สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย Business Model

ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย Business Model

โดย :
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635095#sthash.3dSKMdSc.dpuf

ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย Business Model
โดย : ดร.พสุ เดชะรินทร์

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลักสูตร MBA ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ได้จัดงานสัมมนาใหญ่เนื่องในโอกาสครบ 33 ปี

ของหลักสูตรภายใต้หัวข้อว่า “33 ปี MBA CHULA ก้าวสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจ” โดยได้วิทยากรที่เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรชั้นนำในประเทศ มาเล่าให้ฟังถึงแนวโน้มที่สำคัญของแต่ละอุตสาหกรรม และการปรับตัวขององค์กรของแต่ละท่าน

เริ่มต้นจากคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AIS (ศิษย์เก่า MBA จุฬาฯ) ที่ได้มาเล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุค Digital Transformation ประกอบกับพฤติกรรมของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ก็เปลี่ยนไปที่แนวโน้มสำคัญคือรายได้จาก Data จะเริ่มมากว่ารายได้จาก Voice ทำให้ AIS ต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเอง ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ CEO ของ AIS ท่านไม่ได้มองว่าการปรับตัวของ AIS นั้น ไม่ใช่เพื่อให้สามารถต่อกรหรือแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ แต่เพื่อให้สามารถแข่งขันและเอาชนะต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

Business Model ของ AIS ที่กำลังจะเปลี่ยนไปนั้น เริ่มต้นตั้งแต่การเปลี่ยนนิยามธุรกิจของตนเอง จาก Telecom Service Provider ไปสู่ Digital Life Service Provider ดัง นั้น AIS จะไม่ได้ทำเพียงแค่ธุรกิจ Mobile เหมือนเดิม แต่จะขยายเข้าสู่อีกสองธุรกิจหลัก ที่เกื้อหนุนกับธุรกิจเดิม ได้แก่ Fixed Broard Band และ Digital Contents โดยเป้าหมายสำคัญของ AIS นั้นคือการทำให้  AIS เป็น Platform Provider ที่สำคัญ โดยสร้าง Ecosystems ที่ครอบคลุม เพียงแต่ Ecosystems ของ AIS นั้น จะเน้นการจับมือร่วมกับเครือข่ายและพันธมิตร (Partners) ต่างๆ

จากนั้น คุณประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการผู้จัดการ พฤกษาเรียลเอสเตท และ นายกสมาคมอาคารชุดไทย (ศิษย์เก่า MBA จุฬาฯ) ก็ได้มาให้มุมมองของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเผชิญกับการเติบโตและขยายตัวของเมืองใหญ่ ประกอบกับวิถีชีวิตของคนเมืองที่เปลี่ยนไป ทำให้ปัจจุบันตลาดที่อยู่อาศัยนั้น มีการเติบโตในส่วนของคอนโดมิเนียมเป็นอย่างมาก โดยเป็นคอนโดมิเนียมที่อยู่ใจกลางเมือง หรือตามแนวรถไฟฟ้า อย่างไรก็ดี คอนโดมิเนียมกลุ่มนี้ก็จะจับลูกค้าที่มีกำลังซื้อระดับกลางถึงบนขึ้นไป และถึงแม้ว่าราคาของทั้งที่ดินและคอนโดมิเนียม ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จะพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงหลัง แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะระเบิดหรือถึงจุดอิ่มตัวในระยะเวลาอันใกล้

พฤกษาเองถือเป็นผู้นำและผู้บุกเบิกในการสร้าง Business Model ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในรูปแบบที่เป็น Integrated Developer  รายแรกของประเทศไทย ที่เป็นทั้งผู้ผลิต (Manufacturer) ผู้ก่อสร้าง (Constructor) และผู้พัฒนา (Developer) ไปในตัว โดยอาศัยเทคโนโลยีในการสร้างบ้านระบบ Pre-Cast ที่ทำให้สร้างบ้าน โอนบ้านได้เร็วด้วยประสิทธิภาพ และกลายเป็นต้นแบบของอสังหาริมทรัพย์เจ้าอื่นๆ

มาถึงยุคปัจจุบัน คุณประเสริฐมองต่อไปอีกว่า ในปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องมี Flexible Business Model ที่ สามารถเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างชนิดของ บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม หรือโครงการขนาดใหญ่ กลาง เล็ก หรือตลาดระดับบน กลาง และล่าง ได้ตลอดเวลา ตรงตามความต้องการของตลาดและลูกค้า

วิทยากรอีกท่านคือ คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ศิษย์ เก่า MBA จุฬาฯ) ที่มาเล่าถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง และการปรับตัวของธนาคารออมสิน หลังจากที่คุณชาติชายเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี ที่ธนาคารออมสินจะมุ่งเน้นความเป็น mobile banking มากขึ้น (เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี) และที่สำคัญคือ การมุ่งเน้นเรื่องของ Sustainable Development (SD) ที่ธนาคารออมสินจะปรับเปลี่ยนนิยามของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น นั้นคือเป็นธนาคารเพื่อสังคม ที่มีการพัฒนาและยกระดับสังคมประเทศไทย และทำให้ธนาคารออมสินมีผลการดำเนินงานที่ดีไปด้วยกัน

สุดท้าย (จริงๆ เป็นผู้พูดท่านแรกครับ) คือ คุณรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ได้มาให้มุมมองที่สำคัญว่า การที่องค์กรธุรกิจใดก็ตาม ต้องการที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น นอกเหนือจากการมีผลประกอบการที่ดีแล้ว ยังจะต้องมีองค์กรประกอบที่สำคัญอีกสามประการ ได้แก่ 1) CG (Corporate Governance) in Substance 2) CSR in Process 3) Anti-Corruption in Practices ที่โดยรวมแล้วก็คือ การบริหารองค์กรด้วยหลักความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือไม่ทุจริตครับ 

ถือเป็นการสรุปประเด็นสำคัญๆ จากงานสัมมนา 33 ปีของ MBA Chula นะครับ จริงๆ เนื้อหาของวิทยากรแต่ละท่านยังมากและเข้มข้นกว่านี้ครับ แต่ก็ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่าองค์กรจะต้องปรับตัวอย่างไรให้พร้อมต่อการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

 ------------------

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635095#sthash.3dSKMdSc.dpuf

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลักสูตร MBA ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ได้จัดงานสัมมนาใหญ่เนื่องในโอกาสครบ 33 ปี

ของหลักสูตรภายใต้หัวข้อว่า “33 ปี MBA CHULA ก้าวสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจ” โดยได้วิทยากรที่เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรชั้นนำในประเทศ มาเล่าให้ฟังถึงแนวโน้มที่สำคัญของแต่ละอุตสาหกรรม และการปรับตัวขององค์กรของแต่ละท่าน

เริ่มต้นจากคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AIS (ศิษย์เก่า MBA จุฬาฯ) ที่ได้มาเล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุค Digital Transformation ประกอบกับพฤติกรรมของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ก็เปลี่ยนไปที่แนวโน้มสำคัญคือรายได้จาก Data จะเริ่มมากว่ารายได้จาก Voice ทำให้ AIS ต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเอง ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ CEO ของ AIS ท่านไม่ได้มองว่าการปรับตัวของ AIS นั้น ไม่ใช่เพื่อให้สามารถต่อกรหรือแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ แต่เพื่อให้สามารถแข่งขันและเอาชนะต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

Business Model ของ AIS ที่กำลังจะเปลี่ยนไปนั้น เริ่มต้นตั้งแต่การเปลี่ยนนิยามธุรกิจของตนเอง จาก Telecom Service Provider ไปสู่ Digital Life Service Provider ดังนั้น AIS จะไม่ได้ทำเพียงแค่ธุรกิจ Mobile เหมือนเดิม แต่จะขยายเข้าสู่อีกสองธุรกิจหลัก ที่เกื้อหนุนกับธุรกิจเดิม ได้แก่ Fixed Broard Band และ Digital Contents โดยเป้าหมายสำคัญของ AIS นั้นคือการทำให้  AIS เป็น Platform Provider ที่สำคัญ โดยสร้าง Ecosystems ที่ครอบคลุม เพียงแต่ Ecosystems ของ AIS นั้น จะเน้นการจับมือร่วมกับเครือข่ายและพันธมิตร (Partners) ต่างๆ

จากนั้น คุณประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการผู้จัดการ พฤกษาเรียลเอสเตท และ นายกสมาคมอาคารชุดไทย (ศิษย์เก่า MBA จุฬาฯ) ก็ได้มาให้มุมมองของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเผชิญกับการเติบโตและขยายตัวของเมืองใหญ่ ประกอบกับวิถีชีวิตของคนเมืองที่เปลี่ยนไป ทำให้ปัจจุบันตลาดที่อยู่อาศัยนั้น มีการเติบโตในส่วนของคอนโดมิเนียมเป็นอย่างมาก โดยเป็นคอนโดมิเนียมที่อยู่ใจกลางเมือง หรือตามแนวรถไฟฟ้า อย่างไรก็ดี คอนโดมิเนียมกลุ่มนี้ก็จะจับลูกค้าที่มีกำลังซื้อระดับกลางถึงบนขึ้นไป และถึงแม้ว่าราคาของทั้งที่ดินและคอนโดมิเนียม ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จะพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงหลัง แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะระเบิดหรือถึงจุดอิ่มตัวในระยะเวลาอันใกล้

พฤกษาเองถือเป็นผู้นำและผู้บุกเบิกในการสร้าง Business Model ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในรูปแบบที่เป็น Integrated Developer  รายแรกของประเทศไทย ที่เป็นทั้งผู้ผลิต (Manufacturer) ผู้ก่อสร้าง (Constructor) และผู้พัฒนา (Developer) ไปในตัว โดยอาศัยเทคโนโลยีในการสร้างบ้านระบบ Pre-Cast ที่ทำให้สร้างบ้าน โอนบ้านได้เร็วด้วยประสิทธิภาพ และกลายเป็นต้นแบบของอสังหาริมทรัพย์เจ้าอื่นๆ

มาถึงยุคปัจจุบัน คุณประเสริฐมองต่อไปอีกว่า ในปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องมี Flexible Business Model ที่สามารถเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างชนิดของ บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม หรือโครงการขนาดใหญ่ กลาง เล็ก หรือตลาดระดับบน กลาง และล่าง ได้ตลอดเวลา ตรงตามความต้องการของตลาดและลูกค้า

วิทยากรอีกท่านคือ คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ศิษย์เก่า MBA จุฬาฯ) ที่มาเล่าถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง และการปรับตัวของธนาคารออมสิน หลังจากที่คุณชาติชายเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี ที่ธนาคารออมสินจะมุ่งเน้นความเป็น mobile banking มากขึ้น (เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี) และที่สำคัญคือ การมุ่งเน้นเรื่องของ Sustainable Development (SD) ที่ธนาคารออมสินจะปรับเปลี่ยนนิยามของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น นั้นคือเป็นธนาคารเพื่อสังคม ที่มีการพัฒนาและยกระดับสังคมประเทศไทย และทำให้ธนาคารออมสินมีผลการดำเนินงานที่ดีไปด้วยกัน

สุดท้าย (จริงๆ เป็นผู้พูดท่านแรกครับ) คือ คุณรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ได้มาให้มุมมองที่สำคัญว่า การที่องค์กรธุรกิจใดก็ตาม ต้องการที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น นอกเหนือจากการมีผลประกอบการที่ดีแล้ว ยังจะต้องมีองค์กรประกอบที่สำคัญอีกสามประการ ได้แก่ 1) CG (Corporate Governance) in Substance 2) CSR in Process 3) Anti-Corruption in Practices ที่โดยรวมแล้วก็คือ การบริหารองค์กรด้วยหลักความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือไม่ทุจริตครับ

ถือเป็นการสรุปประเด็นสำคัญๆ จากงานสัมมนา 33 ปีของ MBA Chula นะครับ จริงๆ เนื้อหาของวิทยากรแต่ละท่านยังมากและเข้มข้นกว่านี้ครับ แต่ก็ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่าองค์กรจะต้องปรับตัวอย่างไรให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

 ------------------

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์



สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง Business Model

view