สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีห้างหุ้นส่วนสามัญ 2558 (4)

ภาษีห้างหุ้นส่วนสามัญ 2558 (4)

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ขอนำประเด็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 249) ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2557 และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะ บุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 149/2558 ลงวันที่ 20 มกราคม 2558 มา ปุจฉา – วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ 

ปุจฉา สมมติ ในปีภาษี 2558 นายแพทย์ซัน มีเงินเดือนจากการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เดือนละ 100,000 บาท มีห้างหุ้นส่วนสามัญซัน-นนท์ (หสม. ชัน-นนท์) เปิดคลินิกรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วยนายแพทย์ซันและนายแพทย์นนท์ ซึ่งตกลงเข้าร่วมกันประกอบกิจการโดยลงทุนคนละกึ่งหนึ่ง มีรายได้จากกิจการรักษาผู้ป่วย ในคลินิกปีละ 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายตามจริงในการรักษาผู้ป่วยในคลินิกจำนวน 300,000 บาท หสม. ชัน-นนท์มีบัญชีเงินฝากจำนวน 10,000,000 บาท (ทุน) ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจำนวน 100,000 บาท ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นจำนวน 15,000 บาท (เลือกไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นในแบบแสดงรายการ) ส่วนนายแพทย์นนท์ไม่มีรายได้อื่นนอกเหนือจากรายได้จากการประกอบการของ หสม. ชัน-นนท์ เช่นนี้ มีวิธีคำนวณภาษีเงินได้ของ หสม. ชัน-นนท์ อย่างไร

วิสัชนา การคำนวณภาษีของ หสม. ชัน-นนท์ (เปิดคลินิกรักษาผู้ป่วย)
รายได้จากกิจการรักษาผู้ป่วยในคลินิก 1,000,000 บาท หัก ค่าใช้จ่ายซึ่งเลือกใช้สิทธิหักเป็นการเหมา (ร้อยละ 60) จำนวน 600,000 บาท คงเหลือ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 400,000 บาท หัก ค่าลดหย่อนห้างหุ้นส่วนสามัญ คนละ 30,000 บาท รวม 60,000 บาท คงเหลือเงินได้สุทธิ 340,000 บาท หักเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 จำนวน 150,000 บาทแรก คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี 190,000 บาท คิดเป็นภาษีที่คำนวณตามอัตราก้าวหน้า (150,000 x5% = 7,500) + (40,000 x10% = 4,000) รวมเป็น 11,500 บาท

สรุปรายการรายได้และรายจ่ายตามจริงของ หสม. ชัน-นนท์ ในปีภาษี 2558 เป็นดังต่อไปนี้
(1) รายได้จากกิจการรักษาผู้ป่วยในคลินิก 1,000,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยในคลินิกตามที่จ่ายจริง 300,000 บาท คงเหลือ 700,000 บาท
(2) รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากจำนวน 100,000 บาท หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15,000 บาท คงเหลือ 85,000
รวมรายได้ (1) + (2) 785,000 หัก ค่าภาษีเงินได้ประจำปีภาษี 2558 (ค้างจ่าย) จำนวน 11,500 บาท รวม รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 773,500 บาท

หาก หสม. ชัน-นนท์ แบ่งส่วนแบ่งเงินได้จำนวน 773,500 บาท ให้แก่นายแพทย์ซันและนายแพทย์นนท์คนละกึ่งหนึ่งตามส่วนของการลงทุนเป็นจำนวน คนละ 386,750 บาท (773,500/2) เงินส่วนแบ่งดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร หสม. ชัน-นนท์ ผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนต้องนำส่วนแบ่งของกำไรหรือส่วนแบ่งเงินได้ที่ได้ รับมารวมคำนวณภาษีเงินได้กับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่น (ถ้ามี) โดยหุ้นส่วนแต่ละคนมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและ สมควร หรือค่าใช้จ่ายตามจริง (ถ้ามี)

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ภาษีห้างหุ้นส่วนสามัญ 2558 (4)

view