สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หา

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รัฐบาล ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558

แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อรองรับกฎหมายภาษีจากการรับมรดกซึ่งตามประมวลรัษฎากรยังมีการยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีและ เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่า ตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับ การจัดเก็บภาษีการรับมรดกโดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2559 เป็นต้นไปจึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้ 

ปุจฉา  ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในประเด็นใดบ้าง

วิสัชนา  ตามกฎหมายดังกล่าว มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในประเด็น

         1. ยกเลิกความใน (10) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ที่บัญญัติว่า “(10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี” เป็น “(10) เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก” นั่นหมายความว่า “เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา” และ “เงินได้จากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม ประเพณี” จะไม่ได้รับยกเว้นตามเงื่อนไขข้อนี้อีกต่อไป แต่ได้นำไปเพิ่มเป็นการยกเว้นตามเงื่อนไขใน (26)(27)(28) และ (29) ที่เพิ่มขึ้นใหม่ดังกล่าว ซึ่งมีเพดานการยกเว้นไว้เป็นแต่ละกรณีๆ ไป

             ในส่วนของเงินได้จากการรับมรดกนั้น ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร แต่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญชีภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ตามที่ตราขึ้นใหม่ต่างหาก

          2. เพิ่มหลักเกณฑ์การเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (4/1) แห่งประมวลรัษฎากร (Final Tax) สำหรับเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (26) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้เลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 5% ของเงินได้ส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท

          3. เพิ่มหลักเกณฑ์การเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (6) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร (Final Tax) ดังนี้

(1) สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะ หรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (27) โดยให้เลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 5% ของเงินได้ส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท

(2) สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดย เสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (28) โดยให้เลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 10% ของเงินได้ส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท

           4. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (6) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการโอนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ให้ผู้โอนหักภาษีไว้ 5% ของเงินได้เฉพาะในส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท" รองรับการเลือกเสียภาษีเงินได้ตามาตรา 48 (4/1) แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การรับให้โดยเสน่หา

view