สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาลฎีกาฯ มีมติ 6-3 ยกฟ้อง นพดล ปัทมะ ลงนามปราสาทพระวิหารไม่ผ่านสภา

ศาลฎีกาฯ มีมติ 6-3 ยกฟ้อง “นพดล ปัทมะ” ลงนามปราสาทพระวิหารไม่ผ่านสภา

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศาลฎีกา แผนกคดีอาญานักการเมืองมีมติ 6 ต่อ 3 ยกฟ้อง “นพดล ปัทมะ” อดีต รมช.ต่างประเทศ ลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร ปี 51 ชี้เป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมตามสถานการณ์ ไม่ทำให้ไทยเสียดินแดน
 
      ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ วันนี้ (4 ก.ย.) นายประเสริฐ โอนพรัตน์วิบูล รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดีหมายเลขดำ ที่ อม.3/2556 พร้อมองค์คณะผู้พิพากษา รวม 9 คน นัดฟังคำพิพากษาในคดี ที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อปี 2551 และที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในกรณีที่ นายนพดล ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิ.ย. 2551 ที่สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทย
       
       คำฟ้องโจทก์สรุปว่า ระหว่างวันที่ 16-18 มิ.ย.2551 จำเลย ที่เป็นรมว.ต่างประเทศ ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าการที่ประเทศไทย สนับสนุนประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะทำให้ประเทศ ไทยอาจเสียดินแดน และเสียอำนาจการบริหารจัดการร่วมในพื้นที่ทับซ้อน แต่ปรากฏว่าวันที่ 16 มิ.ย.2551 จำเลยเสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ให้ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พิจารณาเห็นชอบในลักษณะปิดบังอำพรางไม่โปร่งใส และมีมูลเหตุจงใจอื่นแอบแฝง ซึ่งสมช. เห็นชอบตามที่จำเลยเสนอ จากนั้นวันที่ 17 มิ.ย. 2551 จำเลยเสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเป็นวาระจร โดยไม่แจกเอกสารในที่ประชุมล่วงหน้า ไม่มีแผนที่หรือเอกสารอื่นแนบประกอบ เพียงแต่แสดงแผนที่บนจอภาพที่ใช้เวลาเพียง 15 นาที โดยมีรัฐมนตรีอภิปรายทักท้วง แต่จำเลยสรุปข้อทักท้วงว่าไม่มีปัญหา และไม่เข้าตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 มาตรา 190 ทำให้ครม.ลงมติยอมรับร่างคำแถลงการณ์ดังกล่าว และให้จำเลยลงนามในร่างนั้น  ต่อมาวันที่ 18 มิ.ย.2551 จำเลยได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ ทำให้ราชอาณาจักรไทยต้องสละสิทธิ์ในข้อสงวนที่จะเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา และเป็นการยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา รวมทั้งเป็นการยอมรับแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยประเทศกัมพูชา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนการลงนามตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 มาตรา 190 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า คำแถลงการณ์ร่วมฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าการลงนามดังกล่าวอาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนของประเทศ ไทย มีผลกระทบทางสังคม แต่จำเลยกระทำโดยปกปิด ซ่อนเร้น บิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริงโดยไม่สุจริต ไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 190 วรรคสอง เหตุเกิดที่กระทรวงการต่างประเทศ ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี และทำเนียบรัฐบาล ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม.
       
       ในชั้นไต่สวนจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
       
       โดยวันนี้นายนพดล ปัทมะเดินทางมาศาล โดยมีกลุ่มอดีตรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย หลายคนมาร่วมให้กำลังใจ เช่น นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรมว.ศึกษาธิการ และนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรมว.ต่างประเทศ ร.ท.หญิงสุนิสา เลิศภควัต อดีตรองโฆษกประจำาำนักนายกรัฐมนตรี
       
       ต่อมาเวลา 14.45 น. องค์คณะฯ โดยนายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 6-7/2551 ที่ได้วินิจฉัยนั้นมีผลผูกพันต่อ ศาลฎีกาฯ หรือไม่ ซึ่งองค์คณะฯ มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลผูกพันต่อศาลฎีกาฯ และทุกองค์กรตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ องค์คณะฯ เห็นว่า เมื่อจำเลยเข้ารับตำแหน่งและรับทราบข้อมูลต่างๆ ก็ได้จัดให้มีการเจรจาเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากกรณีที่ประสาทพระ วิหารจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยไม่เสียดินแดน ซึ่งได้นำข้อเสนอของฝ่ายกัมพูชามาหารือและข้อความเห็นชอบจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้ง สมช. และครม.ก่อน จึงแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าได้คำนึงถึงผลประโยชน์และระมัดระวังรักษา สิทธิ์ในดินแดนของประเทศไทยเป็นอย่างดีแล้ว อีกทั้งเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอมาเป็นลำดับ  
       
       ส่วนที่การเสนอร่างคำแถลงการณ์ฯ เพื่อให้มีการลงนามเป็นการกระทำโดยเร่งรีบหรือไม่นั้น องค์คณะฯ เห็นว่า ก่อนที่จะมีการเสนอร่างดังกล่าว ได้ความว่า ไม่ได้เกิดจากการริเริ่มของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการเจรจาร่วม 3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และผู้ที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายยูเนสโกการขอขึ้นมรดกโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งการประชุมเป็นไปด้วยความตึงเคร่งทั้งสองคณะที่เข้าร่วมเจรจาต้องแยกอยู่ กันคนละห้อง โดยมีผู้เกี่ยวข้องของฝ่ายยูเนสโกเป็นผู้เสนอร่างแถลงการณ์ร่วมฯ  ที่เห็นว่าปราสาทพระวิหาร ทรงคุณค่าและมีความโดดเด่นในการอนุรักษ์ แต่การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ต้องไม่กระทบปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก เคยมีคำวินิจฉัยไว้ ซึ่งการนำคณะไปเจรจาที่กรุงปารีส ก่อนที่จะยอมรับร่างดังกล่าวก็ได้ปรึกษาหารือกับคณะทำงาน ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศที่ไปด้วยกันอย่างรอบคอบ แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เปิดเผยเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ ต่อมาวันที่ 17 มิ.ย.2551 จำเลยจึงเสนอครม.พิจารณาอนุมัติแล้ววันที่ 18 มิ.ย. 2551 จำเลยและนายสก อาน รมว.ต่างประเทศกัมพูชา จึงได้ลงนามร่วมกัน ก่อนที่จะถึงกำหนดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกระหว่างวันที่ 2-8 ก.ค.2551 เป็นเวลาเพียง 2 สัปดาห์ โดยแม้จะเป็นวาระจร แต่ด้วยระยะเวลาจำกัดกระชั้นชิดก็ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนการประชุม ดังกล่าว มิฉะนั้นจะมีพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ทับซ้อนซึ่งประเทศ ไทยอ้างสิทธิ และจำเลยได้ดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอนและผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่รับ ผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงมาก่อนแล้ว 2 ครั้ง และเมื่อกัมพูชาจะยื่นคำขอพร้อมแผนผังเพื่อขอขึ้นทะเบียน กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ให้กรมแผนที่ทหารลงพื้นที่และใช้เทคโนโลยีตรวจสอบ จุดเขตแดนว่ามีการรุกล้ำในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของตัวปราสาทที่ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทกัน หรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบไม่พบ
       
        อีกทั้งเมื่อศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาในคดีที่มีผู้ฟ้องเกี่ยวกับการสนับสนุนขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ศาล ปกครองห้าม รมว.ต่างประเทศ นำแถลงการณ์ร่วมไปใช้ดำเนินการใดๆ แล้ว จำเลย ก็ได้มีคำสั่งให้หยุดการดำเนินการดังกล่าวไว้ทันที และเสนอขอให้คณะกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเลื่อนการประชุมออกไป ก่อน แต่ภายหลังที่มีการประชุมใหม่ก็สืบเนื่องจากที่ยูเนสโกพิจารณาว่าสามารถขอ ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้โดยไม่กระทบปัญหาเขตแดน ซึ่งการกระทำของจำเลยจึงสมเหตุสมผลที่ข้าราชการต่างประเทศประเมินได้ ทั้งไม่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย การสงวนสิทธิ์ทวงคืนปราสาทและการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบร่วมกันมีอยู่ อย่างไรก็ยังมีอยู่อย่างนั้น นอกจากนี้ ยังได้ความจากพยานด้วยว่าภายหลังการลงนามได้รับการชื่นชมจากปลัดกระทรวง กลาโหมขณะนั้นที่ทำให้ไม่กระทบดินแดนพื้นที่ทับซ้อน พยานหลักฐานจึงไม่พอฟังว่าการระทำของจำเลยรีบเร่งหรือผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเทศไทยไม่สนับสนุนประเทศกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนก็ ย่อมใส่ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะตามมาในอนาคตอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ตามคำเบิกความของนายวีระชัย พลาศรัย  
       
       ส่วนที่ไม่ได้มีการนำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เสนอที่ประชุมสภาตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 มาตรา 190 วรรคสองนั้น องค์คณะฯ เห็นว่า ได้ความจากอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ พยานระบุว่า ร่างแถลงการณ์ไม่ใช่หนังสือสัญญา จึงไม่ได้เสนอผ่านรัฐสภาให้ความเห็นชอบ โดยกรมสนธิสัญญาฯ มีหน้าที่เสมือนที่ปรึกษากฎหมาย โดยการจะพิจารณาเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกและปัญหาเขตแดน จะมีกรมสนธิสัญญาฯ และกรมแผนที่ทหารช่วยในการตรวจสอบ จึงเห็นว่า การกระทำของจำเลยสมเหตุสมผลขณะนั้น ซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ
       
       อีกทั้ง ป.ป.ช. โจทก์ ไม่มีพยานหลักฐานที่จะทำให้เห็นได้ว่า การกระทำของนายนพดล จำเลย ขณะเป็น รมว.ต่างประเทศ นั้น ร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะได้รับประโยชน์แลกเปลี่ยนกานขุดเจาะน้ำมัน ในพื้นที่พิพาทตามที่โจทก์อ้าง คงมีเพียงพยานคือนายสมชาย แสวงการ และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ที่ให้การซึ่งได้ข้อมูลจากสื่อ แต่ยังไม่มีหลักฐานอื่นที่จะอนุมานได้ว่า นายนพดล และ พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้รับประโยชน์ โดยภายหลังการลงนามแถลงการณ์ ไม่ปรากฏว่ามีเอกชนรายใด หรือบริษัทเอกชนที่พ.ต.ท.ทักษิณและจำเลย ถือหุ้นอยู่ได้สิทธิเข้าไปขุดเจาะน้ำมัน ดังนั้น องค์คณะฯ จึงมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เห็นว่า พยานหลักฐานของ ป.ป.ช.โจทก์ จึงยังฟังไม่ได้ว่า นายนพดล ทุจริตหรือมีเจตนาปฏิบัติหน้าที่มิชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พิพากษาให้ยกฟ้อง
       
       สำหรับมติเสียงข้างมาก 6 เสียงประกอบด้วย นายประเสริฐ โอนพรัตน์วิบูล รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวน, นายชินวิทย์ จินดาแต้มแก้ว ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา,นายกรองเกียรติ คมสัน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา และนายนิยุต สุภัทรพาหิรผล ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา ขณะที่เสียงข้างน้อย 3 เสียง ประกอบด้วย นายชีพ จุลมนต์  รองประธานศาลฎีกา, นายชาติชายอัครวิบูลย์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา และนายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสใน ศาลฎีกา
       
       ภายหลังฟังคำพิพากษา นายนพดล กล่าวว่า ขอบคุณองค์คณะศาลฎีกาฯนักการเมืองที่ให้ความยุติธรรม ตนใช้เวลาในการสู้คดีนี้มากว่า 7 ปีซึ่งในช่วงที่ต่อสู้คดีนั้นตนรู้สึกเหมือนตกอยู่ในนรก ต่อข้อหาที่มีการดูถูกว่า เป็นรัฐมนตรีไทย ใจเขมร คนขายชาติ และขอขอบคุณข้าราชการ อดีตข้าราชการ กระทรวงการต่างประเทศ ที่มาเป็นพยานแสดงข้อเท็จจริงในศาลให้ได้ประจักษ์ จากคำพิพากษาชี้ให้เห็นชัดว่าคำแถลงการณ์ร่วมของไทย-กัมพูชาที่ตนลงนามไป นั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นอย่างมากโดยระหว่างอ่านคำพิพากษานั้นตนก็ น้ำตาก็ไหลออกมาและขออโหสิกรรมให้ทุกคน เลิกแล้วต่อกัน และไม่คิดจะนำคำพิพากษามาเล่นการเมืองฟ้องกลับใคร ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช หรือบุคคล ที่เข้าใจตนเองผิด ซึ่งตอนนั้นแม้ตนจะมีคนกล่าวหาว่าเป็นคนขายชาติ ทำให้ประเทศเสียดินแดน และตนกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯร่วมมือกับ นายฮุนเซน มีผลประโยชน์ทับซ้อนมีหุ้นส่วน ในบ่อน้ำมันต่างชาติ ซึ่งวันนี้ตนได้พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นแล้วว่า ไม่เป็นความจริง ซึ่งตอนนั้นตนก็เคยประกาศไว้แล้วว่าถ้าใครมีหลักฐานปรากฎ ตนจะบริจาคเงินให้ 100ฟ ล้านบาทและคำพิพากษาของศาลในวันนี้ชี้ชัดให้เห็นว่า  การลงนามคำแถลงการร่วมของไทยกับกัมพูชาเพราะเป็นการลงนามที่ทำให้ไทยได้ ประโยชน์สามารถอ้างลงนามแถลงการณ์ร่วมในครั้งนี้ไปใช้ต่อสู้คดีในศาลโลกได้ ซึ่งถือว่าตนทำหน้าที่ รัฐมนตรีได้อย่างเต็ม ที่ต่อจากนี้ขอให้ทุกคนในชาติมีความรักและสามัคคีกัน
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มีผลประโยชน์ทับซ้อนบ่อน้ำมันต่างประเทศ มีการปรึกษาพูดคุยกับ พ.ต.ท. ทักษิณบ้างหรือไม่ นายนพดลกล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีคดีดังกล่าว ตนไม่ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท. ทักษิณ มาเกือบ 2 ปีแล้ว
       
       เมื่อถามว่าหลังจากนี้จะทำอะไรต่อไป นายนพดล กล่าวว่าจะไปทำบุญและพักผ่อน ภายในประเทศ ขณะนี้ยังไม่มีความคิดที่จะเดินทางไปต่างประเทศ อีกทั้ง คสช.ไม่ได้อนุญาตให้ออก ซึ่งแม้จะมีพาสปอร์ตทางการทูตที่มีการออกให้เฉพาะคนที่เคยเป็น รมว.ต่างประเทศอยู่ก็ตาม แต่ก็ยังหวังว่าสักวันหนึ่ง คสช.จะกรุณาอนุญาตให้เดินทางต่างประเทศได้เหมือนเดิม
       
       เมื่อถามว่าจากที่เคยเป็น รมว.ต่างประเทศมาก่อน การถอนพาสปอร์ตใน จาตุรนต์ ฉายแสง นั้นตามขั้น ตอน กระทรวงการต่างประเทศ สามารถทำได้หรือไม่ นายนพดล กล่าวปฏิเสธว่าไม่ทราบในรายละเอียด และไม่ขอตอบคำถาม
       
       ด้านนายสิทธิโชค ศรีเจริญ ทนายความของ ป.ป.ช. กล่าวว่า เมื่อศาลฎีกาฯ ยกฟ้อง แล้ว คดีถือว่าจบ ตามที่ศาลมีคำพิพากษา


ศาลฎีกานักการเมืองมติ6:3 ยกฟ้อง'นพดล'

โดย :

ศาลฎีกานักการเมืองมติข้างมาก 6ต่อ3 ยกฟ้อง "นพดล ปัทมะ" อดีตรมว.ตปท.ไม่ผิดม.157 ลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหาร

นายประเสริฐ โอนพรัตน์วิบูล รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดีหมายเลขดำ อม.3/2556 พร้อมองค์คณะผู้พิพากษา รวม 9 คน นัดฟังคำพิพากษาคดี ที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อปี 2551 และที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 

โดย ป.ป.ช.โจทก์ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 19 มี.ค.56 บรรยายพฤติการณ์สรุปว่า ระหว่างวันที่ 16-18 มิ.ย.51 จำเลย ที่เป็นรมว.ต่างประเทศ ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าการที่ประเทศไทย สนับสนุนประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะทำให้ประเทศ ไทยอาจเสียดินแดน และเสียอำนาจการบริหารจัดการร่วมในพื้นที่ทับซ้อน แต่ปรากฏว่าวันที่ 16 มิ.ย.51 จำเลยเสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ให้ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พิจารณาเห็นชอบในลักษณะปิดบังอำพรางไม่โปร่งใส และมีมูลเหตุจงใจอื่นแอบแฝง ซึ่งสมช. เห็นชอบตามที่จำเลยเสนอ จากนั้นวันที่ 17 มิ.ย. 51 จำเลยเสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเป็นวาระจร โดยไม่แจกเอกสารในที่ประชุมล่วงหน้า ไม่มีแผนที่หรือเอกสารอื่นแนบประกอบ เพียงแต่แสดงแผนที่บนจอภาพที่ใช้เวลาเพียง 15 นาที โดยมีรัฐมนตรีอภิปรายทักท้วง แต่จำเลยสรุปข้อทักท้วงว่าไม่มีปัญหา และไม่เข้าตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 มาตรา 190 ทำให้ครม.ลงมติยอมรับร่างคำแถลงการณ์ดังกล่าว และให้จำเลยลงนามในร่างนั้น  

ต่อมาวันที่ 18 มิ.ย.51 จำเลยได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ ทำให้ราชอาณาจักรไทยต้องสละสิทธิ์ในข้อสงวนที่จะเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา และเป็นการยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา รวมทั้งเป็นการยอมรับแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยประเทศกัมพูชา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนการลงนามตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 มาตรา 190 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า คำแถลงการณ์ร่วมฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าการลงนามดังกล่าวอาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนของประเทศ ไทย มีผลกระทบทางสังคม แต่จำเลยกระทำโดยปกปิด ซ่อนเร้น บิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริงโดยไม่สุจริต ไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 190 วรรคสอง เหตุเกิดที่กระทรวงการต่างประเทศ ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี และทำเนียบรัฐบาล ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 

โดยศาลฎีกาฯ มีคำสั่งให้ประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 26 เม.ย.56 ซึ่งนายนพดล อดีต รมว.ต่างประเทศ ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยชั้นพิจารณา ศาลฎีกาฯ ให้ นายนพดล จำเลย ได้ประกันตัวไปโดยตีราคาประกัน 2 ล้านบาท 

ต่อมาเวลา 14.45 น. องค์คณะฯ โดยนายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาระบุว่า คดีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 6-7/2551 ที่ได้วินิจฉัยนั้นมีผลผูกพันต่อศาลฎีกาฯ หรือไม่ ซึ่งองค์คณะฯ มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลผูกพันต่อศาลฎีกาฯ และทุกองค์กรตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า จำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ องค์คณะฯ เห็นว่า เมื่อจำเลยเข้ารับตำแหน่งและรับทราบข้อมูลต่างๆ ก็ได้จัดให้มีการเจรจาเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากกรณีที่ปราสาทพระ วิหาร จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยไม่เสียดินแดน ซึ่งได้นำข้อเสนอของฝ่ายกัมพูชามาหารือและข้อความเห็นชอบจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้ง สมช. และครม.ก่อน จึงแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าได้คำนึงถึงผลประโยชน์และระมัดระวังรักษา สิทธิ์ในดินแดนของประเทศไทยเป็นอย่างดีแล้ว อีกทั้งเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอมาเป็นลำดับ 

ส่วนที่การเสนอร่างคำแถลงการณ์ฯ เพื่อให้มีการลงนามเป็นการกระทำโดยเร่งรีบหรือไม่นั้น องค์คณะฯ เห็นว่า ก่อนที่จะมีการเสนอร่างดังกล่าว ได้ความว่า ไม่ได้เกิดจากการริเริ่มของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการเจรจาร่วม 3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และผู้ที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายยูเนสโกการขอขึ้นมรดกโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งการประชุมเป็นไปด้วยความตึงเครียด คณะที่เข้าร่วมเจรจา ต้องแยกอยู่กันคนละห้อง โดยมีผู้เกี่ยวข้องของฝ่ายยูเนสโก เป็นผู้เสนอร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่เห็นว่าปราสาทพระวิหาร ทรงคุณค่าและมีความโดดเด่นในการอนุรักษ์ แต่การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ต้องไม่กระทบปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก เคยมีคำวินิจฉัยไว้ ซึ่งการนำคณะไปเจรจาที่กรุงปารีส ก่อนที่จะยอมรับร่างดังกล่าวก็ได้ปรึกษาหารือกับคณะทำงานที่เป็นข้าราชการ ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศที่ไปด้วยกันอย่างรอบคอบ แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เปิดเผยเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ 

ต่อมาวันที่ 17 มิ.ย.51 จำเลยจึงเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติ แล้ววันที่ 18 มิ.ย. 51 จำเลย และนาย สก อาน รมว.ต่างประเทศกัมพูชา ได้ลงนามร่วมกัน ก่อนที่จะถึงกำหนดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกระหว่างวันที่ 2-8 ก.ค.51 ที่เวลาห่างกันเพียง 2 สัปดาห์นั้น แม้การเสนอ ครม.จะเป็นวาระจร แต่ด้วยระยะเวลาจำกัดกระชั้นชิดก็ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนการประชุม ดังกล่าว มิฉะนั้นจะมีพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ทับซ้อนซึ่งประเทศ ไทยอ้างสิทธิ และจำเลยได้ดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอนและผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่รับ ผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงมาก่อนแล้ว 2 ครั้ง และเมื่อกัมพูชาจะยื่นคำขอพร้อมแผนผังเพื่อขอขึ้นทะเบียน กระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้ให้กรมแผนที่ทหาร ลงพื้นที่และใช้เทคโนโลยีตรวจสอบจุดเขตแดนว่ามีการรุกล้ำในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของตัวปราสาทที่ไทย – กัมพูชา มีข้อพิพาทกันหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบไม่พบ 

อีกทั้งเมื่อศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาในคดีที่มีผู้ฟ้องเกี่ยวกับการสนับสนุนขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ศาล ปกครองห้าม รมว.ต่างประเทศ นำแถลงการณ์ร่วมไปใช้ดำเนินการใดๆ แล้ว จำเลย ก็ได้มีคำสั่งให้หยุดการดำเนินการดังกล่าวไว้ทันที และเสนอขอให้คณะกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเลื่อนการประชุมออกไป ก่อน แต่ภายหลังที่มีการประชุมใหม่ก็สืบเนื่องจากที่ยูเนสโกพิจารณาว่าสามารถขอ ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้โดยไม่กระทบปัญหาเขตแดน การกระทำของจำเลยจึงสมเหตุสมผลที่ข้าราชการต่างประเทศประเมินได้ ทั้งไม่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย การสงวนสิทธิ์ทวงคืนปราสาทและการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบร่วมกันมีอยู่ อย่างไรก็ยังมีอยู่อย่างนั้น นอกจากนี้ ยังได้ความจากพยานด้วยว่าภายหลังการลงนามได้รับการชื่นชมจากปลัดกระทรวง กลาโหมขณะนั้น ที่ทำให้ไม่กระทบดินแดนพื้นที่ทับซ้อน พยานหลักฐานจึงไม่พอฟังว่าการระทำของจำเลยรีบเร่งหรือผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเทศไทยไม่สนับสนุนประเทศกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนก็ ย่อมใส่ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะตามมาในอนาคตอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ตามคำเบิกความของนายวีระชัย พลาศรัย 

ส่วนที่ไม่ได้มีการนำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เสนอที่ประชุมสภา ตามรัฐธรรมนูญ ฯ ปี 2550 มาตรา 190 วรรคสองนั้น องค์คณะฯ เห็นว่า ได้ความจากอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ พยานระบุว่า ร่างแถลงการณ์ไม่ใช่หนังสือสัญญา จึงไม่ได้เสนอผ่านรัฐสภาให้ความเห็นชอบ โดยกรมสนธิสัญญาฯ มีหน้าที่เสมือนที่ปรึกษากฎหมาย โดยการจะพิจารณาเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกและปัญหาเขตแดน จะมีกรมสนธิสัญญาฯ และกรมแผนที่ทหารช่วยในการตรวจสอบ จึงเห็นว่า การกระทำของจำเลยสมเหตุสมผลขณะนั้น ซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ 

อีกทั้งป.ป.ช. โจทก์ ไม่มีพยานหลักฐานที่จะทำให้เห็นได้ว่า การกระทำของนายนพดล จำเลย ขณะเป็น รมว.ต่างประเทศ นั้น ร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะได้รับประโยชน์แลกเปลี่ยนการขุดเจาะน้ำมัน ในพื้นที่พิพาทตามที่โจทก์อ้าง คงมีเพียงพยาน คือ นายสมชาย แสวงการ และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ที่ให้การซึ่งได้ข้อมูลจากสื่อ แต่ยังไม่มีหลักฐานอื่นที่จะอนุมานได้ว่า นายนพดล และ พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้รับประโยชน์ โดยภายหลังการลงนามแถลงการณ์ ไม่ปรากฏว่ามีเอกชนรายใด หรือบริษัทเอกชนที่พ.ต.ท.ทักษิณและจำเลย ถือหุ้นอยู่ได้สิทธิเข้าไปขุดเจาะน้ำมัน 

ดังนั้น องค์คณะฯ จึงมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เห็นว่า พยานหลักฐานของ ป.ป.ช.โจทก์ ยังฟังไม่ได้ว่า นายนพดล ทุจริตหรือมีเจตนาปฏิบัติหน้าที่มิชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมติเสียงข้างมาก 6 เสียงประกอบด้วย นายประเสริฐ โอนพรัตน์วิบูล รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวน, นายชินวิทย์ จินดาแต้มแก้ว ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, นายกรองเกียรติ คมสัน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา และนายนิยุต สุภัทรพาหิรผล ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา ขณะที่เสียงข้างน้อย 3 เสียง ประกอบด้วย นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา, นายชาติชาย อัครวิบูลย์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา และนายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ศาลฎีกาฯ มีมติ ยกฟ้อง นพดล ปัทมะ ลงนาม ปราสาทพระวิหาร ไม่ผ่านสภา

view