สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จัดการความรู้ ด้วยสมองและสองมือ

จัดการความรู้ ด้วยสมองและสองมือ

โดย :
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635555#sthash.628A96FV.dpuf

จัดการความรู้ ด้วยสมองและสองมือ
โดย : จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




การ จัดการความรู้ มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะองค์กรที่กำลังขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไปในทิศทางของธุรกิจสร้างสรรค์ ให้ทันเศรษฐกิจดิจิทัล

การจัดการความรู้ (knowledge management) มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะองค์กรที่กำลังขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไปในทิศทางของธุรกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรม หรือเร่งฝีเท้าเพื่อให้ทันกับเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เมื่อสำรวจตรวจสอบองค์กรต่างๆในไทย ว่าบริหารจัดการความรู้ภายในอย่างไรกันบ้าง มักหนีไม่พ้นกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ อาทิ Knowledge Forum (CoP) Knowledge corner Knowledge Base

ซึ่งกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ มักจะเรียนรู้ต่อๆกันมาจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา ตำรา และงานสัมมนาต่างๆ แต่ถ้าองค์กรต่างๆจะคิดทำเพิ่ม โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการคิด แสดงความคิดเห็น ก็อาจจะได้มุมมองใหม่ๆที่หลากหลายขึ้น ที่สำคัญเป็นสิ่งที่สอดรับกับบริบทและจริตของคนในองค์กร ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงผลของการระดมสมองกลุ่มผู้บริหารและพนักงาน ว่ามีอะไรบ้างที่สัมพันธ์กับความรู้ในแง่มุมต่างๆ (ที่มาจาก ฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

 

KR: Responsiveness to knowledge (ความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งที่ได้รับรู้มา)

    พร้อมดำเนินการทันทีที่พบว่าลูกค้าไม่ได้รับความพึงพอใจในคุณภาพของการบ ริการ ตอบสนองในเชิงสร้างสรรค์ต่อความจำเป็นที่เปลี่ยนไปในสินค้าและบริการของ ลูกค้า ทุ่มเทความพยายามอย่างประสานสัมพันธ์กันในการตอบสนองต่อความจำเป็นที่กำหนด ไว้โดยลูกค้า ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อคำร้องขอที่เกิดขึ้นจากลูกค้า ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสิ่งที่พนักงานกังวล ดำเนินการจัดทำแผนการตลาดที่พัฒนาขึ้นมาอย่างมีประสิทธิผล พยายามที่จะปรับปรุงต้นทุนในการดำเนินงานบริการทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ก้าวทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร มีการทบทวนผลของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีต่อลูกค้า ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อคู่แข่งหลักที่นำเสนอบริการแก่ลูกค้าในราคาที่ต่ำ กว่า

KA: Knowledge acquisition(การแสวงหา หรือให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ต้องการ)

    สนับสนุนให้พนักงานศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ สนับสนุนให้พนักงานได้เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาและการประชุมวิชาการสำคัญ จัดให้มีการประชุมร่วมกับพนักงานเพื่อหารือถึงแนวคิดทางธุรกิจเป็นประจำ ดึงดูดพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานมืออาชีพ ทำการประเมินศักยภาพของพนักงานเพื่อนำเอาความสามารถนั้นมาใช้ประโยชน์ รู้ว่าแต่ละการบริการในหน่วยงานของเรามีต้นทุนมากน้อยเพียงใด รู้ว่าแต่ละโครงการในหน่วยงานของเรามีต้นทุนมากน้อยเพียงใด มีข้อมูลแสดงผลประกอบการทางการเงินจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร มีการวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการหรือการ ให้บริการ การเปลี่ยนแปลงในความต้องการของตลาดส่งผลต่อการกำหนดทิศทางของธุรกิจ มีการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของตลาดที่รวดเร็ว มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งที่รวดเร็วและทันการณ์ มีการจัดงานพบปะลูกค้าสำคัญเพื่อค้นหาความต้องการใหม่ๆในอนาคต มีการได้มาซึ่งแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆจากการทำงานร่วมกับบุคคล/หน่วยงานอื่นๆ บ่อยครั้ง ดำเนินการวิจัยตลาดอย่างมีโครงสร้างแบบแผนและได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สำรวจความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อประเมินผลคุณภาพของโครงการสินค้าและบริการ

KD: Knowledge dissemination (การเผยแผ่ กระจาย ถ่ายทอด หรือแบ่งปันความรู้)

    เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคและผู้บริหารมีการหารือร่วมกันถึงแนวโน้มและความ ต้องการของตลาด มีการบันทึกวิธีการปฏิบัติที่ดีที่เกิดขึ้นภายในเป็นประจำ มีการย้อนกลับไปทบทวนมุมมองหลากหลายในด้านต่างๆของธุรกิจเป็นประจำ สนับสนุนให้มีการสื่อสารแบบเปิดกว้างภายในองค์กร สนับสนุนให้เกิดการชี้แนะชี้นำช่วยเหลือพนักงานอย่างแข็งขัน ใช้ซอฟท์แวร์เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่สำคัญอยู่เสมอ เวียนรายงานที่เป็นประโยชน์เพื่อให้เกิดการกระจายความรู้ มีการปรับปรุงแก้ไขนโยบายและคู่มือปฏิบัติงานอยู่เสมอ จัดให้มีการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดอบรมสัมมนาและ การประชุม จัดให้มีเอกสารเวียน (เช่นรายงานหรือจดหมายข่าว) เกี่ยวกับความสำเร็จทางธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

KU: Knowledge utilization(การใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด)

    มีกระบวนการสำหรับการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เป็นบทเรียนจากข้อผิดพลาด มีกระบวนการสำหรับใช้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาใหม่ๆ มีการจับคู่แหล่งความรู้กับปัญหาและความท้าทายต่างๆ ใช้ความรู้ในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถจัดวางหรือประยุกต์ใช้ความรู้ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทาง การแข่งขัน

 

องค์กรของท่านก็ทำได้ โดยเริ่มต้นง่ายๆ จับเข่าคุยกันแบบไม่มีกำแพง ตำแหน่ง หรือแผนก/ฝ่าย ขวางกั้น ไม่แน่ท่านอาจจะได้ประเด็นหรือสิ่งที่น่าสนใจ ที่สำคัญเมื่อทำแล้วย่อมเกิดประโยชน์โดยตรง

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635555#sthash.628A96FV.dpuf

การจัดการความรู้ มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะองค์กรที่กำลังขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไปในทิศทางของธุรกิจสร้างสรรค์ ให้ทันเศรษฐกิจดิจิทัล

การจัดการความรู้ (knowledge management) มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะองค์กรที่กำลังขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไปในทิศทางของธุรกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรม หรือเร่งฝีเท้าเพื่อให้ทันกับเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เมื่อสำรวจตรวจสอบองค์กรต่างๆในไทย ว่าบริหารจัดการความรู้ภายในอย่างไรกันบ้าง มักหนีไม่พ้นกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ อาทิ Knowledge Forum (CoP) Knowledge corner Knowledge Base

ซึ่งกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ มักจะเรียนรู้ต่อๆกันมาจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา ตำรา และงานสัมมนาต่างๆ แต่ถ้าองค์กรต่างๆจะคิดทำเพิ่ม โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการคิด แสดงความคิดเห็น ก็อาจจะได้มุมมองใหม่ๆที่หลากหลายขึ้น ที่สำคัญเป็นสิ่งที่สอดรับกับบริบทและจริตของคนในองค์กร ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงผลของการระดมสมองกลุ่มผู้บริหารและพนักงาน ว่ามีอะไรบ้างที่สัมพันธ์กับความรู้ในแง่มุมต่างๆ (ที่มาจาก ฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

 

KR: Responsiveness to knowledge (ความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งที่ได้รับรู้มา)

    พร้อมดำเนินการทันทีที่พบว่าลูกค้าไม่ได้รับความพึงพอใจในคุณภาพของการบริการ ตอบสนองในเชิงสร้างสรรค์ต่อความจำเป็นที่เปลี่ยนไปในสินค้าและบริการของลูกค้า ทุ่มเทความพยายามอย่างประสานสัมพันธ์กันในการตอบสนองต่อความจำเป็นที่กำหนดไว้โดยลูกค้า ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อคำร้องขอที่เกิดขึ้นจากลูกค้า ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสิ่งที่พนักงานกังวล ดำเนินการจัดทำแผนการตลาดที่พัฒนาขึ้นมาอย่างมีประสิทธิผล พยายามที่จะปรับปรุงต้นทุนในการดำเนินงานบริการทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก้าวทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร มีการทบทวนผลของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีต่อลูกค้า ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อคู่แข่งหลักที่นำเสนอบริการแก่ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่า

KA: Knowledge acquisition(การแสวงหา หรือให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ต้องการ)

    สนับสนุนให้พนักงานศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ สนับสนุนให้พนักงานได้เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาและการประชุมวิชาการสำคัญ จัดให้มีการประชุมร่วมกับพนักงานเพื่อหารือถึงแนวคิดทางธุรกิจเป็นประจำ ดึงดูดพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานมืออาชีพ ทำการประเมินศักยภาพของพนักงานเพื่อนำเอาความสามารถนั้นมาใช้ประโยชน์ รู้ว่าแต่ละการบริการในหน่วยงานของเรามีต้นทุนมากน้อยเพียงใด รู้ว่าแต่ละโครงการในหน่วยงานของเรามีต้นทุนมากน้อยเพียงใด มีข้อมูลแสดงผลประกอบการทางการเงินจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร มีการวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการหรือการให้บริการ การเปลี่ยนแปลงในความต้องการของตลาดส่งผลต่อการกำหนดทิศทางของธุรกิจ มีการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของตลาดที่รวดเร็ว มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งที่รวดเร็วและทันการณ์ มีการจัดงานพบปะลูกค้าสำคัญเพื่อค้นหาความต้องการใหม่ๆในอนาคต มีการได้มาซึ่งแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆจากการทำงานร่วมกับบุคคล/หน่วยงานอื่นๆบ่อยครั้ง ดำเนินการวิจัยตลาดอย่างมีโครงสร้างแบบแผนและได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สำรวจความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อประเมินผลคุณภาพของโครงการสินค้าและบริการ

KD: Knowledge dissemination (การเผยแผ่ กระจาย ถ่ายทอด หรือแบ่งปันความรู้)

    เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคและผู้บริหารมีการหารือร่วมกันถึงแนวโน้มและความต้องการของตลาด มีการบันทึกวิธีการปฏิบัติที่ดีที่เกิดขึ้นภายในเป็นประจำ มีการย้อนกลับไปทบทวนมุมมองหลากหลายในด้านต่างๆของธุรกิจเป็นประจำ สนับสนุนให้มีการสื่อสารแบบเปิดกว้างภายในองค์กร สนับสนุนให้เกิดการชี้แนะชี้นำช่วยเหลือพนักงานอย่างแข็งขัน ใช้ซอฟท์แวร์เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่สำคัญอยู่เสมอ เวียนรายงานที่เป็นประโยชน์เพื่อให้เกิดการกระจายความรู้ มีการปรับปรุงแก้ไขนโยบายและคู่มือปฏิบัติงานอยู่เสมอ จัดให้มีการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดอบรมสัมมนาและการประชุม จัดให้มีเอกสารเวียน (เช่นรายงานหรือจดหมายข่าว) เกี่ยวกับความสำเร็จทางธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

KU: Knowledge utilization(การใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด)

    มีกระบวนการสำหรับการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เป็นบทเรียนจากข้อผิดพลาด มีกระบวนการสำหรับใช้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาใหม่ๆ มีการจับคู่แหล่งความรู้กับปัญหาและความท้าทายต่างๆ ใช้ความรู้ในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถจัดวางหรือประยุกต์ใช้ความรู้ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางการแข่งขัน

 

องค์กรของท่านก็ทำได้ โดยเริ่มต้นง่ายๆ จับเข่าคุยกันแบบไม่มีกำแพง ตำแหน่ง หรือแผนก/ฝ่าย ขวางกั้น ไม่แน่ท่านอาจจะได้ประเด็นหรือสิ่งที่น่าสนใจ ที่สำคัญเมื่อทำแล้วย่อมเกิดประโยชน์โดยตรง



สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จัดการความรู้ ด้วยสมองและสองมือ

view