สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ของใหม่ในร่าง รธน. เครื่องมือสู่การปฏิรูป

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่อยู่ในมือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในขณะนี้มีทั้งสิ้น 285 มาตรา ซึ่งมีจำนวนมาตราน้อยกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีถึง 309 มาตรา แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะมีปริมาณของมาตราที่น้อยกว่ารัฐธรรมนูญในอดีต แต่เนื้อหาที่อยู่ข้างในถือว่ามีความเข้มข้นพอสมควร ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้

1.เครื่องมือปราบทุจริต เดิมทีการตรวจสอบการทุจริตจะอยู่ในมือของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งผลให้การทำงานในบางครั้งเกิดความล่าช้าจนมีคดีค้างจำนวนมาก ดังนั้น คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบให้ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงเท่านั้น ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับอื่นๆ ป.ป.ช.จะต้องโอนไปให้หน่วยงานอื่นดำเนินการแทน

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการถ่วงดุลการทำงานของ ป.ป.ช. ในกรณีที่ ป.ป.ช.ดำเนินการล่าช้า คือ การให้ สส.และ สว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ยื่นคำร้องต่อประธานศาลฎีกาเพื่อขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตั้งผู้ไต่สวนอิสระจำนวนไม่เกิน 3 คน ทำหน้าที่ไต่สวนกรณีการกล่าวหานายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หลังจาก ป.ป.ช. ไต่สวนคดีล่าช้าเกินสมควร หรือไม่ชี้มูลความผิด

2.การควบคุมการใช้ประชานิยม ประเทศไทยถูกปกครองภายใต้นโยบายประชานิยมมาอย่างยาวนาน มีทั้งนโยบายที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งทุกนโยบายมีต้นทุนที่เป็นงบประมาณของประเทศที่ต้องเสียไปเป็นจำนวนมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ร่างรัฐธรรมนูญจึงได้มีแนวทางการควบคุมการใช้งบประมาณเพื่อทำประชานิยมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งอยู่ในมาตรา 189

“เพื่อป้องกันการดำเนินนโยบายที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว การอนุมัติ นโยบาย มาตรการ หรือโครงการใดๆ ให้มีการวิเคราะห์ภาระงบประมาณและภาระทางการคลัง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม และให้ระบุปริมาณและแหล่งที่มาของเงินในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายดังกล่าว” สาระสำคัญของมาตรา 189

3.โครงสร้างสถาบันการเมืองใหม่ “คณะรัฐมนตรี-สภาผู้แทนราษฎร-วุฒิสภา” ล้วนเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญแทบทั้งสิ้น อย่างคณะรัฐมนตรี ปรากฏว่าหลักการที่ว่าด้วยการให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น สส.นั้น ได้เปลี่ยนมาเป็นการให้นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเป็น สส.ก็ได้ เพียงแต่ต้องเลือกกันในสภา

หรือโครงสร้างของสภาได้เกิดการปรับเปลี่ยนในเชิงการได้มาซึ่งตำแหน่ง สส. โดยคณะ กมธ.ยกร่างฯ กำหนดให้มี สส.จำนวน 45-470 คน แบ่งเป็น สส.ระบบเขต 300 คน และ สส.ระบบบัญชีรายชื่อ 150-170 คน ภายใต้การเลือกตั้งที่เรียกว่าระบบสัดส่วนผสม ซึ่งกำหนดให้พรรคการเมืองได้จำนวนตามคะแนนความนิยมที่เป็นจริง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพรรรค ก.ได้คะแนน สส.บัญชีรายชื่อ 40% และจำนวน สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเกิน 40% จากทั้งหมด 300 คน แล้ว พรรคการเมืองนั้นจะไม่ได้ สส.บัญชีรายชื่ออีก

ส่วนวุฒิสภานั้นยังคงระบบผสมกันระหว่าง สว.เลือกตั้ง 77 คน และ สว.สรรหา 123 คน รวมทั้งหมด 200 คน แต่ สว.สรรหาจะมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาที่เป็นตัวแทนของกลุ่มวิชาชีพ ไม่ใช่ผูกขาดโดยตัวแทนขององค์กรอิสระเหมือนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

4.การปฏิรูปประเทศ อาจเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่มีการบัญญัติถึงแนวทางการปฏิรูปด้านต่างๆ ไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ แม้ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญหลายฉบับจะมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งเรียกในมุมหนึ่งได้ว่าเป็นการปฏิรูปประเทศ แต่ไม่เคยมีผลบังคับใช้เท่าไรนัก

หัวใจสำคัญของการทำให้การปฏิรูปประเทศมีความเป็นรูปธรรม คือ การให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ จำนวน 23 คน เพื่อเป็นองค์กรหลักในการผลักดันการปฏิรูปประเทศให้เกิดขึ้น ขณะเดียวกันคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจพิเศษที่ใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศด้วย แต่ก็ถูกมองว่าเป็นช่องทางให้เกิดการสืบทอดอำนาจของ คสช.ได้

5.การป้องกันการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ วิกฤตการเมืองในอดีตที่ผ่านมาก่อนเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ส่วนหนึ่งมาจากการใช้อำนาจเสียงข้างมากของพรรคการเมืองแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไม่ได้ออกแบบให้มีกลไกเพื่อถ่วงดุลเสียงข้างมาก

ด้วยเหตุผลนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจึงออกแบบให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาเป็นองค์กรที่วินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ รวมทั้งถ้าเป็นกรณีที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจไปกระทบต่อหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ เช่น โครงสร้างสถาบันการเมือง จะต้องผ่านการทำประชามติก่อน

เครื่องมือใหม่สำคัญ 5 ประการเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะยังมีบทบัญญัติอื่นๆ ที่ส่งเสริมและวางกลไกไม่ให้ประชาชนเสียประโยชน์จากการกระทำของกลุ่มคนบางกลุ่ม อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกสาธารณะของทุกคนด้วย


ร่าง รธน.ไม่ผ่าน! สปช.โหวตคว่ำ 135 ต่อ 105 เสียง ปิดจ็อบทันที!!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

“สภาปฏิรูปแห่งชาติ” ลงมติไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ด้วยคะแนน 135 ต่อ 105 งดออกเสียง 7 ขณะที่ช่วงเช้าสมาชิกทยอยถ่ายรูปรวมเป็นที่ระลึกครั้งสุดท้ายก่อนหมดวาระ ด้าน “เทียนฉาย” บอกพรุ่งนี้จะหายเครียด ส่วน “บวรศักดิ์” รับไปทำบุญมา ไม่ประเมินผ่านหรือไม่ ไม่พูดพวกล็อบบี้คว่ำ ก่อนพา กมธ.ยกร่างฯ บางส่วนไปไหว้พระแก้วมรกต และพระสยามเทวาธิราช ยันทำงานซื่อสัตย์สุจริต ไร้เบื้องหน้าเบื้องหลัง
       
       วันนี้ (6 ก.ย.) ที่รัฐสภา การประชุมนัดพิเศษสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เป็นประธานที่ประชุมจะเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.00 น. โดยมีวาระสำคัญ คือ การลงมติร่างรัฐธรรมนูญจากการจัดทำของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญที่มีนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน โดยบรรยากาศก่อนการประชุมตั้งแต่เวลา 08.00 น.มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลทั้งในและนอกเครื่องแบบ ตั้งเต็นท์และยืนรักษาความปลอดภัยโดยรอบถนนอู่ทองใน ถนนที่ใช้สัญจรหลักในการเข้าสู่อาคารรัฐสภา และได้นำแผงเหล็กกั้นแยกถนนอู่ทองในเพื่อกั้นการจราจรให้เป็นเฉพาะของสมาชิก สปช.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขณะที่สมาชิก สปช.ได้ทยอยเดินทางเข้าร่วมลงชื่อเพื่อแสดงตนก่อนเข้าร่วมประชุมที่ห้องโถง ชั้น 2 ของอาคารรัฐสภาและได้ถ่ายรูปร่วมกัน ขณะที่สมาชิก สปช.ได้ทยอยเดินทางมารัฐสภาและจับกลุ่มคุยกันอย่างคึกคักและมีการถ่ายรูป หมู่ร่วมกันเพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อ 09.00 น. ที่ลานจอดรถหน้าพระสยามเทวาธิราช โดยเจ้าหน้าที่ได้จัดสถานที่ให้ถ่ายรูปให้เรียงตามลำดับท่ามกลางบรรยากาศ ร้อนระอุ
       
       ทั้งนี้ นายเทียนฉายได้เปรยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนยังไม่หายเครียด แต่เชื่อว่าพรุ่งนี้ (7 ก.ย.) จะหาย ขณะที่นายบวรศักดิ์ยอมรับว่าเมื่อวันที่ 5 ก.ย.ได้ไปวัดเพื่อทำบุญมาจริง เพื่อทำให้มีความสุข และไม่ทุกข์ ส่วนการลงมติร่างรัฐธรรมนูญตนไม่ขอประเมิน และปฏิเสธที่จะกล่าวถึงกระแสการล็อบบี้ให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแลกรับผล ประโยชน์ ทางด้านนายพารณกล่าวว่า ตนเชื่อว่าข่าวล็อบบี้เพื่อแลกรับผลประโยชน์นั้นไม่ได้ เพราะ สปช.ล้วนเป็นผู้ใหญ่ ส่วนผลจะเป็นอย่างไรเวลา 12.00 น.ของวันนี้ (6 ก.ย.) จะได้รับรู้แล้ว
       
       ทั้งนี้ มีรายงานว่า ด้วยคณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นำโดยนายบวรศักดิ์ และกรรมาธิการบางส่วน เช่น นายมานิจ สุขสมจิต พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช พล.อ.นาวิน ดำริกาญจน์ ได้เดินทางไปสักการะพระแก้วมรกต ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสนาราม และพระสยามเทวาธิราช ที่พระบรมมหาราชวัง เพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งนี้ได้บอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ขณะนี้ภารกิจของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว โดย กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ตามที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้เมื่อตอนเข้าปฏิบัติหน้าที่
       
       อย่างไรก็ตาม การขานชื่อได้เริ่มขึ้นในเวลา 10.35 น. โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 243 คน ได้ลงมติเสร็จสิ้นในเวลา 10.59 น. พบว่า มีผู้เห็นชอบ 105 ไม่เห็นชอบ 135 งดออกเสียง 7 ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตกไป ในขณะที่ สปช.ก็สิ้นสุดสถานภาพทันที
       
       สำหรับรายละเอียดการลงมติของ สปช. แต่ละคนมีดังนี้
       
       1. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด – ไม่เห็นชอบ
       2. นายกาศพล แก้วประพาฬ – ไม่เห็นชอบ
       3. นายกิตติ โกสินสกุล – ไม่เห็นชอบ
       4. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์ – เห็นชอบ
       5. นายกงกฤช หิรัญกิจ – เห็นชอบ
       6. นายกมล รอดคล้าย – ไม่เห็นชอบ
       7. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล – ไม่เห็นชอบ
       8. นางกอบแก้ว จันทร์ดี – ไม่เห็นชอบ
       9. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล – เห็นชอบ
       10. นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ – เห็นชอบ
       11. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง – ไม่เห็นชอบ
       12. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ – ไม่เห็นชอบ
       13. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี – (งดออกเสียง)
       14. นายเกริกไกร จีระแพทย์ – เห็นชอบ
       15. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง – ไม่เห็นชอบ
       16. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส – ไม่เห็นชอบ
       17. นายโกเมศ แดงทองดี – ไม่เห็นชอบ
       18. นายโกวิทย์ ทรงคุณ – ไม่เห็นชอบ
       19. นายโกวิท ศรีไพโรจน์ – ไม่เห็นชอบ
       20. นายไกรราศ แก้วดี – เห็นชอบ
       21. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ – เห็นชอบ
       22. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ – เห็นชอบ
       23. พลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ – ไม่เห็นชอบ
       24. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา – ไม่เห็นชอบ
       25. นายเขมทัต สุคนธสิงห์ – เห็นชอบ
       26. นายเข็มชัย ชุติวงศ์ – เห็นชอบ
       27. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร – ไม่เห็นชอบ
       28. นายคณิศร ขุริรัง – ไม่เห็นชอบ
       29. นายคำนูณ สิทธิสมาน – เห็นชอบ
       30. นายคุรุจิต นาครทรรพ – ไม่เห็นชอบ
       31. นายจรัส สุทธิกุลบุตร – เห็นชอบ
       32. นายจรัส สุวรรณมาลา – เห็นชอบ
       33. พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา – ไม่เห็นชอบ
       34. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง – ไม่เห็นชอบ
       35. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์ – ไม่เห็นชอบ
       36. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข – ไม่เห็นชอบ
       37. พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ – ไม่เห็นชอบ
       38. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ – ไม่เห็นชอบ
       39. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา – เห็นชอบ
       40. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี – เห็นชอบ
       41. นางจุรี วิจิตรวาทการ – เห็นชอบ
       42. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน – ไม่เห็นชอบ
       43. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ – ไม่เห็นชอบ
       44. นายจุมพล รอดคำดี – เห็นชอบ
       45. นายจุมพล สุขมั่น – เห็นชอบ
       46. นายเจน นำชัยศิริ - ไม่เห็นชอบ
       47. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ -ไม่เห็นชอบ
       48. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์ - ไม่เห็นชอบ
       49. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง – งดออกเสียง
       50. นายจำลอง โพธิ์สุข – ไม่เห็นชอบ
       51. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน – ไม่เห็นชอบ
       52. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช – ไม่เห็นชอบ
       53. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ – ไม่เห็นชอบ
       54. นางชัชนาถ เทพธรานนท์ – เห็นชอบ
       55. นายชัย ชิดชอบ – ไม่เห็นชอบ
       56. นายชัยพร ทองประเสริฐ – ไม่เห็นชอบ
       57. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ – ไม่เห็นชอบ
       58. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช – ไม่เห็นชอบ
       59. นายชาลี เจริญสุข – เห็นชอบ
       60. นายชาลี เอียดสกุล – ไม่เห็นชอบ
       61. นายชาลี ตั้งจีรวงษ์ – เห็นชอบ
       62. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ – ไม่เห็นชอบ
       63. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ – เห็นชอบ
       64. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ – เห็นชอบ
       65. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์ – ไม่เห็นชอบ
       66. นายชูชัย ศุภวงศ์ - เห็นชอบ
       67. นายชูชาติ อินสว่าง – เห็นชอบ
       68. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย – ไม่เห็นชอบ
       69. นายเชิดชัย วงศ์เสรี – เห็นชอบ
       70. นายเชื้อ ฮั่นจินดา – เห็นชอบ
       71. นายฐิติ วุฑฒิโกวิทย์ – ไม่เห็นชอบ
       72. พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก – ไม่เห็นชอบ
       73. นางฑิฆัมพร กองสอน – เห็นชอบ
       74. นายณรงค์ พุทธิชีวิน – เห็นชอบ
       75. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร – เห็นชอบ
       76. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา – เห็นชอบ
       77. นายดิเรก ถึงฝั่ง – ไม่เห็นชอบ
       78. นายดำรงค์ พิเดช – ไม่เห็นชอบ
       79. นายดุสิต เครืองาม – เห็นชอบ
       80. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ
       81. พลเอก เดชา ปุญญบาล – ไม่เห็นชอบ
       82. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล – ไม่เห็นชอบ
       83. นางตรึงใจ บูรณสมภพ – (เห็นชอบ)
       84. นางเตือนใจ สินธุวณิก – ไม่เห็นชอบ
       85. นางถวิลวดี บุรีกุล – เห็นชอบ
       86. นายถาวร เฉิดพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ
       87. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ – เห็นชอบ
       88. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง – เห็นชอบ
       89. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ – เห็นชอบ
       90. นางสาวทัศนา บุญทอง – งดออกเสียง
       91. นางทิชา ณ นคร(ลาออก)
       92. นายทิวา การกระสัง – ไม่เห็นชอบ
       93. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ – งดออกเสียง
       94. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ – ไม่เห็นชอบ
       95. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ – ไม่เห็นชอบ
       96. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ – ไม่เห็นชอบ
       97. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ – ไม่เห็นชอบ
       98. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ – เห็นชอบ
       99. นายธวัช สุวุฒิกุล – ไม่เห็นชอบ
       100. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล – เห็นชอบ
       101. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร – ไม่เห็นชอบ
       102. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช – ไม่เห็นชอบ
       103. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ – เห็นชอบ
       104. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ – เห็นชอบ
       105. นายธำรง อัศวสุธีรกุล – ไม่เห็นชอบ
       106. พลโท นคร สุขประเสริฐ - เห็นชอบ
       107. นางนรีวรรณ จินตกานนท์ – เห็นชอบ
       108. นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ – ไม่เห็นชอบ
       109. พลโท นาวิน ดำริกาญจน์ – งดออกเสียง
       110. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด – ไม่เห็นชอบ
       111. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง – ไม่เห็นชอบ
       112. นายนิพนธ์ คำพา – เห็นชอบ
       113. นายนิพนธ์ นาคสมภพ – ไม่เห็นชอบ
       114. นายนิมิต สิทธิไตรย์ – ไม่เห็นชอบ
       115. นายนิรันดร์ พันทรกิจ – ไม่เห็นชอบ
       116. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง – ไม่เห็นชอบ
       117. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ – เห็นชอบ
       118. นายนำชัย กฤษณาสกุล – ไม่เห็นชอบ
       119. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ – เห็นชอบ
       120. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ – ไม่เห็นชอบ
       121. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ – เห็นชอบ
       122. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์ – ไม่เห็นชอบ
       123. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช – ไม่เห็นชอบ
       124. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร – เห็นชอบ
       125. นายประชา เตรัตน์ – เห็นชอบ
       126. นายประทวน สุทธิอำนวยเดช – ไม่เห็นชอบ
       127. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ – เห็นชอบ
       128. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด – เห็นชอบ
       129. นางประภาภัทร นิยม – เห็นชอบ
       130. นางประภาศรี สุฉันทบุตร – ไม่เห็นชอบ
       131. นายประมนต์ สุธีวงศ์ – เห็นชอบ
       132. นายประสาร มฤคพิทักษ์ – เห็นชอบ
       133. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ – ไม่เห็นชอบ
       134. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ – ไม่เห็นชอบ
       135. นายประเสริฐ ชิตพงศ์ – ไม่เห็นชอบ
       136. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ – ไม่เห็นชอบ
       137. นายปราโมทย์ ไม้กลัด – เห็นชอบ
       138. นายปรีชา เถาทอง – เห็นชอบ
       139. นายปรีชา บุตรศรี – ไม่เห็นชอบ
       140. พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ – ไม่เห็นชอบ
       141. นายปิยะวัติ บุญ-หลง – เห็นชอบ
       142. นายเปรื่อง จันดา – ไม่เห็นชอบ
       143. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ – เห็นชอบ
       144. นายพงศ์โพยม วาศภูติ – เห็นชอบ
       145. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช – เห็นชอบ
       146. นายพนา ทองมีอาคม – ไม่เห็นชอบ
       147. นายพรชัย มุ่งเจริญพร – ไม่เห็นชอบ
       148. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ
       149. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช – ไม่เห็นชอบ
       150. นางพรรณี จารุสมบัติ – เห็นชอบ
       151. นายพรายพล คุ้มทรัพย์ – เห็นชอบ
       152. นายพลเดช ปิ่นประทีป – เห็นชอบ
       153. พลเอก พอพล มณีรินทร์ – ไม่เห็นชอบ
       154. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป – เห็นชอบ
       155. นางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร – เห็นชอบ
       156. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา – เห็นชอบ
       157. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม – เห็นชอบ
       158. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ – ไม่เห็นชอบ
       159. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา – ไม่เห็นชอบ
       160. นายไพบูลย์ นิติตะวัน – เห็นชอบ
       161. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร – เห็นชอบ
       162. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น – ไม่เห็นชอบ
       163. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์ – ไม่เห็นชอบ
       164. นางภัทรียา สุมะโน – ไม่เห็นชอบ
       165. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ – ไม่เห็นชอบ
       166. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร – ไม่เห็นชอบ
       167. นายมนู เลียวไพโรจน์ – ไม่เห็นชอบ
       168. นายมนูญ ศิริวรรณ – ไม่เห็นชอบ
       169. นายมานิจ สุขสมจิตร – เห็นชอบ
       170. นายมีชัย วีระไวทยะ – เห็นชอบ
       171. พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ – ไม่เห็นชอบ
       172. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา – ไม่เห็นชอบ
       173. นางสาวรสนา โตสิตระกูล – เห็นชอบ
       174. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช – เห็นชอบ
       175. นายวรรณชัย บุญบำรุง – เห็นชอบ
       176. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย – ไม่เห็นชอบ
       177. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา – ไม่เห็นชอบ
       178. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ – เห็นชอบ
       179. พลเอก วัฒนา สรรพานิช – ไม่เห็นชอบ
       180. นายวันชัย สอนสิริ – ไม่เห็นชอบ
       181. นายวัลลภ พริ้งพงษ์ – ไม่เห็นชอบ
       182. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์ – ไม่เห็นชอบ
       183. พลเอก วิชิต ยาทิพย์ – ไม่เห็นชอบ
       184. นายวิทยา กุลสมบูรณ์ – เห็นชอบ
       185. นายวินัย ดะห์ลัน – เห็นชอบ
       186. นายวิบูลย์ คูหิรัญ – เห็นชอบ
       187. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ – เห็นชอบ
       188. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร – ไม่เห็นชอบ
       189. นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร – เห็นชอบ
       190. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน – ไม่เห็นชอบ
       191. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ – ไม่เห็นชอบ
       192. นายวุฒิสาร ตันไชย – เห็นชอบ
       193. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม – ไม่เห็นชอบ
       194. นายศานิตย์ นาคสุขศรี – เห็นชอบ
       195. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน – เห็นชอบ
       196. นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ (ใบแดง )
       197. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ – เห็นชอบ
       198. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา – ไม่เห็นชอบ
       199. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก – ไม่เห็นชอบ
       200. นายศุภชัย ยาวะประภาษ – เห็นชอบ
       201. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ – ไม่เห็นชอบ
       202. นายสมเกียรติ ชอบผล – ไม่เห็นชอบ
       203. นายสมเดช นิลพันธุ์ - ไม่เห็นชอบ
       204. นายสมชัย ฤชุพันธ์ – เห็นชอบ
       205. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ – ไม่เห็นชอบ
       206. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา – เห็นชอบ
       207. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ – ไม่เห็นชอบ
       208. นายสยุมพร ลิ่มไทย – ไม่เห็นชอบ
       209. นายสรณะ เทพเนาว์ – ไม่เห็นชอบ
       210. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ – เห็นชอบ
       211. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ – เห็นชอบ
       212. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง – เห็นชอบ
       213. นายสิระ เจนจาคะ – เห็นชอบ
       214. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง – ไม่เห็นชอบ
       215. นางสีลาภรณ์ บัวสาย – เห็นชอบ
       216. นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ – ไม่เห็นชอบ
       217. นางสุกัญญา สุดบรรทัด – เห็นชอบ
       218. นายสุชาติ นวกวงษ์ – ไม่เห็นชอบ
       219. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง – เห็นชอบ
       220. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม – เห็นชอบ
       221. นายสุพร สุวรรณโชติ – ไม่เห็นชอบ
       222. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว – เห็นชอบ
       223. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์ – ไม่เห็นชอบ
       224. นายสุวัช สิงหพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ
       225. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ – เห็นชอบ
       226. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ (ลาออก)
       227. นายเสรี สุวรรณภานนท์ – ไม่เห็นชอบ
       228. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ – เห็นชอบ
       229. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ – ไม่เห็นชอบ
       230. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ – ไม่เห็นชอบ
       231. นายอนันตชัย คุณานันทกุล – ไม่เห็นชอบ
       232. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล – เห็นชอบ
       233. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ – ไม่เห็นชอบ
       234. นายอมร วาณิชวิวัฒน์ – ไม่เห็นชอบ
       235. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ - เห็นชอบ
       236. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย – เห็นชอบ
       237. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ – ไม่เห็นชอบ
       238. นายอลงกรณ์ พลบุตร – เห็นชอบ
       239. นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล – เห็นชอบ
       240. นางอัญชลี ชวนิชย์ – ไม่เห็นชอบ
       241. พลตำรวจโท อาจิณ โชติวงศ์ – ไม่เห็นชอบ
       242. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย – ไม่เห็นชอบ
       243. นายอำพล จินดาวัฒนะ – งดออกเสียง
       244. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง – ไม่เห็นชอบ
       245. นายอุดม ทุมโฆสิต – เห็นชอบ
       246. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ – ไม่เห็นชอบ
       247. นางอุบล หลิมสกุล – เห็นชอบ
       248. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ – งดออกเสียง
       249. นายเอกราช ช่างเหลา – ไม่เห็นชอบ
       250. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ – เห็นชอบ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ของใหม่ในร่าง รธน. เครื่องมือสู่การปฏิรูป

view