สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ระเบียบ! คุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย ในกม.ฟอกเงินพ.ศ.2559

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เปิด! ระเบียบ การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2559

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙) ระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๕๙

โดย ที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผล ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๔ (๕/๑) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อ ๒ (๖) ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือการกําหนดหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับอํานาจของคณะกรรมการธุรกรรมลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการประชุมครั้ง ที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ คณะกรรมการธุรกรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๕๙”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ผู้ เสียหาย” หมายความว่า ผู้ได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินจากการกระทําความผิดมูลฐานและไม่อาจดํา เนินการเพื่อขอคืนทรัพย์สินหรือชดใช้คืนความเสียหายดังกล่าวได้ตามกฎหมาย อื่นหรือดําเนินการตามกฎหมายอื่นแล้วแต่ไม่เป็นผล
“ตรวจสอบ” หมายความว่า การแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเสียหายของผู้เสียหาย
ข้อ ๔ เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ช่ัวคราว หรือเลขาธิการมีคําสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวในกรณีจําเป็นหรือ เร่งด่วนแล้วแต่กรณี ในความผิดมูลฐานใดที่ปรากฏข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบว่ามีผู้เสียหายแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในระบบสาร สนเทศของสํานักงาน กําหนดให้ผู้เสียหายยื่นคําร้องพร้อมหลักฐานแสดงรายละเอียดแห่งความเสียหาย และจํานวนความเสียหายที่ได้รับจากการกระทําความผิดมูลฐานนั้นตามแบบท้าย ระเบียบนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกําหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคําร้องได้ตามกําหนดเวลาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณาอนุญาต
ข้อ ๕ เมื่อมีผู้เสียหายยื่นคําร้องภายในกําหนดเวลา หรือยื่นเกินกําหนดเวลาโดยได้รับการอนุญาตจากเลขาธิการตามข้อ ๔ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตรวจสอบ และจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความเสียหายของผู้เสียหาย เสนอต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ธุรกรรมเพื่อพิจารณามีมติให้ดําเนินการตามมาตรา ๔๙ ต่อไป
กรณีไม่มีผู้ เสียหายยื่นคําร้อง หรือยื่นคําร้องโดยไม่ปรากฏหลักฐานแสดงรายละเอียดแห่งความเสียหายหรือยื่น เกินกําหนดเวลาโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเลขาธิการตามข้อ ๔ แล้วแต่กรณี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้เลขาธิการทราบ และแจ้งให้ผู้เสียหายที่ยื่นคําร้องโดยไม่ปรากฏหลักฐาน หรือยื่นเกินกําหนดเวลาดังกล่าวทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ หากผู้เสียหายรายใดไม่เห็นด้วยให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอเรื่องต่อเลขาธิการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณามีคําสั่งต่อไป คําสั่งของคณะกรรมการธุรกรรมนั้นให้เป็นที่สุด
ข้อ ๖ ในการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาตามข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณามีมติให้ดําเนิน การกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด ดังนี้
(๑) รายการทรัพย์สินที่ควรร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้นําไปคืนแก่ผู้เสียหายซึ่งปรากฏหลักฐานโดยชัดแจ้งว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
(๒) รายการทรัพย์สินที่ควรร้องขอให้พนักงานอัยการยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่ง ให้นําไปชดใช้คืนแก่ผู้เสียหายตามสัดส่วนความเสียหาย หรือ
(๓) รายการผู้เสียหายหรือผู้ยื่นคําร้องที่ไม่มีสิทธิได้รับการคุ้มครองพร้อมเหตุผลประกอบ
ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่เลขาธิการเสนอให้เลขาธิการ ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดําเนินการตามมาตรา ๔๙ วรรคหก ต่อไป
ข้อ ๘ กรณีที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้นําทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทํา ความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายและคําพิพากษาหรือคําสั่งดังกล่าว เป็นที่สุดแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการให้เป็นไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลโดยเร็ว ทั้งนี้ หากจําเป็นต้องนําทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดออกขายทอดตลาดตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งศาลเพื่อนําเงินไปชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายให้นํา ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการนําทรัพย์สินออก ขายทอดตลาดมาใช้บังคับ โดยอนุโลม

ข้อ ๙ ในการปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลตามข้อ ๘ ให้สํานักงานจัดทําบัญชีคืนหรือชดใช้คืนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความ ผิดให้แก่ผู้เสียหาย และแจ้งให้ผู้เสียหายมารับคืนหรือรับการชดใช้คืนภายในเวลาที่สํานักงานกําหน ด แต่หากผู้เสียหายรายใดไม่มารับคืนหรือรับการชดใช้คืนดังกล่าวให้สํานักงาน ดําเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๑๐ ให้เลขาธิการรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกคําสั่งหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการธุรกรรมเป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาด

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
อธิคม อินทุภูติ
ประธานกรรมการธุรกรรม

.............................................

แบบยื่นคำร้อง


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ระเบียบ คุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย กม.ฟอกเงินพ.ศ.2559

view