สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เช็กระดับ ความซึมเศร้า สัญญาณเตือนก่อนคิดสั้น

จากประชาชาติธุรกิจ

ช่วงนี้หลาย ๆ คนคงได้ยินเรื่องโรคซึมเศร้าตามสื่อต่าง ๆ มากมาย เรียกได้ว่าแทบทุกสื่อทุกช่องกันเลยทีเดียว สำหรับโรคซึมเศร้านั้นบางคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง หรือทราบว่าคืออะไร แต่บางคนอาจจะไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งเวลาได้ยินก็คงจะทำให้เกิดความสงสัยว่า การที่ซึมเศร้านั้นมันถึงขนาดเป็นโรคได้เลยหรือ ตัวเราเคยเศร้า คนรอบข้างก็เคยเศร้า ถ้าอย่างนั้นคงจะป่วยกันทั้งเมืองเลยกระมัง ดังนั้นวันนี้เรามารู้จักโรคซึมเศร้ากันดีกว่า

- โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้า หรือ Major Depressive Disorder (MDD) เป็นโรคที่เกิดจากการที่สมองมีการหลั่งสารเคมีไม่สมดุลในบริเวณที่ควบคุมอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเศร้าที่ไม่ปกติ แตกต่างจากความเศร้าของคนทั่วไปคือ ความเศร้าที่เกิดขึ้นจะรบกวนกิจวัตรประจำวัน และหน้าที่การงานต่าง ๆ โดยที่ความเศร้าที่เกิดขึ้นอาจจะมีอาการรุนแรงมากเกินกว่าจะอธิบายได้ด้วยความเครียดที่มากระตุ้นหรือ ความเศร้าที่เกิดขึ้นนั้นยังคงอยู่ยาวนาน แม้สิ่งกระตุ้นจะหมดไปแล้ว หรือบางกรณีอาจจะเศร้าขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุผลก็ได้ (บางรายอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะเป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายมาก รู้สึกว่าความสุขหายไปไม่อยากทำอะไร) อาการเหล่านี้จะเป็นเกือบทั้งวัน และเป็นติดต่อกันเกือบทุกวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ (บางคนมีอาการทานมากนอนมากแทน) อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิด สมาธิลดลง ลังเลใจ คิดเรื่องการตาย หรือฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสามารถพบอาการหลงผิด หรือประสาทหลอนร่วมด้วยได้



- มีโอกาสฆ่าตัวตายได้มากน้อยแค่ไหน

ความคิดอยากตายพบได้ถึงร้อยละ 60 และพบการฆ่าตัวตายได้ร้อยละ 15 ในช่วงแรกผู้ป่วยอาจจะมีแค่ความรู้สึกเบื่อชีวิต เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะเป็นความรู้สึกอยากตาย ต่อมาจะคิดถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการวางแผน จนพัฒนาถึงการลงมือฆ่าตัวตายในที่สุด

- โรคซึมเศร้าพบได้บ่อยแค่ไหน

จริง ๆ แล้วโรคซึมเศร้าพบได้ทั่วไป จากการสำรวจทางระบาดวิทยาโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2546 พบว่าคนไทยอายุ 15-59 ปี ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 3.2 พบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย

- โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

สาเหตุนั้นเกิดจากหลายปัจจัยเช่น พันธุกรรม สารเสพติดต่าง ๆ โรคทางกายบางอย่างเช่น โรคไทรอยด์ ปัจจัยด้านจิตสังคม เช่น อุปนิสัยที่ชอบมองตนเองในแง่ลบ หรือมักมองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น

- รักษาได้ไหม

ในปัจจุบันจิตแพทย์สามารถรักษาโรคซึมเศร้าให้หายได้ บางกรณีอาจจะถึงขั้นหายขาดเลยทีเดียว ดังนั้นหากสงสัยว่าตัวเราหรือคนใกล้ชิดกำลังประสบปัญหาซึมเศร้าอยู่ ให้รีบพาไปพบจิตแพทย์ได้เลยเพราะการไปพบจิตแพทย์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ไปพบกัน

- รักษาอย่างไร

เนื่องจากปัจจุบันทางการแพทย์เราพบว่าโรคซึม เศร้านั้นเกิดจากการที่สมองหลั่งสารเคมีไม่สมดุลเราจึงมีการใช้ยาในการบำบัด รักษาเพื่อให้สมองกลับมาหลั่งสารได้สมดุลตามปกติและแข็งแรงขึ้น ทั้งนี้ยาในปัจจุบันมีให้เลือกหลายชนิด ผลข้างเคียงก็น้อยลงไปมากหรือแทบไม่มีเลยเมื่อเทียบกับยาในอดีต ซึ่งจิตแพทย์จะเลือกยาที่ปลอดภัย ไม่ติด ให้กับผู้ป่วยร่วมกับการทำจิตบำบัดปรับมุมมองความคิด พฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ผู้ป่วยปรับตัวกับปัญหาในอนาคตได้ง่ายขึ้น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เช็กระดับ ความซึมเศร้า สัญญาณเตือน ก่อนคิดสั้น

view