สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้จัก ปานามา เปเปอร์ แบบเข้าใจง่าย เด็ก 5 ขวบอ่านก็รู้เรื่อง

รู้จัก "ปานามา เปเปอร์" แบบเข้าใจง่าย เด็ก 5 ขวบอ่านก็รู้เรื่อง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       จากกรณีสมาคมผู้สื่อข่าวสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) เปิดเผยเอกสารลับการทำงานของบริษัทกฎหมายสัญชาติปานามาแห่งหนึ่งที่ช่วย เหลือลูกค้ารายใหญ่ ทั้งนักการเมือง และผู้นำประเทศทั่วโลก เพื่อฟอกเงินและหลีกเลี่ยงภาษี โดยกระแสข่าวตลอดทั้งวานนี้ (4 เม.ย.) อ้างว่ามีการเชื่อมโยงถึงคนไทย 21 คน เรื่อง "ปานามา เปเปอร์" ดังกล่าวฟังดูเข้าใจยากสำหรับบุคคลทั่วไป ทำให้เว็บไซต์ vox.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวแนวหัวเสรีที่มีฐานอยู่ในสหรัฐฯ ออกมาวาดการ์ตูนเพื่ออธิบายเรื่องดังกล่าวอย่างง่ายๆ

      vox.com ระบุว่าปานามา เปเปอร์ ที่หลุดออกมานั้นเป็นไฟล์เอกสารที่มีขนาดข้อมูลทั้งหมดกว่า 2.6 เทราไบต์ ทั้งนี้ทางนักวาดการ์ตูนของเว็บไซต์นามเจอร์มัน โลเปซ ได้วาดการ์ตูนสั้นๆ เพื่ออธิบายถึงเรื่องดังกล่าวว่าชาวต่างชาติใช้บริษัทปานามาเพื่อซุกซ่อน เงิน เพื่อมิให้ผู้อื่นทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของเจ้าของสินทรัพย์ได้อย่างไร โดยนำไปเปรียบเทียบกับ "เด็กที่เก็บเงินใส่กระปุกหมูออมสิน" (อ่านเพิ่มเติม :The Panama Papers, explained in a short, simple story about piggy banks)
       
       ทั้งนี้ vox.com วาดภาพการ์ตูนทั้งสิ้น 12 รูปพร้อมคำอธิบายดังนี้
       
       ภาพที่ 1 สมมติว่าคุณเป็นเด็กที่เก็บเงินหยอดใส่กระปุกหมู (Piggy Bank) ที่ซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้า
       ภาพที่ 2 ทว่าคุณแม่ของคุณกลับคอยมาตรวจดูกระปุกหมูนั้น และนำเงินเก็บของคุณออกไป
       ภาพที่ 3 ดังนั้นคุณจึงหากระปุกหมูมาอีกอันหนึ่ง
       ภาพที่ 4 และนำไปฝากไว้ในตู้เสื้อผ้าของบ้านจอห์นนี
       ภาพที่ 5 เพราะแม่ของจอห์นนียุ่งมาก เธอไม่มีเวลาตรวจสอบกระปุกหมูออมสิน ทำให้คุณสามารถที่จะเก็บกระปุกหมูอันใหม่ไว้ได้อย่างลับๆ โดยที่ไม่มีใครคอยตรวจสอบ

รู้จัก ปานามา เปเปอร์ แบบเข้าใจง่าย เด็ก 5 ขวบอ่านก็รู้เรื่อง

       ภาพที่ 6 เหล่าเด็กๆ ที่อยู่ในละแวกบ้านของคุณก็คิดว่าการฝากกระปุกหมูไว้ที่บ้านจอห์นนีนั้นเป็นไอเดียที่ดี
       ภาพที่ 7 พวกเขาจึงนำกระปุกหมูมาฝากไว้ในตู้เสื้อผ้าของจอห์นนี่มากขึ้นๆ
       ภาพที่ 8 กระทั่งวันหนึ่ง แม่ของจอห์นนีพบว่ามีกระปุกหมูมากมายอยู่ในตู้เสื้อผ้า
       ภาพที่ 9 เธอรู้สึกโกรธมาก และโทรศัพท์หาผู้ปกครองของเด็กทุกคน เพื่อแจ้งว่าลูกๆ ของพวกเขาซ่อนเงินเอาไว้
       ภาพที่ 10 นี่คือเรื่องราวพื้นๆ ของเอกสารที่หลุดออกมา ณ วันนี้ เพราะมีคนสำคัญและมีอำนาจมากหลายคนซ่อนกระปุกหมูของพวกเขาไว้ในบ้านของจอห์นนี
       
       ภาพที่ 11 ไม่ใช่ว่าพวกเขาทุกคนทำเรื่องที่เลวร้าย เพราะบางคนเอากระปุกหมูไปซ่อนเพียงเพราะต้องการความเป็นส่วนตัวให้พ้นจากการ ตรวจสอบของแม่ อย่างไรก็ตามก็มีเด็กอย่าง ไมเคิลที่ขโมยเงินจากกระเป๋าสตางค์ของแม่และนำมาซ่อนไว้ในตู้เสื้อผ้าของ จอห์นนี ขณะที่จาค็อบนั้นขโมยเงินค่าอาหารกลางวันของคนอื่นและไม่ต้องการให้ผู้ ปกครองถามว่าเงินก้อนนั้นมาจากไหน จึงนำเงินมาซ่อนไว้ อีกไม่นานเราก็จะรู้ว่าใครเอาเงินมาซ่อนอย่างเพราะต้องการปกปิดความผิด และใครที่เอามาซ่อนด้วยความบริสุทธิ์ใจ
       ภาพที่ 12 แต่ตอนนี้ทุกคนที่นำกระปุกหมูมาซ่อนที่บ้านจอห์นนีต่างก็ตกอยู่ในที่นั่งลำบาก เพราะการซ่อนกระปุกหมูนั้นทำไม่ได้อีกแล้ว


“ปานามา เปเปอร์” เอฟเฟกต์! “ยธ.-สตง.-ปปง.” รับลูกประสานข้อมูลต่างชาติ สอบ 21 คนไทย

โดย MGR Online

“ปานามา เปเปอร์” เอฟเฟกต์! “ยธ.-สตง.-ปปง.” รับลูกประสานข้อมูลต่างชาติ สอบ 21 คนไทย

        “ปานามา เปเปอร์” เอฟเฟกต์! “ยุติธรรม-สตง.-ปปง.” รับลูกประสานข้อมูลต่างชาติ สอบ 21 คนไทยมีชื่อเอี่ยวฟอกเงิน “พิศิษฐ์” บี้สรรพากรเช็กภาษีย้อนหลัง ด้าน “ไพบูลย์” สั่งสอบรายละเอียดเงินหมุนเวียน ชี้อย่าด่วนมองในแง่ร้าย-สรุปใครผิด ส่วนที่ปรึกษา ปปง.ร่อนแถลงการณ์ ประสาน 150 ประเทศ สอบข้อมูลฟอกเงิน เตรียมแถลงใหญ่ 8 เม.ย.
       
       วันนี้ (5 เม.ย.) มีรายงานว่า กรณีสมาคมผู้สื่อข่าวสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) เปิดเผยเอกสารลับการทำงานของบริษัทแห่งหนึ่งด้านกฎหมายสัญชาติปานามาที่ช่วย เหลือลูกค้ารายใหญ่ ทั้งนักการเมือง และผู้นำประเทศทั่วโลก เพื่อฟอกเงินและหลีกเลี่ยงภาษี โดยกระแสข่าวตลอดทั้งวานนี้ (4 เม.ย.) อ้างว่ามีการเชื่อมโยงถึงคนไทย 21 คน แต่ไม่มีการระบุรายชื่อนั้น
       
       นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวผ่านรายการ “เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์” ถึงกรณีดังกล่าวว่า ในส่วนของ สตง.คงจะประสานไปยังกรมสรรพากร เพื่อให้ตรวจสอบการเสียภาษีของ 21 คนไทยที่มีชื่อปรากฏออกมา เพื่อดูว่ารายได้ที่มีนั้นสอดรับกับการเสียภาษีย้อนหลังในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาหรือไม่
       
       “จะประสานไปยังหน่วยงานรัฐที่สามารถตรวจสอบ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงิน”
       
       ด้าน พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า การตั้งบริษัท Offshore นั้น อยากให้มองว่า 1. อาจเป็นการตั้งบริษัทเพื่อการลงทุน หรือ 2. อาจเป็นการฟอกเงิน ดังนั้นคงต้องให้เวลาตรวจสอบเสียก่อน
       
       “กรณีสื่อเยอรมนีเปิดเผยข้อมูลเอกสารลับทางการเงิน ปานามา เปเปอร์ และมีรายชื่อ 21 คนไทยอยู่ในบัญชีนั้นขณะนี้ยังไม่ได้ดูรายละเอียด แต่เห็นไม่ควรไปมองในแง่ร้าย ไม่อยากให้มองในแง่นั้น เพราะข่าวที่ออกมาเป็นในแง่ลบหมด ซึ่งเป็นไปได้ว่าผู้ที่มีรายชื่อในบัญชีอาจนำเงินไปลงทุน ข่าวออกมาทางสื่อต่างประเทศ ดังนั้นจะต้องตรวจสอบให้ดีก่อน แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ขณะนี้ได้สั่งการให้ดำเนินการตรวจสอบ เอามายืนยันเสร็จ โดยเฉพาะรายละเอียดเงินหมุนเวียนว่าเป็นเงินเอาไปทำอะไร ผิดก็ดำเนินการ ไม่ผิดก็จบ อย่าไปตื่นตระหนก จะไปดูชื่อดูอะไร ต้องให้เกียรติเขา ให้ความเป็นธรรมกับเขา” รมว.ยุติธรรมกล่าว
       
       วันเดียวกัน พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ที่ปรึกษาประจำสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รักษาราชการแทนเลขาธิการ ปปง. ได้ส่งเอกสารแถลงการณ์ชี้แจงระหว่างการประชุมร่วมกับหน่วยงาน ปปง.ประเทศพม่า กรณีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวการเปิดเผยเอกสารจากต่างประเทศที่อ้างว่ามีข้อมูล กว่า 11 ล้านฉบับ เชื่อมโยงถึงนักการเมืองและผู้นำทั่วโลกกว่า 72 คนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและเลี่ยงภาษี โดยมีลูกค้า 21 คนในประเทศไทยและเชื่อมโยงกับบริษัท 963 บริษัทที่อาจเข้าข่ายเลี่ยงภาษีว่า สำนักงาน ปปง.กำลังเร่งดำเนินการประสานงานไปยังแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อตรวจสอบข้อ เท็จจริงและความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมดก่อน
       
       “สำนักงาน ปปง.มีการประสานงานและบูรณาการข้อมูลกับเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงินข้ามชาติทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ หากประเทศใดพบข้อมูลการฟอกเงินของกลุ่มบุคคลใดเข้าข่ายฟอกเงิน จะมีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องมายังประเทศที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นๆ หรือรายงานข้อมูลให้รับทราบ ทั้งนี้ สำนักงาน ปปง.จะแถลงข่าวความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวในวันที่ 8 เม.ย. เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมชั้น 12 สำนักงาน ปปง.”


จี้รัฐตรวจสอบข่าว 21 คนไทยฟอกเงิน อาจโยงการเลี่ยงภาษี เพื่อทำความจริงให้กระจ่าง

โดย MGR Online

       นักวิชาการมองกระแสข่าว 21 คนไทยฟอกเงิน อาจโยงถึงการเลี่ยงภาษี แนะรัฐบาลควรตรวจสอบให้ชัดเจน และหากไม่เป็นความจริง ผู้เสียหายก็ควรฟ้องกลับ และควรได้รับการขอโทษ เพราะสังคมไทยในขณะนี้มีการกล่าวหากันในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมาย
       
       นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ความเห็นกรณีที่สมาคมผู้สื่อข่าวสอบสวนนานาชาติ หรือ ICIJ เปิดเผยเอกสารลับ ของบริษัทด้านกฎหมายในประเทศปานามา ซึ่งช่วยเหลือลูกค้ารายใหญ่ ทั้งนักการเมือง และผู้นำประเทศทั่วโลก ในการฟอกเงิน และหลีกเลี่ยงภาษี โดยระบุมีชาวไทย และผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย 21 คน อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลี่ยงภาษีผ่าน 963 แห่งว่า ภาครัฐคงต้องดำเนินการตรวจสอบถึงข้อมูลดังกล่าวให้ชัดเจน จะต้องตรวจสอบว่ามีช่องโหว่ทางกฎหมาย กฎระเบียบอย่างไรบ้าง เพื่อหาวิธีการป้องปราม
       
       อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการยุติธรรมของไทย ผู้ที่ถูกกล่าวหาถือว่ายังไม่มีความผิด จนกว่าจะไปพิสูจน์กันในชั้นศาล และต่อสู้กันในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในกรณีนี้เป็นกล่าวหาจากองค์กรในต่างประเทศ ถ้าไม่เป็นความจริง ผู้มีชื่อควรต้องฟ้องกลับ และควรได้รับการขอโทษ เพราะสังคมไทยในขณะนี้มีการกล่าวหากันในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมาย ถ้าไม่ใช่เรื่องจริงควรจะต้องส่งหนังสือขอโทษ และต้องถูกฟ้องกลับด้วย


จีนสั่งเซ็นเซอร์ข่าว “แฟ้มลับปานามา” หลังมีชื่อญาติ “สี่จิ้นผิง” ซุกเงินเลี่ยงภาษี

โดย MGR Online

       รอยเตอร์/เอเอฟพี - รัฐบาลจีนใช้มาตรการจำกัดการเสนอข่าวเกี่ยวกับชุดเอกสาร “ปานามา เปเปอร์ส” ซึ่งเปิดโปงพฤติกรรมการเลี่ยงภาษีของนักการเมืองระดับผู้นำประเทศ มหาเศรษฐี และบุคคลที่มีชื่อเสียงทั่วโลก โดยบล็อกคำค้นหาและลบบทความบางชิ้นที่มีเนื้อหาพัวพันถึงบุคคลในรัฐบาลจีน
       
       เอกสารลับกว่า 11 ล้านฉบับที่รั่วไหลออกมาจากบริษัทกฎหมาย มอสแซก ฟอนเซกา สัญชาติปานามา ได้เปิดโปงพฤติกรรมการซุกซ่อนทรัพย์สินของนักการเมืองและบุคคลผู้มีชื่อ เสียงหลากหลายวงการ รวมไปถึงเพื่อนของประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย, ญาติของอดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ไอซ์แลนด์ ปากีสถาน และประธานาธิบดียูเครน เป็นต้น
       
       สมาคมผู้สื่อข่าวสายสอบสวน นานาชาติ (ICIJ) ซึ่งได้ตีแผ่เนื้อหาบางส่วนจากเอกสารชุดนี้ ระบุว่า เอกสารของ มอสแซก ฟอนเซกา ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทต่างชาติที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครอบครัวของประธานาธิบดี สี่ จิ้นผิง ตลอดจนผู้นำระดับสูงของจีนอีกหลายคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
       
       แม้การมีเงินสดอยู่ในบริษัท ต่างชาติจะไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่ผู้สื่อข่าวที่ได้เอกสารชุดนี้มาระบุว่า มันอาจจะใช้เป็นหลักฐานเปิดโปงการเลี่ยงภาษี การฟอกเงิน การหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร การค้ายาเสพติด และอาชญากรรมในรูปแบบอื่นๆ
       
       แม้สำนักข่าวสารของคณะรัฐมนตรีจีนจะยังไม่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับ ข้อมูลใน “ปานามา เปเปอร์ส” แต่สื่อใหญ่ๆ ที่เป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มหลีกเลี่ยงการเสนอข้อมูลอย่าง เห็นได้ชัด
       
       หากพิมพ์คำว่า “Panama” เพื่อค้นข้อมูลผ่านเสิร์ชเอนจินของจีนก็จะยังเห็นบทความที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่หลายลิงก์ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือไม่ก็เปิดให้เฉพาะลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี่ยงภาษีของนักกีฬาดังๆ เท่านั้น
       
       ทั้งนี้ หากใส่คีย์เวิร์ด “Panama Papers” เป็นภาษาจีน ก็จะมีคำเตือนขึ้นมาว่า บทความเหล่านี้ “ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับ จึงไม่สามารถแสดงได้”

จีนสั่งเซ็นเซอร์ข่าว “แฟ้มลับปานามา” หลังมีชื่อญาติ “สี่จิ้นผิง” ซุกเงินเลี่ยงภาษี

        หน่วยงานที่กำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตในจีนยังปฏิเสธที่จะตอบคำถามเรื่องนี้
       
       หนังสือพิมพ์โกลบอล ไทม์ส ซึ่งเป็นสื่อแทบลอยด์ทรงอิทธิพลในเครือเดียวกับพีเพิลส์ เดลี ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ระบุในบทบรรณาธิการฉบับวันนี้ (5) ว่า สื่อตะวันตกที่สหรัฐฯ คอยหนุนหลังอยู่มักจะใช้เอกสารรั่วไหลเหล่านี้เป็นเครื่องมือโจมตีประเทศที่ มิใช่ตะวันตก
       
       “สื่อตะวันตกมักจะผูกขาดการตีความทุกครั้งที่มีการเปิดโปงชุดเอกสารเช่นนี้ออกมา และวอชิงตันก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งในเรื่องนี้”
       
       “ข้อมูลใดๆ ก็ตามที่เป็นผลเสียต่อสหรัฐฯ จะถูกปกปิด แต่ถ้าเกี่ยวกับผู้นำที่มิใช่ยุโรป เช่น ประธานาธิบดีปูติน จะถูกกระพือข่าวเสียใหญ่โต”
       
       บทบรรณาธิการของโกลบอลไทม์สซึ่งตีพิมพ์ทั้งในเวอร์ชันภาษาอังกฤษและ จีน ไม่ได้เอ่ยถึงความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลสำคัญของจีนกับข้อมูลในปานามา เปเปอร์ส แม้แต่น้อย
       
       ชุดเอกสารของ มอสแซก ฟอนเซกา ได้ระบุชื่อสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองของจีน (Politburo Standing Committee) ทั้งในอดีตและปัจจุบันอย่างน้อย 8 คน นอกจากนี้ ยังมีชื่อของ “เติ้ง เจียกุย” พี่เขยของประธานาธิบดี สี่ จิ้นผิง ซึ่งไปเปิดบริษัท 2 แห่งไว้ที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จินเมื่อปี 2009 โดยขณะนั้น สี่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการประจำกรมการเมือง แต่ยังไม่ได้เป็นประธานาธิบดี
       
       บุตรสาวของอดีตนายกรัฐมนตรี หลี่ เผิง ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1987-1998 ก็มีชื่ออยู่ในเอกสารปานามา เปเปอร์ส ด้วยเช่นกัน


ปานามา เปเปอร์ส : ลีลาการเลี่ยงภาษีที่พริ้วไหวนอกสนามฟุตบอลของ "ลิโอเนล เมสซี"

โดย MGR Online

      ซุดดอยช์ ไซตุง - ยอดนักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา "ลิโอเนล เมสซี" คืออีกหนึ่งคนดังที่ปรากฏชื่อในเอกสารกว่า 11.5 ล้านหน้าของบริษัทกฏหมายปานามา ที่รั่วไหลจนกลายเป็นข่าวครึกโครมในช่วงนี้ แม้ว่าปัญหาเรื่องการเลี่ยงภาษีจะมีข่าวออกมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ข้อมูลใหม่ที่ถูกเผยออกมา อาจทำให้แกนหลักของทีมบาร์เซโลนารายนี้ตกที่นั่งลำบาก
       
       ลิโอเนล เมสซี ชาวอาร์เจนตินาวัย 28 ปี ได้ถูกยกให้เป็นนักฟุตบอลที่เก่งกาจที่สุดในโลก แต่เสน่ห์ในสนาม ความสามารถและการตัดสินใจอันยอดเยี่ยมในชั่วเสี้ยววินาทีดูเหมือนจะหายไป เมื่อเขาออกจากสนามคัมป์นูของสโมสรบาร์เซโลนา นอกสนามนั้นเขาเหมือนเด็กน้อยผู้ประหม่า ปล่อยให้การตัดสินใจที่สำคัญต่อทิศทางอาชีพของเขา ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน โยนไปให้คนอื่นตัดสินใจ
       
       เรื่องนี้กำลังจะสร้างปัญหาให้เขาในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ลิโอเนล เมสซี จะต้องไปปรากฏตัวในศาล จากข้อกล่าวหาที่เขาต้องสงสัยว่าเลี่ยงภาษีเป็นเงินจำนวน 4.1 ล้านยูโร ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ เมสซีจะต้องใช้ประโยชน์จากเครือข่ายบริษัทในต่างแดนให้พริ้วไหวดังเช่นลีลา ในสนามของเขา
       
       เอกสารข้อมูลธุรกรรมทางการเงินกว่า 11.5 ล้านฉบับที่รั่วไหลออกมาจากบริษัทกฏหมาย "มอสแซค ฟอนเซกา" ในปานามา ที่เรียกกันว่า "ปานามา เปเปอร์ส" ได้เปิดเผยให้เห็นว่า ลิโอเนล เมสซี ดูเหมือนจะครอบครองหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาบังหน้า ซึ่งไม่เคยมีใครรู้ว่ามีตัวตนมาก่อนจนกระทั่งถูกเปิดโปงในครั้งนี้ ถือเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่สืบสวนของสเปนที่พอจะระแคะ ระคายเรื่องนี้มาบ้างแล้ว บริษัทดังกล่าวเคยได้รับการดูแลชั่วคราวโดย "มอสแซค ฟอนเซกา"
       
       บริษัทที่ถูกตั้งขึ้นมาบังหน้านั้นมีชื่อว่า "เมก้า สตาร์ เอนเตอร์ไพรซ์" ช่างเป็นชื่อที่เหมาะสมกับยอดนักฟุตบอลที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก ผู้ซึ่งสามารถจะย้ายไปเล่นที่ไหนก็ได้ แต่ก็ยังเลือกจะอยู่กับบาร์เซโลนาเสมอมา
       
       หลังการถูกตั้งข้อหาเลี่ยงภาษีล่วงรู้ถึงหูสาธารณชน ตอนนั้นทำให้เกิดความวิตกกังวลกันไปทั่วว่าเมสซีอาจจะต้องย้ายไปเล่นที่อื่น เช่นเดียวกับดาวดังในอดีตอย่าง โยฮัน ครอยฟ์ , แบรนด์ ชูสเตอร์ , ดิเอโก มาราโดนา , โรนัลโด้ , หลุยส์ ฟิโก้ , โรนัลดินโญ่
       
       แต่เมื่อไม่กี่เดือนก่อน เมสซียืนกรานว่า เขาจะไม่ย้ายไปสโมสรอื่นในยุโรป โดยบอกว่าจะจบอาชีพการค้าแข้งกับสโมสร นิวเวลส์ โอลด์บอย ซึ่งอยู่ที่บ้านเกิดของเขาในอาร์เจนตินา ถิ่นที่เขาถือกำเนิด สร้างความโล่งใจให้กับบรรดาแฟนบาร์เซโลนา
       
       บาร์เซโลนาดูแลยอดนักเตะรายนี้เป็นอย่างดี ซึ่งเขาก็ตอบแทนด้วยการพาทีมคว้าแชมป์มากมายหลายรายการ ทั้งยังคว้ารางวัลสุดยอดนักเตะของฟีฟ่าได้ถึง 5 ครั้ง รายได้ของเขานั้นมากมายมหาศาลถึงขนาดมีการระบุว่าเขาคือนักฟุตบอลที่มีราย ได้สูงสุดในโลก
       
       สื่อกีฬา "ฟรองซ์ ฟุตบอล" ได้ประเมินว่า เมสซีมีรายได้รวม 65 ล้านยูโรในปี 2015 โดยแบ่งเป็นค่าแรง 36 ล้านยูโร ส่วนที่เหลือเป็นรายได้จากโฆษณา หากนำไปเทียบกับนักเตะรายอื่นในปีเดียวกันก็จะถือว่าเยอะกว่ามาก
       
       บรรดาคนที่มีรายได้เยอะก็มักจะมีเงินเหลือเก็บเยอะด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคนเหล่านี้นำมันไปลงทุนอย่างชาญฉลาด ซึ่งข้อมูลใน "ปานามา เปเปอร์ส" ได้พิสูจน์คำกล่าวนี้ โดยมีบุคคล 5 รายที่แสร้งทำตัวเป็นผู้บริหารของ "เมก้า สตาร์ เอนเตอร์ไพรซ์" ซึ่งคนเหล่านี้ก็ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่แท้จริงของบริษัทนี้ดูเหมือนจะเป็น "ลิโอเนล อันเดรส เมสซี" กับพ่อผู้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการส่วนตัว "ฮอร์เก โฮราชิโอ เมสซี" เพราะข้อมูลใน "ปานามา เปเปอร์ส" ช่วงเดือนมิถุนายน 2013 แสดงให้เห็นว่า ผู้ได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากการตัดสินใจต่างๆ ของบริษัท "เมก้า สตาร์ เอนเตอร์ไพรซ์" ก็คือเมสซี
       
       นับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมต่อข้อกล่าวหาที่หลายคนรู้กันแล้ว เกี่ยวกับการบริหารด้านการเงินของเมสซี ซึ่งนั่นก็มากเพียงพอที่จะทำให้เขาต้องลำบาก โดยในเดือนตุลาคม 2015 ผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ตรวจสอบได้ตัดสินใจให้ ลิโอเนล เมสซี กับพ่อของเขาต้องถูกพิจารณาคดีเนื่องจากต้องสงสัยว่าเลี่ยงภาษี ซึ่งก่อนหน้านั้นสำนักงานอัยการได้ถกกันอย่างหนัก เกี่ยวกับคำร้องที่จะให้ยกเลิกข้อหาทั้งหมดต่อเมสซี แล้วดำเนินคดีกับพ่อของเขาเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังของสเปนได้ยืนกรานว่าต้องตั้งข้อหากับยอดนักฟุตบอลทีมชาติ อาร์เจนตินารายนี้ด้วย นั่นจึงทำให้เมสซีต้องขึ้นศาล
       
       ข้อมูลใน "ปานามา เปเปอร์ส" ช่วยหนุนข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่สืบสวนที่ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2005 เมสซีกับพ่อของเขาได้ขายลิขสิทธิ์ภาพของเมสซีให้กับบริษัทในต่างแดนที่ตั้ง อยู่ในพื้นที่ภาษีต่ำในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ อย่างประเทศเบลีซและอุรุกวัย บริษัทโฆษณาที่อยากใช้รูปของเมสซีในโฆษณาก็จะต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทที่ ตั้งอยู่ในต่างแดน ส่งผลให้สรรพากรของสเปนทำอะไรไม่ได้ ได้แต่มองตาปริบๆ
       
       นอกจากนี้ข้อมูลในเอกสารที่รั่วไหลยังแสดงให้เห็นด้วยว่า บริษัทกฏหมายในปานามาทำหน้าที่เป็นคนกลาง ช่วยจัดตั้งบริษัท "เมก้า สตาร์ เอนเตอร์ไพรซ์" ให้กับเมสซีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ซึ่งนับเป็นจุดเชื่อมโยงแรกต่อข้อหาในสเปน ถัดจากนั้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012 มีการยืนยันว่าเมสซีคือหุ้นส่วนรายเดียวของ "เจนบริล เอส. เอ." อีกหนึ่งบริษัทที่ตั้งขึ้นมาบังหน้าไว้ก่อนแล้ว
       
       จุดเชื่อมโยงที่สองถูกพบในช่วงหน้าร้อนปี 2013 เมื่อการสอบสวนเมสซีถูกประกาศ โดยในวันที่ 12 มิถุนายน 2013 สำนักข่าวอีเอฟอีของสเปนได้รายงานเรื่องการตั้งข้อหาเป็นครั้งแรก แล้วสื่อหลายชาติก็พากันตีข่าว ซึ่งข้อมูลใน "ปานามา เปเปอร์ส" แสดงให้เห็นว่า ในวันต่อมาหลังมีข่าว ทนายความชาวอุรุกวัยของเมสซีก็ได้เขียนอีเมลล์ไปหา มอสแซค ฟอนเซกา แสดงความต้องการว่าอยากจะได้คนมาเป็นผู้บริหารปลอมๆ คอยดูแล "เมก้า สตาร์ เอนเตอร์ไพรซ์" โดยที่จะให้ มอสแซค ฟอนเซกา บริหารบริษัทที่มีแต่เปลือกนอกแห่งนี้ต่ออีกที
       
       ดูเหมือนว่าฝ่ายให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าของ มอสแซค ฟอนเซกา จะสงสัยว่าพวกเขากำลังรับมือกับบริษัทที่มีปัญหา ก็เลยยืนกรานให้มีการทำสัญญาขอยกเว้นความรับผิดชอบใดๆ สัญญาข้อยกเว้นนี้ทำขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ามอสแซคและเหล่าผู้บริหารเก๊จะไม่ ได้รับความเสียหายใดๆ ต่อการร้องเรียนตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ "เมก้า สตาร์ เอนเตอร์ไพรซ์" โดยทาง "ลิโอเนล เมสซี" กับพ่อของเขา "ฮอร์เก โอราชิโอ เมสซี" ได้ลงนามในสัญญานี้เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2013
       
       ข้อมูลใน "ปานามา เปเปอร์ส" ไม่ได้เปิดเผยชัดเจนว่าบทบาทหลักของ "เมก้า สตาร์" เป็นอย่างไรในเครือข่ายบริษัทเทียมที่ตั้งขึ้นมาบังหน้าของเมสซี แต่มีเอกสารหน้าหนึ่งที่ระบุว่า มันถูกใช้ลงทุนเพื่อทำ "ธุรกิจทั่วไป" ซึ่งเอกสารที่รั่วไหลเหล่านี้ก็ไม่ได้เผยให้เห็นถึงสัญญาหรือการทำธุรกรรม ทางการเงินของเมก้าสตาร์ ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะมีใครคนอื่นที่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน สังเกตได้จากจดหมายซึ่งระบุวันที่ 23 มิถุนายน 2013 พ่อลูกตระกูลเมสซี ได้บอกกับมอสแซคอย่างมั่นใจว่า พวกเขาจะช่วยในการมอบฉันทะ ซึ่งนั่นจะช่วยให้ผู้ได้รับมอบสามารถเปิดบัญชีต่างๆ ทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือดำเนินการทำสัญญาใดๆ ได้โดยไม่ต้องถึงมือเจ้าของบริษัท หากอัยการสเปนยังไม่คุ้นเคยกับ "เมก้า สตาร์ เอนเตอร์ไพรซ์" พวกเขาอาจสนใจอยากจะตามหาว่าใครคือผู้ได้รับมอบฉันทะ
       
       ถึงกระนั้น แม้จะมีชื่อของเมสซีปรากฏอยู่ในสัญญาต่างๆ ของเมก้าสตาร์ แถมยอดนักเตะผู้นี้ยังลงนามด้วยตัวเอง แต่ดูเหมือนว่าเขาได้ชี้แจงเรื่องนี้ไว้ในคำแก้ต่างสำหรับการพิจารณาคดีที่ จะมาถึง ที่เมสซีระบุว่า "ผมไม่เคยดูสิ่งที่ผมเซ็น ถ้าพ่อผมบอกว่าควรเซ็น ผมจะหลับตาเซ็นเลย" เขายังเคยบอกด้วยว่า "ผมเซ็นในสิ่งที่พ่อผมบอกว่าควรเซ็น ผมไม่ดู ไม่สนใจ ไม่ตั้งคำถามใดๆ"
       
       การอ้างเหตุผลลักษณะนี้เคยมีให้เห็นมาแล้วในเยอรมนี แทบจะเป็นกลยุทธแบบเดียวกับที่ "ฟรานซ์ เบคเคนบาวเออร์" เคยใช้เมื่อครั้งตกเป็นข่าวฉาวโฉ่กรณีฟุตบอลโลกปี 2006 ซึ่งตอนนั้นทางไกเซอร์ฟรานซ์อ้างว่าเขาเซ็นทุกอย่างที่ได้รับจากที่ปรึกษา ของเขา


'ปานามาเปเปอร์'แผลงฤทธิ์หนัก ทั่วโลกตื่นสอบ 'กิจการออฟชอร์' คนดัง ด้านจีน-รัสเซีย งยัวะ' ระบุเป็นแผนร้ายของสหรัฐฯ-ซีไอเอ

โดย MGR Online

       เอเจนซีส์ – “ปานามา เปเปอร์” แผลงฤทธิ์ ทั่วโลกตื่นเร่งตรวจสอบกิจกรรมการเงินออฟชอร์ของเหล่ามหาเศรษฐีและผู้ทรง อิทธิพล ขณะที่คนดังและสถาบันการเงินที่มีชื่อในเอกสารลับดังกล่าวร้อนตัวชักแถวยืน ยันความบริสุทธิ์กันจ้าละหวั่น ด้านจีนจำกัดการเข้าถึงรายงานนี้ซึ่งมีชื่อครอบครัวผู้นำติดร่างแหด้วย และหนังสือพิมพ์ของทางการประณามว่า เป็นแผนการของสื่อตะวันตกที่มีวอชิงตันหนุนหลัง ซึ่งมุ่งหวังโจมตีผู้นำในซีกโลกอื่น เช่นเดียวกับโฆษกวังเครมลิน ที่บอกว่าจุดมุ่งหมายของการปล่อยเอกสารรั่วไหลคราวนี้ซึ่งซีไอเอมีส่วน เกี่ยวข้อง คือทำลายเสถียรภาพรัสเซีย และ “ปูติน” ตกเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด
       
        เรื่องอื้อฉาวอันใหญ่โตกว้างขวางนี้ เริ่มปะทุออกมาในวันอาทิตย์ (3) เมื่อสมาคมผู้สื่อข่าวสายสืบสวนนานาชาติ (ไอซีไอเจ) ที่จับมือกับกลุ่มสื่อในหลายประเทศ เปิดเผยผลการสืบค้นที่ใช้เวลาหนึ่งปีเต็ม จากเอกสารลับมากมายถึง 11.5 ล้านฉบับของมอสแส็ก ฟอนเซกา บริษัทกฎหมายปานามาที่เชี่ยวชาญการจัดตั้ง “บริษัทเปลือก” โดยในเอกสารรั่วไหลออกมาเหล่านี้ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “ปานามา เปเปอร์ส” ปรากฏชื่อของผู้ใกล้ชิดประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน, ญาติของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน รวมถึงนายกรัฐมนตรีซิกมุนดูร์ เดวิด กุนน์ลอกสันของไอซ์แลนด์, ประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก แห่งยูเครน, ประธานาธิบดีมอริซิโอ มาครี ของอาร์เจนตินา, กษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย, นายกรัฐมนตรีนาวาซ ชารีฟ แห่งปากีสถาน, บิดานายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ, และดาวซัลโวบาร์เซโลนา ลิโอเนล เมสซี, เฉิน หลง หรือ แจ๊กกี้ ชาน ซุปตาร์หนังกังฟูชาวฮ่องกง, ตลอดจนบุคคลสำคัญอีกมากมาย
       
        เอกสารเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่า บ่อยครั้งมากที่ธนาคาร บริษัทกฎหมาย และบริษัทออฟชอร์ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งมุ่งวางกอรบให้แน่ใจว่า ลูกค้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมาย, การหลบเลี่ยงภาษี, หรือการทุจริตทางการเมือง
       
        ตัวบริษัทมอสแส็ก ฟอนเซกาเอง กำลังถูกสอบสวนในเยอรมนีและบราซิล โดยเฉพาะประเทศหลังที่เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบการฟอกเงินจำนวนมหาศาลนั้น อาจถึงขั้นทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันล้มครืนได้ทีเดียว

'ปานามาเปเปอร์'แผลงฤทธิ์หนัก  ทั่วโลกตื่นสอบ 'กิจการออฟชอร์' คนดัง  ด้านจีน-รัสเซีย งยัวะ' ระบุเป็นแผนร้ายของสหรัฐฯ-ซีไอเอ

ภาพสำนักงานใหญ่ของธนาคารยักษ์แห่งต่างๆ ซึ่งปรากฏใน “ปานามา เปเปอร์” ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการซุกซ่อนหลักทรัพย์ออฟชอร์บางรายการ (จากซ้ายไปขวา แถวบนลงล่าง) ธนาคารโซซิเอเต้ เยเนอราล ของฝรั่งเศส, ยูบีเอส ของสวิตเซอร์แลนด์, เอชเอสบีซี ของอังกฤษ, ดอยช์แบงก์ ของเยอรมนี, นอร์เดีย ของสวีเดน, เครดิต สวิส ของสวิตเซอร์แลนด์

        ในการเคลื่อนไหวแสดงปฏิกิริยาจากการแฉโพยอื้อฉาวล่าสุดคราวนี้ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ออสเตรีย สวีเดน และเนเธอร์แลนด์ เป็นส่วนหนึ่งของนานาประเทศที่ประกาศเริ่มการสอบสวนแล้ว ขณะที่บางประเทศซึ่งรวมถึงอเมริกาบอกว่า กำลังตรวจสอบเรื่องนี้
       
        มอสแส็ก ฟอนเซกาที่เป็นธุระก่อตั้งบริษัทออฟชอร์กว่า 240,000 แห่งให้ลูกค้าทั่วโลก โดยได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารกว่า 500 แห่งนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำอะไรผิด ซ้ำบอกว่า ตัวเองตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว อีกทั้งอ้างว่า รายงานของสื่อทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรูปแบบการทำธุรกิจของบริษัท
       
        เช่นเดียวกันแบงก์เครดิต สวิส และแบงก์เอชเอสบีซี สองผู้จัดการทรัพย์สินรายใหญ่สุดของโลก ออกมาปฏิเสธเมื่อวันอังคาร (5) ว่า ไม่ได้ใช้โครงสร้างธุรกิจออฟชอร์ช่วยลูกค้าฉ้อโกงภาษี
       
        ทั้งนี้ตามรายงานการสืบสวนของไอซีไอเจและองค์กรสื่ออีกหลายแห่ง เครดิต สวิสและเอชเอสบีซี มีรายชื่ออยู่ในหมู่ธนาคารที่ช่วยจัดตั้งโครงสร้างซับซ้อนที่สร้างปัญหาแก่ หน่วยงานสรรพากรและเจ้าหน้าที่สอบสวนในการติดตามการยักย้ายเงินจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง
       
        นอกจากนั้นเมื่อสองปีที่แล้ว เครดิต สวิสเพิ่งตกลงจ่ายค่าปรับ 2,500 ล้านดอลลาร์ให้ทางการสหรัฐฯ จากการช่วยเหลือเศรษฐีอเมริกันเลี่ยงภาษี ส่วนเอชเอสบีซีตกลงจ่ายค่าปรับ 1,920 ล้านดอลลาร์ จากการฟอกเงินให้พ่อค้ายาเสพติดเม็กซิโก

'ปานามาเปเปอร์'แผลงฤทธิ์หนัก  ทั่วโลกตื่นสอบ 'กิจการออฟชอร์' คนดัง  ด้านจีน-รัสเซีย งยัวะ' ระบุเป็นแผนร้ายของสหรัฐฯ-ซีไอเอ

นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ ขณะไปปราศรัยที่เมืองเบอร์มิงแฮม ทางตอนกลางของอังกฤษเมื่อวันอังคาร (5 เม.ย.) คาเมรอนกำลังถูกกดดันหนักให้ออกมาอธิบาย หลัง “ปามานา เปเปอร์” ระบุว่า บิดาผู้ล่วงลับของเขา ได้เคยบริหารกองทุนออฟชอร์ซึ่งหลบเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีให้อังกฤษมาเป็นเวลา 30 ปี

       เอกสารที่รั่วไหลจากมอสแส็ก ฟอนเซกา ยังระบุถึงบริษัทออฟชอร์ที่เชื่อมโยงกับครอบครัวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และผู้นำในอดีตและปัจจุบันอีกหลายคนของจีน
       
        ช่วงแรกๆ ถึงแม้ปักกิ่งยังไม่ได้ออกมาตอบโต้ข้อกล่าวหานี้อย่างเปิดเผย แต่เริ่มมีการจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์หลายแห่ง หรือไม่ผู้ใช้ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะส่วนที่เป็นข้อกล่าวหานักกีฬาดัง เท่านั้น
       
        ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์โกลบัล ไทมส์ ซึ่งอยู่ในเครือหนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้าของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุในบทบรรณาธิการฉบับวันอังคารว่า สื่อตะวันตกที่ได้รับการสนับสนุนจากวอชิงตัน ใช้เอกสารที่รั่วไหลนี้โจมตีนักการเมืองในประเทศนอกซีกโลกตะวันตก แต่กลับงุบงิบรายงานเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับผู้นำตะวันตกแบบเสียไม่ได้
       
        ต่อมา ระหว่างการแถลงข่าวตามปกติของกระทรวงการต่างประเทศจีนในวันอังคาร (5) เมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามว่าจีนจะทำการสอบสวนบุคคลซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในเอกสาร ลับรั่วไหลของบริษัทกฎหมาย มอสแส็ก ฟอนเซกา หรือไม่ หง เหล่ย โฆษกกระทรวงกล่าวตอบว่า “สำหรับการกล่าวหากันอย่างไม่มีมูลเช่นนี้ ผมไม่ขอออกความเห็นใดๆ”

'ปานามาเปเปอร์'แผลงฤทธิ์หนัก  ทั่วโลกตื่นสอบ 'กิจการออฟชอร์' คนดัง  ด้านจีน-รัสเซีย งยัวะ' ระบุเป็นแผนร้ายของสหรัฐฯ-ซีไอเอ

รามอน ฟอนเซกา หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทกฎหมาย มอสแส็ก ฟอนเซกา ในปามานา ขณะให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์เตเลเมโตร ในกรุงปานามาซิตี เมื่อวันจันทร์ (4 เม.ย.)

        ทางด้านรัสเซีย ซึ่งเอกสารรั่วไหลเหล่านี้ชี้ว่าพวกผู้ช่วยใกล้ชิดของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เกี่ยวข้องโยงใยกับข้อตกลงต่างแดนและเงินกู้อันมีเงื่อนงำรวมเป็นมูลค่าถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกวังเครมลิน ออกมาแถลงตอบโต้ในวันจันทร์ (4) ว่า “ปูติน, รัสเซีย, ประเทศของเรา, เสถียรภาพของเรา, และการเลือกตั้ง (ในรัสเซีย) ที่กำลังจะมีขึ้น เหล่านี้คือเป้าหมายหลัก มุ่งเฉพาะเจาะจงที่จะสั่นคลอนเสถียรภาพของสถานการณ์”
       
        “เราทราบกันดีว่าสิ่งที่เรียกกันว่าเป็นประชาคมนักหนังสือพิมพ์นี้ มีนักหนังสือพิมพ์จำนวนมากทีเดียวซึ่งอาชีพหลักของพวกเขาไม่ได้เหมือนกับการ ทำหนังสือพิมพ์เลย จำนวนมากเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ, ซีไอเอ (สำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ), และหน่วยงานพิเศษอื่นๆ”
       
        เปสคอฟ ซึ่งตัวเขาเองก็ปรากฏชื่อในเอกสารลับรั่วไหลเหล่านี้ด้วย กล่าวว่าในเอกสารเหล่านี้ “ไม่มีอะไรใหม่หรือเป็นรูปธรรมชัดเจน” ในการกล่าวหาปูติน ขาดทั้งรายละเอียด และ “ทั้งหมดวางอิงอยู่กับการกล่าวหาและการคาดเดา” โดยเป็นเพียงการมุ่งอาละวาดแสดงอารมณ์ความรู้สึกของ “การหวาดกลัวปูติน” (Putinophobia) เท่านั้น
       
        เขากล่าวย้ำด้วยว่า วังเครมลินจะไม่ตอบโต้ข้อกล่าวหาต่างๆ เหล่านี้ “สืบเนื่องจากสิ่งที่ผมได้กล่าวมาแล้วนี้ เราจึงไม่ได้มีความต้องการที่จะตอบโต้ และเราก็จะไม่ทำการตอบโต้” เขาระบุ
       
        ส่วนที่กรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของไอซ์แลนด์ ปรากฏว่าประชาชนนับพันคนชุมนุมบนท้องถนนเมื่อวันจันทร์ (4) เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก จากข้อหาใช้บริษัทออฟชอร์ซุกการลงทุนมูลค่าหลายล้านดอลลาร์
       
        สำหรับประธานาธิบดีฆวน คาร์ลอส วาเรลา ของปานามา เขาประกาศให้ความร่วมมือในการสืบสวนระหว่างประเทศ รวมทั้งจะเริ่มการสอบสวนเพื่อระบุว่า มีการก่ออาชญากรรมและมีความเสียหายทางการเงินเกิดขึ้นหรือไม่ ควบคู่ไปกับการปกป้องภาพลักษณ์ของประเทศ
       
        ทั้งนี้ การดำเนินการทางการเงินออฟชอร์ ในตัวมันเองประเทศต่างๆ ไม่ได้ถือว่าผิดกฎหมาย แต่อาจถูกใช้เป็นช่องทางซ่อนทรัพย์สินจากหน่วยงานสรรพากร ฟอกเงินที่ได้จากอาชญากรรม หรือปิดบังทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบหรือไม่ชอบมาพากลทางการเมือง
       
        ปานามา เปเปอร์ส รั่วไหลจากแหล่งข่าวที่ไม่มีการระบุนาม ไปถึงมือหนังสือพิมพ์ซุดดอยช์ เซตุงของเยอรมนี และไอซีไอเจนำไปแบ่งปันกับกลุ่มสื่อกว่า 100 กลุ่ม โดยคาดว่ายังจะมีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้


The Panama Papers leak, explained with an adorable comic about piggy banks

Updated by and on April 4, 2016, 2:40 p.m. ET

It's easy to get confused by all the headlines about the Panama Papers, a massive 2.6-terabyte leak of documents that reveals a global web of corruption and tax avoidance. But Vox's German Lopez uncovered a great explanation of what's happening, and it's courtesy of brilliant redditor DanGliesack.

He uses piggy banks to help explain the main (and complicated-sounding) thing that was happening in Panama: foreigners setting up Panamanian shell companies to hold financial assets that obscure the identities of their real owners. We thought this analogy was quite fitting for a comic, so we created these illustrations to explain the key issue at the heart of the Panama Papers scandal.

Let's say you save your quarters in a piggy bank that is on your closet shelf.

But your mom keeps checking up on how much you're putting in and taking out.

You don't like that.

So you get an extra piggy bank...

...and take it to Johnny's house.

Johnny's mom is busy. She doesn't check piggy banks. So you can secretly keep yours there without anyone checking up on it.

The neighborhood kids also think this is a good idea.

So they also put their piggy banks in Johnny's closet.

But one day, Johnny's mom finds the piggy banks.

She's mad and calls everyone's parents to tell on the kids hiding their money.

That's basically today's document leak — and a lot of important and powerful people hid their piggy banks at Johnny's house in Panama.

Not everyone was doing something bad, though. For example, you just wanted privacy from your mom.

But your neighbor Michael was stealing money from his mom's purse and hiding it in Johnny's closet. And Jacob was stealing other people's lunch money and didn't want his parents to ask where it came from.

Soon we'll know who was doing this for bad reasons and who wasn't.

But everyone who hid their piggy bank at Johnny's house is still in trouble, because secret piggy banks are not allowed.

So journalists are now scouring the records to better understand what type of activity was going on at Johnny's house in Panama — whether it was legal, appropriate, or a bending of the law. To read more of Vox's coverage of the Panama Papers


Panama Papers: a massive document leak reveals a global web of corruption and tax avoidance

Updated by on April 3, 2016, 9:30 p.m. ET

Mossack Fonseca is not a household name, but the Panamanian law firm has long been well-known to the global financial and political elite, and thanks to a massive 2.6-terabyte leak of its confidential papers to the International Consortium of Investigative Journalists it's about to become much better known. A huge team of hundreds of journalistsis poring over the documents they are calling the Panama Papers.

The firm's operations are diverse and international in scope, but they originate in a single specialty — helping foreigners set up Panamanian shell companies to hold financial assets while obscuring the identities of their real owners. Since its founding in 1977, it's expanded its interests outside of Panama to include more than 40 offices worldwide, helping a global client base work with shell companies not just in Panama but also the Bahamas, the British Virgin Islands, and other notorious tax havens around the world.

The documents provide details on some shocking acts of corruption in Russia, hint at scandalous goings-on in a range of developing nations, and may prompt a political crisis in Iceland.

But they also offer the most granular look ever at a banal reality that's long been hiding in plain sight. Even as the world's wealthiest and most powerful nations have engaged in increasingly complex and intensive efforts at international cooperation to smooth the wheels of global commerce, they have willfully chosen to allow the wealthiest members of Western society to shield their financial assets from taxation (and in many cases divorce or bankruptcy settlement) by taking advantage of shell companies and tax havens.

If Panama or the Cayman Islands were acting to undermine the integrity of the global pharmaceutical patent system, the United States would stop them. But the political elite of powerful Western nations have not acted to stop relatively puny Caribbean nations from undermining the integrity of the global tax system — largely because Western economic elites don't want them to.

What's a shell company? Why would someone want one?

Sometimes a person or a well-known company or institution wants to buy things or own assets in a way that obscures who the real buyer is.

The typical reason for this is a kind of routine corporate secrecy. Apple, for example, appears to have created a shell company called SixtyEight Research that journalists believe to be a front for its interest in building a car. Since Apple happens to be the most covered company on the planet, this hasn't been incredible effective — and when SixtyEight Research staff showed up at an auto industry conference, everybody noticed.

But in general, companies don't like to tip their hand to what they are doing, and the use of shell companies to undertake not-ready-for-public-announcement projects can be a useful tool.

Shell companies are often used for simple privacy reasons. Real estate transactions, for example, are generally a matter of public record. So an athlete, actor, or other celebrity who wants to buy a house without his name and address ending up in the papers might want to pay a lawyer to set up a shell company to do the purchasing.

Okay, but how about the shady stuff?

As is generally the case in life, secrecy can have illegitimate purposes as well. This is particularly true for shell companies set up in international centers of banking secrecy that offer a level of anonymity and obscurity that goes beyond simply making it hard to look up the real owner's name online.

Your soon-to-be-ex-wife cannot seize half of the money in an account that she and her lawyers don't know exists and can't prove that you own, for example. Nor can your creditors seize such an account in a bankruptcy proceeding. Nor can the government levy estate taxes on it when you die and pass it on to your kids. In all those circumstances, a Panamanian company that you secretly control and that holds stocks, bonds, and other financial assets on your behalf could be the ideal vehicle.

By the same token, if you have made a bunch of money illegally (taking bribes, trafficking drugs, etc.) you need to do something with the money that won't attract the attention of the authorities or the media. A secret offshore shell company is perfect. Not only does it help you avoid scrutiny in real time, but if you are found out its assets can't be taken from you if you have to flee the jurisdiction or even serve jail time.

But even though various criminal money-laundering schemes are the sexiest possible use of shell companies, the day-to-day tax dodging is what really pays the bills. As a manager of offshore bank accounts told me years ago, "People think of banking secrecy as all about terrorists and drug smugglers, but the truth is there are a lot of rich people who don't want to pay taxes." And the system persists because there are a lot of politicians in the West who don't particularly want to make them.

What do the Panama Papers show?

As you would imagine, there is quite a lot in the 2.6 terabytes. Here are a few of the highlights the team found, with links to the full stories where you can read the details:

The International Consortium of Investigative Journalists has a full profile of political figures and their relatives named in the Panama Papers for your reading pleasure.

But though political corruption is fun and newsy, the document dump also features a leaked memorandum from a Mossack Fonseca partner revealing the more boring truth that "[n]inety-five per cent of our work coincidentally consists in selling vehicles to avoid taxes."

How much money is there in offshore tax havens?

A big part of the idea, of course, is to make it hard for anyone to know for sure.

But Gabriel Zucman, an economics professor at UC Berkley, has made the most detailed study of the question for his book The Hidden Wealth of Nations, and estimates that it totals at least $7.6 trillion. That's upward of 8 percent of all the world's financial wealth, and it's growing fast. Zucman estimates that offshore wealth has surged about 25 percent over the past five years.

Much of that reflects "new money" from China and other developing nations whose citizens to an extent have legitimate fears about political stability and the rule of law.

But some of it is simple avarice. The name of Ian Cameron, the late father of British Prime Minister David Cameron, shows up in the Panama Papers, for example. Mossack Fonseca helped him set up his investment company Blairmore Holdings (named after his family's ancestral country estate) in the British Virgin Islands, where, marketing material assured investors, the company "will not be subject to United Kingdom corporation tax or income tax on its profits."

This particular kind of move is perfectly legal and doesn't even involve any secrecy. It is entirely typical for investment companies whose employees all work or reside in New York, London, or Connecticut to be domiciled for tax purposes in someplace like the Cayman Islands. Since these companies don't own much in the way of physical assets, they can be officially located anywhere in the world and naturally choose to locate in jurisdictions where they won't need to pay taxes.

Why doesn't anyone do anything about this?

To an extent, things have been done.

First the war on drugs and then, more recently, the war on terror led to meaningful political pressure on countries around the world to alter their banking practices so as to reduce global money laundering. More recently, the European Union has successfully pressured Switzerland to change its laws to make it easier for the EU to catch people engaged in criminal tax evasion.

But there's a big difference between tax evasion — illegally refusing to pay taxes you owe, and then taking advantage of secret accounts to try to hide the money and get away with it — and tax avoidance, which is hiring clever people to help you find and exploit legal loopholes to minimize your tax bill.

Incorporating your hedge fund in a country with no corporate income tax even though all your fund's employees and investors live in the United States is perfectly legal. So is, in most cases, setting up a Panamanian shell company to own and manage most of your family's fortune.

Tax avoidance is an inevitable feature of any tax system, but the reason this particular form of avoidance grows and grows without bounds is that powerful politicians in powerful countries have chosen to let it happen. As the global economy has become more and more deeply integrated, powerful countries have created economic "rules of the road" that foreign countries and multinational corporations must follow in order to gain lucrative market access.

Establishing some kind of minimum global standard of taxation of corporate and investment income hasn't been done, because it hasn't been a political priority. In the United States, in particular, the Republican Party fights quite hard for the view that high levels of taxation on rich people and investment income are economically ruinous, so there isn't the kind of institutional mobilization that exists around drug trafficking or possible terrorism financing.

The leak of the Panama Papers is significant in part because of the specific information the documents contain, but more broadly because they draw attention to what "everyone knows" and may put public pressure on the powers that be to do something about it.


Panama Papers: why tax havens matter, in one chart

Updated by on April 5, 2016, 8:30 a.m. ET

The use of shell companies and tax havens isn't new, but it's an increasingly important subject, and not just because the Panama Papers leaks have it in the news. According to estimates from UC Berkley economist Gabriel Zucman, the share of global wealth being held in these kinds of structures has skyrocketed over the past quarter-century:

 Gabriel Zucman

Pretty much any tax regime you can think of is going to have some exploitable loopholes. If you don't do anything to change the system, over time those loopholes are going to be found, publicized, exploited, and expanded. Eventually, their use becomes so simple and routinized that whole industries are dedicated to guiding tax avoiders through the process and foreign economies (like the Cayman Islands) are based on protecting the gains.

In a functioning political system, this becomes a cat-and-mouse game where the government closes the loopholes and the lawyers and accountants try to keep discovering news ones. But across much of the world, the cats — inspired by anti-tax ideology — have been deliberately falling further and further behind, and the mice are acting with more impunity. That's what you see on this chart.

The result is a world in which it's hardly fair to call things like tax shelters in Panama "loopholes" anymore. They are a visible, persistent part of the global tax system, and the authorities behind that system have implicitly signaled that it is safe and even acceptable to use them.


The Panama Papers, explained in a short, simple story about piggy banks

Updated by on April 4, 2016, 1:30 p.m. ET

At 2.6 terabytes, the massive leak of confidential documents now known as the Panama Papers offers a deep, complicated look at an international web of corporate finance, corruption, and tax avoidance.

But the heart of the story — a bunch of individuals and organizations storing their money in secret offshore locations like Panama — isn't that complicated. Over at Reddit, user DanGliesack gave one of the best explanations I've read yet:

When you get a quarter you put it in the piggy bank. The piggy bank is on a shelf in your closet. Your mom knows this and she checks on it every once in a while, so she knows when you put more money in or spend it.

Now one day, you might decide "I don't want mom to look at my money." So you go over to Johnny's house with an extra piggy bank that you're going to keep in his room. You write your name on it and put it in his closet. Johnny's mom is always very busy, so she never has time to check on his piggy bank. So you can keep yours there and it will stay a secret.

Now all the kids in the neighborhood think this is a good idea, and everyone goes to Johnny's house with extra piggy banks. Now Johnny's closet is full of piggy banks from everyone in the neighborhood.

One day, Johnny's mom comes home and sees all the piggy banks. She gets very mad and calls everyone's parents to let them know.

Now not everyone did this for a bad reason. Eric's older brother always steals from his piggy bank, so he just wanted a better hiding spot. Timmy wanted to save up to buy his mom a birthday present without her knowing. Sammy just did it because he thought it was fun. But many kids did do it for a bad reason. Jacob was stealing people's lunch money and didn't want his parents to figure it out. Michael was stealing money from his mom's purse. Fat Bobby's parents put him on a diet, and didn't want them to figure out when he was buying candy.

Now in real life, many very important people were just caught hiding their piggy banks at Johnny's house in Panama. Today their moms all found out. Pretty soon, we'll know more about which of these important people were doing it for bad reasons and which were doing it for good reasons. But almost everyone is in trouble regardless, because it's against the rules to keep secrets no matter what.

As Vox's Matt Yglesias explained, chances are most of the people involved hid their money in a way that's technically legal in order to avoid taxes. And it's something that's been going on for decades due to bad policy, allowing big businesses to dodge taxes in a shady but legally permissible manner.

Still, this isn't the kind of behavior that Americans want giant corporations engaging in. After all, this is money that should be going to US coffers but just isn't. So even those who did everything by the book are in trouble — and the big controversy may convince lawmakers to finally do something about the corporate tax system.


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รู้จัก ปานามา เปเปอร์ แบบเข้าใจง่าย เด็ก 5 ขวบ อ่านก็รู้เรื่อง

view