สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เว้นภาษีเงินได้ค่าเช่ากองมรดก-ดอกเบี้ยจากกงสี

เว้นภาษีเงินได้ค่าเช่ากองมรดก-ดอกเบี้ยจากกงสี

จาก โพสต์ทูเดย์

ราชกิจจาฯ ประกาศใช้กฏกระทรวงแก้ไขปรับปรุงการจัดเก็บภาษีคณะบุคคลมีผลบังคับใช้ในปี 2558

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวง ฉบับที่ 309 (พ.ศ.2558) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (89) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร“(89) เงินได้ที่ได้รับจากส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ที่ได้รับจาก

(ก) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมอันได้มาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ตามส่วน 2 หมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร และถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน"

ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

ร่างกฎหมายดังกล่าวมี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลังเป็นผู้ลงนาม

ทั้งนี้ เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 ได้ยกเลิกมาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร และได้นิยามคำว่า“คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกันอันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ" ทำให้บุคคลในคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรจากคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่บุคคลในคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ

สำหรับการดำเนินการบางกรณี สมควรกำหนดให้เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลที่ได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมอันได้มาโดยทางมรดกหรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา และดอกเบี้ยเงินฝากตามมาตรา 40 (4) (ก) เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้


ภาษีคณะบุคคลมีผลแล้ว ย้อนหลัง 1 ม.ค.58

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลอดแล้วมาตรการภาษีอุดช่องโหว่ ตั้งคณะบุคคล สรรพากรจัดระเบียบ 2 แสนราย ยันไม่กระทบประชาชนทั่วไป ยกเว้นให้ 2 กรณีที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วม "ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์-บัญชีเงินฝาก"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่กฎกระทรวง ฉบับที่ 309 (พ.ศ. 2558) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ในกรณีที่มีการแก้ไขปรับปรุงการจัดเก็บภาษีคณะบุคคล โดยมีการกำหนดนิยามของคำว่า คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เพื่อแยกจากหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญอย่างชัดเจนขึ้น 


พร้อม กำหนดว่า บุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลตามนิยามดังกล่าว จะต้องนําเงินส่วนแบ่งของกําไรจากคณะบุคคลนี้ ไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีในบางกรณี ได้แก่ จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมที่ได้มาจากการรับมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หาและกรณีดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากบัญชีร่วมกัน ของคนในครอบครัวจึงมีการกำหนดว่ากรณีดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้ รับยกเว้นไม่ต้องนํามารวมคํานวณภาษีเงินได้

ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2558 เป็นต้นไป โดยกรมสรรพากรประเมินว่า การปรับปรุงภาษีคณะบุคคลเพื่อปิดช่องโหว่ดังกล่าว จะมีผลกระทบกับคณะบุคคลรวมแล้วประมาณ 2 แสนราย แต่จะไม่กระทบประชาชนทั่วไป เนื่องจากได้ยกเว้นให้ใน 2 กรณีข้างต้นแล้ว

สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เว้นภาษีเงินได้ค่าเช่ากองมรดก ดอกเบี้ยจากกงสี

view