สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตลาดหุ้นจีนตกเหวรอบ 2 กับมาตรการ China Only

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด

โดย ดร.ศรพล ดุลยะเสถียร, อรกันยา เตชะไพบูลย? สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ตั้งแต่ข่าวคราวการตก เหวของตลาดหุ้นจีนเมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน ได้ทำให้นักลงทุนทั่วโลกตื่นตระหนกมาแล้วครั้งหนึ่ง มาคราวนี้เวลาผ่านไปไม่ถึง 6 เดือน ก็ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นจีนจะตกเหวอีกครั้ง

จะแตกต่างกันก็ตรงที่ การตกเหวครั้งก่อนเป็น "เหวลึก" ที่ตลาดหุ้นจีนลดลงวูบเดียวกว่าร้อยละ 34 ในเวลาเพียง 1 เดือน จากจุดสูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน 2558 คิดเป็นมูลค่าตลาดที่สูญหายไปกว่า 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ ในครั้งนี้เป็น "การตกเหวทีละชั้น" วันละไม่เกินร้อยละ 7 เนื่องจากทางการจีนได้เอาบทเรียนจากการตกเหวครั้งก่อนมาออกมาตรการหยุดการ ซื้อขายชั่วคราว หรือ Circuit Break บรรเทาความผันผวนของตลาดหุ้น

แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผลมากเท่าที่หวังไว้

มาตรการ Circuit Break นี้ ออกมาในช่วงปลายปี 2558 เพื่อเตรียมพร้อมรองรับความผันผวนของตลาดหุ้นจีน โดยกำหนดว่า หากดัชนี CSI 300 ของจีนซึ่งคำนวณจากหลักทรัพย์สำคัญทั้งในตลาดเซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้น เพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินร้อยละ 5 ในช่วงการซื้อขายก่อนเวลา 14.30 น. จะหยุดการซื้อขายเป็นเวลา 15 นาที และหากเปลี่ยนแปลงเกินร้อยละ 5 หลังเวลา 14.30 น. จะหยุดการซื้อขายในช่วงที่เหลือของวัน ซึ่งมีช่วงการซื้อขายในภาคเช้าระหว่างเวลา 09.30-11.30 น. และในภาคบ่ายระหว่างเวลา 13.00-15.00 น. และถ้าหากดัชนี CSI 300 เปลี่ยนแปลงเกินร้อยละ 7 ไม่ว่าจะตอนใดก็ตาม จะหยุดการซื้อขายในช่วงที่เหลือของวันนั้นทันที

โดย มาตรการ Circuit Break นี้ เริ่มบังคับใช้วันแรกในวันที่ 1 มกราคม 2559 และในวันที่ตลาดหุ้นจีนเปิดทำการวันแรกของปี ในวันที่ 4 มกราคม 2559 ก็เกิด Circuit Break ขึ้นเลย และในวันที่ 7 มกราคม 2559 ก็เกิด Circuit Break อีกครั้งในรอบเพียง 4 วัน

สาเหตุ ของการเทขายหุ้นจีนอย่างหนัก มาจากความกังวลของนักลงทุนต่อการสิ้นสุดลงของมาตรการพยุงตลาดหลักทรัพย์ของ ทางการจีนที่เริ่มขึ้นตั้งแต่การตกเหวครั้งก่อน และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 มกราคม 2559 ทำให้ทั้งนักลงทุนและกองทุนต่างพากันเทขายหุ้นก่อนมาตรการนี้จะสิ้นสุดลง ด้วยความกลัวว่าถ้าหากทางการจีนไม่ประกาศต่ออายุมาตรการนี้ ตลาดหุ้นจีนอาจตกเหวอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับส่วนหนึ่งยังมีสาเหตุจากการเทขายของกองทุนที่อาจเคยได้มีข้อตกลง ไว้กับนักลงทุน ว่าจะต้องขายหุ้นทิ้งเมื่อมูลค่าของหุ้นลดต่ำลงไปถึงระดับหนึ่ง

กลายเป็นว่ายิ่งความเชื่อมั่นลดลง ก็ยิ่งเทขาย และเมื่อยิ่งเทขายก็ยิ่งแตกตื่นและเทขายกันใหญ่ เป็นวงจรหมุนลงเหวไปตามกัน

นอก จากนี้ ถ้าหากไม่นับปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ และหันมาดูปัจจัยทางโหราศาสตร์สักเล็กน้อย จะพบว่าวันที่ 4 มกราคม 2559 นับเป็น "วันไม่มงคล" ตามปฏิทินจีนที่จะเปิดตลาดซื้อขายกัน อันนี้ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะเป็นประเด็นที่โจษจันกันพอสมควรในหมู่นักวิเคราะห์เชื้อสายจีน

เมื่อ เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559 หลังจากที่ตลาดหุ้นหยุดซื้อขายชั่วคราวแล้ว คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีนหรือ China Securities Regulatory Commission (CSRC) เห็นท่าจะไม่ดี จึงได้ประกาศมาตรการพยุงตลาดหุ้นจีนเพิ่มเติม โดยกำหนดว่า ผู้ถือหุ้นราย ใหญ่หรือผู้ที่ถือหุ้นร้อยละ 5 หรือมากกว่า ในบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขายหุ้นมากกว่าร้อยละ 1% ของหุ้นที่ถืออยู่ ภายในระยะเวลา 3 เดือน และจะต้องแจ้งแผนการปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นให้กับ CSRC ทราบก่อนล่วงหน้า 15 วันทำการ

การประกาศข้อกำหนดใหม่นี้มี ขึ้นเพียง 1 วัน ก่อนที่ข้อกำหนดเดิมที่ห้ามไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ขายหุ้นส่วนของตนเองเป็น เวลา 6 เดือน ซึ่งออกมาตั้งแต่การตกเหวครั้งก่อนในเดือนกรกฎาคม 2558 มีกำหนดหมดอายุลงในวันที่ 8 มกราคม 2559

แม้ทางการจีนจะออกมาตรการ พยุงตลาดหลักทรัพย์ออกมาเพิ่มเติม สร้างความเชื่อมั่นได้มากขึ้นระดับหนึ่ง และอาจบรรเทาการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ แต่มาตรการนี้ก็มีผลแค่ในระยะสั้นช่วงหนึ่ง เพราะมีอายุแค่เพียง 3 เดือน ทำให้อาจคาดเดาได้ว่า พอเมื่อครบกำหนด 3 เดือน ก็อาจเกิดความโกลาหลอีกครั้ง

ที่สำคัญ มาตรการในลักษณะ "การห้ามขาย" เช่นนี้ ส่วนหนึ่งกลับเป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน และอาจทำให้นักลงทุนกลับเร่งเทขายเมื่อยังมีโอกาสได้ เพราะกลัวต่อความเสี่ยงว่าตนอาจถูกทางการจีนห้ามซื้อขายเมื่อใดก็ได้ ซึ่งความเสี่ยงเช่นนี้ นับว่ามีน้อยหรือแทบจะไม่มีเลยในตลาดเสรีอื่นในโลก เรียกได้ว่าเป็นมาตรการแบบมีที่จีนแห่งเดียว หรือ China Only

สิ่ง ที่นักลงทุนหวังจะเห็นจากทางการจีนในช่วงจากนี้ไป คือความชัดเจนของมาตรการที่ทางการจีนจะนำมาใช้ ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในตลาดมาก ขึ้น เช่น การปรับปรุงเงื่อนไขของระบบ Circuit Break ที่เพิ่งเริ่มนำมาใช้ และการออกมาตรการที่มีความยั่งยืนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ถือเป็นการออกมาตรการมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

ความ ท้าทายของทางการจีนจากความผันผวนในตลาดหุ้น ยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่อง "ค่าเงินหยวน" ที่มีแนวโน้มอ่อนลงต่อเนื่อง ประกอบกับเงินทุนไหลออกมูลค่ามหาศาลตั้งแต่ปีก่อนที่ยังไม่มีแนวโน้มจะ บรรเทาลง ซึ่งเราคงต้องติดตามและลุ้นกันต่อไป ว่าทางการจีนจะมีมาตรการอะไรออกมาอีก และจะยังเป็นมาตรการแบบ China Only หรือไม่


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ตลาดหุ้นจีน ตกเหว รอบ 2 China Only

view