สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา(3)

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา(3)

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ขอนำประเด็นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หา

เฉพาะกรณีการยกให้อสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันจันทร์ที่ 1 ก.พ. 2559 พร้อมกับภาษีการรับมรดก ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ 

ปุจฉา ก่อนวันที่ 1 ก.พ. 2559 ที่จะมีการใช้บังคับกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หานั้น มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หา จากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสอย่างไร

วิสัชนา การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีดังกล่าวยังคงเหมือนเดิม กล่าวคือ กรณีบุพการี (บิดาและหรือมารดา) ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย) หรือคู่สมรส รวมทั้งบุคคลอื่นใดยกให้สังหาริมทรัพย์ โดยการอุปการะหรือให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม ประเพณี ผู้รับให้ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 ก.พ. 2559 เป็นต้นไป กรณีบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ทำการอุปการะหรือให้โดยเสน่หาซึ่งสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุพการี หรือคู่สมรสจะมีผลทางภาษีอากรอย่างไร

วิสัชนา ได้มีการแก้ไขมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร โดยยกเลิกข้อความเดิมทั้งหมด เพื่อที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา และการรับให้โดยเสน่หาไม่ว่าจะเนื่องโอกาสใดๆ และได้เพิ่มการยกเว้นตามมาตรา 42 (26)(27)(28) และ (29) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับมาตรา 42 (27) แห่งประมวลรัษฎากร นั้นบัญญัติว่า “เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น”

ดังนั้นตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 ก.พ. 2559 เป็นต้นไป กรณีบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ทำการอุปการะหรือให้โดยเสน่หาซึ่งสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินใดๆ ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุพการี หรือคู่สมรส โดยมีมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีดังกล่าว ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุพการี หรือคู่สมรส ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่ถ้ามูลค่าของสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินใดๆ ดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่า 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น ในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้รับให้จากการอุปการะหรือให้โดยเสน่หาดังกล่าวมี หน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลโดยนำเงินได้ที่ได้รับไปรวมคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ตาม ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้รับให้จากการอุปการะหรือให้โดยเสน่หาจากบุพการีผู้ สืบสันดานหรือคู่สมรสดังกล่าวจะเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หา ในส่วนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ภาษีการรับให้โดยเสน่หา(3)

view