สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาลสั่งริบทรัพย์ สุพจน์ เพิ่ม รวมกว่า 64 ล้าน

ศาลสั่งริบทรัพย์'สุพจน์' เพิ่ม รวมกว่า 64 ล้าน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ สั่งริบทรัพย์"สุพจน์ ทรัพย์ล้อม"เพิ่มจากยอด 46 ล้านเศษ เพิ่มเงินฝาก–รถโฟล์ค รวมกว่า 64 ล้าน ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีริบทรัพย์ หมายเลขดำ ปช.1/2555 ที่อัยการสูงสุด ได้ยื่นคำร้องเมื่อเดือน ก.พ.55 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ , นางนฤมล หรือเพ็ญพิมล ทรัพย์ล้อม ภรรยา , น.ส.สุทธิวรรณ ทรัพย์ล้อม บุตรสาว , น.ส.สุทธาวรรณ ทรัพย์ล้อมหรือปราบใหญ่ บุตรสาว , นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ บุตรเขย และผู้ใกล้ชิดรวม 7 ราย ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 และมาตรา 80 (2) ซึ่งทรัพย์สินมีทั้งสิ้น 19 รายการ 

ประกอบด้วย เงินสด 17,553,000 บาทซึ่งเป็นของกลางในคดีอาญาปล้นบ้านนายสุพจน์ หมายเลขดำ 2458/2544 ของสน.วังทองหลาง , เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ9 บัญชี , ทองคำรูปพรรณ น้ำหนัก 10 บาท มูลค่า 260,000 บาท ซึ่งเป็นของกลางในคดีอาญาปล้นบ้านนายสุพจน์ หมายเลขดำ 2458/2544 ของสน.วังทองหลาง ,โฉนดที่ดินในกทม. พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และในจ.นครนายก รวม 6 แปลง , ห้องชุดคอนโดมิเนียม ใน กทม. มูลค่า 1.5 ล้านบาทและรถยนต์ ยี่ห้อเบนซ์รุ่น E 230 และรุ่น C 220 มูลค่า 5.2 ล้านบาท โดยการยื่นคำร้องดังกล่าว สืบเนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตรวจสอบทรัพย์สินแล้วนายสุพจน์ หลังจากเกิดที่เหตุคนร้ายบุกปล้นบ้านนายสุพจน์ ในซอยลาดพร้าว 64 เมื่อค่ำวันที่ 12 พ.ย.54 ซึ่งผู้ต้องหาที่ร่วมทำผิดคดีอาญานั้น ได้ให้การเกี่ยวกับทรัพย์สินว่าพบเงินสดในบ้านนายสุพจน์ นับร้อยล้าน ซึ่งนายสุพจน์ไม่สามารถชี้แจงที่มาของทรัพย์สินต่างๆได้จึงชี้มูลความผิดว่า นายสุพจน์ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ 

โดยนายสุพจน์ได้ยื่นคัดค้านคำร้อง อ้างว่า ทรัพย์สินนั้นผู้คัดค้าน ได้มีมาแต่เดิมและได้มา กว่า 10 ปี การขอให้ทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้คดค้านเคยยื่นบัญชีแสดงต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไปแล้ว ป.ป.ช.ไม่แสดงความเห็นคัดค้านแต่อย่างใด 

ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 31 ม.ค.57 เห็นว่า ข้อกล่าวอ้างของนายสุพจน์ เลื่อนลอย รวมทั้งการโต้แย้งและคัดค้านของนายสุพจน์ไม่อาจจะนำมารับฟังได้ เช่น การอ้างว่า เข้ารับราชการตั้งแต่ เมื่อ พ.ศ.2520 จนกระทั่งถึงวันยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2545 มาคิดคำนวณแล้วจะเป็นเงินประมาณ 5,000,000 บาทเศษ ก็น่าเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้นไปกว่าเดิม เพราะเหตุใดนายสุพจน์ จึงมีทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าทีรัฐ แล้วจะมีทรัพย์สินรวมกันจนถึงวันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ลงมติว่า ร่ำรวยผิดปกติเมื่อปี พ.ศ.2545 มีมูลค่าสูงถึงที่ศาลนำมาวินิจฉัยจำนวน 46 ล้านบาทเศษ 

ศาลจึงพิพากษา ให้ทรัพย์สินตามคำร้องของอัยการสูงสุด 19 รายการ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 46,141,038 .83 บาท ของนายสุพจน์ และที่มีชื่อของภรรยา , บุตรสาว และบุตรเขยของนายสุพจน์ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมดอกผลที่เกิดขึ้นนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยให้นายสุพจน์ ส่งมอบทรัพย์สิน ต่อกระทรวงการคลัง 

ต่อมานายสุพจน์และครอบครัวได้ยื่นอุทธรณ์ โดยนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันนี้ ฝ่ายของนายสุพจน์ มีเพียง นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความผู้รับมอบอำนาจ เดินทางมาศาล ทั้งนี้ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่าทรัพย์ตามคำร้องได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าและเกิดจากความร่ำรวยผิดปกติ จึงต้องสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน 

แต่ที่ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ทรัพย์สินรวม 46,141,038 .83 บาท ตกเป็นของแผ่นดินโดยนำบัญชีเงินฝาก 3 บัญชี ที่ปิดแล้วจำนวน 15,857,548.69 บาท หักออกจากมูลค่าทรัพย์สิน ที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วย เมื่อฟังได้ว่านายสุพจน์ ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติ แม้ภายหลังมีการปิดดังกล่าวแล้วก็ต้องนำเงิน 15,857,548.69 บาท มารวมอยู่ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติด้วยส่วนรถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาทแม้ไม่มีชื่อของนายสุพจน์เป็นเจ้าของ แต่ฟังได้ว่ามีการมอบรถให้นายสุพจน์ใช้อย่างถาวรจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัด ค้านที่ 1 ซึ่งเกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ เมื่อนำทรัพย์สินดังกล่าว กับมูลค่าทรัพย์สินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จะรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท 

ศาลอุทธรณ์ จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้รถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาท รวมกับทรัพย์สินอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน 

ภายหลังนายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของนายสุพจน์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้มีการพิจารณาเพิ่มทรัพย์สิน ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งขณะนี้ได้ขอคัดคำพิพากษาฉบับเต็ม เพื่อตรวจดูรายละเอียดที่จะพิจารณาประเด็นยื่นฎีกาต่อสู้ตามขั้นตอนของ กฎหมายต่อไป 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ป.ป.ช.ได้มีมติเอกฉันท์เมื่อวันที่ 24 ก.ค.55 ว่านายสุพจน์ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินซึ่งไม่สามารถชี้แจงที่มาได้จำนวน 64,998,587.52บาท จึงส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่น ดิน 

สำหรับคดีอาญาปล้นบ้านนายสุพจน์ หมายเลขดำ อ.347/2555 นั้น ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มี.ค.56 ให้จำคุก 12 ปีและปรับ 60 บาทนายสิงห์ทอง หรือเสธ.ไก่ ใจชมชื่น จำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธและยานพาหนะ 

ส่วนนายเสาร์แก้ว นามวงค์ กับนายสมบูรณ์หรือบูรณ์ ริยะเทน จำเลยที่ 2–3 จำคุก 9 ปีและปรับ 45 บาท

สำหรับนายบุญสืบ หรือสืบ โจมกันและนายวณัญกฤต หรือจ่อย บุตรกันหาจำเลยที่ 4 และ 6 ให้จำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานร่วมกันรับของโจร ส่วนนายวุฒิชัย หรือวุฒิ พันธวารี และน.ส.วาสนา สาเพิ่มทรัพย์ จำเลยที่ 5 และ 9 ให้จำคุก 3 ปี 4 เดือน 

ขณะที่นายชยธัช หรือเอก จันนะชัย จำเลยที่ 8 ให้จำคุก 8 ปีฐานสนับสนุนการปล้นทรัพย์ ส่วนนายประพันธ์ เรียงเครือจำเลยที่ 7 พิพากษายกฟ้อง โดยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วเป็นคดีหมายเลขแดง อ.1119/2556


ศาลอุทธรณ์สั่งริบทรัพย์ "สุพจน์" เพิ่มเป็น64ล้านบาท.

จาก โพสต์ทูเดย์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ สั่งริบทรัพย์ "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" อดีตปลัดคมนาคม เพิ่มเป็นกว่า 64 ล้านบาท ทนายความเตรียมสู้ฎีกาต่อ 

เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีริบทรัพย์ หมายเลขดำ ปช.1/2555 ที่อัยการสูงสุด ได้ยื่นคำร้องเมื่อเดือน ก.พ.55 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ , นางนฤมล หรือเพ็ญพิมล ทรัพย์ล้อม ภรรยา , น.ส.สุทธิวรรณ ทรัพย์ล้อม บุตรสาว , น.ส.สุทธาวรรณ ทรัพย์ล้อมหรือปราบใหญ่ บุตรสาว , นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ บุตรเขย และผู้ใกล้ชิดรวม 7 ราย ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 และมาตรา 80 (2) ซึ่งทรัพย์สินมีทั้งสิ้น 19 รายการประกอบด้วย เงินสด 17,553,000 บาทซึ่งเป็นของกลางในคดีอาญาปล้นบ้านนายสุพจน์ หมายเลขดำ 2458/2544 ของสน.วังทองหลาง , เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ 9 บัญชี , ทองคำรูปพรรณ น้ำหนัก 10 บาท มูลค่า 260,000 บาท ซึ่งเป็นของกลางในคดีอาญาปล้นบ้านนายสุพจน์ หมายเลขดำ 2458/2544 ของสน.วังทองหลาง ,โฉนดที่ดินในกทม. พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และในจ.นครนายก รวม 6 แปลง , ห้องชุดคอนโดมิเนียม ใน กทม. มูลค่า 1.5 ล้านบาท และรถยนต์ ยี่ห้อเบนซ์  รุ่น E 230 และรุ่น C 220  มูลค่า 5.2 ล้านบาท 

การยื่นคำร้องดังกล่าว สืบเนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตรวจสอบทรัพย์สินแล้วนายสุพจน์ หลังจากเกิดที่เหตุคนร้ายบุกปล้นบ้านนายสุพจน์ ในซอยลาดพร้าว 64  เมื่อค่ำวันที่ 12 พ.ย.54 ซึ่งผู้ต้องหาที่ร่วมทำผิดคดีอาญานั้น ได้ให้การเกี่ยวกับทรัพย์สินว่าพบเงินสดในบ้านนายสุพจน์ นับร้อยล้าน ซึ่งนายสุพจน์ไม่สามารถชี้แจงที่มาของทรัพย์สินต่างๆได้ จึงชี้มูลความผิดว่า นายสุพจน์ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

โดยนายสุพจน์ได้ยื่นคัดค้านคำร้อง อ้างว่า ทรัพย์สินนั้นผู้คัดค้าน ได้มีมาแต่เดิมและได้มา กว่า 10 ปี การขอให้ทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้คดค้านเคยยื่นบัญชีแสดงต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไปแล้ว ป.ป.ช.ไม่แสดงความเห็นคัดค้านแต่อย่างใด

ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 31 ม.ค.57 เห็นว่า ข้อกล่าวอ้างของนายสุพจน์ เลื่อนลอย รวมทั้งการโต้แย้งและคัดค้านของนายสุพจน์ไม่อาจจะนำมารับฟังได้ เช่น การอ้างว่า เข้ารับราชการตั้งแต่ เมื่อ พ.ศ.2520 จนกระทั่งถึงวันยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2545 มาคิดคำนวณแล้วจะเป็นเงินประมาณ 5,000,000 บาทเศษ ก็น่าเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้นไปกว่าเดิม  เพราะเหตุใดนายสุพจน์ จึงมีทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าทีรัฐ แล้วจะมีทรัพย์สินรวมกันจนถึงวันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ลงมติว่า ร่ำรวยผิดปกติเมื่อปี พ.ศ.2545 มีมูลค่าสูงถึงที่ศาลนำมาวินิจฉัยจำนวน 46 ล้านบาทเศษ ศาลจึงพิพากษา ให้ทรัพย์สินตามคำร้องของอัยการสูงสุด 19 รายการ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 46,141,038 .83 บาท ของนายสุพจน์ และที่มีชื่อของภรรยา , บุตรสาว และบุตรเขยของนายสุพจน์ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมดอกผลที่เกิดขึ้นนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยให้นายสุพจน์ ส่งมอบทรัพย์สิน ต่อกระทรวงการคลัง

ต่อมานายสุพจน์และครอบครัวได้ยื่นอุทธรณ์ โดยนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันนี้ ฝ่ายของนายสุพจน์ มีเพียง นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความผู้รับมอบอำนาจ เดินทางมาศาล

ทั้งนี้ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่าทรัพย์ตามคำร้องได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าและเกิดจากความร่ำรวยผิดปกติ จึงต้องสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน

แต่ที่ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ทรัพย์สินรวม 46,141,038 .83 บาท ตกเป็นของแผ่นดินโดยนำบัญชีเงินฝาก 3 บัญชี ที่ปิดแล้วจำนวน 15,857,548.69 บาท หักออกจากมูลค่าทรัพย์สิน ที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วย เมื่อฟังได้ว่านายสุพจน์ ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติ แม้ภายหลังมีการปิดดังกล่าวแล้วก็ต้องนำเงิน 15,857,548.69 บาท มารวมอยู่ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติด้วยส่วนรถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาทแม้ไม่มีชื่อของนายสุพจน์เป็นเจ้าของ แต่ฟังได้ว่ามีการมอบรถให้นายสุพจน์ใช้อย่างถาวรจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ เมื่อนำทรัพย์สินดังกล่าว กับมูลค่าทรัพย์สินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จะรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท

ศาลอุทธรณ์ จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้รถยนต์ยี่ห้อ VOLK SWAGEN มูลค่า 3 ล้านบาท รวมกับทรัพย์สินอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,998,587.52 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

ภายหลัง นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของนายสุพจน์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้มีการพิจารณาเพิ่มทรัพย์สิน ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งขณะนี้ได้ขอคัดคำพิพากษาฉบับเต็ม เพื่อตรวจดูรายละเอียดที่จะพิจารณาประเด็นยื่นฎีกาต่อสู้ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ป.ป.ช.ได้มีมติเอกฉันท์เมื่อวันที่ 24 ก.ค.55 ว่านายสุพจน์ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินซึ่งไม่สามารถชี้แจงที่มาได้จำนวน 64,998,587.52บาท จึงส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน

สำหรับคดีอาญาปล้นบ้านนายสุพจน์ หมายเลขดำ อ.347/2555 นั้น ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มี.ค.56 ให้จำคุก 12 ปีและปรับ 60 บาทนายสิงห์ทอง หรือเสธ.ไก่ ใจชมชื่น จำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธและยานพาหนะ

ส่วนนายเสาร์แก้ว นามวงค์ กับนายสมบูรณ์หรือบูรณ์ ริยะเทน จำเลยที่ 2–3 จำคุก 9 ปีและปรับ 45 บาทสำหรับนายบุญสืบ หรือสืบ โจมกัน และนายวณัญกฤต หรือจ่อย บุตรกันหา จำเลยที่ 4 และ 6 ให้จำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานร่วมกันรับของโจร ส่วนนายวุฒิชัย หรือวุฒิ พันธวารี และน.ส.วาสนา สาเพิ่มทรัพย์ จำเลยที่ 5 และ 9 ให้จำคุก 3 ปี 4 เดือน

ขณะที่นายชยธัช หรือเอก จันนะชัย จำเลยที่ 8 ให้จำคุก 8 ปีฐานสนับสนุนการปล้นทรัพย์ ส่วนนายประพันธ์ เรียงเครือ จำเลยที่ 7 พิพากษายกฟ้อง โดยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วเป็นคดีหมายเลขแดง อ.1119/2556


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ศาลสั่งริบทรัพย์ สุพจน์ กว่า 64 ล้าน

view