สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การเรียนรู้...มีจุดสิ้นสุด

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย รัตนวุฒิ ณ ลำพูน ที่ปรึกษา เอพีเอ็ม กรุ๊ป

หลายครั้งที่คนเราเกิดความสงสัยในความสามารถของตนเองว่า เราจะไปได้ไกลแค่ไหน เราทำอะไรได้บ้าง ขีดความสามารถของเราจำกัดอยู่ตรงไหน คำตอบนี้คงไม่มีใครตอบเราได้ นอกจากตัวของเราเอง

ภาพที่สังเกตเห็นได้ชัดในความสามารถ และคุณสมบัติที่คล้าย ๆ กันของพนักงานหลาย ๆ ท่านที่เป็นที่ยอมรับขององค์กร มีประสบการณ์การทำงานเต็มเปี่ยม และเติบโตในสายการทำงานมาอย่างยาวนาน เช่น จากการเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการจนเป็นพนักงานในระดับบริหารในปัจจุบัน นั่นคือความสามารถในการเรียนรู้ของพวกเขา

โดยคนกลุ่มนี้จะแสดงพฤติกรรมที่ชัดเจนในการนำเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือประสบการณ์ที่ตนเองได้พบเจอต่าง จนนำมาสะท้อนเป็นการเรียนรู้ และเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์อะไรก็ตาม สามารถนำการเรียนรู้ที่เคยได้มาปรับใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น หรือสามารถถ่ายทอดการเรียนรู้นั้น ๆ ให้กับลูกน้องได้อย่างชัดเจน

นอกจากนั้นเมื่อสังเกตพนักงานกลุ่มนี้เพิ่มเติมยังพบว่า การที่พวกเขามีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีนั้น ปัจจัยหลักอย่างหนึ่งคือเพราะการมีทัศนคติที่เปิดกว้างในการเรียนรู้โดยพื้นฐาน ถึงแม้จะมีความรู้มากอยู่แล้วก็ตาม นั่นจึงทำให้พวกเขาสามารถเปิดรับประสบการณ์ที่แตกต่าง เรียนรู้จากประสบการณ์นั้น ๆ สั่งสมทีละเล็กทีละน้อยอย่างไม่สิ้นสุด

โดยพฤติกรรมดังกล่าวจะสอดคล้องกับทฤษฎี "Dunning Kruger Effect" ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของ เดวิด ดันนิง (David Dunning) เเละ จัสติน ครูเกอร์ (Justin Kruger) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell) ที่ว่าด้วยเรื่องของปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โดย งานวิจัยชิ้นนี้เริ่มมาจากข้อสันนิษฐานของเขาทั้งสองคนว่า...คนที่ไม่มีความ สามารถนั้นจะไม่มีทางรู้ถึงความไม่มีความสามารถของตัวเองได้เลยนั่นก็เป็น เพราะว่าความสามารถที่คนเราจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้ว่าตัวเองไม่มีความ สามารถนั้นเป็นความสามารถเดียวกันกับความสามารถที่คนเหล่านี้ไม่มี

หรือ อีกนัยหนึ่งคือคนที่มีความสามารถน้อยมักจะคิดว่าตัวเองเก่งเกินความเป็นจริง เพราะเขาไม่มีความสามารถพอที่จะทำให้รู้ว่าตัวเองไม่มีความสามารถส่วนคนที่ มีความสามารถเยอะนั้นกลับคิดว่าตัวเองไม่ได้เก่งกว่าคนอื่นๆ ด้วยคิดว่าสิ่งที่เขาทำได้นั้นมันง่าย คนอื่น ๆ ก็น่าจะทำได้ง่ายเช่นกัน

พูดง่าย ๆ คือตอนที่คนเรามีความรู้น้อย เราจะคิดว่าตนเองฉลาด รู้มากแล้ว แต่เมื่อเราได้รู้มากขึ้น เราจะมีความคิดว่าตนเองไม่ฉลาด เพราะเราเริ่มรับรู้แล้วว่า สิ่งที่เรารู้นั้นเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความรู้ทั้งหมด

โดย Kruger และ Dunning อธิบายปรากฏการณ์นี้เพิ่มเติมอีกว่า การประเมินความสามารถของตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นั้น เราจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถบอกได้ว่าเรารู้หรือไม่รู้ แต่คนที่ไม่รู้จริง หรือไม่เชี่ยวชาญนอกจากจะมีความรู้เรื่องนั้นที่น้อยแล้ว ยังขาดความสามารถในการประเมินความรู้ของตนเองอีกด้วย จึงทำให้คนนั้นคิดว่าสิ่งที่รู้นั้นคือความรู้ทั้งหมด

เปรียบเสมือนกับการทำตัวเป็นน้ำที่เต็มแก้ว ปฏิเสธการเรียนรู้ สร้างกำแพง สร้างขอบเขตและข้อจำกัดของการเรียนรู้ของตนเองไปอย่างไม่รู้ตัว

กล่าวโดยสรุปคือ เมื่อความสามารถในการเรียนรู้เป็นทักษะที่สำคัญต่อการเติบโต และการสร้างความสำเร็จให้กับตัวเอง จึงเป็นกระบวนการที่ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ว่าชีวิตเราจะเริ่มจากจุดไหน

อีกทั้งการเรียนรู้นั้นจะทำให้เราค่อย ๆ มีความสามารถเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จากการสั่งสมการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้พบเจอตลอดชีวิต นั่นหมายความว่า หากเราพัฒนาตนเองจากการเรียนรู้ที่ได้สั่งสมมาตลอดชีวิตของเราแล้ว ขอบเขต ข้อจำกัด กำแพงของเราจะค่อย ๆ ถูกทลายออก ซึ่งนั่นจะทำให้ขีดความสามารถของเราเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นเดียวกัน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : การเรียนรู้ มีจุดสิ้นสุด

view