สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คำถามที่ คาใจ ของผู้บริหาร

คำถามที่“คาใจ”ของผู้บริหาร!
โดย : ธีรพล แซ่ตั้ง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




วันนี้มีเรื่องมา “ชวนคุย ชวนคิด” ที่เป็นเรื่องคาใจผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารนะดับสูงจำนวนไม่น้อย

เคยสงสัยและพยายามหา “คำตอบอย่างจริงจัง” กันมั้ยครับ? ว่าทำไมในแต่ละบริษัท ที่มีทีมงาน โดยเฉพาะทีมขาย แต่ละทีม มีจำนวนทีมงานเท่าๆ กันหรือใกล้เคียงกัน ขายสินค้า-บริการแบบเดียวกัน มีบทบาท-หน้าที่เดียวกัน แต่ทำไมผลงานของแต่ละทีมถึง “แตกต่างกัน” ?

บางทีม ผลงานโดดเด่น ไม่มีตก บางทีมผลงานก็เรื่อยๆ มาเรียงๆ อยู่ในลักษณะประคองตัว บางทีม ผลงาน “แย่อย่างสม่ำเสมอ!” ลองสังเกตดูนะครับ แล้วจะพบ “อะไรบางอย่างที่อาจเป็นคำตอบและทางออก” ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและไม่ยากที่จะทำ!

ทีมที่ผลงานแย่อย่างสม่ำเสมอ

หัวหน้าทีม (ไม่ว่าหัวหน้าในที่นี้จะหมายถึง Supervisor หรือ Manager ของทีมนั้น) จะไม่ค่อยมี ภาวะผู้นำ...ขาดบุคลิกภาพของผู้ชนะ สีหน้า แววตามักจะมีแต่ความท้อแท้สิ้นหวังให้เห็น..จะมีปัญหาในเรื่องการสื่อสารกับ ทีม(ไม่ค่อยสื่อสารกับทีม / สื่อสารคลุมเครือไม่ชัดเจน/สื่อสารแบบท้อแท้)

คำพูดที่มักจะพูดผสมบ่นกับลูกทีมเป็นประจำ จะออกแนวนี้ “ไม่มีทางทำได้ เพราะ...” “เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว” “มีแต่ปัญหา ปัญหา แล้วจะทำได้ยังไง!” ฯลฯ

หัวหน้าทีมประเภทนี้ จะไม่เคย ไม่ชอบ หรือไม่รู้วิธีที่จะฝึกสอนทีมงานให้พัฒนาขึ้น เก่งขึ้น (ประมาณว่า..ทั้งตัวหน้า ทีมและลูกทีมต่างก็ ต้องการรายได้เพิ่มพร้อมกับความก้าวหน้า แต่รังเกียจการพัฒนา ประมาณนั้น!)

ในส่วนของลูกทีม จะเต็มไปด้วยพนักงานที่ ท้อแท้ ถอดใจ อ่อนทักษะ บ้างก็สับสน งงๆ กับชีวิต และคิดลบเป็นงานหลัก! ทีมนี้จะเต็มไปด้วย “ข้ออ้าง” ที่พยามบอกว่าเป็นข้อเท็จจริง เพื่ออธิบายถึงสาเหตุที่ผลงานของแต่ละคนและทั้งทีมล้มเหลว (มีเหตุผลรองรับกับความล้มเหลวเสมอ!)

ทีมที่ผลงานไปเรื่อยๆ

แค่พอรอดตัวไปวันๆ รอดแบบเดือนต่อเดือน ผลงานไม่ถึงกับเลวร้าย แต่ไม่เคยพัฒนาหรือดีขึ้น...!

หัวหน้าทีม ก็มักจะติดอยู่ในสภาวะ “พึงพอใจกับปัจจุบัน” อย่าทำให้ชีวิตชั้นเครียดไปกว่านี้อีกเป็นอันขาด!

ในเรื่อง ภาวะผู้นำก็พอมี แต่ไม่โดดเด่น ในเรื่องการสื่อสารก็พอได้ แต่ไม่มีอะไรน่าประทับใจ และมักจะพูดกับตัวเองและทีมงานว่า “ได้แค่นี้ก็พอแล้ว จะเอาอะไรอีก!” “ขืนทำมาก เดี๋ยวก็ต้องรับเป้าเพิ่มขึ้น!”

ในเรื่องการฝึกสอน ในการพัฒนาทีมงาน ก็มีแบบพอเป็นพิธี..

ในส่วนของลูกทีม พนักงานในทีมบางคนมีแนวโน้มจะเป็นพนักงานที่เก่ง แต่เมื่อตกอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่หัวหน้าทีมก็เรื่อยๆ เพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ ก็เฉื่อยแฉะ สุดท้ายก็ถูกกลืนจนกลายเป็นพวกเดียวกัน ทำงานตามหน้าที่ไปวันๆ

ทีมที่ผลงานโดดเด่น อย่างต่อเนื่อง

หัวหน้าทีม จะมีภาวะผู้นำ มีความเชื่อมั่นในตนเองและเชื่อมั่นในทีมงานของตนเองว่าทำได้ และก็ทำได้จริงๆ การสื่อสารจะสร้างสรรค์ กระตุ้นทีมงานเป็นระยะในทุกๆ โอกาส หัวหน้าทีมจะเปิดโอกาสให้ทีมงานได้คิด ได้พูด ได้ระบายและร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยให้ “มองที่ทางแก้ ไม่ใช่ไปมองแค่ปัญหาแล้วท้อถอย!”

หัวหน้าทีมจะฝึกสอน บ่มเพาะและเป็น Coach ให้กับทีมงานตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นทีมงานเก่าหรือใหม่

ในส่วนของลูกทีม จะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ แต่ก็ช่วยเหลือกัน ร่วมมือกันเพื่อให้เป้าหมายของทีมบรรลุตามที่ได้รับมอบหมาย เพราะได้รับการปลูกฝังให้มีความเป็นทีม
ย้อนกลับไปที่คำถาม เพื่อมาหาคำตอบกันดีกว่าครับ!

แต่ละทีม มีจำนวนพนักงานใกล้เคียงกัน มีบทบาท-หน้าที่เหมือนกัน แต่ผลงานแตกต่างกัน...
สาเหตุหลักๆ “อยู่ที่ใคร?” คงจะพอมองเห็นแล้วนะครับ และจะแก้ที่ใคร ก็น่าจะรู้แล้วนะครับ!
อย่า แก้ที่ตัว “พนักงาน” เพียงอย่างเดียว เพราะ “ภายใต้การนำของหัวหน้าทีมที่ ไร้ศักยภาพ จะมีศักยภาพในการทำลายความสามารถและความทุ่มเทของทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งนัก!”
แก้โดยการ Coach หัวหน้าทีมที่..ผลงานย่ำแย่อย่างสม่ำเสมอ และ หัวหน้าทีมที่ผลงานไปเรื่อยๆ..ให้โอกาส ให้แนวทาง ให้เวลาภายใน 3 เดือน ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น..ก็ขึ้นอยู่กับท่านที่เป็น ผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารระดับสูง

จะ"ปล่อย” ให้เป็นแบบนี้ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย..หรือจะ "เปลี่ยน" โดยให้โอกาสและสร้าง ผู้นำทีมคนใหม่มาแทนครับ

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635007#sthash.0jhJCx7F.dpuf

วันนี้มีเรื่องมา “ชวนคุย ชวนคิด” ที่เป็นเรื่องคาใจผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารนะดับสูงจำนวนไม่น้อย

เคยสงสัยและพยายามหา “คำตอบอย่างจริงจัง” กันมั้ยครับ? ว่าทำไมในแต่ละบริษัท ที่มีทีมงาน โดยเฉพาะทีมขาย แต่ละทีม มีจำนวนทีมงานเท่าๆ กันหรือใกล้เคียงกัน ขายสินค้า-บริการแบบเดียวกัน มีบทบาท-หน้าที่เดียวกัน แต่ทำไมผลงานของแต่ละทีมถึง “แตกต่างกัน” ?

บางทีม ผลงานโดดเด่น ไม่มีตก บางทีมผลงานก็เรื่อยๆ มาเรียงๆ อยู่ในลักษณะประคองตัว บางทีม ผลงาน “แย่อย่างสม่ำเสมอ!” ลองสังเกตดูนะครับ แล้วจะพบ “อะไรบางอย่างที่อาจเป็นคำตอบและทางออก” ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและไม่ยากที่จะทำ!

ทีมที่ผลงานแย่อย่างสม่ำเสมอ

หัวหน้าทีม (ไม่ว่าหัวหน้าในที่นี้จะหมายถึง Supervisor หรือ Manager ของทีมนั้น) จะไม่ค่อยมี ภาวะผู้นำ...ขาดบุคลิกภาพของผู้ชนะ สีหน้า แววตามักจะมีแต่ความท้อแท้สิ้นหวังให้เห็น..จะมีปัญหาในเรื่องการสื่อสารกับทีม(ไม่ค่อยสื่อสารกับทีม / สื่อสารคลุมเครือไม่ชัดเจน/สื่อสารแบบท้อแท้)

คำพูดที่มักจะพูดผสมบ่นกับลูกทีมเป็นประจำ จะออกแนวนี้ “ไม่มีทางทำได้ เพราะ...” “เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว” “มีแต่ปัญหา ปัญหา แล้วจะทำได้ยังไง!” ฯลฯ

หัวหน้าทีมประเภทนี้ จะไม่เคย ไม่ชอบ หรือไม่รู้วิธีที่จะฝึกสอนทีมงานให้พัฒนาขึ้น เก่งขึ้น (ประมาณว่า..ทั้งตัวหน้า ทีมและลูกทีมต่างก็ ต้องการรายได้เพิ่มพร้อมกับความก้าวหน้า แต่รังเกียจการพัฒนา ประมาณนั้น!)

ในส่วนของลูกทีม จะเต็มไปด้วยพนักงานที่ ท้อแท้ ถอดใจ อ่อนทักษะ บ้างก็สับสน งงๆ กับชีวิต และคิดลบเป็นงานหลัก! ทีมนี้จะเต็มไปด้วย “ข้ออ้าง” ที่พยามบอกว่าเป็นข้อเท็จจริง เพื่ออธิบายถึงสาเหตุที่ผลงานของแต่ละคนและทั้งทีมล้มเหลว (มีเหตุผลรองรับกับความล้มเหลวเสมอ!)

ทีมที่ผลงานไปเรื่อยๆ

แค่พอรอดตัวไปวันๆ รอดแบบเดือนต่อเดือน ผลงานไม่ถึงกับเลวร้าย แต่ไม่เคยพัฒนาหรือดีขึ้น...!

หัวหน้าทีม ก็มักจะติดอยู่ในสภาวะ “พึงพอใจกับปัจจุบัน” อย่าทำให้ชีวิตชั้นเครียดไปกว่านี้อีกเป็นอันขาด!

ในเรื่อง ภาวะผู้นำก็พอมี แต่ไม่โดดเด่น ในเรื่องการสื่อสารก็พอได้ แต่ไม่มีอะไรน่าประทับใจ และมักจะพูดกับตัวเองและทีมงานว่า “ได้แค่นี้ก็พอแล้ว จะเอาอะไรอีก!” “ขืนทำมาก เดี๋ยวก็ต้องรับเป้าเพิ่มขึ้น!”

ในเรื่องการฝึกสอน ในการพัฒนาทีมงาน ก็มีแบบพอเป็นพิธี..

ในส่วนของลูกทีม พนักงานในทีมบางคนมีแนวโน้มจะเป็นพนักงานที่เก่ง แต่เมื่อตกอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่หัวหน้าทีมก็เรื่อยๆ เพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ ก็เฉื่อยแฉะ สุดท้ายก็ถูกกลืนจนกลายเป็นพวกเดียวกัน ทำงานตามหน้าที่ไปวันๆ

ทีมที่ผลงานโดดเด่น อย่างต่อเนื่อง

หัวหน้าทีม จะมีภาวะผู้นำ มีความเชื่อมั่นในตนเองและเชื่อมั่นในทีมงานของตนเองว่าทำได้ และก็ทำได้จริงๆ การสื่อสารจะสร้างสรรค์ กระตุ้นทีมงานเป็นระยะในทุกๆ โอกาส หัวหน้าทีมจะเปิดโอกาสให้ทีมงานได้คิด ได้พูด ได้ระบายและร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยให้ “มองที่ทางแก้ ไม่ใช่ไปมองแค่ปัญหาแล้วท้อถอย!”

หัวหน้าทีมจะฝึกสอน บ่มเพาะและเป็น Coach ให้กับทีมงานตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นทีมงานเก่าหรือใหม่

ในส่วนของลูกทีม จะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ แต่ก็ช่วยเหลือกัน ร่วมมือกันเพื่อให้เป้าหมายของทีมบรรลุตามที่ได้รับมอบหมาย เพราะได้รับการปลูกฝังให้มีความเป็นทีม
ย้อนกลับไปที่คำถาม เพื่อมาหาคำตอบกันดีกว่าครับ!

แต่ละทีม มีจำนวนพนักงานใกล้เคียงกัน มีบทบาท-หน้าที่เหมือนกัน แต่ผลงานแตกต่างกัน...
สาเหตุหลักๆ “อยู่ที่ใคร?” คงจะพอมองเห็นแล้วนะครับ และจะแก้ที่ใคร ก็น่าจะรู้แล้วนะครับ!
อย่าแก้ที่ตัว “พนักงาน” เพียงอย่างเดียว เพราะ “ภายใต้การนำของหัวหน้าทีมที่ ไร้ศักยภาพ จะมีศักยภาพในการทำลายความสามารถและความทุ่มเทของทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งนัก!”
แก้โดยการ Coach หัวหน้าทีมที่..ผลงานย่ำแย่อย่างสม่ำเสมอ และ หัวหน้าทีมที่ผลงานไปเรื่อยๆ..ให้โอกาส ให้แนวทาง ให้เวลาภายใน 3 เดือน ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น..ก็ขึ้นอยู่กับท่านที่เป็น ผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารระดับสูง

จะ"ปล่อย” ให้เป็นแบบนี้ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย..หรือจะ "เปลี่ยน" โดยให้โอกาสและสร้าง ผู้นำทีมคนใหม่มาแทนครับ



สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คำถาม คาใจ ผู้บริหาร

view