สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดมุมมอง 4 กูรูเศรษฐศาสตร์

จากประชาชาติธุรกิจ

จากที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ได้จัดสัมมนา "Thailand 2016 อนาคตเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน"

โดยได้ 4 นักเศรษฐศาสตร์แถวหน้าของไทยมาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง  

"เศรษฐกิจไทยเหมือนถีบจักรยานไปช้า ๆ...ล้มง่าย"

"ดร.ศุภ วุฒิ สายเชื้อ" กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด กล่าวว่า ห่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก เพราะมีความเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงค่อนข้างมาก เนื่องจากที่ผ่านมา หลังวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ หลายบริษัทในหลายประเทศไปเอาเงินกู้ยืมเงินมาใช้ มาลงทุนเพิ่มกำลังการผลิต จนทุกวันนี้ มีกำลังการผลิตเยอะ แต่ไม่มีคนซื้อสินค้า ในระยะข้างหน้าเร็ว ๆ นี้ 

เมื่อ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ย จึงยิ่งมีความเสี่ยงว่า หนี้ที่มีอยู่ กำลังการผลิตที่เยอะมากนั้น จะระบายอย่างไร จะผลิตสินค้าขายให้ใคร

"ตอน นี้ทุกคนสร้างกำลังการผลิตออกมาหมด เหล็ก ซีเมนต์ กระจก การเดินเรือ กำลังการผลิตเกินทั้งสิ้น ไม่มีใครยอมหยุด ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จึงตก สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากปัญหานี้คือปีหน้าอาจจะมีคนล้ม ปิดกิจการ แต่คำถามคือ ใครจะล้มก่อน ดังนั้นเวลาที่คนพูดกันถึงบริบทใหม่ หรือ New Normal ผมจึงมักบอกว่า มันเป็น New แต่อาจไม่ Normal ซึ่งจะเป็นสิ่งที่น่ากลัว ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าจะทำได้ยาก"

สำหรับ เศรษฐกิจไทยใน 2 เดือนที่เหลือและปีหน้า บล.ภัทรประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปีนี้จะอยู่ที่ 2.5% ปีหน้า 3.5% ส่วนส่งออกปีนี้ -4.5% ปีหน้า +3% ซึ่งทุกคนคาดการณ์ปีหน้าไปในเชิงบวก แต่ทุกคนก็บอกว่ายังเห็นความเสี่ยง อย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่าความเสี่ยงคือจีน

อย่าง ไรก็ตาม แม้มองไประยะข้างหน้าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยังดูมีความเสี่ยง แต่ประเทศไทยก็มีภูมิต้านทานที่ดีถึง 3 ด้าน ได้แก่ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มากถึง 5% ของจีดีพี หมายถึงมีการใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ สามารถมั่นใจได้ว่าค่าเงินจะมีความแข็งแกร่งได้ ตัวต่อมาคือ

เงิน เฟ้อยังต่ำ ดังนั้น ธปท.จึงไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ย และสาม หนี้ประเทศน้อยกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ประมาณ 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าหนี้ภาคครัวเรือนยังสูงและน่าเป็นห่วงอยู่ก็ตาม 

"เศรษฐกิจ ไทยจึงไปได้เรื่อย ๆ แต่มันเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียในตัว เพราะหากไม่ทำอะไรกำลังซื้อในประเทศก็จะลดลงมาก เปรียบเศรษฐกิจไทยเหมือนถีบจักรยานช้า ๆ ถีบช้าไปก็ล้มง่าย แล้วถ้าจีนฉุดลงอีก ก็ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลอยู่อาจลดลง และถ้า ธปท.เห็นดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ก็อาจคิดขึ้นดอกเบี้ย อาจยิ่งทำให้เศรษฐกิจแย่ได้"

ดังนั้น สิ่งที่ บล.ภัทรแนะลูกค้าคือ ให้เตรียมรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เพราะ

ใน ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พอต้นปีทุกสำนักเศรษฐกิจก็จะให้ประมาณการจีดีพีโต 3-4% แต่ก็มาปรับลดลงกันทีหลัง เป็นอย่างนี้ติดต่อกัน 3-4 ปีแล้ว 

"สิ่งที่ห่วงไม่ใช่วิกฤต แต่คือศก.ไทยจะโตแผ่วไปอีกนาน"

ดร.เศรษฐ พุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะบอกว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ โดยเฉพาะที่หลายสถาบันมองว่าปีหน้าจะเติบโตได้กว่า 3% แต่สำหรับตนไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนั้น และมองว่าหากการส่งออกโตได้ถึง 3% ก็ถือว่าดีมากแล้ว เพราะประเทศไทยมีปัญหา

เชิง โครงสร้าง ขณะเดียวกันการค้าโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้ช่วงหลังมาแม้เศรษฐกิจโลกฟื้น แต่การค้าโลกอาจจะไม่ฟื้นก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น โอกาสที่การส่งออกของไทยจะฟื้นก็ลำบาก และหากจีนมีปัญหาก็จะกระทบต่อรายได้ครัวเรือนของไทยไปด้วย

"ความ เสี่ยงของโลกขณะนี้ที่มองกันคือ จีน เพราะส่งผลกระทบเยอะหลายด้าน ไม่ใช่แค่ว่าเราส่งออกไปจีน แต่ถ้าจีนทรุด จะส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในโลก ตัวนี้

จะ กระทบรายได้บ้านเราเยอะ อีกอย่างคือ เราพูดเรื่องตัวเลขจีดีพีกันเยอะเกินไป ซึ่งไม่ได้ให้ภาพชัดเจน อย่างเช่นสมมุติปีนี้โตได้ 2.5-2.7% แต่ถ้าถามคนส่วนมากรู้สึกว่าดีไหม ผมเดาว่าส่วนใหญ่จะตอบว่าไม่ค่อยดี ที่มาก็คือ แม้จีดีพีจะโต แต่รายได้ครัวเรือนไม่โต ทั้งในและนอกภาคเกษตร"  

ปัญหา ของประเทศไทย ถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง แม้ 10 ปีที่ผ่านมาจะมีการเปลี่ยนมาหลายรัฐบาล แต่อัตราการเติบโตก็ไม่ได้ฟื้น ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อย ก็ยิ่งทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ได้ถูกแก้ไข จึงมีแต่นโยบายแบบกระตุ้นชั่วคราว หรือประชานิยมมากกว่า

"ทุก รัฐบาลก็พยายามกระตุ้น แต่เศรษฐกิจก็ไม่ได้ตอบสนอง เพราะเกิดอาการดื้อยามากขึ้น ใส่เข้าไปก็ดีขึ้นมานิดหนึ่ง แต่แล้วก็ทรุดลงไปอีก ดังนั้นการจะใช้ยาแบบเดิม ๆ 

ก็คงจะไม่เวิร์กแล้ว เหมือนคนสุขภาพไม่ดี ให้ยาก็ไม่ฟื้น ก็ต้องไปแก้เชิงโครงสร้าง" ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวและว่า

เหตุผล ที่ประเทศไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง ก็เพราะยังไม่ถึงจุดที่วิกฤต ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นบุญหรือกรรม ในการที่ไทยเป็นประเทศที่ยังมีความยืดหยุ่น คือหลังยังไม่ชนฝา ยังไม่ถูกบังคับให้ต้องทำในสิ่งที่จำเป็น

"สิ่งที่ผมเป็นห่วง ไม่ใช่วิกฤต แต่กังวลว่าเราจะโตแบบซึม ๆ ไปเรื่อย ๆ โตแผ่ว ๆ 

2-3% ไปอีกนาน เหมือนกับที่ฟิลิปปินส์เคยเป็น แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปได้เรื่อย ๆ จึงไม่มีแรงกดดันให้ต้องแก้ปัญหาที่เรื้อรัง"

นอก จากนี้ ยังมองว่าประเทศไทยควรจะเริ่มคิดถึงระบบสวัสดิการสังคมมากกว่าการใช้นโยบาย ประชานิยม เพราะการแก้ปัญหาแบบประชานิยมจะทำให้เกิดการเรียกร้องให้แก้ปัญหาแบบไม่รู้ จบ 

"ปีหน้ามีปัจจัยเสี่ยง แต่ก็มีปัจจัยหนุนให้ฟื้นต่อเนื่อง"

ดร.ปรเมธี วิมลศิริ เลขาฯคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในฐานะที่ตนดูตัวเลขจีดีพี สถานการณ์

เศรษฐกิจ เท่าที่ดูให้ 3 คำคือ "ฟื้นต่อเนื่อง" ปีที่แล้วอัตราการเติบโตจีดีพี 0.9% เพราะการเมืองไม่ปกติ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่ในครึ่งปีแรกติดลบด้วยซ้ำ แต่ครึ่งปีหลังดีขึ้น และปีนี้ครึ่งปีแรกกลับขึ้นมาเป็นระดับ 3% ตัวเลขจีดีพีก็บอกอยู่ว่าฟื้นต่อเนื่อง 

ส่วน เรื่องการลงทุน ก็มีทั้งคนรอและไม่รอ แต่ข้อมูลผู้ที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ปีที่แล้วเยอะมากในช่วงที่เราบอกว่าเศรษฐกิจไม่ดี และปีนี้ตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย. ก็มีการลงทุนจริงประมาณ 3 แสนล้านบาท ถ้าดูในเรื่องของความสนใจ โอกาสการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีเข้ามาหาโอกาสการลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามีบางส่วนรอดูสถานการณ์ แต่บางคนรอไม่ได้ 

ต้อง ใช้โอกาสช่วงของไม่แพง คนยังมาลงทุนไม่มาก ขณะที่รัฐบาลจะทำอย่างไรให้สร้างโอกาสให้เขาเห็นมากขึ้น เช่น การทำเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซูเปอร์คลัสเตอร์ 

ส่วน ปัญหาเศรษฐกิจมีผลกระทบกับประชาชนในมุมที่ต่างกัน หลาย ๆ คนอาจได้รับผลกระทบ เช่น ภาคเกษตรเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง ราคาผลผลิตตกต่ำ การส่งออกครึ่งปีแรกไม่ดีกระทบ SMEs ขณะที่บางคนอาจรู้สึกดีอยู่แม้ว่าเงินเดือนไม่ขึ้นมากแต่ของถูกลง น้ำมันถูกลง เงินในกระเป๋ามากขึ้น แต่ภาพรวมต้องกลับมาดูที่จีดีพีเป็นอย่างไร ก็มองภาพว่าปีหน้าน่าจะดีขึ้นกว่าปีนี้ 

"ปี หน้ามีความเสี่ยงก็ใช่ แต่หลายปัจจัยที่สนับสนุนประเทศไทย เช่น ท่องเที่ยวก็จะขยายตัวต่อไปจาก 30 ล้านคน ขยับไป 32.5 ล้านคนตามเป้าหมาย ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐก็เป็นแสนล้าน ในส่วนการส่งออกที่ผิดเป้า และเป็นตัวดึงเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก แต่คนเริ่มมองว่าปีหน้าดีกว่าปีนี้ ก็จะมาช่วยการส่งออก

เรื่อง ของราคาสินค้าก็เริ่มนิ่ง ๆ แล้ว ดังนั้นปีหน้าส่งออกไม่น่าจะเลวร้ายกว่าปีนี้ ขณะที่ต้องเร่งการลงทุนภาครัฐและเอกชน รวมถึงการช่วยเหลือ SMEs ตามที่วางไว้" 

สำหรับ หน้าที่ของตนในปี 2559 คือทำให้คนเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจมากที่สุด ถ้าพูดถึงประชาคมอาเซียนอาจต้องพูดเรื่อง Connectivity การเชื่อมต่อด้านคมนาคมกับจีนได้ เตรียมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่คนสนใจ เป็นสิ่งพยายามทำตัวเราเองให้เป็นที่น่าสนใจขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำให้เกิดผล จริงได้อย่างไร และปีหน้าคงเป็นปีที่งานหนัก  

"ระวังเจอโรคระบาดสหรัฐขึ้น ดบ. พร้อมโรคระบาดจีน" 

ดร.สันติ ธาร เสถียรไทย ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ธนาคารเครดิต สวิส กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจเหมือนกับพูดซ้ำ ๆ กันใน

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพราะเหตุการณ์หลายเรื่องถูกผลักไปข้างหน้าอยู่เรื่อย ๆ เช่นการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ซึ่งรอกันมา 24 เดือนแล้วยังไม่ขึ้น ส่วนจีนเศรษฐกิจก็ชะลอตัวลง ซึ่งเห็นหนัก ๆ ปีนี้ และคาดว่าปีหน้าอาจแรงขึ้น เมื่อหลาย ๆ เรื่องถูกเลื่อนออกไปเรื่อย ๆ กว่าจะถึงจุดผกผัน ทำให้เศรษฐกิจซึมยาวเป็นหนังยาวไม่ฟื้นสักที  

"จุด สำคัญคือ ปีหน้าอาจเป็นปีที่เศรษฐกิจจีนจะมีการชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญจริง ๆ และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยจะถูกบีบทั้ง 2 ทาง การส่งออกจะมีปัญหาหดตัวอย่างหนัก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ราคายางพาราจะตกหนักไปอีก พวกที่มีหนี้มากจะยากขึ้น ขณะเดียวกันเงินที่เคยหล่อเลี้ยงเราเหมือนสายยางจะถูกดึงกลับไปที่สหรัฐ อเมริกา จุดนี้จะเป็นดีเดย์ได้เหมือนกัน ดังนั้นปีหน้าจะต้องดูอย่างใกล้ชิดว่า ถ้า 2 สิ่งนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบแค่ไหน"

สำหรับประเทศไทยถ้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศไทยยังมีภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี

กับ ทั้งโรคระบาดจีน โรคระบาดสหรัฐ คือ เราไม่ได้ส่งออกไปจีนมากเหมือนเกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ขณะที่เราอาจถูกกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ แต่การค้าเกินดุลของเรายังสูง เงินสำรองยังมีมาก ขณะที่ธุรกิจไทยมีหนี้เงินกู้เป็นดอลลาร์ไม่มาก ต่างจากอินโดนีเซียที่มีเงินกู้สหรัฐอยู่มาก 

เพราะฉะนั้นถ้าเราโดนพายุ 2 ลูกเข้าด้วยกัน สำหรับประเทศไทยยังดูดีกว่าคนอื่น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดมุมมอง 4 กูรูเศรษฐศาสตร์

view