่อการใช้ซ้ำได้

บรรจุภัณฑ์บรรจุข้าวสาร ได้รับการออกแบบให้สามารถนำมาใช้งานอื่นๆ ในบ้านได้ เช่น บ้างก็สามารถนำมาทำเป็นผ้ากันเปื้อน ทำเป็นถุงหิ้วใส่ของ ทำเป็นถุงหรือกระเป๋าขนาดเล็ก ถุงใส่ดินสอสำหรับเด็กนักเรียน ฯลฯ ได้อย่างแยบยล น่าสนใจ ซึ่งแสดงว่านักศึกษาได้ให้ความสำคัญเชิงลึกกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

กรรมการท่านหนึ่งได้ทดสอบความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ของทุกกลุ่ม ด้วยการโยนลงมาจากความสูงที่ประมาณ 1 เมตร ซึ่งพบว่าทุกกลุ่มสามารถผ่านการทดสอบที่ไม่คาดฝันนี้ได้

ต้องชื่นชมว่า เป็นแนวทางในการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริง และได้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมนำเสนอต่อตลาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักศึกษา ให้เตรียมรับกับปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์จริงในการประกอบอาชีพหรือ การทำงานต่อไปในอนาคต

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634933#sthash.jVE7kF8f.dpuf

แนวทางในการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริง และได้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมนำเสนอตลาด เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักศึกษา

ความประทับใจและที่มาของเรื่องราวในสัปดาห์นี้เกิดขึ้นมาจากการที่ผมได้รับเชิญจาก รศ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบการเรียนการสอน MBA วิชาการจัดการการตลาด ของวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารกรุงเทพประกันภัย ถนนสาทร ให้ไปร่วมเป็นกรรมการตัดสินผลงานของนักศึกษาร่วมกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ อีก 9 ท่าน

แนวทางในการเรียนการสอนในเทอมที่ผ่านมาเป็นการแนะนำให้นักศึกษาให้เข้าใจถึงการจัดการการตลาด โดยเน้นไปที่ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ที่นี่ นักศึกษาจะได้โอกาสเรียนรู้ภาคทฤษฏีและได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจถึงเนื้อหาและหัวใจสำคัญของทฤษฏีด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง

โจทย์ที่อาจารย์มอบให้กับนักศึกษาก็คือ เรื่องของการทำการตลาดและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับข้าวหอมมะลิ 100% ของจังหวัดลพบุรี โดยนักศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 จำนวนกลุ่มละประมาณ 6-7 คน จะต้องจัดทำแผนการตลาดพร้อมกับต้นแบบเท่าจริง (Mock-up) ของบรรจุภัณฑ์มานำเสนอในตอนท้ายของวิชา

เพื่อให้นักศึกษาทั้ง 10 กลุ่มได้มีกรอบในการฝึกปฏิบัติจริง อาจารย์ได้กำหนดโจทย์ให้เหมือนๆ กัน ดังนี้:

ทางจังหวัดลพบุรีได้ส่งเสริมข้าวหอมมะลิ 100% พันธุ์ 105 แก่เกษตรกรชาวนาและสหกรณ์การเกษตร ด้วยคุณภาพข้าวหอมมะลิจังหวัดลพบุรีมีขนาดเมล็ดข้าวขาวยาว เมื่อหุงแล้วเมล็ดสวย มีกลิ่นหอมไม่แพ้ข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ในฤดูกาลนี้มีจำนวน 1,500 ตัน จะต้องสร้างยอดขายเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ภายใน 12 เดือน และมีเงื่อนไขพิเศษที่ทางจังหวัดลพบุรีต้องการ คือ ตัองใช้วัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือวัสดุที่สามารถแปรสภาพเป็นวัสดุใหม่และนำกลับมาใช้ได้อีก (Recycle) เพื่อให้มีความแตกต่างจากถุงพลาสติกที่ใช้กันอยู่ ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายในธรรมชาติได้ยาก มีขนาดจำหน่าย 2 กก. และ 5 กก.

นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องกำหนดตราสินค้าขึ้นเอง ตลอดจนตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูล รายละเอียด และความสมบูรณ์ของบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับตลาดกลุ่มเป้าหมาย

และต้องทำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบในลักษณะที่สามารถนำไปวางจำหน่ายได้จริง (บรรจุข้าวสารตามจำนวนบรรจุจริง) โดยจะต้องคำนวณถึงต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไร เพื่อกำหนดราคาจัดจำหน่ายทั้งปลีกและราคาส่ง โดยให้เกษตรกรชาวนาหรือสหกรณ์การเกษตรจัดจำหน่ายได้เอง เพื่อลดจำนวนพ่อค้าคนกลางและไม่ผ่านช่องทางซุปเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์สโตร์ที่มีการเรียกค่าเข้าวางจำหน่ายในราคาสูง

ทั้งนี้ นักศึกษาทุกกลุ่มจะมีโอกาสได้พบปะ พูดคุย และสัมภาษณ์ กลุ่มเกษตรกรชาวนา หรือสหกรณ์การเกษตรของจังหวัดลพบุรี เพื่อหาข้อมูลจริงได้อย่างเต็มที่ ตามที่แต่ละกลุ่มต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาเรียนตามที่กำหนดไว้

ในวันเสนอผลงาน รศ.ดร.ครรชิตพล ได้เชิญกรรมการภายนอกจำนวน 10 ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในด้านบริหารธุรกิจหลากหลาย รวมทั้งนักวิชาการจากกรมการข้าว มาร่วมตัดสินและให้ข้อเสนอแนะกับผลงานของนักศึกษา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนานและตื่นเต้นสำหรับทั้งนักศึกษาและกรรมการประเมินผล

นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะได้พื้นที่แสดงผลงานเป็นโต๊ะ จำนวนกลุ่มละ 1 ตัว เพื่อจัดแสดงและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และเตรียมพร้อมสำหรับการตอบคำถามเพิ่มเติม

อาจารย์ผู้สอน ได้กำหนดให้กรรมการประเมินผลใน 10 ประเด็นสำคัญที่สอดคล้องกับความรู้ภาคทฤษฎีที่ให้กับนักศึกษาไปก่อนล่วงหน้า ซึ่งได้แก่

1. ชื่อตราสินค้าและตราสินค้าสามารถรับรู้และกระตุ้นถึงความต้องการผู้บริโภค

2. ความสมบูรณ์ครบถ้วนองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ซึ่งรวมถึงหน้าที่ประโยชน์และความสะดวกเหมาะสมกับการใช้งาน

3. วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์

5. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้สวยงาม สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

6. บรรจุภัณฑ์สื่อสารถึงเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิจังหวัดลพบุรี

7. บรรจุภัณฑ์สื่อสารถึงความถูกต้องน่าเชื่อถือและความมั่นใจในคุณภาพข้าวหอมมะลิ จังหวัดลพบุรี

8. บรรจุภัณฑ์สามารถวางจำหน่ายในช่องทางการค้าปลีกและช่องทางการค้าส่ง

9. บรรจุภัณฑ์แสดงถึงคุณภาพข้าวหอมมะลิจังหวัดลพบุรี เหมาะสมกับราคาที่ตั้งไว้

10. ความประทับใจโดยรวมของกรรมการผู้ประเมิน

ผลงานของนักศึกษาที่ได้ออกมาก็คือ ข้าวหอมตราสินค้าต่างๆ เช่น ตราละโว้ ตราปรางค์สามยอด ตรารวงนารายณ์ ตรารวงพิกุล ตรารวงทอง ตราลักษณ์ ตราวันเพ็ญ เป็นต้น ส่วนบรรจุภัณฑ์ก็จะเป็นวัสดุที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น กระดาษที่เคลือบโพลิเมอร์ด้านใน พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือแม้แต่เป็นกระดาษที่ออกแบบให้มีความแข็งแรงเพียงพอ เนื่องจากกระดาษสามารถนำไปใช้ต่อในรูปแบบอื่นๆ หรือแม้แต่จะนำกลับมาทำเป็นเยื่อกระดาษเพื่อการใช้ซ้ำได้

บรรจุภัณฑ์บรรจุข้าวสาร ได้รับการออกแบบให้สามารถนำมาใช้งานอื่นๆ ในบ้านได้ เช่น บ้างก็สามารถนำมาทำเป็นผ้ากันเปื้อน ทำเป็นถุงหิ้วใส่ของ ทำเป็นถุงหรือกระเป๋าขนาดเล็ก ถุงใส่ดินสอสำหรับเด็กนักเรียน ฯลฯ ได้อย่างแยบยล น่าสนใจ ซึ่งแสดงว่านักศึกษาได้ให้ความสำคัญเชิงลึกกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

กรรมการท่านหนึ่งได้ทดสอบความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ของทุกกลุ่ม ด้วยการโยนลงมาจากความสูงที่ประมาณ 1 เมตร ซึ่งพบว่าทุกกลุ่มสามารถผ่านการทดสอบที่ไม่คาดฝันนี้ได้

ต้องชื่นชมว่า เป็นแนวทางในการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริง และได้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมนำเสนอต่อตลาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักศึกษา ให้เตรียมรับกับปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์จริงในการประกอบอาชีพหรือการทำงานต่อไปในอนาคต



สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ฝึกบริหารธุรกิจ โจทย์จริง

view