สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Womenomics จุดหมายที่ซ่อนเร้นใน Abenomics

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ช่วยกันคิด

โดย ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร, ภัทราพร คุ้มสะอาด

หากจะกล่าวถึง "Abenomics" ในขณะนี้ คงเป็นที่รู้จักในวงกว้างว่าเป็น นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้ผู้นำที่ชื่อ ชินโซ อาเบะ โดยนโยบายดังกล่าวประกอบไปด้วยลูกศร 3 ดอกที่สำคัญ

ได้แก่ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายระยะกลางถึงระยะยาว ด้านผลิตภาพการเติบโตของเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 2.0 และเสถียรภาพด้านราคาที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี

ส่วน "Womenomics" หรือพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากประชากรหญิง มาได้อย่างไร ?

เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพไม่ได้เลย หากขาดปัจจัยสำคัญประการหนึ่งนั่นคือ การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดย การส่งเสริมบทบาทสตรีในทุก ๆ ด้าน ถูกนำมาเป็นตัวเลือกในการเพิ่มผลิตภาพให้แก่ประเทศญี่ปุ่น และกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจที่ซึมลึกมาอย่างยาวนาน โดยพื้นฐานทางความคิดของสังคมญี่ปุ่นที่ยึดมั่นในความคิดที่ว่า "ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า" มีหน้าที่เป็นกำลังหลักสำคัญในการหารายได้จุนเจือครอบครัว ส่วน "ผู้หญิงเป็นแม่บ้าน" และดูแลลูกแบบเต็มเวลา ส่งผลให้มีช่องว่างระหว่างเพศในสังคมการทำงาน ไม่ว่าจะในเรื่องของอัตราค่าตอบแทน และการเติบโตตามสายงานด้านต่าง ๆ สะท้อนโอกาสการยอมรับในสังคมการทำงานของแรงงานหญิงมีเพียงน้อยนิด ทำให้ "สตรีเพศในญี่ปุ่นกลายเป็นทรัพยากรที่ถูกมองข้ามมาโดยตลอด"


ภาพจาก : www.cnbc.com


ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมและผลักดันให้แรงงานหญิงเข้าสู่ระบบมากขึ้น เพื่อปิดช่องความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศในสังคมการทำงานผ่านการออกมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ได้แก่ จัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กให้มีอย่างกว้างขวางขึ้น จัดทำแผนบังคับให้ผู้บริหารในบริษัทอย่างน้อยควรมีผู้หญิง สนับสนุนชั่วโมงการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ผู้หญิงสนับสนุนชั่วโมงการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ผลตอบแทนที่มีความคุ้มค่าและเท่าเทียม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ทางภาษีชักจูงใจให้ผู้หญิงที่มีลูกกลับเข้าทำงานมากขึ้น เป็นต้น

นอกจากผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น ยังรอคอยความหวังจากแรงงานหญิงเข้ามากอบกู้ปัญหาในเชิงโครงสร้างประชากร เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้ เสถียรภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ราบรื่นนัก จากการเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสูงสุด (Super-aged Society) ซึ่งประชากรอายุเกิน 65 ปี สัดส่วนมากถึงร้อยละ 26 ของประชากรรวม ผนวกด้วยอัตราการเกิดที่ชะลอลงต่อเนื่อง นับเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ตกเป็นภาระอันหนักอึ้งแก่ภาครัฐในการออกแบบนโยบายเพื่อรองรับความไม่ยั่งยืนดังกล่าวในอนาคต

หลายต่อหลายครั้งถ้อยแถลงนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นมักกล่าวเน้นย้ำถึง "การมีส่วนร่วมของสตรีญี่ปุ่น" อยู่สม่ำเสมอ สะท้อนให้เห็นถึงความหวังในการกอบกู้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในยุคนี้ คงต้องมีแรงขับเคลื่อนหนึ่งจากหญิงสาวชาวอาทิตย์อุทัยอยู่เป็นแน่

อย่างไรก็ดี การชูแนวคิดบทบาทสตรีอย่างเป็นรูปธรรมในสังคมญี่ปุ่น ถือเป็นเรื่องแหวกความคิดแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ ความท้าทายสำคัญคือการตอบสนองต่อนโยบายและการยอมรับบทบาทของสตรีญี่ปุ่นในสังคมทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน ?

เพราะวาระกว่า 3 ปีที่นายอาเบะพยายามผลักดันอยู่นั้น พลังที่ซ่อนเร้นดังกล่าวยังไม่สำแดงฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาทวงบัลลังก์ความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกได้เลย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : Womenomics จุดหมายที่ซ่อนเร้น Abenomics

view