สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เงินหยวน เข้าตะกร้าเอสดีอาร์

จากประชาชาติธุรกิจ

นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ระบบเศรษฐกิจการเงินของจีนได้รับ การยอมรับจากประชาคมโลก เมื่อคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประกาศปรับตะกร้าเงินที่เคยกำหนดค่าเอสดีอาร์ หรือสิทธิถอนเงินพิเศษ "Special Drawing Rights" จากที่เคยมีอยู่เพียง 4 สกุล คือ ดอลลาร์สหรัฐ 41.9 เปอร์เซ็นต์ ยูโร 37.4 เปอร์เซ็นต์ ปอนด์สเตอริง 11.3 เปอร์เซ็นต์ และเยน 9.3 เปอร์เซ็นต์ มาเป็น "ตะกร้าใหม่" ดังนี้ ดอลลาร์ 41.73 เปอร์เซ็นต์ ยูโร 30.93 เปอร์เซ็นต์ หยวน 10.92 เปอร์เซ็นต์ เยน 8.33 เปอร์เซ็นต์ และปอนด์สเตอริง 8.09 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 คือปีหน้าเป็นต้นไป

ถ้าจะดูน้ำหนักของเงิน สกุลต่าง ๆ ในการคำนวณค่าเอสดีอาร์ จะเห็นว่าน้ำหนักเงินยูโรหายไปมากที่สุด คือลดลง 6.47 เปอร์เซ็นต์ เงินปอนด์สเตอริง 2.94 เปอร์เซ็นต์ เงินเยน 0.97 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักของเงินดอลลาร์ลดลงน้อยที่สุด กล่าวคือลดลงเพียง 0.17 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

การที่ไอเอ็มเอฟยอมรับให้เงินหยวนเข้ามาอยู่ใน ตะกร้าเงินที่กำหนดค่าเอสดีอาร์นั้น จีนก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและตามกำหนดเวลาหลายข้อ มิฉะนั้น จีนอาจจะเอาเปรียบผู้ที่ถือเงินหยวนที่อยู่นอกประเทศได้โดยการลดค่าเงินของ ตน

เงื่อนไขที่จีนต้องปฏิบัติส่วนมากก็เป็นเงื่อนไขที่จีนต้องเปิด เสรีทางการเงินมากขึ้น เพื่อลดอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกในประเทศและปล่อยให้ค่าเงิน หยวนขึ้นลงตามกลไกตลาดมากยิ่งขึ้น

การปรับน้ำหนักของเงินสกุลหลักที่ อยู่ในตะกร้าเงินของไอเอ็มเอฟที่ใช้กำหนดค่าเอสดีอาร์ ทำให้เห็นได้ชัดว่าน้ำหนักของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรมีน้ำหนักลดลงค่อน ข้างมาก ตามมาด้วยน้ำหนักของประเทศอังกฤษ ไอเอ็มเอฟให้น้ำหนักกับเงินเยนสูงกว่าเงินปอนด์สเตอริงแล้ว

เอสดีอาร์ หรือสิทธิถอนเงินพิเศษ แม้จะไม่ใช่เงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรในตลาดทุนและตลาดเงินก็ตาม แต่เอสดีอาร์สามารถใช้นับเข้าไปเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศได้ เพราะสิทธิถอนเงินพิเศษสามารถจะเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลอื่น เช่น ดอลลาร์ ยูโร หรือเงินตราสกุลอื่น ที่ใช้ระหนี้ระหว่างประเทศได้ผ่านทางไอเอ็มเอฟ โดยไอเอ็มเอฟทำหน้าที่เป็นคนกลางหาผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เกิดการซื้อขายได้ เหมือนกับเป็นสิทธิการถอนเงินจากไอเอ็มเอฟ โดยที่ไอเอ็มเอฟไม่มีพันธะว่าจะต้องรับซื้อไว้เอง หรือมีไว้ขายเอง เป็นแต่เพียงคนกลางให้

เอสดีอาร์ แม้จะไม่ใช่เงินตราระหว่างประเทศเหมือนเงินดอลลาร์ เงินเยน หรือเงินปอนด์สเตอริง แต่ก็มีสภาพเข้าใกล้เงินเพราะสามารถใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคาร กลาง มีสภาพคล่องเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลที่ใช้ชำระหนี้ระหว่างประเทศได้ คล้าย ๆ กับทองคำที่ผู้ถือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ระหว่างประเทศได้ ถ้าต้องการทองคำที่มีตัวตนที่มีค่าในตัวของมันเองก็มีตลาดทองคำระหว่าง ประเทศ แต่เอสดีอาร์ไม่มี ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อาจจะซื้อขายเอสดีอาร์ผ่านบัญชีที่ไอเอ็มเอฟได้ ไม่มีธนบัตรหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน

ขณะเดียวกันเอสดีอาร์ก็มีลักษณะ คล้ายเงิน คือมีดอกเบี้ยให้กับธนาคารกลางที่ถือเอสดีอาร์ ผู้ยืมเอสดีอาร์ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยกลาง คืออัตราดอกเบี้ยของเงินในตะกร้า โดยถ่วงตามน้ำหนักที่ไอเอ็มเอฟกำหนดไว้นั่นเอง บางคนถือว่าเอสดีอาร์ คือ เงินที่ออกโดยไอเอ็มเอฟก็มี

เอสดีอาร์ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1969 ซึ่งขณะนั้นสมาชิกของไอเอ็มเอฟยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เมื่อเทียบ กับทองคำ หรือดอลลาร์สหรัฐ ตามข้อตกลง "เบรตตันวูดส์" หรือที่เรียกกันว่า ระบบเบรตตันวูดส์ "Bretton Woods System" ไอเอ็มเอฟจึงกำหนดให้เอสดีอาร์ มีค่าเท่ากับทองคำที่มีน้ำหนัก 0.888671 กรัม เท่ากับหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ

โดย เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกานั้น ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ที่ถือเงินดอลลาร์อาจจะนำเงินดอลลาร์มาแลกทองคำบริสุทธิ์ได้ในอัตรา 36 ดอลลาร์ต่อ 1 ทรอยออนซ์ หรือ1 ดอลลาร์ มีค่าเท่ากับทองคำบริสุทธิ์ 0.888671 กรัม

แต่เมื่อสหรัฐอเมริกาทำสงครามในเวียดนาม สหรัฐอเมริกาต้องเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์ โดยการตั้งงบประมาณขาดดุลเพื่อทำสงครามมากมาย ความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ลดลงอย่างรวดเร็ว ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ไม่มีความมั่นใจว่า สหรัฐอเมริกาจะสามารถนำทองคำออกมาจ่ายให้ผู้ต้องการเอาดอลลาร์มาแลกได้ทั้ง หมด จึงทยอยกันมาแลกทองมากยิ่งขึ้น ทองจึงไหลออกจากอเมริกามากขึ้นตามลำดับ ในที่สุดสหรัฐก็ต้องประกาศออกจากมาตรฐานทองคำ หรือ "Gold Standard" ไม่ยอมรับดอลลาร์มาแลกทองคำอีกต่อไป

เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศออกจากมาตรฐานทองคำ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ "เบรตตันวูดส์" ก็พังทลายลง พร้อม ๆ กับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับทองคำก็ดิ่งตัวลงไปเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันการเก็งกำไรค่าเงินและราคาทองคำก็เกิดขึ้น ทำให้เกิดความปั่นป่วนกันโดยทั่วไป รวมทั้งค่าเอสดีอาร์ด้วย

ในที่ สุดโลกก็พัฒนาระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถหาความมั่นคงได้พอสมควร แต่ก็มีความยืดหยุ่นสูงด้วย กล่าวคือแทนที่จะตรึงค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์สกุลเดียว ก็หันมาตรึงค่าเงินไว้กับ "ตะกร้าเงิน" หรือ "Basket of Currencies" หรือตะกร้าเงินที่มีหลายสกุล โดยการให้น้ำหนักแก่เงินสกุลต่าง ๆ ไม่เท่ากัน และแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเทศ บางประเทศก็ประกาศว่าในตะกร้ามีอะไรบ้าง น้ำหนักเท่าไหร่ บางประเทศก็ไม่ประกาศ ระบบดังกล่าวก็ใช้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง

สหรัฐ อเมริกาก็ต้องประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์กับเงินตราสกุลอื่นของโลก การประกาศก็ทำอย่างโปร่งใสมากขึ้น โดยการกำหนดสูตรเป้าหมายทางเศรษฐกิจระหว่างเงินเฟ้อกับการว่างงานให้ชัดเจน ขึ้น ขณะนี้ทั่วโลกก็ปฏิบัติอย่างนั้นในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศ

อย่าง ไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟไม่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเอสดีอาร์ได้เอง เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่ายและผู้ให้กู้เอสดีอาร์ได้รับ จะเท่ากับดอกเบี้ยของเงินตราสกุลต่าง ๆ ในตะกร้าถ่วงน้ำหนักตามที่ไอเอ็มเอฟกำหนดไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อเงินหยวนซึ่งเป็นเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้สูง กว่าเงินอื่น ๆ ในตะกร้า ก็น่าจะคาดได้ว่าดอกเบี้ยของเอสดีอาร์น่าจะขยับตัวสูงขึ้นด้วย

เมื่อเงินเหริน หมิน หรือ "เงินประชาชน" ของจีน ได้รับการยอมรับนับถือให้เข้าไปอยู่ใน "ตะกร้าเงิน" ที่ใช้เทียบค่าเอสดีอาร์ ตลาดก็คงคาดได้ว่าจีนคงจะทยอยปฏิบัติตามเงื่อนไขพันธสัญญากับไอเอ็มเอฟ ซึ่งคงจะเกี่ยวกับวินัยทางการเงิน ความมั่นใจในค่าเงินหยวนก็น่าจะมีมากขึ้น "ความต้องการเงินหยวน" เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนก็ดี ใช้เพื่อเป็นทุนสำรองก็ดี หรือใช้เพื่อตรึงมูลค่าของสินทรัพย์ต่าง ๆ ก็ดี น่าจะมีมากขึ้น ดังนั้นในระยะยาว จีนคงต้องปล่อยเงินหยวนออกมาในตลาดมากขึ้น มิฉะนั้นแล้ว ค่าเงินหยวนอาจจะแข็งค่าเกินไป จนเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกอย่างสำคัญ อันจะเป็นสาเหตุให้เกิดเศรษฐกิจชะงักงัน

ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อเงินเยนได้รับการยอมรับในตลาดโลก ค่าเงินก็แข็งขึ้นอย่างมากและติดต่อกันจนกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจ อันเป็นเหตุให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นชะงักงันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 มาจนถึงบัดนี้กว่า 2 ทศวรรษแล้ว เมื่อจีนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ จีนก็คงต้องระมัดระวังในเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างเคร่งครัดมากยิ่ง ขึ้น จะปล่อยให้เกิดเงินเฟ้อในอัตราสูงหรือเกิดสภาวะฟองสบู่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเกินไปอย่างที่ผ่านมาก็คงจะทำไม่ได้ เพราะสมัยก่อนจีนยังใช้ระบบการเงินที่สามารถควบคุมโดยตรงได้

ผลกระทบ โดยตรงอย่างอื่น นอกจากทางจิตวิทยาแล้วคงจะมีไม่มาก เพราะเอสดีอาร์ที่ไอเอ็มเอฟสร้างขึ้นมาเพื่อเสริมทุนสำรองในระบบอัตราแลก เปลี่ยนคงที่ หรือระบบเบรตตันวูดส์ ก็หมดความจำเป็นไปตั้งแต่ปี 1973 เมื่อระบบเบรตตันวูดส์ล่มสลายไปพร้อม ๆ กับการออกจากมาตรฐานทองคำของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

หลาย ๆ คนยังเชื่อว่า เสถียรภาพทางการเงิน โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการลงทุน การค้นพบเทคโนโลยีใหม่และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกที่ขยายตัวช้าลง ก็เพราะความไม่มีเสถียรภาพทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าเงินสกุลสำคัญ ๆ ของโลก แต่การจะนำระบบเดิมมาใช้ก็คงเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว

การเปลี่ยนตะกร้าเงินของเอสดีอาร์ โดยเพิ่มเงินหยวนเข้ามาในตะกร้า ไม่น่าจะเป็นข่าวใหญ่

แต่ระยะนี้ไม่ค่อยมีข่าวเศรษฐกิจก็เลยเป็นข่าวใหญ่


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เงินหยวน ตะกร้าเอสดีอาร์

view