สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนวทางการพิจารณา เหตุอันสมควร” (1)

แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” (1)

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิใช่บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์

ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ รวมทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรม สรรพากรจัดให้มีการสอบทานงบการเงิน มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ตามที่บทบัญญัติมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วให้คำนวณและชำระภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลา บัญชีนั้น และในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ได้แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แม้ต่อมาจะได้มีหนังสือที่ กค 0810/6379 ลงวันที่ 27 เมษายน 2533 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือปฏิบัติแล้วก็ตาม แต่ในระยะเวลาต่อมา การพิจารณา “เหตุอันสมควร” ก็ยังเป็นเรื่องยุ่งยากสับสนและไม่สามารถแสดงได้ว่าความ “สมควร” เกิดขึ้นจริง และโดยที่การเสียภาษีตามมาตรา 67 ทวิ เป็นเพียงการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการประจำปี 

ฉะนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา กรณีที่ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 กำหนดไว้อย่างไร

วิสัชนา กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 “(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว”

ปุจฉา ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ลงวันที่ 10 กันยายน 2558 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติมอย่างไร

วิสัชนา ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุอันสมควร โดยเพิ่มเติมเป็น (2) ของข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 ดังนี้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำ หรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบ ระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบ แสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี”

ทั้งนี้ โดยให้ใช้บังคับในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แนวทางการพิจารณา เหตุอันสมควร” (1)

view