สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พูดจาภาษา Startup (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ Thai Startup Cafe

โดย พงศ์พีระ ชวาลาธวัช www.facebook.com/thaistartupcafe

ตอนที่แล้วผมพูดค้างไว้ในเรื่องคำศัพท์ Startup ที่คนในวงการจะต้องพูดภาษาเดียวกันให้ได้ 

ถ้าใครที่อยากกลับไปอ่านตอนที่แล้ว สามารถหาอ่านตอนที่แล้วได้ที่เว็บไซต์ของประชาชาติฯ (prachachat.net) หรือจากเพจ Facebook ของผม ก่อนเราจะมาเริ่มหมวดตัว S ต่อกันเลยครับ

Serial Entrepreneur คือ เถ้าแก่ 

Startup ที่มีไอเดียธุรกิจเยอะมาก และล้มเหลวไปมากเช่นกัน คำว่า "มาก" ในที่นี้คงวัดเป็นจำนวนไม่ได้ แต่ลอง

นึกถึงเถ้าแก่ที่มีไอเดียปีละสัก 3 ไอเดีย เปิดปิดกิจการปีละ 2-3 ที่นั้นก็คงไม่น้อยทีเดียว

The Space ในภาษาธุรกิจเมืองไทยเราจะเรียกว่า "ตลาด" ก็จะเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว แต่ในวงการ Startup นั้น บางครั้งตลาดมีการคาบเกี่ยวไปในตลาดอื่นค่อนข้างมาก ทำให้บัญญัติให้ครอบคลุมทั้งตลาดเป็นไปได้ยาก จึงทำให้เกิดคำพูดว่า The Space ซึ่งแปลว่า เป็นพื้นที่ที่ Startup เข้าไปทำกิจกรรมทางการตลาด เพื่อให้คนหรือลูกค้าที่อยู่ในตลาดนั้น

เข้ามาใช้สินค้าหรือบริการจาก Startup 

นั้น ๆ เราก็จะเรียกว่า The Space อย่างไรก็ตาม อย่าไปสับสนกับคำว่า Coworking Space นะครับ เพราะนั่นคือที่สิงสถิตเหล่า Startup ครับ

"VC" ซึ่งมาจากคำเต็ม ๆ ว่า Venture Capitalist คือบุคคลผู้ซึ่งดูภายนอกร่ำรวย มีเงิน และออร่าตลอดเวลา เพราะมีเสียงลือมาว่าเขาชอบเอาเงินมาให้เหล่าคนทำ Startup เพื่อแลกกับหุ้นส่วนในบริษัทของ Startup นั่นเอง 

อีกความหมายหนึ่งของ VC นั้น ใช้เป็นคำเรียกสถาบันการเงินที่เอาเงินคนอื่นมาลงทุนใน Startup ให้แทน ซึ่งอาจเรียกว่า Venture Capital Company ก็ได้

"OPM" ย่อมาจาก Other people"s money หรือ เงินคนอื่น ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นสิ่งแรก ๆ ที่คนอยากทำ Startup คิดถึงว่าเราซื้อโอกาสเข้ามาเป็นเงินลงทุนโดยกระจายความเสี่ยงออกไป

เป็นหุ้นส่วน ช่วงที่ผมเข้ามาวงการใหม่ ๆ 

ถึงกับมีคำพูดเลยทีเดียวว่า OPM นั้นมาจาก 3F คือ Friends Family and Fools นั่นคือ เพื่อน ครอบครัว และไอ้โง่ (ที่ไหนก็ไม่รู้)

We are doing great แปลตรง ๆ ว่า เรากำลังไปได้สวย แต่จริง ๆ แล้ว

ใน Silicon Valley เขามักจะแซวกันว่า เวลาคุณเดินไปเจอคนที่ทำ Startup แล้วคุณถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเขาตอบกลับมาว่า We are doing great แบบไม่ได้ใส่รายละเอียดหลังจากคำพูดนี้มากนักก็ชัดเจนว่ามักจะแปลว่า We are not doing great คือเรากำลังแย่นั่นเอง

We are growing 500% week over week แปลตรงตัวว่า ฐานลูกค้าของเราเติบโตถึง 500% ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว ซึ่งคำพูดนี้จริง ๆ ไม่แปลกที่คนในธุรกิจไหน ๆ เขาก็คุยกัน แต่ Startup จะชอบพูดอวดการโตของตัวเองเพื่อเพิ่มมูลค่า Startup และความน่าสนใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยแทบจะทุกครั้งคำว่าโต 500% นั้น มักจะหมายถึงว่าสัปดาห์นี้ Platform ของเขามีคนมาใช้ 1 คน และอีกสัปดาห์มีคนมาเพิ่มอีก 5 คนเป็น 6 คน ซึ่งก็ไม่ได้โกหกแต่เป็นการพูดเพิ่มมูลค่าของบริษัทนั่นเอง

We are not currently raising แปลว่า 

เราไม่ได้กำลังระดมทุนอยู่ แต่จริง ๆ แล้วเวลาคน Startup พูดกับเพื่อน ๆ Startup ด้วยกัน ว่าเราไม่ได้ระดมทุนอยู่ มักจะหมายถึงว่า เราระดมทุนอยู่ นั่นเอง แต่เหตุผลที่บาง Startup พูดในทางตรงกันข้ามนั้น ตัวผมเองก็เคยเจอมากับตัวเหมือนกัน ว่าวันนี้คุย ๆ กันอยู่ก็ไม่ได้ระดมทุน ตื่นมาอีกวันข่าวลงเต็ม Social เลยว่าได้รับทุนเป็นล้าน ๆ ซึ่งเหตุผลมีหลากหลายครับ เช่น ระดมทุนอยู่ แต่เนื่องจากเซ็น NDA ไว้ เลยทำให้ไม่สามารถพูดได้ หรือบางรายจะเลือกคุยเรื่องการระดมทุนกับ VC ที่เชื่อถือได้เท่านั้น เพื่อเป็นการไม่สร้างกระแสลบกับวงการ ซึ่งอาจจะคิดในแง่ลบได้ว่า Startup อาจจะ Burn เงินไปจนเกือบหมดแล้ว เป็นต้น

"UI/UX" ย่อมาจาก User Interface ส่วน "UX" นั้นคือ User Experience อธิบายแค่นี้งงแน่ ๆ ผมเองก็งงตอนเข้าวงการใหม่ ๆ วิทยากรพูดว่า UI/UX ต้องเรียบหรูดูดี ที่สำคัญต้องให้ผู้ใช้ ใช้ให้เข้ามือและเข้ากับพฤติกรรมเดิมของเขาให้ได้ ซึ่ง UI นั้นก็คือหน้าตาของโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น App หรือเว็บไซต์เองก็ตาม ต้องใช้งานง่ายเรียบหรูดูดี 

ส่วน UX นั้นคือการจำลองพฤติกรรมของผู้ใช้ ว่าจริง ๆ แล้วคนเรามักจะมีนิสัยการกด การดู การอ่าน ยังไงที่เหมาะกับตัวผู้ใช้ที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าในการทำทั้งสองอย่างนี้ต้องใช้การลองผิดลองถูกเยอะเหมือนกันครับ แต่ก็เพื่อลูกค้า นัก Startup ทำได้ทุกอย่าง

We are design-centric organization 

แปลตรงตัวว่า เราเป็นบริษัทที่เน้นการออกแบบเป็นหลัก ซึ่งจริง ๆ มักจะหมายถึงว่า ในบริษัทของเรานั้นไม่มีใครเขียนโปรแกรมได้เลย แน่นอนครับว่าเป็นมุกฝรั่งขำ ๆ แต่เมื่อผมทำ Startup จริง ๆ แล้ว เลยรับรู้ได้ทันทีว่าการหาโปรแกรมเมอร์ดี ๆ สักคนนั้นยากเสียยิ่งกว่าหาไอเดียการทำ Startup เสียอีก 

นั่นเป็นเพราะว่าโปรแกรมเมอร์หลาย ๆ คนก็รู้ว่าการทำงานให้กับ Startup นั้น ช่างไม่มีความมั่นคงเอาซะเลย เมืองนอกนั้นยังไม่เท่าไหร่ 

แต่เมืองไทยนี้ใช้คำว่า ยากสุด ๆ ในการที่จะไปลากใครสักคนมาทำโปรแกรมแล้วบอกว่าเราจะให้เป็นหุ้นแทน จึงมีคำพูดว่าเราเป็นบริษัทออกแบบ แล้วถึงเวลาก็ต้อง Outsource งานออกไปให้คนอื่นทำ

ท้ายที่สุดนี้ผมอยากเรียนให้ทราบว่า ในช่วงนี้เมืองไทยคำว่า Startup นั้นร้อนแรงมาก-มากจนผมแทบจะเรียกว่ามันเป็น Trend ในช่วงนี้เลยก็ว่าได้ ที่ผมเรียกว่าเป็น Trend นั้น เพราะว่า Startup Concept มีมานานมากแล้ว น่าจะตั้งแต่ Silicon Valley เกิดเลยทีเดียว ในบ้านเราเอง

จริง ๆ ก็มี Startup มานานแล้ว แต่ไม่ได้เรียกกันว่า Startup แค่นั้นเอง ในช่วงหลัง ๆ เราได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และการเข้ามาของ VC ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าตกใจ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะทำให้ประเทศชาติของเราได้รับการกระตุ้นทางการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม Startup เพื่อให้ก้าวข้ามจากเศรษฐกิจซบเซาอย่างที่เราพบเจอกันอยู่เวลานี้ แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ผมไม่อยากให้ทุกคนตื่นเต้นไปกับมันครับ 

อย่ามองว่ามันเป็น Trend แล้วแค่อยากทำ แต่อยากให้ทำจาก Passion ของคุณจริง ๆ อย่าทำเพียงเพราะว่าสถานการณ์พาไป โชคดีก็แค่เสียเวลา โชคร้ายก็เสียเงินเยอะแยะแน่นอน เพราะ Startup นั้นความเสี่ยงสูงไม่ธรรมดานะครับ ฉะนั้น ถ้าคิดจะทำ Startup วันนี้ ขอให้ทำด้วยใจของคุณจริง ๆ แล้ว Startup ของคุณจะมีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จครับ


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : พูดจาภาษา Startup (จบ)

view