สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

SCB EIC วิเคราะห์ จับตามาตรการลดภาษีค่าโอน-จำนองบ้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีมาตรการทางการเงินเป็นเงินกู้ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งจะมีการประกาศรายละเอียดและเงื่อนไขอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนมาตรการทางการคลัง ได้แก่ (1) การลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เหลือ 0.01% และค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยทุกระดับราคา โดยมีระยะเวลาใช้มาตรการ 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2015 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2016

และ (2) ให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ซื้อบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาใช้มาตรการ 15 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2015 ถึงสิ้นปี 2016 โดยสามารถนำเอา 20% ของมูลค่าที่อยู่อาศัยที่ซื้อไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นระยะเวลา 5 ปีภาษี คิดเป็น 4% ต่อปีหรือสูงสุด 120,000 บาทต่อปี

ที่ผ่านมาตลาดอสังหาริมทรัพย์ เคยได้รับมาตรการกระตุ้นตลาดถึง 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ประกอบการ




สำหรับ มาตรการในครั้งนี้คาดว่าโครงการระดับกลางขึ้นไปจะเป็นกลุ่มที่ได้รับ ประโยชน์ในส่วนของการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองอีไอซีมองว่าการ จำกัดระยะเวลาของมาตรการที่ค่อนข้างสั้นนี้จะช่วยกระตุ้นกลุ่มผู้ซื้อที่ กำลังรอโอนที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้วและผ่านเกณฑ์การขอสินเชื่อแล้ว มากกว่าแต่อาจจะจูงใจผู้ซื้อรายใหม่ได้ไม่มากนัก อีกทั้งที่ผ่านมาผู้ประกอบการบางรายมีการทำตลาดโดยการลดภาระค่าธรรมเนียม ต่างๆ ให้กับผู้ซื้อบ้างอยู่แล้ว

ที่อยู่อาศัยที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านที่สร้างเสร็จแล้วหรือที่จะสร้างเสร็จในปีหน้าจะได้รับผลประโยชน์โดยตรง จากมาตรการให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไรก็ตาม มาตรการการคลังนี้จะส่งผลดีต่ออัตราดูดซับของตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวม เนื่องจากที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3 ล้านมีสัดส่วนที่สูงมากจากการเปิดตัวในช่วงสองปีที่ผ่านมา  โดยโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวใหม่ตั้งแต่ปี 2013 ถึง 2014 ที่มีจำนวนมากกว่า 150,000 ยูนิต นั้นเป็นยูนิตขายที่มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทราว 70% ของจำนวนยูนิตขายทั้งหมด ขณะที่บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ที่เปิดตัวใหม่ตั้งแต่ต้นปี มีจำนวนประมาณ 32,000 ยูนิต ซึ่งราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทมีสัดส่วนถึง 67% ของจำนวนยูนิตขายทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม คาดว่าอาจจะกระตุ้นตลาดให้กลับมาคึกคักได้ไม่มากนัก เนื่องจากยังมีเงื่อนไขสำหรับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย มาก่อน ทั้งนี้ อีไอซีคาดว่าจะมีกำลังซื้อมาจากทุกระดับรายได้ทั้งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจน ถึงผู้มีรายได้สูงเนื่องจากเป็นการใช้สิทธิลดหย่อนค่าใช้จ่ายจากรายได้พึง ประเมินซึ่งแตกต่างจากโครงการบ้านหลังแรกในปี 2011-2012 ที่ให้ประโยชน์ในการหักจากภาระภาษีที่ต้องเสียซึ่งส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อย และภาระภาษีน้อยใช้ประโยชน์จากโครงการได้ไม่เต็มที่

ผู้ประกอบการที่มีbacklog และ โครงการสร้างเสร็จพร้อมขายที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่โซนรอบนอกกรุงเทพ เช่น บางนา กม.10-33,รังสิตคลอง 1-7, บางใหญ่-ราชพฤกษ์, หทัยราษฎร์, บางซื่อ โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ 10 อันดับแรก มี backlog รวมกันมูลค่าประมาณ 88,200 ล้านบาท สำหรับครึ่งปีหลังของปี 2015 และอีก 70,700 ล้านบาทในปี 2016 จะได้รับประโยชน์จากมาตรการที่จะช่วยกระตุ้นยอดการโอน นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวยังจะเป็นปัจจัยผลักดันให้โครงการที่อยู่อาศัยเร่งสร้างให้เสร็จเร็วขึ้น ซึ่งแม้จะส่งผลดีต่อธุรกิจต่อเนื่องอื่น เช่น กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ของใช้ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ แต่การเร่งการก่อสร้างอาจส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านคุณภาพของสินค้าได้

อย่าง ไรก็ตาม ควรจับตาดูระดับหนี้ครัวเรือนที่อาจจะเพิ่มขึ้น การประกาศใช้มาตรการถือเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อขายและโอนที่ อยู่อาศัยง่ายขึ้นและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นพร้อมส่งเสริมให้ประชาชน ที่ไม่เคยมีที่อยู่อาศัยได้มีที่อยู่อาศัย แต่อาจจะต้องจับตาดูผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจจากภาวะที่ประชาชนมีหนี้สิน เพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ อีไอซีคาดว่าสภาวะตลาดที่อยู่อาศัยจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากมาตรการ แต่จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการในระยะสั้น เนื่องจากปัจจัยสำคัญยังคงเป็นเรื่องกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของประชาชน รวมไปถึงระดับหนี้ครัวเรือนที่ยังเป็นข้อจำกัดของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : SCB EIC วิเคราะห์ จับตา มาตรการลดภาษีค่าโอน จำนองบ้าน

view