สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มารู้จัก DSP & SSP กันเถอะ

มารู้จัก ‘DSP & SSP’ กันเถอะ

โดย :
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635157#sthash.Z5a8hka2.dpuf

มารู้จัก ‘DSP & SSP’ กันเถอะ
โดย : ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ช่วงนี้วงการโฆษณาดิจิทัลในบ้านเรา เริ่มมีกระแสพูดถึงเรื่อง DSP ( Demand Side Platform ) มากขึ้นเรื่อยๆ

หลายคนอาจจะไม่เคยรู้จัก DSP มาก่อน ขออธิบายง่ายๆ สไตล์โซวบักท้งว่า ระบบ DSP  ก็คือ ระบบซื้อโฆษณาออนไลน์แบบหนึ่งนั่นเอง สื่อออนไลน์นั้น มี Channel มากมายหลายช่องทางมากๆ

            ถ้าเปรียบเทียบกับโทรทัศน์บ้านเรา หลังจากปรับเปลี่ยนคลื่นสัญญาณมาเป็นระบบดิจิทัลแล้ว ก็เพิ่มจำนวนช่องจากเดิมที่มี 6 ช่อง กลายเป็น 36 ช่อง แต่ถึงช่องจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรมาก เรายังสามารถที่จะจัดการซื้อโฆษณาโทรทัศน์ โดยใช้คนติดต่อประสานงาน

            แต่พอหันมาดูสื่อออนไลน์บ้าง ความยากก็เริ่มเกิดขึ้นในบัดดล เพราะจำนวนเว็บไซต์มากมายเหลือเกิน เอาแค่ในไทยขณะนี้ คาดการณ์ว่าหลายหมื่นเว็บไซต์ เว็บเล็ก เว็บน้อย เว็บใหญ่ ถ้าคิดจะซื้อโฆษณาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในดิจิทัล น่าจะต้องกุมขมับกันหลายที

            ทั้งเว็บแต่ละเว็บ ยังมีโมเดลการซื้อขายโฆษณาไม่เหมือนกันอีก บางที่ก็เป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือน บางที่ก็เป็นแบบ CPM (Cost per mile) บางที่เป็นแบบ CPC (Cost per click) ขนาดแบนเนอร์ก็ยังแตกต่างกันอีก เอาแค่มาตรฐานกลางๆ ก็มีหลาย 10 ขนาดเข้าไปแล้ว

            แล้วเราจะบริหารจัดการสื่อโฆษณาออนไลน์อย่างไร

            ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนพยายามที่จะทำให้การจัดการซื้อโฆษณาง่ายขึ้น ด้วยการสร้างระบบที่เรียกว่า Ad Network ขึ้นมา อย่างในไทยก็จะมี Nipa  Bumq หรือ Adyim หรือในระดับโลก ก็จะมี Google Display Network (GDN) หรือ Komli เป็นต้น

แต่ไปๆ มาๆ จำนวน Ad Network ก็เยอะแยะหลายค่ายมากมาย ในไทยอาจจะไม่เยอะ แต่สำหรับในต่างประเทศนั้น เรียกได้ว่ามีหลายพัน Network 

            พอถึงเวลาที่จะต้องบริหารโฆษณาผ่าน Ad Network หลายๆ ค่ายเข้า ปัญหาการดูแลจัดการก็เริ่มปรากฏขึ้นเหมือนเดิม ต่างค่าย ก็ต่างกรรมวิธี มีโมเดลการคิดเงินไม่เหมือนกัน ลักษณะแบนเนอร์ก็แตกต่างกัน ก็เลยเป็นที่มาของระบบ Demand Side Platform หรือ DSP อันนี้นี่เองครับ

            ระบบ DSP คือ ระบบที่เชื่อมต่อเครือข่ายเว็บไซต์หลายๆ แห่งเข้าด้วยกัน ทำให้เราไม่ต้องวุ่นวาย ไป login เข้าระบบไปซื้อโฆษณาจาก ที่นั่น ที่นี่ ที่โน่น หลายๆ ที่ แต่เราสามารถจัดการซื้อโฆษณาจากระบบ DSP ได้อย่างสะดวกสบาย ภายใน Interface อันเดียว

            การซื้อขายโฆษณาจะผ่านระบบการประมูลแบบ Real Time (RTB) ผู้ลงโฆษณาสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ รวมถึงสามารถควบคุม KPI ของการลงโฆษณา อาทิ CPC (Cost per Click) หรือ CPA (Cost per action) ได้ด้วยตัวเอง

อีกนัยหนึ่ง DSP ก็คือ ระบบโฆษณา ที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซื้อโฆษณา ให้ได้มีโอกาสได้ซื้อโฆษณาได้มีประสิทธิภาพในราคาถูกที่สุดนั่นเอง

            ผมเข้าใจเอาเองว่า ช่วงนี้กระแส DSP เริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในไทย เพราะว่าบรรดาเอเยนซีเจ้าใหญ่ๆ ทั้งหลาย เริ่มจะเข้ามาขอร้องเชิงบังคับ ให้เว็บไซต์ใหญ่ๆในเมืองไทย มาเข้าร่วมระบบ DSP ที่ตัวเองได้จัดทำขึ้นมา

ถ้าไม่เข้าร่วม โฆษณาก็ไม่มีนะจ๊ะ มามุขนี้ ถึงไม่อยากจะเข้าร่วม ก็ต้องเข้าร่วมในบัดดล

            มองในแง่ของผู้ลงโฆษณา ผู้ลงโฆษณาก็ยิ้มกริ่มได้ประโยชน์ครับ เพราะสามารถซื้อโฆษณาได้ในราคาถูก แต่ถ้ามองในแง่ของ Publisher หรือ เจ้าของเว็บไซต์แล้ว DSP อาจไม่ใช่ระบบที่น่าปลาบปลื้มเท่าไรนัก เพราะว่าเจ้าของเว็บไซต์ไม่สามารถตั้งราคาโฆษณาได้ตามที่ตัวเองต้องการ แต่ราคาจะต้องอิงกับราคาความต้องการของตลาด ระบบนี้จึงถูกเรียกว่า “Demand” Side Platform นั่นเอง

            แน่นอนครับ Publishers หรือ เจ้าของเว็บไซต์ คงไม่ยอมให้ผู้ซื้อโฆษณาเอาเปรียบฝั่งเดียวแน่ๆ ทางฝั่ง Publisher จึงทำการคลอดเทคโนโลยี ออกมาคานอำนาจ เทคโนโลยีนั้น ก็คือ SSP หรือ Supply-Side Platform นั่นเอง

            หลักการทำงานของ SSP นั้น เข้าใจได้ไม่ยากครับ มันคือระบบที่ทำงานตรงกันข้ามกับทางด้าน DSP

            ในระหว่างที่ DSP พยายามที่จะหาช่องทางการลงโฆษณาที่จ่ายถูกที่สุด แต่ SSP จะทำงานอยู่ทางฝั่ง Publisher โดยจะพยายามหาผู้ลงโฆษณาที่จ่ายแพงที่สุดมาแสดงผล

            ระบบโฆษณา SSP ที่ทำงานอยู่บนเว็บไซต์ อาจพยายามหมุนหาโฆษณาจากหลายๆค่าย แล้วลองแทรคดูว่าโฆษณาจากค่ายใด ที่ให้ราคาต่อคลิกสูงที่สุด แล้วก็จะพยายามแสดงโฆษณาของค่ายนั้น บ่อยๆ เพื่อให้กระเป๋าตังค์ตุงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

จะว่าไปแล้ว ระบบ ซื้อ-ขาย โฆษณาบนเว็บไซต์ในยุคนี้ ไม่ต่างอะไรกับการซื้อขายหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์เท่าไรนัก มีขึ้น มีลง ตาม Demand – Supply

            แต่อย่างหนึ่งที่อาจจะดูแตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ ราคาโฆษณาในระบบ Demand Side Platform ดูมีแต่จะสูงขึ้นๆเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาด แต่ทว่า ตลาดหุ้นบ้านเราในขณะนี้ กลับเตี้ยลงๆ

            ใครก็ได้ช่วยโซวบักท้ง ลงจากดอยที!

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635157#sthash.Z5a8hka2.dpuf

ช่วงนี้วงการโฆษณาดิจิทัลในบ้านเรา เริ่มมีกระแสพูดถึงเรื่อง DSP ( Demand Side Platform ) มากขึ้นเรื่อยๆ

หลายคนอาจจะไม่เคยรู้จัก DSP มาก่อน ขออธิบายง่ายๆ สไตล์โซวบักท้งว่า ระบบ DSP  ก็คือ ระบบซื้อโฆษณาออนไลน์แบบหนึ่งนั่นเอง สื่อออนไลน์นั้น มี Channel มากมายหลายช่องทางมากๆ

            ถ้าเปรียบเทียบกับโทรทัศน์บ้านเรา หลังจากปรับเปลี่ยนคลื่นสัญญาณมาเป็นระบบดิจิทัลแล้ว ก็เพิ่มจำนวนช่องจากเดิมที่มี 6 ช่อง กลายเป็น 36 ช่อง แต่ถึงช่องจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรมาก เรายังสามารถที่จะจัดการซื้อโฆษณาโทรทัศน์ โดยใช้คนติดต่อประสานงาน

            แต่พอหันมาดูสื่อออนไลน์บ้าง ความยากก็เริ่มเกิดขึ้นในบัดดล เพราะจำนวนเว็บไซต์มากมายเหลือเกิน เอาแค่ในไทยขณะนี้ คาดการณ์ว่าหลายหมื่นเว็บไซต์ เว็บเล็ก เว็บน้อย เว็บใหญ่ ถ้าคิดจะซื้อโฆษณาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในดิจิทัล น่าจะต้องกุมขมับกันหลายที

            ทั้งเว็บแต่ละเว็บ ยังมีโมเดลการซื้อขายโฆษณาไม่เหมือนกันอีก บางที่ก็เป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือน บางที่ก็เป็นแบบ CPM (Cost per mile) บางที่เป็นแบบ CPC (Cost per click) ขนาดแบนเนอร์ก็ยังแตกต่างกันอีก เอาแค่มาตรฐานกลางๆ ก็มีหลาย 10 ขนาดเข้าไปแล้ว

            แล้วเราจะบริหารจัดการสื่อโฆษณาออนไลน์อย่างไร

            ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนพยายามที่จะทำให้การจัดการซื้อโฆษณาง่ายขึ้น ด้วยการสร้างระบบที่เรียกว่า Ad Network ขึ้นมา อย่างในไทยก็จะมี Nipa  Bumq หรือ Adyim หรือในระดับโลก ก็จะมี Google Display Network (GDN) หรือ Komli เป็นต้น

แต่ไปๆ มาๆ จำนวน Ad Network ก็เยอะแยะหลายค่ายมากมาย ในไทยอาจจะไม่เยอะ แต่สำหรับในต่างประเทศนั้น เรียกได้ว่ามีหลายพัน Network

            พอถึงเวลาที่จะต้องบริหารโฆษณาผ่าน Ad Network หลายๆ ค่ายเข้า ปัญหาการดูแลจัดการก็เริ่มปรากฏขึ้นเหมือนเดิม ต่างค่าย ก็ต่างกรรมวิธี มีโมเดลการคิดเงินไม่เหมือนกัน ลักษณะแบนเนอร์ก็แตกต่างกัน ก็เลยเป็นที่มาของระบบ Demand Side Platform หรือ DSP อันนี้นี่เองครับ

            ระบบ DSP คือ ระบบที่เชื่อมต่อเครือข่ายเว็บไซต์หลายๆ แห่งเข้าด้วยกัน ทำให้เราไม่ต้องวุ่นวาย ไป login เข้าระบบไปซื้อโฆษณาจาก ที่นั่น ที่นี่ ที่โน่น หลายๆ ที่ แต่เราสามารถจัดการซื้อโฆษณาจากระบบ DSP ได้อย่างสะดวกสบาย ภายใน Interface อันเดียว

            การซื้อขายโฆษณาจะผ่านระบบการประมูลแบบ Real Time (RTB) ผู้ลงโฆษณาสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ รวมถึงสามารถควบคุม KPI ของการลงโฆษณา อาทิ CPC (Cost per Click) หรือ CPA (Cost per action) ได้ด้วยตัวเอง

อีกนัยหนึ่ง DSP ก็คือ ระบบโฆษณา ที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซื้อโฆษณา ให้ได้มีโอกาสได้ซื้อโฆษณาได้มีประสิทธิภาพในราคาถูกที่สุดนั่นเอง

            ผมเข้าใจเอาเองว่า ช่วงนี้กระแส DSP เริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในไทย เพราะว่าบรรดาเอเยนซีเจ้าใหญ่ๆ ทั้งหลาย เริ่มจะเข้ามาขอร้องเชิงบังคับ ให้เว็บไซต์ใหญ่ๆในเมืองไทย มาเข้าร่วมระบบ DSP ที่ตัวเองได้จัดทำขึ้นมา

ถ้าไม่เข้าร่วม โฆษณาก็ไม่มีนะจ๊ะ มามุขนี้ ถึงไม่อยากจะเข้าร่วม ก็ต้องเข้าร่วมในบัดดล

            มองในแง่ของผู้ลงโฆษณา ผู้ลงโฆษณาก็ยิ้มกริ่มได้ประโยชน์ครับ เพราะสามารถซื้อโฆษณาได้ในราคาถูก แต่ถ้ามองในแง่ของ Publisher หรือ เจ้าของเว็บไซต์แล้ว DSP อาจไม่ใช่ระบบที่น่าปลาบปลื้มเท่าไรนัก เพราะว่าเจ้าของเว็บไซต์ไม่สามารถตั้งราคาโฆษณาได้ตามที่ตัวเองต้องการ แต่ราคาจะต้องอิงกับราคาความต้องการของตลาด ระบบนี้จึงถูกเรียกว่า “Demand” Side Platform นั่นเอง

            แน่นอนครับ Publishers หรือ เจ้าของเว็บไซต์ คงไม่ยอมให้ผู้ซื้อโฆษณาเอาเปรียบฝั่งเดียวแน่ๆ ทางฝั่ง Publisher จึงทำการคลอดเทคโนโลยี ออกมาคานอำนาจ เทคโนโลยีนั้น ก็คือ SSP หรือ Supply-Side Platform นั่นเอง

            หลักการทำงานของ SSP นั้น เข้าใจได้ไม่ยากครับ มันคือระบบที่ทำงานตรงกันข้ามกับทางด้าน DSP

            ในระหว่างที่ DSP พยายามที่จะหาช่องทางการลงโฆษณาที่จ่ายถูกที่สุด แต่ SSP จะทำงานอยู่ทางฝั่ง Publisher โดยจะพยายามหาผู้ลงโฆษณาที่จ่ายแพงที่สุดมาแสดงผล

            ระบบโฆษณา SSP ที่ทำงานอยู่บนเว็บไซต์ อาจพยายามหมุนหาโฆษณาจากหลายๆค่าย แล้วลองแทรคดูว่าโฆษณาจากค่ายใด ที่ให้ราคาต่อคลิกสูงที่สุด แล้วก็จะพยายามแสดงโฆษณาของค่ายนั้น บ่อยๆ เพื่อให้กระเป๋าตังค์ตุงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

จะว่าไปแล้ว ระบบ ซื้อ-ขาย โฆษณาบนเว็บไซต์ในยุคนี้ ไม่ต่างอะไรกับการซื้อขายหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์เท่าไรนัก มีขึ้น มีลง ตาม Demand – Supply

            แต่อย่างหนึ่งที่อาจจะดูแตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ ราคาโฆษณาในระบบ Demand Side Platform ดูมีแต่จะสูงขึ้นๆเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาด แต่ทว่า ตลาดหุ้นบ้านเราในขณะนี้ กลับเตี้ยลงๆ

            ใครก็ได้ช่วยโซวบักท้ง ลงจากดอยที!


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มารู้จัก DSP SSP

view