สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กรมสรรพากรได้มีคำชี้แจงเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หาที่จะใช้บังคับพร้อมกับภาษีการรับมรดก

ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ในวันจันทร์ที่ 1 ก.พ.2559 อันเป็นวันครบกำหนด 180 วันนับแต่วันที่กฎหมายได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา(วันที่ 5 ส.ค.2558) จึงขอนำมาสรุปเพื่อเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้ 

ปุจฉา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หาที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทุก ประเภทที่สามารถคำนวณเป็นเงินกำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้ในกรณีใด บ้าง เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีและมีวิธีการเสียภาษีอย่างไร

วิสัชนา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หาที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทุก ประเภทที่สามารถคำนวณเป็นเงินนั้น กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้ดังต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1. เงินได้จากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น และ

2. เงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

3. เงินได้ที่ได้รับซึ่งผู้ให้แสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้ เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในส่วนของวิธีการเสียภาษีเงินได้จากการรับให้โดยเสน่หาดังกล่าวนั้น เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับการรับให้โดยเสน่หาในกรณีนี้ จึงให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสามารถเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือจะนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น

ปุจฉา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หาที่ เป็นอสังหาริมทรัพย์กำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี มีการยกเว้นภาษีสำหรับกรณีใดบ้าง อย่างไร และกรณีต้องเสียภาษีจะต้องยื่นรายการอย่างไรบ้าง

วิสัชนา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หา ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์นั้น กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่บิดามารดาที่เป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม อย่างไรก็ตามได้กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษี

ทั้งนี้ โดยให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ในคราวเดียว กัน ที่มีมูลค่าเกินกว่า 20 ล้านบาท โดยให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท

นอกจากนี้ ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท หรือจะนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ภาษีการรับให้โดยเสน่หา

view