สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธีรพงศ์ จันศิริ ใหญ่ไม่่สำคัญเท่าความ เชื่อถือ

ธีรพงศ์ จันศิริ'ใหญ่ไม่่สำคัญเท่าความ ‘เชื่อถือ'

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ภายใต้การนำของ ‘ธีรพงศ์ จันศิริ’ บิ๊กบอสไทยยูเนี่ยนฯมี Big move ใหม่ ใหญ่กว่านั้น ฝังDNAบุคลากรเป็นผู้ ‘น่าเชื่อถือ’ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

23 กันยายน 2558 จารึกไว้ว่าเป็น “วันสำคัญ" แห่งการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่ ของ “ราชาทูน่าโลก” บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นส์ โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง เพื่อส่งออกต่างประเทศรายใหญ่ของโลก 

ในวันที่ธุรกิจเดินมาสู่ขวบปีที่ 38  

กับการเปลี่ยนแปลงองค์กร ชนิด “หัวจรดเท้า” ตั้งแต่ ชื่อบริษัท โลโก้บริษัท ไปจนถึง ชื่อย่อหลักทรัพย์

มาเป็นบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อหลักทรัพย์ TU กับ โลโก้ใหม่ที่พริ้วไหวกว่าเดิม

ย้อนกลับไป บริษัทแห่งนี้ ต้องเผชิญกับ “มรสุมลูกโต” จากการออกไปปักธงลงทุนธรกิจอาหาระทะเลฯในต่างแดน กับการ “ติดร่างแห” ถึงการมี“เอี่ยว”กับการใช้แรงงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ 

หลังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Tip Report 2015) ระบุให้ไทย ยังคงอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) หรือกลุ่มประเทศที่มีการค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด

แน่นอน ย่อมกระทบต่อ “ความเชื่อมั่น” ในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทสัญชาติไทย

หนึ่งในผลกระทบที่เกิดขึ้น เห็นได้จากการที่บริษัทได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ (22 ก.ค.58)  ถึง “การระงับ” การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะเจาะจง 

โดยระบุว่า เกิดเหตุการณ์ที่อาจมีผลให้ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลัก ทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนของบริษัทฯ เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน

หลังบริษัท Tri-Union Seafoods LLC (Tri-Union) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ที่ประกอบธุรกิจอาหารทะเลบรรจุภาชนะผนึกในสหรัฐฯ ภายใต้แบรนด์ Chicken of the Sea (แบรนด์อันดับที่ 3 ของตลาดสหรัฐฯ ที่ไปซื้อกิจการก่อนหน้านี้) ได้รับหมายเรียกจากกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ สั่งให้ Tri-Union ให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการสอบสวนการกระทำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุภาชนะผนึกของสหรัฐฯ ตามกฎหมายว่าด้วยแข่งขันทางการค้า 

ทำให้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าหมายเรียกดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัท และแผนการซื้อกิจการของ “บัมเบิ้ลบี” (แบรนด์อาหารทะเลสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ) หรือไม่ เพียงใด

นี่คือแรง “สั่นสะเทือน” ทางธุรกิจที่เกิดขึ้น !

จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่ง นำมาถึงการ “ปรับภาพลักษณ์” องค์กรครั้งใหญ่

“ธีรพงศ์ จันศิริ” ประธานเจ้าหน้าที่บริการ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่น 2 ผู้ถือหางเสือธุรกิจที่มียอดขาย “แสนล้าน” ยังแจกแจงประเด็นที่เกิดขึ้นในเวทีสัมมนาแห่งหนึ่ง โดยเขายอมรับว่า การเป็น “ผู้นำ” ทางธุรกิจย่อมทำให้ตกเป็น “เป้า” ของคู่แข่งในสมรภูมิการค้า

“ธุรกิจไม่ง่าย ลำบากทุกวัน ยิ่งใหญ่ขึ้นก็เป็นเป้า คู่แข่งเรามีทั้งโลก..ทุกที่” ก่อนขยายความว่า..      

 เวลานี้ไทยกำลังเผชิญปัญหาการค้าแรงงานค้ามนุษย์ ซึ่งในเอเชียมีเพียงเกาหลีเหนือ ที่เข้าข่าย รวมทั้งไทยยังเผชิญปัญหาเมื่อสหภาพยุโรป(อียู) ให้ใบเหลืองไทยจากปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) กดดันธุรกิจ

“เมื่อบริษัทเป็นผู้นำ (ธุรกิจทูน่าระดับโลก) ทุกครั้งที่มีเรื่องโจมตีไทย ก็มาที่เราก่อน”

ดังนั้น การทำธุรกิจในวันนี้ จึงต้องตระหนักถึง “ความยั่งยืน” 

นั่นเพราะพิสูจน์แล้วว่า อุปสรรคการค้าจะไม่ใช่แค่มาตรฐานสินค้าอีกต่อไป แต่เป็นเรื่อง “การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และชุมชน” ธีรพงศ์ ระบุ

บทเรียนจากปัญหาที่เกิดขึ้น ยังทำให้ซีอีโอ ผู้นี้ เปลี่ยนมุมมองความคิดต่อการดำเนินธุรกิจ  “ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดเสมอไป” 

หลังจากก่อนหน้าบริษัทแห่งนี้ ยึดตำราไล่ซื้อกิจการ เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแบรนด์ทูน่าดัง เบ่งกล้ามความใหญ่จากขนาด (อีโคโนมี ออฟ สเกล) ไม่เพียงการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า “Chicken of the Sea” ยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า “John West” ผู้นำอันดับ 1 ในอังกฤษ ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์, “Petit Navire และ H. Parmentier” ผู้นำอันดับ 1 ในอิตาลี

“ความน่าเชื่อถือ” จากลูกค้า ผู้บริโภค นักลงทุน ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆทั้งหมด (Stakeholders) ต่างหาก  คือ การเติบโตที่ยั่งยืน ที่แท้จริง !

+++++++++++++++

เติบใหญ่ อย่างยั่งยืน

2 ปีข้างหน้า “ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป” จะดำเนินธุรกิจครบ 4 ทศวรรษ บอสใหญ่ "ธีรพงศ์ จันศิริ” ยังบอกเล่าทิศทางบริษัทในบริบทใหม่ในอีก “10 ปี” ข้างหน้าว่า "ต้องการสร้างวิสัยทัศน์ที่มองให้ไกล นำมาสู่การพัฒนาธุรกิจและองค์กรให้เกิดความยั่งยืนในหลายสิบปี”

แม้คนจะมองว่า วันนี้ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ มียอดขายกว่า 1.2 แสนล้านบาท เป็นเจ้าของแบรนด์ทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารพร้อมรับประทานฯ ที่ยิ่งใหญ่ในเวทีโลก 

ทว่า ธีรพงศ์กลับไม่คิดเช่นนั้น 

“เมื่อออกจากประเทศไทย เราคือบริษัท Super small”  

การผลักดันยอดขายจึงนับว่ายังมีส่วนสำคัญ ที่ต้องทำคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน  กับการกำหนดวิสัยทัศน์ปี 2020 ที่จะผลักดันรายได้ให้ทะลุ 8,000 ล้านดอลลาร์ " หรือประมาณ 2.4 แสนล้านบาท

“ถ้าต้องการเป็นบริษัทระดับโลก(Global company) ก็ต้องเทียบกับบริษัทระดับโลกซึ่งตอนนี้เรายังห่างไกล แต่จากวิสัยทัศน์ 2020 นอกจากจะทำให้เราเป็นผู้ผลิตปลาทูน่าใหญ่ที่สุดในโลก หากเรามียอดขาย 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เราจะเป็นผู้ผลิตอาหารทุกผลิตภัณฑ์ที่ใหญ่สุดในโลก”

เป้าหมายใหญ่อยู่เบื้องหน้า ยังนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ(Mission) และค่านิยม(Core Value)ขององค์กรใหม่ 

กำหนด 6 DNA คนไทยยูเนี่ยน กรุ๊ปทั้งโลก ประกอบด้วย 1.Passion (ความหลงไหล ทุ่มเท) 2.Humble (อ่อนน้อมถ่อมตน) 3.Respectful (ความเคารพ)  4.Responsible (ความรับผิดชอบ)  5.Collaborative (ความร่วมไม้ร่วมมือ) และ6.Innovative (การใช้นวัตกรรม) 

“การกำหนด DNA ให้กับคนของเรา พฤติกรรมคนของเราที่ต้องการจะเห็นจากนี้ไปในอนาคต จะเป็นสิ่งที่ทุกคนในบริษัทเราทั่วโลกต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งถือเรื่องท้าทาย”

ที่สำคัญจะเห็นการรวม 56 บริษัทในเครือทั่วโลกใช้แบรนด์องค์กร “Corporate Brand” ร่วมกัน 

ทั้งหมดดำเนินการเพื่อรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจใน 10 ปีข้างหน้า เพราะจากนี้ไปบริษัทจะมุ่งสร้างการเติบโตทางอีกมากมาย และธุรกิจจะมีความซับซ้อนมากขึ้น 

“การเรารวมกันเป็นหนึ่ง จะเป็นการใช้พลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันให้เกิดพลังสูงสุด” 

++++

 ถ้าพื้นที่ไม่พอ ก็ตัดส่วนนี้ บริษัท ไทย ยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในไทยโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร และเพื่อให้การดำเนินธุรกิจครบวงจร การบริหารต้นทุน และการให้บริการลูกค้า จึงดำเนินกลยุทธ์ขยายการลงทุน โดยเข้าลงทุนในบริษัทย่อยหลายสิบบริษัท ครอบคลุมธุรกิจด้านอาหารสำเร็จรูปและอาหารว่าง ได้แก่ อาหารบรรจุกระป๋อง อาหารแช่แข็ง และอาหารว่างประเภทต่างๆ โดยเน้นอาหารทะเล เป็นหลัก 

ขณะเดียวกันก็ได้ขยายเข้าสู่การดำเนินงานในรูปธุรกิจบรรจุภัณฑ์และสิ่ง พิมพ์ ธุรกิจตลาดภายในประเทศ ธุรกิจอาหารสัตว์ พัฒนาสายพันธุ์กุ้งเพื่อจำหน่าย ธุรกิจโรงเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้ง และฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้ลงทุนในบริษัทร่วมอีก 6 แห่ง ประกอบธุรกิจผลิตปูอัด อาหารกุ้ง อาหารสัตว์ ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอาหารทะเล ลงทุนในธุรกิจการจับปลาทูน่า และธุรกิจให้บริการบริหารการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธีรพงศ์ จันศิริ ใหญ่ไม่่สำคัญ ความ เชื่อถือ

view