สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำ

เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำ
โดย : ดร.พีรพล ประเสริฐศรี

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เป็นเวลากว่า 1 ปีมาแล้ว ที่ราคาน้ำมันดิบทั้ง ราคาของ West Texas Intermediate (WTI) ของ NYMEX และราคาของ Brent Crude Oil

ที่ได้ปรับตัวลดลงทะลุแนวรับสำคัญที่ 90 ดอลลาร์ และได้ปรับตัวรวดเดียวเลยไปสู่ระดับกว่า 40 ดอลลาร์ เมื่อช่วงต้นปี 2558 นี้ ซึ่งต่อมาก็ได้เคลื่อนไหวในกรอบ 35-60 ดอลลาร์ 

จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว WTI นี้ ก็ได้หลุดแนวรับสำคัญที่ 40 ดอลลาร์ลงมาอีกแล้ว โดยล่าสุด WTIContract เดือน Nearbyซื้อขายกันที่ระดับประมาณ 38 ดอลลาร์ต่อบาเรล (วันที่ 8 ธ.ค.2558)

ทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าในยุคสังคมปัจจุบัน น้ำมันดิบถือได้ว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความสำคัญต่อผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม พิจารณาจาก ตัวเลขที่กว่า 90% ของการขนส่งทั้งทางบก เรือ และอากาศ และอีกประมาณ 95% ของกระบวนการผลิตสินค้าในโลก ล้วนใช้พลังงานจากน้ำมันดิบ และหรือ ผลิตภัณฑ์พลอยได้ทั้งสิ้น ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกัน เป็นวงกว้างในหลายแวดวง ไม่ว่าจะเป็น การเงิน การเกษตร การอุตสาหกรรม หรือ การพาณิชย์

ซึ่งไม่น่าเป็นที่แปลกใจ ที่ในดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชั้นนำ อย่าง Rogers International Commodities Index (RICI) ที่ปัจจุบันให้น้ำหนักสินค้าประเภทน้ำมันดิบ (WTI + Brent) ในสัดส่วนเท่ากับ 29% (เคยขึ้นไปสูงสุดถึง 35% สูงที่สุดในบรรดาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ถูกนับรวมในดัชนีอีก 35 ชนิด และบ่อยครั้งน้ำมันดิบได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ในกลุ่มของ สินค้าโภคภัณฑ์ไปอย่างไม่เป็นทางการ

การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันที่หลุดทุกแนวรับมาอย่างนี้ แน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอย่าง ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิรัก อิหร่านและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มโอเปค (the Organization of the Petroleum Exporting Countries; OPEC) ที่รายได้ของประเทศ และหรือ รายได้ของรัฐบาลล้วนผูกติดกับรายได้จากการขายน้ำมัน ก่อให้เกิดการขาดดุลการคลังอย่างรุนแรงในหลาย ๆ ประเทศ (รายได้ของรัฐบาลไม่เพียงพอกับรายจ่าย)

โดย IMF (International Monetary Fund) ได้รายงานว่าในปี 2558 นี้ ราคาน้ำมันดิบที่จำเป็นสำหรับจัดทำงบประมาณแบบสมดุลสำหรับประเทศหลัก ๆ อย่าง ซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ 105.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำหรับอิรักอยู่ที่ 87.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสำหรับอิหร่านอยู่ที่ 81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (IMF Regional Economic Outlook: Middle East and Central Asia, October 2015)

ขณะที่การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน ย่อมส่งดีต่อประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบอย่างประเทศไทย เราที่ผู้บริหารประเทศจะได้ไม่ต้องพะวงกับภาวะข้าวยากหมากแพง จนต้องมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันเหมือนอย่างเมื่อครั้งอดีต อันเป็นการสิ้นเปลืองเงินภาษีอากรและเป็นการบิดเบือนพฤติกรรมของการใช้ น้ำมันในน้ำมันบางประเภท

อีกทั้งเป็น Indicator สะท้อนให้เห็นว่ายังไม่มีภาวะเงินเฟ้อจนเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย (สอดคล้องกับหลักการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่เปลี่ยนมาใช้กรอบอัตราเงิน เฟ้อทั่วไปที่รวมราคาหมวดพลังงานและอาหาร แทนการใช้กรอบเงินเฟ้อพื้นฐาน แล้วเมื่อช่วงต้นปี 2558)

อย่างไรก็ตาม การตกต่ำลงของน้ำมันในรอบนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผลประกอบการของบริษัท จดทะเบียนยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้นบ้านเรา อย่างบริษัทในกลุ่มของ บมจ.ปตท.(PTT) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งทาง PTTEP เอง ก็ยอมรับว่า การที่ราคาน้ำมันตกต่ำนั้นมีผลกระทบของการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยยะ (คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการสำหรับผลการดำเนินงาน (MD&A) ไตรมาส 3 ปี 2558) และเป็นที่ชัดเจนว่าผลประกอบการของทั้ง PTT และ PTTEP นี้ล้วนผูกกับราคาน้ำมันในตลาดโลกด้วยกันทั้งคู่

การที่ผลประกอบการที่ไม่สดใสของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง PTT และ PTTEP มีส่วนทำให้กำไรสุทธิรวมของบริษัทจดทะเบียนของทั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับ Q3/2558 (ประกอบกับผลประกอบการที่แย่ลงของกลุ่มธนาคารจากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น จากการปล่อยกู้ให้กับ บมจ. SSI) ปรับตัวลดลงถึง 26% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่า P/E Ratio ของSET Index เห็นได้จากค่า P/E Ratio ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจจากสิ้นตุลาคม 2558 ที่ 18.47เท่า ไปเป็น 23.77 เท่า ณ สิ้นพ.ย.2558 โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 8 ธ.ค.2558 ค่า P/E Ratio ของตลาดอยู่ที่ระดับ 22.87เท่า ณ ระดับดัชนี SET Index ที่ระดับ 1,306.98

ซึ่งค่า P/E Ratio นี้คือ อัตราส่วนระหว่าง ราคาของหุ้น (Price) ต่อ กำไรสุทธิ (Earning)ซึ่งหนึ่งในอัตราส่วนทางการเงินพื้นฐานในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยสมมุติค่า P/E= 5 ก็แปลว่า นักลงทุนยอมที่จะจ่าย 5 บาท/หุ้น เพื่อเป็นเจ้าของบริษัทที่มีกำไรสุทธิ 1 บาทต่อหุ้น ซึ่งโดยปกติแล้วสำหรับหุ้นทั่ว ๆ ไป ค่า P/E Ratio ยิ่งต่ำเท่าไร ก็ยิ่งคุ้มค่ากับคนซื้อมากขึ้นเท่านั้น

ผมได้ download ข้อมูล P/E Ratio รายเดือนย้อนหลังจาก www.set.or.th (ซึ่งข้อมูลล่าสุดที่มีก็คือ ค่า P/E Ratio ณ สิ้นเดือนพ.ย.2558 ที่ 23.77 เท่า) ไปถึงเดือนม.ค.2547 รวมข้อมูลทั้งสิ้น 155เดือน หรือ 12.9ปีย้อนหลัง (ไปใกล้กว่านี้ไม่ได้เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ เม.ย.2518-ธ.ค.2546 ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้นำบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนมาร่วมคำนวณค่า P/E Ratio ไม่สมควรที่จะนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน) ก็พบว่าตลอด 155 เดือนที่ผ่านมา P/E Ratio ของ SET Index (มีค่าเฉลี่ย หรือ MEAN) เพียง 14.4 ซึ่งไม่ว่าเหตุผลใดก็แล้วแต่ ความจริงมีอยู่ว่าค่า P/E Ratio ณ ปัจจุบัน ที่ 22.87 นั้น เป็นค่าที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่มาก ๆ ซึ่งคงต้องรอดูความชัดเจนใน Q4/2015 ว่า ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ จะออกมาเป็นอย่างไร

เป็นที่รู้กันดีว่า ค่า P/E Ratio จะมีจุดอ่อนในการนำมาวิเคราะห์มากมาย จนต้องมีข้อควรระวังในการนำมาใช้และสมควรนำมาใช้ร่วมกับอัตราส่วนทางการเงิน อื่นด้วยเสมอ แต่ก็ต้องยอมรับว่า P/E Ratio เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ถูกนำมาใช้ได้ง่ายที่สุดและแพร่หลายที่สุด

ฉะนั้นการที่ตลาดบ้านเรามีค่า P/E ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมากขนาดนี้ อาจทำให้ผู้ลงทุนทั่วๆ ไปเกิดความลังเลในการลงทุน แม้จะมีบทความออกมาพูดถึง Forward P/E Ratio ของตลาดซึ่งเป็นการคาดการณ์ว่าในอนาคต Earning จะเป็นเท่านั้นเท่าโน้น

แต่หากปราศจากหลักฐาน หรือสมมุติฐานที่สมเหตุผลช่วยสนับสนุน ก็คงไม่น่าเชื่อถือซักเท่าไร ประกอบกับ ตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นจริงก็คือ เมื่อย้อนไปเมื่อปีที่แล้วใครจะเชื่อครับว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวจาก 90 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 40 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ปัจจุบัน และมีผลกระทบต่อบริษัทยักษ์ใหญ่ของบ้านเราถึงเพียงนี้

แต่ก็ยังโชคดีนะครับที่รายได้ของรัฐบาลไทย เราไม่ได้ผูกติดกับราคาน้ำมันเหมือนอย่างหลาย ๆ ประเทศในตะวันออกกลาง มิฉะนั้นงานนี้คงต้องลุ้นกันเหนื่อยหนักแน่ ๆ ครับ

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/636337#sthash.MTVL9N2x.dpuf

เป็นเวลากว่า 1 ปีมาแล้ว ที่ราคาน้ำมันดิบทั้ง ราคาของ West Texas Intermediate (WTI) ของ NYMEX และราคาของ Brent Crude Oil

ที่ได้ปรับตัวลดลงทะลุแนวรับสำคัญที่ 90 ดอลลาร์ และได้ปรับตัวรวดเดียวเลยไปสู่ระดับกว่า 40 ดอลลาร์ เมื่อช่วงต้นปี 2558 นี้ ซึ่งต่อมาก็ได้เคลื่อนไหวในกรอบ 35-60 ดอลลาร์

จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว WTI นี้ ก็ได้หลุดแนวรับสำคัญที่ 40 ดอลลาร์ลงมาอีกแล้ว โดยล่าสุด WTIContract เดือน Nearbyซื้อขายกันที่ระดับประมาณ 38 ดอลลาร์ต่อบาเรล (วันที่ 8 ธ.ค.2558)

ทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าในยุคสังคมปัจจุบัน น้ำมันดิบถือได้ว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความสำคัญต่อผู้คนเป็นอย่างมากทั้งทางตรงและทางอ้อม พิจารณาจาก ตัวเลขที่กว่า 90% ของการขนส่งทั้งทางบก เรือ และอากาศ และอีกประมาณ 95% ของกระบวนการผลิตสินค้าในโลก ล้วนใช้พลังงานจากน้ำมันดิบ และหรือ ผลิตภัณฑ์พลอยได้ทั้งสิ้น ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกัน เป็นวงกว้างในหลายแวดวง ไม่ว่าจะเป็น การเงิน การเกษตร การอุตสาหกรรม หรือ การพาณิชย์

ซึ่งไม่น่าเป็นที่แปลกใจ ที่ในดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชั้นนำ อย่าง Rogers International Commodities Index (RICI) ที่ปัจจุบันให้น้ำหนักสินค้าประเภทน้ำมันดิบ (WTI + Brent) ในสัดส่วนเท่ากับ 29% (เคยขึ้นไปสูงสุดถึง 35% สูงที่สุดในบรรดาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ถูกนับรวมในดัชนีอีก 35 ชนิด และบ่อยครั้งน้ำมันดิบได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ในกลุ่มของสินค้าโภคภัณฑ์ไปอย่างไม่เป็นทางการ

การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันที่หลุดทุกแนวรับมาอย่างนี้ แน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอย่าง ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิรัก อิหร่านและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มโอเปค (the Organization of the Petroleum Exporting Countries; OPEC) ที่รายได้ของประเทศ และหรือ รายได้ของรัฐบาลล้วนผูกติดกับรายได้จากการขายน้ำมัน ก่อให้เกิดการขาดดุลการคลังอย่างรุนแรงในหลาย ๆ ประเทศ (รายได้ของรัฐบาลไม่เพียงพอกับรายจ่าย)

โดย IMF (International Monetary Fund) ได้รายงานว่าในปี 2558 นี้ ราคาน้ำมันดิบที่จำเป็นสำหรับจัดทำงบประมาณแบบสมดุลสำหรับประเทศหลัก ๆ อย่าง ซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ 105.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำหรับอิรักอยู่ที่ 87.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสำหรับอิหร่านอยู่ที่ 81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (IMF Regional Economic Outlook: Middle East and Central Asia, October 2015)

ขณะที่การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน ย่อมส่งดีต่อประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบอย่างประเทศไทย เราที่ผู้บริหารประเทศจะได้ไม่ต้องพะวงกับภาวะข้าวยากหมากแพง จนต้องมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันเหมือนอย่างเมื่อครั้งอดีต อันเป็นการสิ้นเปลืองเงินภาษีอากรและเป็นการบิดเบือนพฤติกรรมของการใช้น้ำมันในน้ำมันบางประเภท

อีกทั้งเป็น Indicator สะท้อนให้เห็นว่ายังไม่มีภาวะเงินเฟ้อจนเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (สอดคล้องกับหลักการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่เปลี่ยนมาใช้กรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่รวมราคาหมวดพลังงานและอาหาร แทนการใช้กรอบเงินเฟ้อพื้นฐาน แล้วเมื่อช่วงต้นปี 2558)

อย่างไรก็ตาม การตกต่ำลงของน้ำมันในรอบนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้นบ้านเรา อย่างบริษัทในกลุ่มของ บมจ.ปตท.(PTT) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งทาง PTTEP เอง ก็ยอมรับว่า การที่ราคาน้ำมันตกต่ำนั้นมีผลกระทบของการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยยะ (คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการสำหรับผลการดำเนินงาน (MD&A) ไตรมาส 3 ปี 2558) และเป็นที่ชัดเจนว่าผลประกอบการของทั้ง PTT และ PTTEP นี้ล้วนผูกกับราคาน้ำมันในตลาดโลกด้วยกันทั้งคู่

การที่ผลประกอบการที่ไม่สดใสของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง PTT และ PTTEP มีส่วนทำให้กำไรสุทธิรวมของบริษัทจดทะเบียนของทั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์สำหรับ Q3/2558 (ประกอบกับผลประกอบการที่แย่ลงของกลุ่มธนาคารจากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นจากการปล่อยกู้ให้กับ บมจ. SSI) ปรับตัวลดลงถึง 26% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่า P/E Ratio ของSET Index เห็นได้จากค่า P/E Ratio ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจจากสิ้นตุลาคม 2558 ที่ 18.47เท่า ไปเป็น 23.77 เท่า ณ สิ้นพ.ย.2558 โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 8 ธ.ค.2558 ค่า P/E Ratio ของตลาดอยู่ที่ระดับ 22.87เท่า ณ ระดับดัชนี SET Index ที่ระดับ 1,306.98

ซึ่งค่า P/E Ratio นี้คือ อัตราส่วนระหว่าง ราคาของหุ้น (Price) ต่อ กำไรสุทธิ (Earning)ซึ่งหนึ่งในอัตราส่วนทางการเงินพื้นฐานในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยสมมุติค่า P/E= 5 ก็แปลว่า นักลงทุนยอมที่จะจ่าย 5 บาท/หุ้น เพื่อเป็นเจ้าของบริษัทที่มีกำไรสุทธิ 1 บาทต่อหุ้น ซึ่งโดยปกติแล้วสำหรับหุ้นทั่ว ๆ ไป ค่า P/E Ratio ยิ่งต่ำเท่าไร ก็ยิ่งคุ้มค่ากับคนซื้อมากขึ้นเท่านั้น

ผมได้ download ข้อมูล P/E Ratio รายเดือนย้อนหลังจาก www.set.or.th (ซึ่งข้อมูลล่าสุดที่มีก็คือ ค่า P/E Ratio ณ สิ้นเดือนพ.ย.2558 ที่ 23.77 เท่า) ไปถึงเดือนม.ค.2547 รวมข้อมูลทั้งสิ้น 155เดือน หรือ 12.9ปีย้อนหลัง (ไปใกล้กว่านี้ไม่ได้เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ เม.ย.2518-ธ.ค.2546 ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้นำบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนมาร่วมคำนวณค่า P/E Ratio ไม่สมควรที่จะนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน) ก็พบว่าตลอด 155 เดือนที่ผ่านมา P/E Ratio ของ SET Index (มีค่าเฉลี่ย หรือ MEAN) เพียง 14.4 ซึ่งไม่ว่าเหตุผลใดก็แล้วแต่ ความจริงมีอยู่ว่าค่า P/E Ratio ณ ปัจจุบัน ที่ 22.87 นั้น เป็นค่าที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่มาก ๆ ซึ่งคงต้องรอดูความชัดเจนใน Q4/2015 ว่า ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ จะออกมาเป็นอย่างไร

เป็นที่รู้กันดีว่า ค่า P/E Ratio จะมีจุดอ่อนในการนำมาวิเคราะห์มากมาย จนต้องมีข้อควรระวังในการนำมาใช้และสมควรนำมาใช้ร่วมกับอัตราส่วนทางการเงินอื่นด้วยเสมอ แต่ก็ต้องยอมรับว่า P/E Ratio เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ถูกนำมาใช้ได้ง่ายที่สุดและแพร่หลายที่สุด

ฉะนั้นการที่ตลาดบ้านเรามีค่า P/E ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมากขนาดนี้ อาจทำให้ผู้ลงทุนทั่วๆ ไปเกิดความลังเลในการลงทุน แม้จะมีบทความออกมาพูดถึง Forward P/E Ratio ของตลาดซึ่งเป็นการคาดการณ์ว่าในอนาคต Earning จะเป็นเท่านั้นเท่าโน้น

แต่หากปราศจากหลักฐาน หรือสมมุติฐานที่สมเหตุผลช่วยสนับสนุน ก็คงไม่น่าเชื่อถือซักเท่าไร ประกอบกับ ตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นจริงก็คือ เมื่อย้อนไปเมื่อปีที่แล้วใครจะเชื่อครับว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวจาก 90 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 40 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ปัจจุบัน และมีผลกระทบต่อบริษัทยักษ์ใหญ่ของบ้านเราถึงเพียงนี้

แต่ก็ยังโชคดีนะครับที่รายได้ของรัฐบาลไทย เราไม่ได้ผูกติดกับราคาน้ำมันเหมือนอย่างหลาย ๆ ประเทศในตะวันออกกลาง มิฉะนั้นงานนี้คงต้องลุ้นกันเหนื่อยหนักแน่ ๆ ครับ



สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำ

view