สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฎีกาตัดสิน จำคุก 20 ปี -ปรับพันล้าน อดีตผู้บริหารบีบีซี

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ฎีกาพิพากษายืน“จำคุก 20 ปี -ปรับพันล้าน” อดีตผู้บริหารยักยอกทรัพย์บีบีซี 2 สำนวน

ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดียักยอกทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซีหมายเลขดำ ด.7254/2543ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร2และ บีบีซี ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี (เสียชีวิตแล้ว),นายจิตตสร ปราโมช ณ อยุธยา อดีตรองผู้อำนวยการ สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่,ม.ร.ว.ดำรงเดช ดิศกุล อดีต ผู้บริหารอาวุโส สำนักบริหารเงินและวิเทศกิจ และ ม.ร.ว.หญิงสุภาณี สารสิน หรือ ดิศกุล อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บีบีซี ร่วมกันเป็นจำเลยที่1-4ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.352, 353, 354และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535ม.307, 308, 309, 311, 312และ313กรณีเมื่อเดือน พ.ค.38 –ก.ค.39จำเลยทั้งสี่และนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา กก.ผจก.ใหญ่ บีบีซี ร่วมกันวางแผนอนุมัติขายหุ้นเพิ่มทุนของบีบีซี โดยไม่ตรวจสอบประวัติฐานะของบริษัทผู้เข้ามาจองซื้อหุ้น จำนวน260ล้านหุ้นให้กับบริษัท ออลบิ ยูเอสเอ อิงค์ และบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เครดิต โบรคเกอร์เรจ โฮลดิ้ง อิงค์ ที่มีนาย ราเกซ ที่ปรึกษา กก.ผจก.ใหญ่ บีบีซี เป็นผู้รับมอบอำนาจการซื้อขายหุ้น แล้วบริษัทนำหุ้น90ล้านหุ้น คิดเป็นเงินจำนวน23,170,731.71ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ570ล้านบาทไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ จำกัด เพื่อนำเงินมาชำระค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของโจทก์ร่วมรวม38ล้านหุ้น และยังได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน126ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธนาคารเนชั่นแนล เครดิตแบงก์ รวมทั้งสินเชื่อให้กับบริษัท อาร์คาร์เดีย แคปปิตอล พาร์ทเนอรส์ อิงค์ และบริษัท เอเซซ คอร์ปรเรท โฮลดิ้ง แอนด์ ไฟแนนซ์ อิงค์ อีกรายละ50ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนายราเกซเป็นผู้ลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ทั้งสองบริษัทนำมาวางประกันขอ สินเชื่อ

โดยศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่28ธ.ค.48ว่า ให้จำคุกจำเลยที่1ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ม.313ซึ่งเป็นบทหนักสุด5กระทงๆ ละ10ปี รวม50ปี แต่รวมจำคุกทุกกระทงแล้วให้จำคุกไว้20ปีและปรับ472,122,946.02ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งให้จำเลยที่1คืนเงินแก่บีบีซี ด้วย167,090,118.28ดอลลาร์สหรัฐ หากใช้เป็นเงินบาทให้คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินปัจจุบัน 

ส่วนจำเลยที่2-4ให้จำคุก พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ม.308ที่เป็นบทหนักสุด คนละ6ปี8เดือน และปรับคนละ666,666.66บาท และให้จำเลยที่2-4ร่วมจำเลยที่ 1 ชดใช้เงิน85,733,882.04ดอลลาร์สหรัฐ หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการยึดทรัพย์สิน 

ขณะที่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นต่อจำเลยยื่นฎีกา โดยระหว่างฎีกา นายเกริกเกียรติ จำเลยที่1เสียชีวิต 

โดยศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบ แสดงให้เห็นพฤติกรรมของจำเลยที่ 2-4 ว่ามีส่วนรู้เห็นในกระบวนการ ยักย้ายถ่ายเทหุ้นโจทก์ร่วม โดยนำเม็ดเงินของโจทก์ร่วมเอง ไปให้สินเชื่อแก่บุคคลภายนอกกู้ยืม แล้วนำกลับมาซื้อหุ้นดังกล่าว จากนั้นนำหุ้นไปโอนให้แก่กันและขายให้แก่บุคคลอื่น ได้รับผลประโยชน์เป็นส่วนตัว ทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย อันกระทบต่อฐานะความมั่นคงของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ จนต้องปิดกิจการ และสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม ลูกค้าของโจทก์ร่วม ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยไม่มีน้ำหนัก หักล้างพยานของโจทก์และโจทก์ร่วม ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2-4 ฟังไม่ขึ้น 

สำหรับปัญหาของจำเลยที่ 2-4 ฎีกาว่า ความผิดฐานยักยอก ที่โจทก์ฟ้องสำเร็จเมื่อโจทก์ร่วมโอนเงินกู้ยืม ให้แก่ผู้ขอสินเชื่อ จำเลยที่ 2-4 เป็นเพียง ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และคดีโจทก์ขาดอายุควา แล้วนั้น เห็นว่า ความผิดฐานยักยอก และความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีอาชญากรรมทางธุรกิจ มีลักษณะเป็นกระบวนการมีความซับซ้อน มีการวางแผนและขั้นตอนต่างๆ มีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคน แต่ละคนเข้าร่วมกระทำขั้นตอนต่างๆที่แตกต่างกัน เมื่อการกระทำบรรลุขั้นตอนต่างๆ ตามที่วางแผนไว้ ความเสียหายจึงปรากฏขึ้น ดังนั้น ไม่อาจถือว่าความผิดสำเร็จเมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ ร่วม แต่ต้องถือว่าความผิดสำเร็จเมื่อทำบรรลุขั้นตอนครบถ้วนตามที่วางแผนและความ เสียหายปรากฏ อายุความจริงจึงเริ่มนับ ดังนั้นคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ อีกทั้งผู้ร่วมกระทำผิดทุกคนล้วนเป็นตัวการในความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา352ทั้งสิ้น ฎีกาทุกข้อของจำเลยที่2-4ฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืนส่วนคดีของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ แต่ในคดีแพ่งให้เลื่อนไปโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 เสร็จแล้วให้ส่งคืนมาศาลฎีกา 

ขณะที่วันเดียวกัน เวลา11.00น.ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำ ด.6173/2542ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และบีบีซี ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี ,ม.ร.ว.อรอนงค์ เทพาคำ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินและวิเทศธนกิจ และ น.ส.เยาวลักษณ์ นิตย์ธีรานนท์ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินและวิเทศธนกิจ เป็นจำเลยที่1-3ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์,เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ จัดการสินทรัพย์กระทำผิดต่อหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352, 353, 354และกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535โดยจำเลยทั้งสามร่วมกับนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา กก.ผจก.ใหญ่บีบีซี ที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องยักยอกทรัพย์บีบีซี มูลค่า1,228,896,438บาท จากการลงนามทำสัญญาแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ธนบัตรระหว่างบีบีซี กับบริษัท ดิเวลลอปเมนท์ ไฟแนนซ์ แอนด์ อินเวสเมนท์ จำกัด เมื่อเดือน พ.ค.38 

ซึ่งศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา เมื่อวันที่19เม.ย.50ว่า ให้จำคุกจำเลยทั้งสามบทหนักสุดฐานเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการหลักทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทุจริตต่อหน้าที่ คนละ2กระทงๆ ละ10ปีรวมจำคุกจำเลยที่1-3คนละ20ปี และให้ปรับ1,157,244,186.28บาท พร้อมให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินคืนแก่บีบีซี จำนวน589,622,043.04บาทขณะที่ชั้นศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน 

ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นฎีกา ระหว่างพิจารณาคดีจำเลยที่1เสียชีวิตศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกัน แล้ว เห็นว่า การทำสัญญาแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์ร่วมโดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 กับบริษัทเพเนลอป ไฟแน้นซ์ แอนด์อิรเวสท์เมนท์ อิงค์ นายอลัน มีข้อพิรุธหลายประการ และได้ความว่าจำเลยที่1-2และนายราเกซ ซึ่งเป็นผู้บริหารโจทก์ร่วมขอให้นายอลัน ตั้งบริษัทนี้ขึ้นมีวัตถุประสงค์รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากโจทก์ร่วม มีจำเลยที่2และนายราเกซ เป็นผู้ถือหุ้นและรับประโยชน์ อีกทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่า บ.เพเนลอป ฯ ขายพันธบัตรที่โจทก์ร่วมถือครองแล้วจำเลยที่2กับมีคำสั่งให้นายอลัน โอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีบริษัททัวร์บิลอน ซึ่งมีนายราเกซ เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน และเมื่อบ.เพเนลอปฯ ขายพันธบัตรของโจทก์ร่วมแล้วไม่ได้นำเงินไปซื้อพันธบัตรอื่นมาส่งมอบคืน กลับปรากฏว่าจำเลยที่2มีคำสั่งให้นายอลัน โอนเงินจากบัญชี บ.เพเนลอป ฯ จำนวน35,000,000ดอลลาร์สหรัฐ เข้าบัญชีบริษัททัวร์บิลอน ต่อมานายราเกซ สั่งให้ธนาคารโอนเงินดังกล่าวซึ่งคิดเป็นเงินไทย839,725,000บาท เข้าบัญชีของนายราเกซ และนายราเกซได้แบ่งเงินดังกล่าวให้จำเลยที่2จำนวน800ล้านบาท ขณะที่จำเลยที่2เบิกความเพียงว่าได้เกี่ยวข้องกับเงินดังกล่าว ทั้งที่เงินจำนวนนี้ถูกนำเข้าและโอนอยู่ในธนาคารที่จำเลยที่2เป็นผู้บริหาร ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นมีการสร้างรายการเพื่อกลบเกลื่อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแลก เปลี่ยนสินทรัพย์โดยโอนเงินดอกเบี้ยพันธบัตรเข้าบัญชีโจทก์ร่วมถึง3ครั้ง สำหรับเงินกำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนของโจทก์ร่วมอีก9,077,231.84ดอลล่า ร์สหรัฐ บ.เพเนลอป ฯ ก็โอนเข้าบัญชีบริษัททัวร์บิลอนเช่นกัน 

ต่อมาจำเลยที่2-3มีคำสั่งโอนหน่วยลงทุนเม็กซิกันเปโซฟันด์เข้าบัญชีโจทก์ ร่วม และโจทก์ร่วมได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหรือเงินปันผลกับบ.อินเตอร์ เนชั่นแนล เครดิต โบรคเกอร์เรจ โฮลดิ้ง อิงค์ ซึ่งบริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ร่วม8ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่เงินจำนวนนี้จ่ายจากบัญชีบ.ทัวร์บิลอน เป็นการสร้างรายการทางบัญชีว่ามีการชำระค่าตอบแทนสัญญาแลกเปลี่ยนอัตรา ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลเท่านั้น ดังนั้น การทำสัญญาแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์ร่วม และบ.เพเนลอป ฯ เป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยที่1 - 2และนายราเกซ ตั้งบริษัทดังกล่าวขึ้น เพื่อได้ไปซึ่งสินทรัพย์หน่วยลงทุนที่ได้รับการจัดอันดับสูงของโจทก์ร่วม แล้วนำธนบัตรที่ได้รับการจัดอันดับต่ำมาคืนและไม่ครบจำนวนตามที่ตกลงกันเป็น ความเสียหายตามที่โจทก์ร่วมได้รับ 

พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2­-3ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบของโจทก์ร่วม ที่เป็นธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้ร่วมเป็นตัวของยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม จำเลยที่2-3เป็นผู้บริหารระดับสูงมีอำนาจลงนามทำธุรกรรมแทนโจทก์ร่วม โดยเฉพาะธุรกรรมของคดีนี้มีมูลค่าสูง จำเลยที่2-3ต้องใช้ความรู้และความรอบคอบตามมาตรฐานของผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ต่อทรัพย์สินของโจทก์ร่วม ผู้ฝากเงิน ลุกค้า ประชาชน และเศรษฐกิจของชาติเป็นส่วนรวม ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ร่วมส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปถึงเศรษฐกิจ ของประเทศ ทั้งข้อเท็จจริงในคดีปรากฏด้วยว่า จำเลยที่2ได้รับผลประโยชน์มาจากการกระทำครั้งนี้ 

พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาหนักแน่น มั่นคงว่าจำเลยที่2-3กระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตามกัน พยานหลักฐานที่จำเลยที่2-3นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์และ โจทก์ร่วม ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่2-3ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ส่วนคดีของนายเกริกเกียรติ จำเลยที่1 ที่เสียชีวิตให้จำหน่ายออกจากสารบบความ

นอกจากนี้เมื่อเวลา11.50น.ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดียักยอก ทรัพย์บีบีซี สำนวนที่ 3 คดีหมายเลขดำ ด.6618/2542ที่อัยการกองคดีเศรษฐกิจ2เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี , นางพรจันทร์ จันทรขจร และนางสุภาภรณ์ ทิพยศักดิ์ เป็นจำเลยที่1-3ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ กรณีจำเลยร่วมกันเบียดบังยักยอกเงินจากบีบีซี จำนวน200,956,250บาท เป็นของตนเองและบุคคลที่3

ซึ่งศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่1พ.ย.49ให้จำคุกนายเกริกเกียรติ จำเลยที่1เป็นเวลา20ปี และปรับ211,160,166บาท และจำคุก นายพรจันทร์ จำเลยที่2เป็นเวลา12ปี16เดือน และปรับ1,333,333.32บาท หากจำเลยที่1และจำเลยที่2ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ และให้จำเลยที่1คืนเงินจำนวน93,036,333บาท โดยให้จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่1รับผิดคืนเงินจำนวน84,720,000บาท แก่ธนาคารโจทก์ร่วม และให้ยกฟ้องจำเลยที่3

ชั้นศาลอุทธรณ์ แก้คำพิพากษาในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหายแก่บีบีซี เป็นว่าให้จำเลยที่1คืนเงินแก่บีบีซี โจทก์ร่วม จำนวน128,316,333บาท โดยให้จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่1รับผิดคืนเงินจำนวน120,000,000บาท แก่โจทก์ร่วม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น 

แต่วันนี้เมื่อถึงเวลานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ปรากฏว่า จำเลยที่2ไม่ได้เดินทางมาศาล ขณะที่ทนายความของนายเกริกเกียรติจำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องถึงการเสียชีวิตของ จำเลยที่1ก่อนหน้านี้แล้ว

ศาลอาญา พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า จำเลยที่2ทราบหมายโดยชอบ แต่ไม่ได้เดินทางมาศาล จึงให้ออกหมายจับจำเลยที่2เพื่อมาฟังคำพิพากษา และให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไป เพื่อส่งสำนวนคืนไปยังศาลฎีกาให้พิจารณาเหตุเสียชีวิตของจำเลยที่ 1


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ฎีกาตัดสิน จำคุก 20 ปี ปรับพันล้าน อดีตผู้บริหารบีบีซี

view