สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เมื่อผู้นำโลกเปลี่ยนมือ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ช่วยกันคิด

โดย ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร, พีรพรรณ สุวรรณรัตน์

หากให้เรานึกถึงกลุ่มผู้นำเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ รายชื่อประเทศสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น คงผุดขึ้นมาในความคิดของเราอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ใช่หรือที่ประเทศเหล่านี้เป็นผู้ผลักดันเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน หรือมีบางประเทศที่เป็น "ผู้ถือหางเสือ" คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอย่างเงียบ ๆ

จนเราไม่รู้ตัวเลยว่า "ผู้นำโลกปัจจุบันได้เปลี่ยนมือไปแล้ว"

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กว่าครึ่งหนึ่งของการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเพียง 3 ประเทศเท่านั้น (ภาพประกอบ) ซึ่งก็ไม่ใช่ประเทศที่เรานึกถึงในทีแรกทั้งหมด สหรัฐอเมริกา เป็นเพียงผู้นำเจ้าเก่าเจ้าเดียวที่ยังคงฐานะผู้นำโลกไว้ได้ โดยได้พิสูจน์ตนเองจากการหลุดพ้นจากวิกฤตมาได้ก่อนใคร ขณะที่ยุโรปยังคงมีปัญหาหนี้สาธารณะเรื้อรัง และเศรษฐกิจญี่ปุ่นเองก็ซบเซามากว่า 2 ทศวรรษแล้ว



ด้านผู้ถือหางเสือคนใหม่ข้างหนึ่งนั้นเป็นที่รู้จักกันดี เขาก็คือ ตี๋ใหญ่พี่จีน ของเรานี่เอง ซึ่งได้ผงาดขึ้นมาเป็นแถวหน้าของเอเชียอย่างชัดเจนเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว ภายหลังเปิดประเทศและเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกได้สำเร็จเมื่อปลายปี2544 เศรษฐกิจก็ขยายตัวได้เป็นเลข 2 หลักจากการส่งออกที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว นอกจากนี้จีนยังได้พัฒนาเมืองตามหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และทำให้การจับจ่ายใช้สอยในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย

แม้ว่าในช่วงวิกฤตการเงินปี 2551-2552ประเทศนี้ก็ใช้วิธีกระตุ้นการลงทุนในประเทศ และประคับประคองเศรษฐกิจให้โตในระดับสูงมาได้โดยตลอด แต่ต้องยอมรับว่าในขณะนี้จีนยังเผชิญความท้าทายจากปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ทางการเงิน โดยดัชนีตลาดหุ้นจีนที่เคลื่อนไหวอย่างผันผวนจากการเข้าเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อย ด้วยเงินกู้ยืมโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน เราจึงต้องติดตามดูว่าจีนจะแก้ปัญหานี้ไปได้อย่างไร

และผู้ถือหางเสืออีกข้างหนึ่งที่ใครหลายคนคาดไม่ถึงก็คือ อินเดีย ซึ่งได้ไต่อันดับขึ้นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก โดยมีที่มาที่ไปของเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากการยกระดับการศึกษาที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว ทำให้ปัจจุบันคนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และได้รับการยอมรับว่าเป็นคนคุณภาพของโลกอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาก็ได้รับการส่งเสริม และมีการพัฒนานักวิชาการตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว ทำให้ปัจจุบันคนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และได้รับการยอมรับว่าเป็นคนคุณภาพของโลกอย่างแพร่หลาย

นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาได้รับการส่งเสริม และมีการพัฒนานักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมาทดแทนรุ่นเก่าอย่างจริงจัง จนทำให้ภาคบริการด้านวิชาการกลายเป็นกลจักรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดียไปแล้ว นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอินเดีย ยังได้ออกแผนปฏิรูปประเทศ Make in India เพื่อดึงดูดให้คนอินเดีอยู่ทำงานในประเทศ และจูงใจให้นักลงทุนทั้งในและต่างชาติเข้ามาลงทุนในอินเดียมากขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้เองทำให้อินเดียยังมีอนาคตที่สดใสต่อไป

จุดร่วมประการหนึ่งของจีนและอินเดียผู้นำโลกรุ่นใหม่นี้คือการใช้ประโยชน์จากประชากรของทั้งสองประเทศที่รวมกันแล้วมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรโลกได้อย่างคุ้มค่า โดยจีนใช้ข้อได้เปรียบจากจำนวนประชากรที่มาก ทำให้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีราคาถูกเพียง 2,541 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งถูกกว่าแรงงานขั้นต่ำไทยที่คิดเป็นประมาณ 3,220 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่อินเดียก็พัฒนาคนของตนเองเป็นแรงงานมีทักษะ และทำให้ภาคบริการกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ระหว่างที่ผู้นำโลกกำลังเปลี่ยนมือกันนี้ สำหรับไทยเราซึ่งเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ และพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก ก็คงต้องทำตัวเป็น "ต้นอ้อที่ลู่ลม" ปรับตัวเข้าหาผู้นำโลกกลุ่มใหม่ เพื่อจะได้เห็นฟ้าอันสดใสหลังเมฆฝน เพราะหากเรายังคงทำตัวเป็น "ต้นโอ๊ก" ยึดติดกับผู้นำเดิม

เศรษฐกิจก็อาจจะหักโค่นจากพายุที่โหมกระหน่ำในประเทศเหล่านั้นก็เป็นได้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผู้นำโลก เปลี่ยนมือ

view