สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยกเครื่องเรื่องการลงทุน

ยกเครื่องเรื่องการลงทุน”
โดย : ดร.วิรไท สันติประภพ
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยเวลานี้ดูจะทำงานตะกุกตะกักอยู่หลายตัว คนพูดกันมากเรื่องการบริโภคชะลอตัวเพราะหนี้ครัวเรือนสูง

ในขณะที่รายได้ของครัวเรือนไม่เพิ่มขึ้น การส่งออกหดตัวต่อเนื่องมาหลายเดือนเพราะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า และสินค้าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน  เห็นข่าวเกี่ยวกับการใช้จ่ายของภาครัฐเริ่มใจชื้นขึ้นบ้าง เครื่องยนต์เริ่มติดแม้ว่าจะยังเดินหน้าไม่เต็มที่ มีอีกหนึ่งเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยที่คนไม่ค่อยพูดถึงกัน คือการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งสถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วง

การลงทุนของภาคเอกชนสำคัญมากเพราะจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว การลงทุนจะช่วยสร้างการจ้างงานเพิ่ม ซึ่งจะช่วยให้การบริโภคของประชาชนขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง การปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยต้องอาศัยการลงทุนของภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญ โครงสร้างอุตสาหกรรมไทยต้องมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมทันสมัยที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยแข็งแรงขึ้นได้ทั้งระบบ  

ทำไมผมถึงคิดว่าสถานการณ์การลงทุนของภาคเอกชนน่าเป็นห่วง ข้อมูลการลงทุนจากฐานข้อมูลต่างๆ ส่งสัญญาณเตือนภัยในหลายมิติ มิติแรก ตัวเลขการลงทุนโดยรวมของภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำ ท่วมใหญ่ การลงทุนซ่อมแซมโรงงานและเครื่องจักรที่เสียหายจาก เหตุการณ์น้ำท่วมช่วยให้ตัวเลขการลงทุนสูงขึ้น 2-3ไตรมาส แต่หลังจากผ่านช่วงซ่อมแซมแล้ว การลงทุนของภาคเอกชนก็ลดลงมาเรื่อยๆ 

มิติที่สอง การลงทุนของภาคเอกชนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระจุกตัวอยู่ในไม่กี่อุตสาหกรรม ได้แก่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ได้รับอานิสงค์จากการประมูล 3G  อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และการขนส่งซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าเครื่องบินใหม่ของการบินไทยและสายการบิน ต้นทุนต่ำ การลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้มักเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนอุปกรณ์เก่า มากกว่าที่จะสร้างฐานการผลิตใหม่ให้แก่ประเทศ ถ้าหักข้อมูลของสามอุตสาหกรรมนี้ออกแล้ว จะพบว่าการลงทุนของอุตสาหกรรมอื่นน่าเป็นห่วงมาก ตัวเลขการนำเข้าเครื่องจักรซึ่งสามารถสะท้อนการลงทุนในภาพใหญ่ได้ดีหดตัวต่อเนื่องมาเกือบ 3 ปีแล้ว 

มิติที่สาม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีแนวโน้มไปสู่ภาคบริการมากกว่าอุตสาหกรรมการผลิต และ การลงทุนขนาดใหญ่หลายกรณีเป็นการซื้อหุ้นของกิจการที่มีอยู่แต่เดิม (เช่น ซื้อหุ้นธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย) มากกว่าที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิต อุตสาหกรรมใหม่ๆ

มิติที่สี่ ถ้าดูเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในช่วงห้าปีหลังต่างจากช่วงห้าถึงสิบปีที่แล้ว  ซึ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมพระเอก (champion industries)  เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิคส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีหลังกระจายตัวอยู่ใน อุตสาหกรรมพระรอง (support industries) เช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และกระดาษ  อุตสาหกรรมพระรองผลิตวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมอื่นๆ อีกที ทำให้เรามองไม่ออกว่าอุตสาหกรรมใดจะขับเคลื่อนภาคการผลิตไทยในอนาคต และอุตสาหกรรมพระรองไม่ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยและเศรษฐกิจไทยได้อย่างก้าวกระโดดเหมือนกับอุตสาหกรรมพระเอก 

มิติที่ห้า ถ้าศึกษาข้อมูลโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และใบอนุญาตขอเปิดโรงงานใหม่จะได้ภาพที่คล้ายกันว่าขนาดของโครงการลงทุนหรือโรงงานที่เปิดใหม่มีขนาดเล็กลง สะท้อนว่าโครงการส่วนใหญ่เป็นการขยายกำลังการผลิตต่อยอดโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว มากกว่าที่จะเป็นการตั้งฐานการผลิตใหม่

มิติที่หก ไม่ใช่แต่นักลงทุนต่างชาติเท่านั้น ที่สนใจลงทุนในประเทศไทยน้อยลง นักธุรกิจไทยมีแนวโน้มไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤติการ เงินโลกในปี 2551 ธุรกิจยักษ์ใหญ่ของไทยหลายแห่งเห็นโอกาสที่จะไปซื้อสินทรัพย์ราคาถูกและขยาย ฐานการผลิตในต่างประเทศ ในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ ธุรกิจไทยขนาดกลางออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานสูงซึ่งถูกกระทบจากนโยบายค่าแรง 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ หลายธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านเพราะนอกจากค่าแรงถูกกว่า แล้ว ตลาดของประเทศเพื่อนบ้านกำลังขยายตัว และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจากประเทศใหญ่ๆ หลายประเทศด้วย

การชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนน่ากังวลมาก เพราะในขณะที่การลงทุนในประเทศไทยหดตัว การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านกลับขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งสามประเทศมีขนาดของประชากรที่ใหญ่กว่าเรามาก และเป็นประชากรวัยหนุ่มสาวที่เป็นทั้งแรงงานและกำลังซื้อ การขยายตัวของการลงทุนในประเทศเหล่านี้ไม่ได้ตอบสนองตลาดในประเทศเท่านั้น แต่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญสำหรับการส่งออกด้วย  จึงไม่น่าประหลาดใจ ที่สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการ (โดยเฉพาะสินค้าที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว) ต้องสูญเสียสัดส่วนการตลาดให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ เราเคยเชื่อว่าตลาดญี่ปุ่นเป็นของตายเพราะบริษัทญี่ปุ่นมีฐานการผลิตใหญ่ อยู่ในประเทศไทย แต่กลับพบว่าสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการมีสัดส่วนตลาดในญี่ปุ่นลดลง คงเป็นเพราะบริษัทญี่ปุ่นไปลงทุนโครงการใหม่ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ นักอุตสาหกรรมบางท่านเกรงว่านโยบาย Thailand Plus One ของบริษัทญี่ปุ่น จะเป็นนโยบาย Exit Thailand เราต้องไม่ลืมว่าคนญี่ปุ่นสุภาพไม่พูดตรงๆ 

ถ้ารัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกับการปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจไทยให้เกิดผลต่อเนื่องทั้งวันนี้และวันหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง “ยกเครื่องเรื่องการลงทุนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม การ ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมทันสมัยต้องเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์หลักของประเทศ ทำอย่างบูรณาการ และมีผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบพร้อมทั้งมีแผนปฏิบัติการอย่างชัดเจน ควรยกเครื่องเรื่องการลงทุนอย่างน้อยในสี่เรื่องต่อไปนี้

เรื่องแรก จะต้องทำงาน"เชิงรุก"เพื่อดึงบริษัทชั้นนำของโลกให้ตัดสินใจลงทุนในประเทศ ไทยโดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตทันสมัย การตัดสินใจลงทุนของบริษัทชั้นนำจะดึงผู้ผลิตอื่นๆ ในห่วงโซ่การผลิตตามมาอีกมากและสร้างความมั่นใจในประเทศไทย  การทำงานเชิงรุกต้องทำในหลายมิติ ตั้งแต่การกำหนดอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่จะ เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องมี market intelligence ที่รอบด้านเพื่อติดตามแผนการลงทุนของบริษัทชั้นนำอย่างใกล้ชิด และอาจจะต้องพิจารณาว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยควรให้มาตรการจูงใจ แบบเฉพาะเจาะจงสำหรับบริษัทชั้นนำ (customized package) ที่ตรงกับความต้องการของบริษัทเหล่านี้เหมือนกับที่ประเทศคู่แข่งของเรา ทำ มาตรการที่ตรงใจอาจไม่ใช่สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบที่เราให้มาโดยต่อ เนื่อง

เรื่องที่สอง ต้องเร่งสร้างความชัดเจนทางนโยบายในหลายด้าน โดยเฉพาะกรอบส่งเสริมการลงทุนใหม่ของ BOI ที่ประกาศใช้มาแล้วตั้งแต่ต้นปี หลายเรื่องยังขาดความชัดเจน เช่น การส่งเสริมการลงทุนแบบคลัสเตอร์ หรือกลไกการตรวจสอบการปฏิบัติตามเกณฑ์ merit ของ BOI นอกจากนี้ รัฐบาลควรเร่งประกาศรายละเอียดของเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมทันสมัย และอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรม เพิ่มเติมจากเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน ควรสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าว เพราะบริษัทชั้นนำไม่ต้องการเลี่ยงกฎหมายด้วยการใช้ nominee และต้องการทราบถึงแนวทางการเปิดเสรีภาคบริการที่อยู่ในบัญชีแนบท้าย

เรื่องที่สาม ต้องแสดงให้เห็นว่ารัฐไทยมีประสิทธิภาพ กล้าตัดสินใจ และทำได้จริง ความมั่นใจในประสิทธิภาพของรัฐไทยเสื่อมลงมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ใหญ่ ตามมาด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้รัฐไทยเป็นอัมพาต และข่าวร้าย เกี่ยวกับความล้มเหลวของหน่วยงานราชการตั้งแต่เรื่อง ICAO และ IUU  จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานราชการไทยมี ประสิทธิภาพ และไม่ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ทำให้การปฏิรูปการศึกษาเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม (โดยเฉพาะอาชีวะศึกษา และการผลิตแรงงานมีทักษะ) ต้องเริ่มกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ต้องแก้ปัญหาหน่วยงานราชการที่เป็นปัญหาแก่ภาคธุรกิจ (เช่น ทบทวนระบบรางวัลนำจับของศุลกากร ปรับกระบวนการต่ออายุ visa สำหรับนักธุรกิจต่างชาติ) รัฐบาลต้องเดินหน้าจัดการการทุจริตคอรัปชั่นที่ เป็นต้นทุนแฝงของธุรกิจเอกชนโดยต่อเนื่อง และที่สำคัญจะต้องเร่งเปิดประมูลโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ที่ประกาศไปนานแล้ว ให้เดินเครื่องได้จริงโดยเร็ว

เรื่องที่สี่ ควรกำหนดจุดยืนของประเทศไทยเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ โดยเฉพาะข้อตกลง Trans Pacific Partnership (TPP) ซึ่งมีแนวโน้มจะเจรจาได้สำเร็จหลังจากที่รัฐสภาอเมริกาให้อำนาจประธานาธิบดี โอบามาเดินหน้าแบบ fast track ข้อตกลง TPP จะเป็นมาตรฐานการค้าใหม่ของโลก เพื่อนบ้านสำคัญของเราสามประเทศคือ เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ ร่วมอยู่ในข้อตกลง TPP กลุ่มแรกแล้ว ส่งผลให้ธุรกิจที่ไปลงทุนในประเทศเหล่านี้จะได้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ระหว่างประเทศดีกว่าการตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับการส่งออกสินค้าไปสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น 

ถ้าเราไม่เร่งยกเครื่องเรื่องการลงทุนของภาคเอกชนให้เกิดผลอย่าง เป็นรูปธรรม  การปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยจะไม่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกกี่รอบ เศรษฐกิจไทยก็จะอ่อนไหว เปราะบาง และตะกุกตะกักไปอีกนาน

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634986#sthash.ZnyScTBR.dpuf

เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยเวลานี้ดูจะทำงานตะกุกตะกักอยู่หลายตัว คนพูดกันมากเรื่องการบริโภคชะลอตัวเพราะหนี้ครัวเรือนสูง

ในขณะที่รายได้ของครัวเรือนไม่เพิ่มขึ้น การส่งออกหดตัวต่อเนื่องมาหลายเดือนเพราะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า และสินค้าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน  เห็นข่าวเกี่ยวกับการใช้จ่ายของภาครัฐเริ่มใจชื้นขึ้นบ้าง เครื่องยนต์เริ่มติดแม้ว่าจะยังเดินหน้าไม่เต็มที่ มีอีกหนึ่งเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยที่คนไม่ค่อยพูดถึงกัน คือการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งสถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วง

การลงทุนของภาคเอกชนสำคัญมากเพราะจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว การลงทุนจะช่วยสร้างการจ้างงานเพิ่ม ซึ่งจะช่วยให้การบริโภคของประชาชนขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง การปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยต้องอาศัยการลงทุนของภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญ โครงสร้างอุตสาหกรรมไทยต้องมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมทันสมัยที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยแข็งแรงขึ้นได้ทั้งระบบ  

ทำไมผมถึงคิดว่าสถานการณ์การลงทุนของภาคเอกชนน่าเป็นห่วง ข้อมูลการลงทุนจากฐานข้อมูลต่างๆ ส่งสัญญาณเตือนภัยในหลายมิติ มิติแรก ตัวเลขการลงทุนโดยรวมของภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ การลงทุนซ่อมแซมโรงงานและเครื่องจักรที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมช่วยให้ตัวเลขการลงทุนสูงขึ้น 2-3ไตรมาส แต่หลังจากผ่านช่วงซ่อมแซมแล้ว การลงทุนของภาคเอกชนก็ลดลงมาเรื่อยๆ

มิติที่สอง การลงทุนของภาคเอกชนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระจุกตัวอยู่ในไม่กี่อุตสาหกรรม ได้แก่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ได้รับอานิสงค์จากการประมูล 3G  อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ และการขนส่งซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าเครื่องบินใหม่ของการบินไทยและสายการบินต้นทุนต่ำ การลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้มักเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนอุปกรณ์เก่า มากกว่าที่จะสร้างฐานการผลิตใหม่ให้แก่ประเทศ ถ้าหักข้อมูลของสามอุตสาหกรรมนี้ออกแล้ว จะพบว่าการลงทุนของอุตสาหกรรมอื่นน่าเป็นห่วงมาก ตัวเลขการนำเข้าเครื่องจักรซึ่งสามารถสะท้อนการลงทุนในภาพใหญ่ได้ดีหดตัวต่อเนื่องมาเกือบ 3 ปีแล้ว

มิติที่สาม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีแนวโน้มไปสู่ภาคบริการมากกว่าอุตสาหกรรมการผลิต และการลงทุนขนาดใหญ่หลายกรณีเป็นการซื้อหุ้นของกิจการที่มีอยู่แต่เดิม (เช่น ซื้อหุ้นธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย) มากกว่าที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ๆ

มิติที่สี่ ถ้าดูเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในช่วงห้าปีหลังต่างจากช่วงห้าถึงสิบปีที่แล้ว  ซึ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมพระเอก (champion industries)  เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิคส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีหลังกระจายตัวอยู่ในอุตสาหกรรมพระรอง (support industries) เช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และกระดาษ  อุตสาหกรรมพระรองผลิตวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมอื่นๆ อีกที ทำให้เรามองไม่ออกว่าอุตสาหกรรมใดจะขับเคลื่อนภาคการผลิตไทยในอนาคต และอุตสาหกรรมพระรองไม่ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยและเศรษฐกิจไทยได้อย่างก้าวกระโดดเหมือนกับอุตสาหกรรมพระเอก

มิติที่ห้า ถ้าศึกษาข้อมูลโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และใบอนุญาตขอเปิดโรงงานใหม่จะได้ภาพที่คล้ายกันว่าขนาดของโครงการลงทุนหรือโรงงานที่เปิดใหม่มีขนาดเล็กลง สะท้อนว่าโครงการส่วนใหญ่เป็นการขยายกำลังการผลิตต่อยอดโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว มากกว่าที่จะเป็นการตั้งฐานการผลิตใหม่

มิติที่หก ไม่ใช่แต่นักลงทุนต่างชาติเท่านั้นที่สนใจลงทุนในประเทศไทยน้อยลง นักธุรกิจไทยมีแนวโน้มไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกในปี 2551 ธุรกิจยักษ์ใหญ่ของไทยหลายแห่งเห็นโอกาสที่จะไปซื้อสินทรัพย์ราคาถูกและขยายฐานการผลิตในต่างประเทศ ในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ ธุรกิจไทยขนาดกลางออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานสูงซึ่งถูกกระทบจากนโยบายค่าแรง 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ หลายธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านเพราะนอกจากค่าแรงถูกกว่าแล้ว ตลาดของประเทศเพื่อนบ้านกำลังขยายตัว และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจากประเทศใหญ่ๆ หลายประเทศด้วย

การชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนน่ากังวลมาก เพราะในขณะที่การลงทุนในประเทศไทยหดตัว การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านกลับขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งสามประเทศมีขนาดของประชากรที่ใหญ่กว่าเรามาก และเป็นประชากรวัยหนุ่มสาวที่เป็นทั้งแรงงานและกำลังซื้อ การขยายตัวของการลงทุนในประเทศเหล่านี้ไม่ได้ตอบสนองตลาดในประเทศเท่านั้น แต่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญสำหรับการส่งออกด้วย  จึงไม่น่าประหลาดใจที่สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการ (โดยเฉพาะสินค้าที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว) ต้องสูญเสียสัดส่วนการตลาดให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ เราเคยเชื่อว่าตลาดญี่ปุ่นเป็นของตายเพราะบริษัทญี่ปุ่นมีฐานการผลิตใหญ่อยู่ในประเทศไทย แต่กลับพบว่าสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการมีสัดส่วนตลาดในญี่ปุ่นลดลง คงเป็นเพราะบริษัทญี่ปุ่นไปลงทุนโครงการใหม่ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ นักอุตสาหกรรมบางท่านเกรงว่านโยบาย Thailand Plus One ของบริษัทญี่ปุ่น จะเป็นนโยบาย Exit Thailand เราต้องไม่ลืมว่าคนญี่ปุ่นสุภาพไม่พูดตรงๆ

ถ้ารัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้เกิดผลต่อเนื่องทั้งวันนี้และวันหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง “ยกเครื่องเรื่องการลงทุน” ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมทันสมัยต้องเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์หลักของประเทศ ทำอย่างบูรณาการ และมีผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบพร้อมทั้งมีแผนปฏิบัติการอย่างชัดเจน ควรยกเครื่องเรื่องการลงทุนอย่างน้อยในสี่เรื่องต่อไปนี้

เรื่องแรก จะต้องทำงาน"เชิงรุก"เพื่อดึงบริษัทชั้นนำของโลกให้ตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตทันสมัย การตัดสินใจลงทุนของบริษัทชั้นนำจะดึงผู้ผลิตอื่นๆ ในห่วงโซ่การผลิตตามมาอีกมากและสร้างความมั่นใจในประเทศไทย  การทำงานเชิงรุกต้องทำในหลายมิติ ตั้งแต่การกำหนดอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่จะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องมี market intelligence ที่รอบด้านเพื่อติดตามแผนการลงทุนของบริษัทชั้นนำอย่างใกล้ชิด และอาจจะต้องพิจารณาว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยควรให้มาตรการจูงใจแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับบริษัทชั้นนำ (customized package) ที่ตรงกับความต้องการของบริษัทเหล่านี้เหมือนกับที่ประเทศคู่แข่งของเราทำ มาตรการที่ตรงใจอาจไม่ใช่สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบที่เราให้มาโดยต่อเนื่อง

เรื่องที่สอง ต้องเร่งสร้างความชัดเจนทางนโยบายในหลายด้าน โดยเฉพาะกรอบส่งเสริมการลงทุนใหม่ของ BOI ที่ประกาศใช้มาแล้วตั้งแต่ต้นปี หลายเรื่องยังขาดความชัดเจน เช่น การส่งเสริมการลงทุนแบบคลัสเตอร์ หรือกลไกการตรวจสอบการปฏิบัติตามเกณฑ์ merit ของ BOI นอกจากนี้ รัฐบาลควรเร่งประกาศรายละเอียดของเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมทันสมัยและอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรม เพิ่มเติมจากเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน ควรสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าว เพราะบริษัทชั้นนำไม่ต้องการเลี่ยงกฎหมายด้วยการใช้ nominee และต้องการทราบถึงแนวทางการเปิดเสรีภาคบริการที่อยู่ในบัญชีแนบท้าย

เรื่องที่สาม ต้องแสดงให้เห็นว่ารัฐไทยมีประสิทธิภาพ กล้าตัดสินใจ และทำได้จริง ความมั่นใจในประสิทธิภาพของรัฐไทยเสื่อมลงมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ตามมาด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้รัฐไทยเป็นอัมพาต และข่าวร้ายเกี่ยวกับความล้มเหลวของหน่วยงานราชการตั้งแต่เรื่อง ICAO และ IUU  จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานราชการไทยมีประสิทธิภาพ และไม่ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ทำให้การปฏิรูปการศึกษาเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม (โดยเฉพาะอาชีวะศึกษา และการผลิตแรงงานมีทักษะ) ต้องเริ่มกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ต้องแก้ปัญหาหน่วยงานราชการที่เป็นปัญหาแก่ภาคธุรกิจ (เช่น ทบทวนระบบรางวัลนำจับของศุลกากร ปรับกระบวนการต่ออายุ visa สำหรับนักธุรกิจต่างชาติ) รัฐบาลต้องเดินหน้าจัดการการทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นต้นทุนแฝงของธุรกิจเอกชนโดยต่อเนื่อง และที่สำคัญจะต้องเร่งเปิดประมูลโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ที่ประกาศไปนานแล้วให้เดินเครื่องได้จริงโดยเร็ว

เรื่องที่สี่ ควรกำหนดจุดยืนของประเทศไทยเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ โดยเฉพาะข้อตกลง Trans Pacific Partnership (TPP) ซึ่งมีแนวโน้มจะเจรจาได้สำเร็จหลังจากที่รัฐสภาอเมริกาให้อำนาจประธานาธิบดีโอบามาเดินหน้าแบบ fast track ข้อตกลง TPP จะเป็นมาตรฐานการค้าใหม่ของโลก เพื่อนบ้านสำคัญของเราสามประเทศคือ เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ ร่วมอยู่ในข้อตกลง TPP กลุ่มแรกแล้ว ส่งผลให้ธุรกิจที่ไปลงทุนในประเทศเหล่านี้จะได้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศดีกว่าการตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับการส่งออกสินค้าไปสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

ถ้าเราไม่เร่งยกเครื่องเรื่องการลงทุนของภาคเอกชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  การปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยจะไม่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกกี่รอบ เศรษฐกิจไทยก็จะอ่อนไหว เปราะบาง และตะกุกตะกักไปอีกนาน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ยกเครื่องเรื่องการลงทุน

view