สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงมากเพียงใด

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงความเป็นไปได้ ที่จีนอาจปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงเพื่อช่วยยุติการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

ที่ตัวเลขของทางการประเมินว่าขยายตัว 7% ในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปีนี้ ในขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจจีนอาจขยายตัวต่ำกว่า 7% ทั้งปีนี้และปีหน้า ซึ่งผมได้กล่าวในครั้งก่อนว่า ทิศทางของเศรษฐกิจจีนย่อมมีผลต่อเศรษฐกิจไทย เพราะหากเศรษฐกิจจีนอ่อนตัวและเงินหยวนอ่อนค่า ก็คงจะทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนตัวและเงินบาทอ่อนค่าเช่นกัน ซึ่งผมจะไม่ขอขยายความเรื่องนี้อีก และอยากกล่าวถึงข้อมูลและการวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ เมื่อ 6 สิงหาคม (China’s Inconvenient Truth) ซึ่งมีข้อสรุปดังนี้

1.ข้อมูลระดับจุลภาคสะท้อนว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงหลังจากการขยายตัวเฉลี่ย 9.3% ต่อปีในช่วง 10 ปีก่อนหน้า เหลือเพียง 7% ในครึ่งแรกของปีนี้ ส่วนหนึ่งเพราะการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยลดการลงทุน (เพื่อขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออก) ลงและหันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศแทน แต่นักวิเคราะห์ก็ยังมีข้อสงสัยในตัวเลขเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งสูงเกินกว่าตัวเลขเศรษฐกิจจุลภาคอย่างเห็นได้ชัด เช่น ตัวเลขการผลิตไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้นในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (แต่ตัวเลขการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 6.8%) และการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าลดลงด้วย นอกจากนั้น การผลิตปูน (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการก่อสร้าง) ก็ปรับลดลงอย่างเห็นได้ชัด (ลดลง 7% ใน 3 เดือนที่ผ่านมา) พร้อมกับอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งยอดการผลิตไม่เพิ่มขึ้น แบงก์ออฟอเมริกายังพบว่า ยอดการขนส่งทั้งทางรถไฟและทางรถบรรทุกก็ลดลงเช่นกัน และยอดการขายรถยนต์ก็หดตัวลงเป็นครั้งแรกนับจากปี 2012 การชะลอตัวดังกล่าว ได้ทำให้อุปสงค์ของจีนสำหรับทองแดงและเหล็กกล้าตกต่ำลง ซึ่งฉุดราคาสินค้าดังกล่าว และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ลงตามไปด้วย

2.ความต้องการน้ำมันของจีนเพิ่มขึ้น แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินหยวนและราคาที่ลดลง จีนบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น 6% ในครึ่งแรกของปีนี้ แต่ดูเหมือนว่าเป็นเพราะปัจจัย 3 ประการ คือราคาที่ลดลง เงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น และนโยบายที่เพิ่มการสต็อกน้ำมัน ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมานอกจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากแล้ว เงินหยวนก็ยังผูกกับเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งแข็งค่าขึ้นมาโดยตลอด และรัฐบาลก็ส่งต่อการลดลงของราคาน้ำมันดิบไปยังผู้บริโภค โดยการปรับลดราคาขายปลีกของเชื้อเพลิงต่างๆ โดยทันที ทั้งนี้หากหักการเพิ่มสต็อกออกจากตัวเลขการบริโภคน้ำมันแล้ว แบงก์ออฟอเมริกาประเมินว่า การบริโภคน้ำมันจริงจะเพิ่มขึ้นเพียง 300,000 บาร์เรลต่อวัน ในปีนี้ปีหน้า เมื่อเทียบกับปี 2003-2012 ที่ต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละปี

3.การลดค่าเงินหยวนคือความเสี่ยงสำหรับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ธนาคารกลางจีนพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายลงไปถึง 4 ครั้งใน 7 เดือนที่ผ่านมา ตลอดจนการลดทุนสำรองการปล่อยสินเชื่อ และการเร่งการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งแบงก์ออฟอเมริกาคาดว่า ธนาคารกลางจีนจะต้องลดดอกเบี้ยลงต่อไปอีก และจะต้องเปิดเสรีการไหลเข้า-ออกของเงินทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้ไอเอ็มเอฟเห็นชอบการนำเอาเงินหยวนไปคำนวณค่าของเงินทุนสำรองระหว่าง ประเทศของไอเอ็มเอฟ คือ เอส ดี อาร์ (special Drawing Rights) ประเด็นคือ นโยบายทั้งสอง (ลดดอกเบี้ยและเปิดเสรีการไหลของเงินทุน) จะต้องนำไปสู่การลดค่าเงินหยวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ สามารถคาดการณ์ได้ว่าในขณะที่ธนาคารกลางจีนลดดอกเบี้ย แต่ธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น น่าจะนำไปสู่การไหลออกของเงินทุนจากจีน (ที่มีการเปิดเสรีมากขึ้น) ซึ่งจะกดดันค่าเงินหยวนอย่างมาก ทั้งนี้ แบงก์ออฟอเมริกาคาดการณ์ว่า จีนอาจจะขยายกรอบการแกว่งตัวของค่าเงินหยวนในต้นปีหน้า ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงก็น่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้เงินหยวนอ่อนค่าลงในทันที

การ อ่อนค่าของเงินหยวนนั้น ไม่น่าจะกระทบต่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะประเภทอาหารมากนัก แต่น่าจะกระทบกับสินค้าโภคภัณฑ์ ที่เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในส่วนที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น จีนนำเข้าทองคำขาว (platinum) คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 30% ของอุปสงค์โดยรวมของโลก ตามด้วยแร่เหล็ก (28% ของอุปสงค์โลก) และทองแดง (15% ของอุปสงค์โลก) เป็นต้น

ทั้งนี้ แบงค์ออฟอเมริกาประเมินว่า หากนโยบายลดดอกเบี้ยของจีนช่วยให้เศรษฐกิจจีนฟื้นได้จริงแล้ว แม้ว่าจะส่งผลให้เงินหยวนอ่อนค่าลงไปบ้าง ก็อาจไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะอาจจะมีแรงซื้อเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน แต่หากเงินหยวนอ่อนค่าลงไปมากเพราะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก ก็จะส่งผลอย่างมากต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งแบงก์ออฟอเมริกาประเมินว่าทุกๆ 1% ที่หยวนอ่อนค่าลงนั้น ก็อาจทำให้ราคาดอลลาร์ของทองคำขาวลดลง 1.3% ราคาทองแดงลดลง 1.2% ราคาอะลูมิเนียมลดลง 0.9% ทองคำลดลง 0.7% น้ำมันเบรนด์ลดลง 0.5% เป็นต้น

ทั้งนี้ ขอย้ำว่าเป็นการคาดการณ์ของแบงก์ออฟอเมริกา ซึ่งอาจผิดพลาดก็ได้ แต่เป็นการประเมินให้เห็นภาพว่า การอ่อนค่าของเงินหยวนในกรณีที่เศรษฐกิจจีนทรุดตัวลงไปอีกใน 6-12 เดือนข้างหน้าจะส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบหลักของภาคการผลิตอย่างไรบ้าง ซึ่งผลกระทบต่อไทยคือ การปรับลดลงของเงินเฟ้อของโลกโดยรวม หรือหากมองในแง่ลบก็คือ การประเมินว่าการลดค่าเงินหยวนนั้นจะส่งออกสภาวะเงินฝืด (deflation) ได้อย่างไรบ้าง ต้องเน้นว่าการประเมินผลกระทบข้างต้นนั้น เปรียบเทียบกับราคาที่คิดเป็นเหรียญสหรัฐ ดังนั้น การจะหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบดังกล่าวโดยประเทศคู่ค้าอื่นๆ ก็คือการลดดอกเบี้ย เพื่อทำให้เงินสกุลของตนลดค่าลง เมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐ หรือจะต้องลดค่าเงินตามการอ่อนตัวของเงินหยวนนั่นเอง

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635311#sthash.u7h4YJxM.dpuf

ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงความเป็นไปได้ ที่จีนอาจปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงเพื่อช่วยยุติการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

ที่ตัวเลขของทางการประเมินว่าขยายตัว 7% ในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปีนี้ ในขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจจีนอาจขยายตัวต่ำกว่า 7% ทั้งปีนี้และปีหน้า ซึ่งผมได้กล่าวในครั้งก่อนว่า ทิศทางของเศรษฐกิจจีนย่อมมีผลต่อเศรษฐกิจไทย เพราะหากเศรษฐกิจจีนอ่อนตัวและเงินหยวนอ่อนค่า ก็คงจะทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนตัวและเงินบาทอ่อนค่าเช่นกัน ซึ่งผมจะไม่ขอขยายความเรื่องนี้อีก และอยากกล่าวถึงข้อมูลและการวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ เมื่อ 6 สิงหาคม (China’s Inconvenient Truth) ซึ่งมีข้อสรุปดังนี้

1.ข้อมูลระดับจุลภาคสะท้อนว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงหลังจากการขยายตัวเฉลี่ย 9.3% ต่อปีในช่วง 10 ปีก่อนหน้า เหลือเพียง 7% ในครึ่งแรกของปีนี้ ส่วนหนึ่งเพราะการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยลดการลงทุน (เพื่อขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออก) ลงและหันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศแทน แต่นักวิเคราะห์ก็ยังมีข้อสงสัยในตัวเลขเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งสูงเกินกว่าตัวเลขเศรษฐกิจจุลภาคอย่างเห็นได้ชัด เช่น ตัวเลขการผลิตไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้นในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (แต่ตัวเลขการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 6.8%) และการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าลดลงด้วย นอกจากนั้น การผลิตปูน (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการก่อสร้าง) ก็ปรับลดลงอย่างเห็นได้ชัด (ลดลง 7% ใน 3 เดือนที่ผ่านมา) พร้อมกับอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งยอดการผลิตไม่เพิ่มขึ้น แบงก์ออฟอเมริกายังพบว่า ยอดการขนส่งทั้งทางรถไฟและทางรถบรรทุกก็ลดลงเช่นกัน และยอดการขายรถยนต์ก็หดตัวลงเป็นครั้งแรกนับจากปี 2012 การชะลอตัวดังกล่าว ได้ทำให้อุปสงค์ของจีนสำหรับทองแดงและเหล็กกล้าตกต่ำลง ซึ่งฉุดราคาสินค้าดังกล่าว และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ลงตามไปด้วย

2.ความต้องการน้ำมันของจีนเพิ่มขึ้น แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินหยวนและราคาที่ลดลง จีนบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น 6% ในครึ่งแรกของปีนี้ แต่ดูเหมือนว่าเป็นเพราะปัจจัย 3 ประการ คือราคาที่ลดลง เงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น และนโยบายที่เพิ่มการสต็อกน้ำมัน ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมานอกจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากแล้ว เงินหยวนก็ยังผูกกับเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งแข็งค่าขึ้นมาโดยตลอด และรัฐบาลก็ส่งต่อการลดลงของราคาน้ำมันดิบไปยังผู้บริโภค โดยการปรับลดราคาขายปลีกของเชื้อเพลิงต่างๆ โดยทันที ทั้งนี้หากหักการเพิ่มสต็อกออกจากตัวเลขการบริโภคน้ำมันแล้ว แบงก์ออฟอเมริกาประเมินว่า การบริโภคน้ำมันจริงจะเพิ่มขึ้นเพียง 300,000 บาร์เรลต่อวัน ในปีนี้ปีหน้า เมื่อเทียบกับปี 2003-2012 ที่ต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละปี

3.การลดค่าเงินหยวนคือความเสี่ยงสำหรับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ธนาคารกลางจีนพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายลงไปถึง 4 ครั้งใน 7 เดือนที่ผ่านมา ตลอดจนการลดทุนสำรองการปล่อยสินเชื่อ และการเร่งการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งแบงก์ออฟอเมริกาคาดว่า ธนาคารกลางจีนจะต้องลดดอกเบี้ยลงต่อไปอีก และจะต้องเปิดเสรีการไหลเข้า-ออกของเงินทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้ไอเอ็มเอฟเห็นชอบการนำเอาเงินหยวนไปคำนวณค่าของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไอเอ็มเอฟ คือ เอส ดี อาร์ (special Drawing Rights) ประเด็นคือ นโยบายทั้งสอง (ลดดอกเบี้ยและเปิดเสรีการไหลของเงินทุน) จะต้องนำไปสู่การลดค่าเงินหยวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ สามารถคาดการณ์ได้ว่าในขณะที่ธนาคารกลางจีนลดดอกเบี้ย แต่ธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น น่าจะนำไปสู่การไหลออกของเงินทุนจากจีน (ที่มีการเปิดเสรีมากขึ้น) ซึ่งจะกดดันค่าเงินหยวนอย่างมาก ทั้งนี้ แบงก์ออฟอเมริกาคาดการณ์ว่า จีนอาจจะขยายกรอบการแกว่งตัวของค่าเงินหยวนในต้นปีหน้า ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงก็น่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้เงินหยวนอ่อนค่าลงในทันที

การอ่อนค่าของเงินหยวนนั้น ไม่น่าจะกระทบต่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะประเภทอาหารมากนัก แต่น่าจะกระทบกับสินค้าโภคภัณฑ์ ที่เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในส่วนที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น จีนนำเข้าทองคำขาว (platinum) คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 30% ของอุปสงค์โดยรวมของโลก ตามด้วยแร่เหล็ก (28% ของอุปสงค์โลก) และทองแดง (15% ของอุปสงค์โลก) เป็นต้น

ทั้งนี้ แบงค์ออฟอเมริกาประเมินว่า หากนโยบายลดดอกเบี้ยของจีนช่วยให้เศรษฐกิจจีนฟื้นได้จริงแล้ว แม้ว่าจะส่งผลให้เงินหยวนอ่อนค่าลงไปบ้าง ก็อาจไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะอาจจะมีแรงซื้อเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน แต่หากเงินหยวนอ่อนค่าลงไปมากเพราะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก ก็จะส่งผลอย่างมากต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งแบงก์ออฟอเมริกาประเมินว่าทุกๆ 1% ที่หยวนอ่อนค่าลงนั้น ก็อาจทำให้ราคาดอลลาร์ของทองคำขาวลดลง 1.3% ราคาทองแดงลดลง 1.2% ราคาอะลูมิเนียมลดลง 0.9% ทองคำลดลง 0.7% น้ำมันเบรนด์ลดลง 0.5% เป็นต้น

ทั้งนี้ ขอย้ำว่าเป็นการคาดการณ์ของแบงก์ออฟอเมริกา ซึ่งอาจผิดพลาดก็ได้ แต่เป็นการประเมินให้เห็นภาพว่า การอ่อนค่าของเงินหยวนในกรณีที่เศรษฐกิจจีนทรุดตัวลงไปอีกใน 6-12 เดือนข้างหน้าจะส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบหลักของภาคการผลิตอย่างไรบ้าง ซึ่งผลกระทบต่อไทยคือ การปรับลดลงของเงินเฟ้อของโลกโดยรวม หรือหากมองในแง่ลบก็คือ การประเมินว่าการลดค่าเงินหยวนนั้นจะส่งออกสภาวะเงินฝืด (deflation) ได้อย่างไรบ้าง ต้องเน้นว่าการประเมินผลกระทบข้างต้นนั้น เปรียบเทียบกับราคาที่คิดเป็นเหรียญสหรัฐ ดังนั้น การจะหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบดังกล่าวโดยประเทศคู่ค้าอื่นๆ ก็คือการลดดอกเบี้ย เพื่อทำให้เงินสกุลของตนลดค่าลง เมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐ หรือจะต้องลดค่าเงินตามการอ่อนตัวของเงินหยวนนั่นเอง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เศรษฐกิจจีน ชะลอตัวลง มากเพียงใด

view