สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โรคเบาหวาน

จากประชาชาติธุรกิจ

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนซึ่งไม่สามารถหลั่งอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้
โรคเบาหวานมี2 ชนิดคือ
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่พึ่งพาอินซูลินส่วนมากเกิดในเด็ก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน เกิดจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุงจากพฤติกรรมการกินและสาเหตุอื่นๆ
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน
         - มีอาการกินจุหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผู้หญิงมักมีอาการคันบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ
         - โดยการตรวจเลือด (หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) สูงเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
กินอย่างไร ห่างไกลโรคเบาหวาน
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายตามธงโภชนาการ
         - ปฏิบัติตามโภชนบัญญัติ 9 ประการ
         - หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
         - หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หวานๆ
         - ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที
การเลือกอาหารเพื่อควบคุมเบาหวาน
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
         - ขนมหวานทุกชนิดเพราะปรุงจากแป้งน้ำตาล ไข่ เนยสด มาการีน กะทิ
         - ทองหยิบ ทองหยอด ขนมที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบไอศกรีม เบเกอรี่ต่างๆ เช่น เค้ก คุกกี้
         - อาหารทอด อาหารมัน เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ถั่วลิสงทอด อาหารชุบแป้งทอด แกงกะทิ ข้าวเกรียบทอด มันฝรั่งทอด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ
         - น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกฮอล์
         - นมรสหวาน เช่น นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรสต่างๆ ไมโลชนิดUHT โอวัลตินชนิดUHT นมข้นหวาน ยาคูลย์ นมถั่วเหลืองรสหวาน
         - ผลไม้รสหวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ขนุน อ้อย
         - ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
         - อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารรสเค็มจัด อาหารบรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง

อาหารที่รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน
         1. กลุ่มนม ควรทานนมรสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมถั่วเหลืองสูตรไม่มีน้ำตาล ปริมาณที่เหมาะสม 1-2 แก้ว/วัน (ปริมาณ 250 ซี ซี)
         2. กลุ่มข้าว แป้งและธัญพืช ควรทานข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ปริมาณที่เหมาะสม 8-9 ทัพพี/วัน
         3. กลุ่มเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ควรทานเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไข่โดยเฉพาะไข่ขาว ปริมาณที่เหมาะสม 12 ช้อนทานข้าว/วัน (ไข่ทั้งฟองสามารถทานได้ ในผู้มีโคเลสเตอรอลในเลือดไม่สูงโดยทานได้ 2-3 ฟอง/วัน)
         4. กลุ่มผลไม้ ควรทานผลไม้สด รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอ๊ปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ เป็นต้น ปริมาณที่เหมาะสม 3-4 ส่วน/วัน (1 ส่วนผลไม้ เท่ากับ 6-8 ชิ้นคำ)
         5. กลุ่มไขมัน ควรทานน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หลีกเลี่ยงน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ ครีมเทียม ปริมาณที่เหมาะสม 6-7 ช้อนชา/วัน
         6. กลุ่มน้ำตาล เกลือ เครื่องปรุงรส ควรทานโดยหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล เกลือ และเครื่องปรุงรสมากเกินความจำเป็น สำหรับผู้ที่ติดหวานอาจใช้น้ำตาลเทียมให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายได้
อาหารที่รับประทานได้ ไม่จำกัดปริมาณ
         กลุ่มพืชผักชนิดต่างๆ เนื่องจากกลุ่มผักให้สารประเภทแป้งน้ำตาลน้อยและมีเส้นใยสูง ช่วยในการขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน ควรทานผักใบเขียวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตระกลูผักกาด แตงกวา กะหล่ำปลี  ดอกกะหล่ำ มะระ ผักตระกลูถั่ว มะเขือเทศ มะเขือยาว เป็นต้น ปริมาณที่เหมาะสม 4-6 ทัพพี/วัน
แนวทางการบริโภคเพื่อสุขภาพสำหรับโรคเบาหวาน : http://thonburihospital.com/2015_new/แนวทางการบริโภคเพื่อสุขภาพสำหรับ____โรคเบาหวาน.html

สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : โรคเบาหวาน

view