สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รักประเทศไทย ยิ่งแก่ ยิ่งต้องแกร่ง

รักประเทศไทย ยิ่งแก่ ยิ่งต้องแกร่ง

โดย :
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635390#sthash.F0tnZBaB.dpuf

รักประเทศไทย ยิ่งแก่ ยิ่งต้องแกร่ง
โดย : รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เรื่องแก่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การแก่อย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีที่เราร่วมเรียนรู้สร้างเสริมความสามารถกันได้

ก่อนอื่นดิฉันขอร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยกับการสูญเสีย ชีวิตและการบาดเจ็บของพี่น้องชาวไทยและชาวต่างชาติจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิด ที่แยกราชประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนไทยและคนทั่วโลก หวังใจอย่างยิ่งว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก ขอให้พี่น้องทุกท่านช่วยกันระวังภัยเท่าที่จะทำได้ด้วยการคอยสังเกตสังกาจับ ตาพฤติกรรมของคนตามสถานที่ต่างๆที่เราเดินทางผ่านไป เห็นอะไรที่ดูไม่ชอบมาพากลก็ (แอบ) ถ่ายภาพ (เพื่อความปลอดภัยของตนเอง) แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบ แม้เราจะเป็นพลเรือนธรรมดาๆไม่ใช่สายลับที่ได้รับการฝึกมาอย่างช่ำชอง แต่เชื่อว่าถ้าคนไทยหกสิบกว่าล้านคนช่วยกันเป็นหูเป็นตากันอย่างจริงจัง าการก่อการร้ายไม่น่าจะเกิดขึ้นง่ายๆ ถ้าคนไทยเราไม่ช่วยกันแล้วใครจะมาช่วยเราประเทศเรามีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เป็นประเทศที่สวยงามมีวัฒนธรรมเก่าแก่ คนไทยก็เป็นคนที่มีความสามารถ ชาติเราควรจะก้าวหน้าไปกว่านี้ อย่างไรก็ตามไม่มีประโยชน์ที่จะมานั่งบ่นคร่ำครวญเกี่ยวกับอดีตที่เราไม่ สามารถไปแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วได้ เราจงมาให้กำลังใจกันและกันเพื่อร่วมหาหนทางพัฒนาประเทศของเราให้เดินหน้า ต่อไปดีกว่า

เมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศทั่วโลก ชาติไทยเราถือเป็นชาติเก่าแก่ชาติหนึ่ง แม้จะไม่เก่าแก่ขนาดมีอายุหลายพันปี แต่ประวัติศาสตร์ของเราก็มีมากว่า 700 ปี บางชนชาติที่เก่าแก่มากๆก็สูญหายไปจากโลกนานแล้วเพราะไม่สามารถดำรงความ ยั่งยืนเอาไว้ได้ เหลือเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ขณะนี้ประเทศเราซึ่งถือว่ามีอายุของชาติเก่าแก่ก็กำลังเดินหน้าสู่สภาวการณ์ อีกสภาวการณ์หนึ่งที่เราไม่เคยมีประสบการณ์นี้มาก่อน สภาวการณ์นี้ก็คือการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ  (Ageing society) ที่องค์กรทุกภาคส่วนตลอดจนประชาชนคนเดินถนนต้องทำความเข้าใจรู้จักกับ สถานการณ์นี้ เพราะสังคมสูงอายุจะมีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของประเทศและของประชาชนทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชอบไม่ชอบก็ต้องเจอ แต่จะดำเนินชีวิตและบริหารกิจการของเราอย่างไรจึงจะทำให้เราได้ประโยชน์สูง สุดเป็นประเด็นที่เราจะมาคุยกันในคราวนี้ค่ะ

คงไม่มีใครชอบแก่หรืออยากแก่ แต่เมื่อมันต้องแก่ ก็ต้องแก่อย่างมีคุณภาพ มีความสุขและประสบความสำเร็จ  เรื่องแก่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การแก่อย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีที่เราร่วมเรียน รู้สร้างเสริมความสามารถกันได้ ประเทศอื่นในยุโรปและบางประเทศในเอเชีย เช่น ฝรั่งเศส สวีเดน เดนมาร์ค เยอรมัน ญี่ปุ่นได้ล่วงหน้าเข้าสังคมสูงอายุไปก่อนไทยแล้ว เราจึงสามารถเรียนรู้บทเรียนจากประเทศเหล่านี้เพื่อเตรียมการรับมือกับการ แก่ของเราได้ทันท่วงที เพราะเราได้เข้าสู่สังคมสูงอายุมาได้ประมาณ 10 ปีแล้ว แต่คงยังไม่ค่อยรู้สึกถึงผลของมันมากนักเมื่อแรกเข้า เพราะเมื่อดูตามถนนหนทางเรายังเห็นเด็ก เห็นคนหนุ่มสาวเดินตามถนนเป็นจำนวนหนาตาอยู่ แต่สำหรับคนที่ทำงานด้าน HR น่าจะรู้สึกถึงผลกระทบบ้างแล้ว เพราะปัญหาเรื่องของการสรรหาพนักงานทั้งคนเก่งและแม้ไม่เก่งมาทำงานนั้นเป็น ประเด็นมาหลายปีแล้ว คนเก่าออกไปแต่หาคนใหม่มาแทนที่ไม่ได้ ไม่รู้ว่าคนหายไปไหนหมด ที่หายไปไม่ใช่เพราะไปทำงานต่างประเทศเท่านั้น แต่เพราะอัตราการเกิดของเราลดต่ำลงติดต่อกันมากว่าสามทศวรรษ ดังนั้นจำนวนประชากรวัยทำงานก็ต้องลดลงเป็นธรรมดา ทั้งนี้เราสามารถสรุปผลกระทบของสังคมสูงอายุที่มีต่อสิ่งแวดล้อมความเป็น อยู่ของเราได้ดังนี้

ผลกระทบด้านแรงงานและช่วงเวลาในการทำงาน ดังกล่าวไปบ้างแล้วเบื้องต้นว่าการเป็นสังคมสูงอายุย่อมมีผลต่อลักษณะ ประชากรศาสตร์ของตลาดแรงงานนั่นคือ มีจำนวนของประชากรวัยแรงงาน (15-64 ปี) ที่องค์กรต่างๆสามารถจัดจ้างมาทำงานได้น้อยลง  ส่วนแรงงานที่อยู่ในองค์กรก็จะมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น  พนักงานในองค์กรจะมีวัยที่หลากหลาย (Multi-generation workforce) มากขึ้นโดยมีตั้งแต่อายุน้อยมาก (เพราะองค์กรหาคนไม่ได้ก็ต้องจ้างเด็กมาทำงาน) จนถึงมากกว่าวัย 60 ปี (เพราะหาคนไม่ได้ ก็ต้องจ้างคนวัยเกษียณให้ทำงานต่อไปอีก) จากนั้นก็จะมีการจ้างผู้หญิงที่เป็นแม่ลูกอ่อน หรือที่เป็นแม่บ้านให้ออกจากบ้านมาทำงานมากขึ้น ตลอดจนต้องมีการปรับชั่วโมงการทำงานให้เหมาะสมกับแรงงานที่มีอยู่ เช่น แรงงานสูงอายุที่ไม่ค่อยมีแรงทำงาน ก็ต้องปรับเวลาให้ทำช่วงสั้น แต่เพิ่มวัน หรือสำหรับเด็กที่ยังอยู่ในวัยเรียนหนังสือที่มีภาระการเรียนกับแม่บ้านที่ มีภาระงานที่บ้านทำให้ไม่สามารถมาทำงานเต็มเวลา ก็ต้องมาทำงานเป็นบางช่วงเวลา เป็นต้น ซึ่งเมื่อพยายามจ้างทั้งแรงงานสูงวัย แรงงานผู้หญิงและเด็ก แต่ยังไม่พอกับความต้องการอีก ก็ต้องจ้างแรงงานมาจากต่างประเทศ ซึ่งตามหลักการบริหารคนแล้วไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีในระยะยาว และเมื่อยังไม่พออีกก็ต้องพึ่งเครื่องจักรหุ่นยนต์มาทำงาน แต่ถ้าขาดทุนและเทคโนโลยีก็ต้องยอมรับสภาพ ไม่สามารถขยายกิจการให้เติบโตต่อไป หรือไม่ก็ต้องลดขนาดกิจการ

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เมื่อประชากรมีคนสูงวัยมากขึ้นและแรงงานมีอายุมากขึ้นย่อมมีผลกระทบกับ ประเภทของอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการที่องค์กรผลิตอยู่ ธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากการที่คนสูงวัยมากขึ้น คือ ธุรกิจการรักษาพยาบาลและธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพ ยา อาหารเสริม เทคโนโลยีชีวภาพ ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการต่างๆ เช่น บ้านพัก สถานที่พักผ่อนและดูแลคนชรา การท่องเที่ยวสำหรับคนวัยเกษียณ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารที่จะพลิกอุปสรรคให้เป็นโอกาส เช่น จากเคยผลิตเครื่องดื่มสำหรับคนหนุ่มสาว ก็หันมาผลิตเครื่องดื่มสำหรับคนชรา เคยผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบธรรมดาๆ ก็อาจเปลี่ยนมาผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนชรา เคยผลิตรถยนต์ธรรมดาๆ ก็ต้องเพิ่มอ๊อปชั่นสร้างความสะดวกให้นักขับสูงวัยเป็นต้น ท่ามกลางอุปสรรคย่อมมีโอกาสอยู่ในนั้นเสมอถ้ารู้จักมองหา หันมามองธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบที่ไม่น่าพอใจบ้างก็คือ ธุรกิจเกี่ยวกับทารก เช่น อาหาร เสื้อผ้าของทารก ของเล่น และข้าวของเครื่องใช้ทั้งหลายที่เน้นตลาดเยาวชน พวกโรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนต่างๆก็จะมีจำนวนนักเรียนน้อยลง การลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆมีแนวโน้มลดลง สถานบันเทิงที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ของหนุ่มสาวจะลดลง แต่จะเป็นสถานบันเทิงแบบคนสูงวัยแทน

จากประสบการณ์ของประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยก่อนไทย เช่น เยอรมัน  อังกฤษ  สเปน พบว่าผลผลิตมวลรวมของชาติลดลง แต่ค่าใช้จ่ายในการดูแลพนักงานมากขึ้นในเรื่องของการรักษาพยาบาลและเงิน บำนาญ การออมและการลงทุนของประชากรและองค์กรในสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของคนสูงวัยย่อมแตกต่างจากคนหนุ่มสาว คนหนุ่มสาวจะลงทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่าแต่คนสูงวัยจะเน้นการออมมากกว่าลง ทุน จุดเปลี่ยนตรงนี้ย่อมมีผลต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินไม่มากก็ น้อย  นอกจากนี้ในสังคมสูงวัยยังมีนวัตกรรมลดลงเพราะว่าคนชรามักสร้างนวัตตกรรมได้ น้อยกว่าคนวัยเยาว์กว่า ธุรกิจเกิดใหม่ (Start-up business) เกิดขึ้นน้อยลง ความยืดหยุ่นขององค์กรในการปรับเปลี่ยนต่อสถานการณ์ต่างๆทำได้ช้าลงและน้อย ลง เพราะคนสูงวัยมักไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง

ผลกระทบด้านชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมและทิศทางการศึกษา จากสังคมที่เคยเห็นคนหนุ่มสาวมีจำนวนมากกว่าคนชรา และเห็นคนชราได้รับการดูแลจากลูกหลานในครอบครัว ต่อไปเราจะเห็นคนชราเดินตามถนนหนทางและ ทำงานอยู่ในสำนักงาน มากขึ้น แต่จะมีจำนวนลูกหลานคนหนุ่มสาวดูแลคนชราน้อยลง คนที่จะก้าวเข้าสู่วัยชราจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ ทักษะและทัศนคติในการดูแลบริหารชีวิตหลังเกษียณของตนเองอย่างมีสุขภาพดีทั้ง ร่างกายและจิตใจและมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีเพียงพอ ต้องสามารถพึ่งพาตนเองให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้แม้ไม่มีลูกหลานมาดูแล

การที่ครอบครัวและสังคมจะเปลี่ยนไปเพราะสภาวการณ์สังคมสูงอายุทำให้เรา ต้องทำการปรับระบบการศึกษาของชาติด้วย ระบบการศึกษาในยุโรปได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างทัศนคติให้กับประชากรว่า การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินไปตลอดชีวิต การศึกษาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอที่จะสร้างความพร้อมให้คนเรา ดำเนินชีวิตอยู่ได้จนแก่เฒ่า ทั้งนี้เพราะค่านิยมเรื่องการศึกษาแบบ ดั้งเดิมมุ่งเพียงให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง แต่ไม่ยืนยาวไปถึงวัยหลังเกษียณ ระบบการศึกษาของสังคมสูงอายุ (และอันที่จริงก็น่าจะเป็นสำหรับทุกสังคมด้วย) จึงต้องสร้างความพร้อมให้ประชากรทั้งในแง่การประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในช่วงวัยต่างๆตลอดชีวิต การ ศึกษาจึงต้องเป็นสิ่งที่ประชากรทุกวัยสามารถสรรหาและเข้าถึง (access) ได้ง่ายในเวลาที่รวดเร็วและต้นทุนต่ำ เพื่อที่ประชากรทุกวัยของชาติจะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าตลอดชีวิต

มาร่วมกันคิดหาหนทางสร้างประเทศไทยและคนไทยให้แข็งแกร่ง สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยขอเชิญนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ ผู้บริหารขององค์กรทุกภาคส่วนเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง “โต้คลื่นสังคมสูงวัย – โอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ” ในวันศุกร์ที่ 4 กันยายนนี้ที่ศศินทร์ ห้อง ศศินทร์ฮอลล์ ชั้น 9 เวลา 12.30-17.00 น. งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจติดต่อสำรองที่นั่งที่ http://sasin-trf-annual-conference.eventbrite.com   หรือโทร. 02 218 4072, 02 218 3853-4 พบกับผู้บริหารขององค์กรชั้นนำ เช่น คุณโชน โสภณพนิช กก.ผจก. กรุงเทพประกันชีวิต นพ. พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ จากศูนย์ไวทัลไลฟ์ รพ. บำรุงราษฎณ์ อาจารย์นักวิจัยสาขาวิชาต่างๆของศศินทร์ซึ่งรวมตัวดิฉันด้วยมาร่วมวิเคราะห์ ทิศทางการบริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน และการบริหารคนของประเทศไทยในยุคสังคมสูงวัยกันค่ะ

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635390#sthash.F0tnZBaB.dpuf

เรื่องแก่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การแก่อย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีที่เราร่วมเรียนรู้สร้างเสริมความสามารถกันได้

ก่อนอื่นดิฉันขอร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยกับการสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บของพี่น้องชาวไทยและชาวต่างชาติจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่แยกราชประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนไทยและคนทั่วโลก หวังใจอย่างยิ่งว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก ขอให้พี่น้องทุกท่านช่วยกันระวังภัยเท่าที่จะทำได้ด้วยการคอยสังเกตสังกาจับตาพฤติกรรมของคนตามสถานที่ต่างๆที่เราเดินทางผ่านไป เห็นอะไรที่ดูไม่ชอบมาพากลก็ (แอบ) ถ่ายภาพ (เพื่อความปลอดภัยของตนเอง) แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบ แม้เราจะเป็นพลเรือนธรรมดาๆไม่ใช่สายลับที่ได้รับการฝึกมาอย่างช่ำชอง แต่เชื่อว่าถ้าคนไทยหกสิบกว่าล้านคนช่วยกันเป็นหูเป็นตากันอย่างจริงจัง าการก่อการร้ายไม่น่าจะเกิดขึ้นง่ายๆ ถ้าคนไทยเราไม่ช่วยกันแล้วใครจะมาช่วยเราประเทศเรามีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เป็นประเทศที่สวยงามมีวัฒนธรรมเก่าแก่ คนไทยก็เป็นคนที่มีความสามารถ ชาติเราควรจะก้าวหน้าไปกว่านี้ อย่างไรก็ตามไม่มีประโยชน์ที่จะมานั่งบ่นคร่ำครวญเกี่ยวกับอดีตที่เราไม่สามารถไปแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วได้ เราจงมาให้กำลังใจกันและกันเพื่อร่วมหาหนทางพัฒนาประเทศของเราให้เดินหน้าต่อไปดีกว่า

เมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศทั่วโลก ชาติไทยเราถือเป็นชาติเก่าแก่ชาติหนึ่ง แม้จะไม่เก่าแก่ขนาดมีอายุหลายพันปี แต่ประวัติศาสตร์ของเราก็มีมากว่า 700 ปี บางชนชาติที่เก่าแก่มากๆก็สูญหายไปจากโลกนานแล้วเพราะไม่สามารถดำรงความยั่งยืนเอาไว้ได้ เหลือเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ขณะนี้ประเทศเราซึ่งถือว่ามีอายุของชาติเก่าแก่ก็กำลังเดินหน้าสู่สภาวการณ์อีกสภาวการณ์หนึ่งที่เราไม่เคยมีประสบการณ์นี้มาก่อน สภาวการณ์นี้ก็คือการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ  (Ageing society) ที่องค์กรทุกภาคส่วนตลอดจนประชาชนคนเดินถนนต้องทำความเข้าใจรู้จักกับสถานการณ์นี้ เพราะสังคมสูงอายุจะมีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของประเทศและของประชาชนทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชอบไม่ชอบก็ต้องเจอ แต่จะดำเนินชีวิตและบริหารกิจการของเราอย่างไรจึงจะทำให้เราได้ประโยชน์สูงสุดเป็นประเด็นที่เราจะมาคุยกันในคราวนี้ค่ะ

คงไม่มีใครชอบแก่หรืออยากแก่ แต่เมื่อมันต้องแก่ ก็ต้องแก่อย่างมีคุณภาพ มีความสุขและประสบความสำเร็จ  เรื่องแก่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การแก่อย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีที่เราร่วมเรียนรู้สร้างเสริมความสามารถกันได้ ประเทศอื่นในยุโรปและบางประเทศในเอเชีย เช่น ฝรั่งเศส สวีเดน เดนมาร์ค เยอรมัน ญี่ปุ่นได้ล่วงหน้าเข้าสังคมสูงอายุไปก่อนไทยแล้ว เราจึงสามารถเรียนรู้บทเรียนจากประเทศเหล่านี้เพื่อเตรียมการรับมือกับการแก่ของเราได้ทันท่วงที เพราะเราได้เข้าสู่สังคมสูงอายุมาได้ประมาณ 10 ปีแล้ว แต่คงยังไม่ค่อยรู้สึกถึงผลของมันมากนักเมื่อแรกเข้า เพราะเมื่อดูตามถนนหนทางเรายังเห็นเด็ก เห็นคนหนุ่มสาวเดินตามถนนเป็นจำนวนหนาตาอยู่ แต่สำหรับคนที่ทำงานด้าน HR น่าจะรู้สึกถึงผลกระทบบ้างแล้ว เพราะปัญหาเรื่องของการสรรหาพนักงานทั้งคนเก่งและแม้ไม่เก่งมาทำงานนั้นเป็นประเด็นมาหลายปีแล้ว คนเก่าออกไปแต่หาคนใหม่มาแทนที่ไม่ได้ ไม่รู้ว่าคนหายไปไหนหมด ที่หายไปไม่ใช่เพราะไปทำงานต่างประเทศเท่านั้น แต่เพราะอัตราการเกิดของเราลดต่ำลงติดต่อกันมากว่าสามทศวรรษ ดังนั้นจำนวนประชากรวัยทำงานก็ต้องลดลงเป็นธรรมดา ทั้งนี้เราสามารถสรุปผลกระทบของสังคมสูงอายุที่มีต่อสิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ของเราได้ดังนี้

ผลกระทบด้านแรงงานและช่วงเวลาในการทำงาน ดังกล่าวไปบ้างแล้วเบื้องต้นว่าการเป็นสังคมสูงอายุย่อมมีผลต่อลักษณะประชากรศาสตร์ของตลาดแรงงานนั่นคือ มีจำนวนของประชากรวัยแรงงาน (15-64 ปี) ที่องค์กรต่างๆสามารถจัดจ้างมาทำงานได้น้อยลง  ส่วนแรงงานที่อยู่ในองค์กรก็จะมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น  พนักงานในองค์กรจะมีวัยที่หลากหลาย (Multi-generation workforce) มากขึ้นโดยมีตั้งแต่อายุน้อยมาก (เพราะองค์กรหาคนไม่ได้ก็ต้องจ้างเด็กมาทำงาน) จนถึงมากกว่าวัย 60 ปี (เพราะหาคนไม่ได้ ก็ต้องจ้างคนวัยเกษียณให้ทำงานต่อไปอีก) จากนั้นก็จะมีการจ้างผู้หญิงที่เป็นแม่ลูกอ่อน หรือที่เป็นแม่บ้านให้ออกจากบ้านมาทำงานมากขึ้น ตลอดจนต้องมีการปรับชั่วโมงการทำงานให้เหมาะสมกับแรงงานที่มีอยู่ เช่น แรงงานสูงอายุที่ไม่ค่อยมีแรงทำงาน ก็ต้องปรับเวลาให้ทำช่วงสั้น แต่เพิ่มวัน หรือสำหรับเด็กที่ยังอยู่ในวัยเรียนหนังสือที่มีภาระการเรียนกับแม่บ้านที่มีภาระงานที่บ้านทำให้ไม่สามารถมาทำงานเต็มเวลา ก็ต้องมาทำงานเป็นบางช่วงเวลา เป็นต้น ซึ่งเมื่อพยายามจ้างทั้งแรงงานสูงวัย แรงงานผู้หญิงและเด็ก แต่ยังไม่พอกับความต้องการอีก ก็ต้องจ้างแรงงานมาจากต่างประเทศ ซึ่งตามหลักการบริหารคนแล้วไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีในระยะยาว และเมื่อยังไม่พออีกก็ต้องพึ่งเครื่องจักรหุ่นยนต์มาทำงาน แต่ถ้าขาดทุนและเทคโนโลยีก็ต้องยอมรับสภาพ ไม่สามารถขยายกิจการให้เติบโตต่อไป หรือไม่ก็ต้องลดขนาดกิจการ

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เมื่อประชากรมีคนสูงวัยมากขึ้นและแรงงานมีอายุมากขึ้นย่อมมีผลกระทบกับประเภทของอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการที่องค์กรผลิตอยู่ ธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากการที่คนสูงวัยมากขึ้น คือ ธุรกิจการรักษาพยาบาลและธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพ ยา อาหารเสริม เทคโนโลยีชีวภาพ ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการต่างๆ เช่น บ้านพัก สถานที่พักผ่อนและดูแลคนชรา การท่องเที่ยวสำหรับคนวัยเกษียณ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารที่จะพลิกอุปสรรคให้เป็นโอกาส เช่น จากเคยผลิตเครื่องดื่มสำหรับคนหนุ่มสาว ก็หันมาผลิตเครื่องดื่มสำหรับคนชรา เคยผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบธรรมดาๆ ก็อาจเปลี่ยนมาผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนชรา เคยผลิตรถยนต์ธรรมดาๆ ก็ต้องเพิ่มอ๊อปชั่นสร้างความสะดวกให้นักขับสูงวัยเป็นต้น ท่ามกลางอุปสรรคย่อมมีโอกาสอยู่ในนั้นเสมอถ้ารู้จักมองหา หันมามองธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบที่ไม่น่าพอใจบ้างก็คือ ธุรกิจเกี่ยวกับทารก เช่น อาหาร เสื้อผ้าของทารก ของเล่น และข้าวของเครื่องใช้ทั้งหลายที่เน้นตลาดเยาวชน พวกโรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนต่างๆก็จะมีจำนวนนักเรียนน้อยลง การลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆมีแนวโน้มลดลง สถานบันเทิงที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ของหนุ่มสาวจะลดลง แต่จะเป็นสถานบันเทิงแบบคนสูงวัยแทน

จากประสบการณ์ของประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยก่อนไทย เช่น เยอรมัน  อังกฤษ  สเปน พบว่าผลผลิตมวลรวมของชาติลดลง แต่ค่าใช้จ่ายในการดูแลพนักงานมากขึ้นในเรื่องของการรักษาพยาบาลและเงินบำนาญ การออมและการลงทุนของประชากรและองค์กรในสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของคนสูงวัยย่อมแตกต่างจากคนหนุ่มสาว คนหนุ่มสาวจะลงทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่าแต่คนสูงวัยจะเน้นการออมมากกว่าลงทุน จุดเปลี่ยนตรงนี้ย่อมมีผลต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินไม่มากก็น้อย  นอกจากนี้ในสังคมสูงวัยยังมีนวัตกรรมลดลงเพราะว่าคนชรามักสร้างนวัตตกรรมได้น้อยกว่าคนวัยเยาว์กว่า ธุรกิจเกิดใหม่ (Start-up business) เกิดขึ้นน้อยลง ความยืดหยุ่นขององค์กรในการปรับเปลี่ยนต่อสถานการณ์ต่างๆทำได้ช้าลงและน้อยลง เพราะคนสูงวัยมักไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง

ผลกระทบด้านชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมและทิศทางการศึกษา จากสังคมที่เคยเห็นคนหนุ่มสาวมีจำนวนมากกว่าคนชรา และเห็นคนชราได้รับการดูแลจากลูกหลานในครอบครัว ต่อไปเราจะเห็นคนชราเดินตามถนนหนทางและ ทำงานอยู่ในสำนักงาน มากขึ้น แต่จะมีจำนวนลูกหลานคนหนุ่มสาวดูแลคนชราน้อยลง คนที่จะก้าวเข้าสู่วัยชราจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ ทักษะและทัศนคติในการดูแลบริหารชีวิตหลังเกษียณของตนเองอย่างมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจและมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีเพียงพอ ต้องสามารถพึ่งพาตนเองให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้แม้ไม่มีลูกหลานมาดูแล

การที่ครอบครัวและสังคมจะเปลี่ยนไปเพราะสภาวการณ์สังคมสูงอายุทำให้เราต้องทำการปรับระบบการศึกษาของชาติด้วย ระบบการศึกษาในยุโรปได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างทัศนคติให้กับประชากรว่า การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินไปตลอดชีวิต การศึกษาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอที่จะสร้างความพร้อมให้คนเราดำเนินชีวิตอยู่ได้จนแก่เฒ่า ทั้งนี้เพราะค่านิยมเรื่องการศึกษาแบบดั้งเดิมมุ่งเพียงให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ยืนยาวไปถึงวัยหลังเกษียณ ระบบการศึกษาของสังคมสูงอายุ (และอันที่จริงก็น่าจะเป็นสำหรับทุกสังคมด้วย) จึงต้องสร้างความพร้อมให้ประชากรทั้งในแง่การประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในช่วงวัยต่างๆตลอดชีวิต การศึกษาจึงต้องเป็นสิ่งที่ประชากรทุกวัยสามารถสรรหาและเข้าถึง (access) ได้ง่ายในเวลาที่รวดเร็วและต้นทุนต่ำ เพื่อที่ประชากรทุกวัยของชาติจะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าตลอดชีวิต

มาร่วมกันคิดหาหนทางสร้างประเทศไทยและคนไทยให้แข็งแกร่ง สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยขอเชิญนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ ผู้บริหารขององค์กรทุกภาคส่วนเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง “โต้คลื่นสังคมสูงวัย – โอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ” ในวันศุกร์ที่ 4 กันยายนนี้ที่ศศินทร์ ห้อง ศศินทร์ฮอลล์ ชั้น 9 เวลา 12.30-17.00 น. งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจติดต่อสำรองที่นั่งที่ http://sasin-trf-annual-conference.eventbrite.com   หรือโทร. 02 218 4072, 02 218 3853-4 พบกับผู้บริหารขององค์กรชั้นนำ เช่น คุณโชน โสภณพนิช กก.ผจก. กรุงเทพประกันชีวิต นพ. พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ จากศูนย์ไวทัลไลฟ์ รพ. บำรุงราษฎณ์ อาจารย์นักวิจัยสาขาวิชาต่างๆของศศินทร์ซึ่งรวมตัวดิฉันด้วยมาร่วมวิเคราะห์ทิศทางการบริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน และการบริหารคนของประเทศไทยในยุคสังคมสูงวัยกันค่ะ



สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รักประเทศไทย ยิ่งแก่ ยิ่งต้องแกร่ง

view