สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มุ่งสู่การเป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืน

มุ่งสู่การเป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืนมุ่งสู่การเป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืน
โดย : เรวัต ตันตยานนท์
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ให้ความสนใจและมุ่งสนับสนุนให้ธุรกิจไทยมีการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

แต่สำหรับธุรกิจขนาดรองลงมาไปจนถึงธุรกิจในระดับเอสเอ็มอี ก็อาจนำตัวแบบการพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่ ตลท. นำมาใช้กับบริษัทขนาดใหญ่เพื่อมาประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจของตนเองได้โดยไม่ยากนัก

โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ธุรกิจของตนมีการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน

แนวทางการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่ได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความยั่งยืนของแต่ละบริษัท แบ่งออกได้เป็น 3 มิติใหญ่ที่บริษัทที่มุ่งสู่ความยั่งยืนจะต้องนำไปปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจของตนเอง ได้แก่ 1) มิติต้านเศรษฐกิจ 2) มิติต้านสิ่งแวดล้อม และ 3) มิติด้านสังคม

ในมิติด้านเศรษฐกิจ มีกิจกรรมหลัก 7 เรื่องที่จะนำธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างมั่นคง ได้แก่

1) การมีระบบบรรษัทภิบาลที่ดี เช่น มีการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับคณะกรรมการบริษัทใช้เป็นหลักในการกำหนดทิศทางเดินของธุรกิจ การกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงที่ชัดเจน การกำหนดนโยบายความเป็นอิสระของคณะกรรมการแยกจากคณะผู้บริหารของบริษัท และมีวิธีการประเมินผลงานของคณะกรรมการ เป็นต้น

 2) มีการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตของธุรกิจ เช่น มีวิธีการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์และติดตามความเสี่ยงของธุรกิจเป็นประจำ

3) มีการเขียนจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) และการต่อต้านการทุจริตไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประกาศให้พนักงานหรือผู้ร่วมธุรกิจได้รับทราบ พร้อมมีการติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามจรรยาบรรณธุรกิจที่ได้ประกาศไว้อย่างเคร่งครัด

4) มีการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น มีวิธีการวัดความพึงพอใจของลูกค้าและนำผลที่วัดได้มาปรับปรุงธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า

5) มีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ทราบถึงระดับความสำคัญของคู่ค้า ความเสี่ยงต่อการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจของคู่ค้า และการส่งเสริมสนับสนุนให้คู่ค้าร่วมกิจกรรมสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจร่วมกัน

6) มีการดำเนินการด้านภาษีที่เหมาะสม จัดให้มีการวางแผนภาษี ประเมินความเสี่ยงด้านภาษี และปฏิบัติตามกฎหมายด้านภาษีอากรอย่างถูกต้อง

7) มีการสร้างหรือการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม เช่น การพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสร้างนวัตกรรมให้กับสินค้าหรือบริการ หรือนวัตกรรมที่จะส่งเสริมสังคมให้มีความเข้มแข็ง หรือสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสังคม

ในมิติด้านการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 4 เรื่อง ได้แก่

1) มีการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การมีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นลายลักษณ์อักษรสามารถติดตามผลในเชิงปริมาณได้ มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีการวิเคราะห์ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

2) มีการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานภายในดูแลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การคำนึงถึงการหมุนเวียน การใช้ซ้ำ การนำมาใช้ใหม่สำหรับทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ การจัดการของเสียและมลพิษจากการผลิตหรือการให้บริการของธุรกิจ รวมถึงเรื่องของ ฝุ่น เสียง กลิ่น น้ำเสีย ขยะ และการช่วยบรรเทาสภาวะโลกร้อน

11) การดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น มีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การปกป้องระบบนิเวศ รวมถึงการดูแลประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าของระบบนิเวศผ่านสินค้าและหรือบริการที่ธุรกิจนำเสนอให้แก่ผู้บริโภค

ในมิติด้านสังคม ธุรกิจที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควรมีการทำกิจกรรมที่จะช่วยสร้างมาตรฐานความเข้มแข็งที่ดีของสังคม ใน 7 เรื่อง ได้แก่

1) การเปิดเผยข้อมูลด้านสังคม เช่น การกำหนดนโยบายหรือกิจกรรมเพื่อสังคม มีการตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายให้แก่กิจกรรมเพื่อสังคมตามแผน มีการติดตามวัดผลที่เกิดขึ้นกับกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว หากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ควรมีการเผยแพร่กิจกรรมเพื่อสังคมและประโยชน์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ

2) การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชน มีนโยบายจ้างงานและการให้ค่าจ้างค่าตอบแทนที่ไม่เลือกปฏิบัติและให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน โดยครอบคลุมถึง สตรี ผู้พิการ หรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ จัดหาสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่พนักงานผู้พิการ เช่น ห้องน้าสาหรับผู้พิการ ที่จอดรถสาหรับผู้พิการ มีแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การไม่ใช้แรงงานเด็ก การไม่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และมีการติดตามผลที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการปฏิบัติของคู่ค้าเกี่ยวกับการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานด้วย

3) การพัฒนาศักยภาพพนักงาน มีแผนการพัฒนาหรือการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถให้กับพนักงานทุกระดับชั้น และติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน ส่งเสริมพนักงานให้มีความก้าวหน้าในการทำงานอย่างยุติธรรมและเหมาะสม

4) การดูแลพนักงาน มีระบบและหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการทำงานของพนักงานที่ชัดเจนและประกาศให้พนักงานทุกคนรับทราบ นำผลการประเมินการทำงานมาพิจารณาในการเพิ่มค่าจ้างเงินเดือนหรือการเลื่อนตำแหน่งอย่างยุติธรรม มีการประเมินผลงานของผู้บริหาร และมีการประเมินความพึงพอใจของพนักงานเป็นประจำ

5) จัดให้มีสุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงานอย่างเพียงพอ ติดตามดูและการปฏิบัติงานให้ปลอดภัย บันทึกสถิติความปลอดภัยในการทำงาน ดูแลปรับปรุงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะ อนามัย และความปลอดภัยในการทำงานอยู่ตลอดเวลา

6) การมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น จัดให้มีการสำรวจตรวจสอบสภาพชุมชนและสังคมเกี่ยวกับผลกระทบทางลบจากการดำเนินการของธุรกิจหรือโครงการภายใต้ความรับผิดชอบของธุรกิจ และ สนับสนุนการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อพัฒนาให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

7) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของธุกิจ มีนโยบายและวิธีการดำเนินงานที่ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกของธุรกิจได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และติดตามการดำเนินงานตามนโนบาย

จะเห็นได้ว่า การพัฒนาสู่ความยั่งยืนของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต่างก็มีจุดสำคัญร่วมกันก็คือ การทำให้ธุรกิจเติบโตควบคู่ไปกับการไม่ทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และการช่วยพัฒนาชุมชน สังคม และผู้บริโภค ซึ่งจะกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจอย่างเหนียวแน่นและยาวนาน นั่นเอง!!


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มุ่งสู่การเป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืน

view