สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

NOW Choose news Aggressive Luxury by Ek Thongprasert แด่ "ผู้หญิงสตรอง" แกลลอรี่/วีดีโอ ประชาชาติไลฟ์ นสพ.ฉบับล่าสุด มาตรการภาคธุรกิจ ต้านทุจริต ติดสินบน

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ระดมสมอง โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ผมเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศจีน ซึ่งเป็นทริปที่สมบูรณ์และได้ประโยชน์อย่างสูง ทุกครั้งที่ไปเยือนประเทศอื่นรู้สึกเลยว่า นักลงทุน นักธุรกิจประเทศที่ไปต่างมองเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนมาก และเป็นเกตเวย์ของประเทศอาเซียน สามารถบอกได้เลยว่าขณะนี้นักลงทุนจากต่างประเทศเขามีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะเข้ามาลงทุนในไทย เพียงแต่เขากำลังแสวงหาพาร์ตเนอร์ที่เหมาะสม ที่จะสามารถร่วมหัวจมท้ายได้ในการทำธุรกิจในระยะยาว

ผมและผู้ที่ เกี่ยวข้องพยายามสรรหานักธุรกิจที่ดีบริษัทที่ดีเพื่อเป็นหุ้นส่วนในระยะยาว ให้เข้ามาลงทุนคำถามหนึ่งที่ผมมักจะได้รับจากต่างประเทศ คือ เขาเห็นและยอมรับว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวโดยลำดับ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอย อยู่ในสภาพทรงกับทรุดและมีความเปราะบางอย่างยิ่งต่อความเสี่ยงนานัปการ แต่เศรษฐกิจของไทยกำลังฟื้นตัวโดยลำดับ

อย่างไรก็ตาม คำถามที่เขาให้ความสำคัญมากกว่านั้น คือ มีอะไรที่จะทำให้พวกเขาแน่ใจได้ว่าเศรษฐกิจของไทยจะสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ผมบอกเขาว่าสิ่งหนึ่งที่ผมเห็นชัดคือประเทศไทยขณะนี้ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการปฏิรูปประเทศ ขณะที่ประเทศอื่น มีน้อยประเทศมากที่มุ่งปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ และกฎหมาย

แต่ประเทศไทยขณะนี้ โดยการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเน้นที่หลัก 3 ตัว คือ หนึ่ง-ลดความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาใหญ่ที่เราพยายามลดช่องว่าง หากเราสามารถลดช่องว่างลงไปได้ ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองในอนาคตข้างหน้าจะน้อยลง

สอง-การ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศประเทศไทยนั้นใช้บุญเก่าที่สั่งสม กันมาแต่บุญเก่านั้นกำลังถดถอยความสามารถในการแข่งขันของประเทศจึงลดน้อยถอย ลง ภายใต้ภาวะที่ต้องแข่งขันกับประเทศอื่นที่สูงขึ้นมาใหม่ ฉะนั้นเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งเทคโนโลยี วิทยาการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สิ่งที่สาม การปฏิรูประบบธรรมาภิบาลของประเทศไทย

รวมไปถึงเรื่องการปราบปรามทุจริต คอร์รัปชั่น เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีถือเป็นเรื่องสำคัญและเอาใจใส่ โดยได้ตั้ง คณะกรรมการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ขึ้นมา และเป็นประธานเอง มีการประชุม กำชับสั่งการในหลายเรื่อง จนทำให้ทุกอย่างค่อย ๆ พัฒนาดีขึ้นตามลำดับ

เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ถ้าวัดที่ตัวอินเด็กซ์ ซึ่ง องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เป็นคนวัดทุกปี ในปี 1995 ถึง ค.ศ. 2015 คะแนนของเราโดยประมาณอยู่ที่ 68 กว่า ๆ มาถึงจุดที่แย่ที่สุดสัก 3 ปีที่แล้ว ประมาณปี ค.ศ. 2013 เราได้ลำดับที่ 102 ยิ่งสูงยิ่งแย่ แต่จากนั้นเป็นต้นมา หลังจากนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามา มีการตั้งคณะกรรมการและขับเคลื่อนอย่างชัดเจน ลำดับค่อย ๆ ดีขึ้นจนกระทั่งมาอยู่ที่ 76 เมื่อปีล่าสุดที่ผ่านมา ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าปีต่อ ๆ ไปจะดีขึ้น

ทำไมคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ต้องจัดการให้เรียบร้อย

ถ้ามองเชิงเศรษฐศาสตร์แน่นอนว่าใครๆต้องบอกว่า คอร์รัปชั่นทำให้ต้นทุนการผลิต การประกอบการสูงขึ้น ไร้ประสิทธิภาพในระบบและการแข่งขันน้อยลง ทำให้สู้เขาไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วคอร์รัปชั่นไม่ใช่เพียงแค่ด้านเศรษฐศาสตร์ แต่กินลึกเข้าไปถึงศีลธรรมของคน ถ้ารู้ว่าการทุจริตเป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งที่ขัดต่อคำสอนทางศาสนา แล้วทำไมถึงทำ ถึงยอมรับในสิ่งที่ผิด มันเหมือนมะเร็งร้ายที่ค่อย ๆ ซึมเข้าไปกับคนไทยทุกคน

ในอดีตเมื่อเราพูดถึงการทำไม่ดี คอร์รัปชั่น คนจะเลี่ยง แต่อนาคตถ้าเราไม่ดูแลให้เต็มที่ จะกลายเป็นว่าใครทุจริตได้ คนนั้นฉลาด คนนั้นอยู่ได้ ได้กำไร เศรษฐกิจเสื่อมโทรมไม่เป็นไร แต่ถ้าคนไทยเสื่อมโทรมด้วยศีลธรรมจรรยา ประเทศยืนอยู่ไม่ได้ ฉะนั้นถ้าดูหลายประเทศในโลกนี้ มีหลายประเทศขึ้นไปสู่ที่เจริญมากแล้ว อยู่ ๆ ก็พลิกผันค่อย ๆ ถดถอยลงมา จนที่สุดไม่สามารถยืนอยู่ได้

ฉะนั้น มะเร็งร้ายตัวนี้เป็นสิ่งที่ต้องยุติ ต้องจัดการให้เด็ดขาด ภาครัฐเองพยายามทำหลายอย่าง แต่ข่าวออกไปน้อย ไม่ว่ากระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง ก็ทำในสิ่งที่น่าสรรเสริญอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างล่าสุด เพิ่งออก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างที่มีความโปร่งใส ให้เอกชนสามารถเข้ามาดูแล มีการเปิดเผยข้อมูล โครงการทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์ว่ามีอะไรบ้าง ต้นทุนเป็นอย่างไร ตัวเลขทั้งหมด ให้ทุกกรมกองเปิดเผยถ้ามีการประมูล หรือการมีบุคคลที่ 3 เข้ามาร่วม มีข้อตกลงเชิงศีลธรรม ถ้าหากไม่เป็นไปตามข้อตกลงก็ต้องมีความผิด

หรือเรากำลังมีเรื่องของ "ระบบบัญชีเดียว" เพื่อให้เอกชนที่เคยหลบเลี่ยงภาษี ติดสินบนเจ้าหน้าที่ ได้หันกลับมาเป็นคนดี สิ่งเหล่านี้ไม่เคยปรากฏมาก่อน เรากำลังขับดันเรื่องของ "อีเพย์เมนต์" พูดง่าย ๆ คือการจ่ายเงินทุกระบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้การทุจริต หลบภาษี ยากยิ่งขึ้น

ถ้ามองลักษณะนี้จะเห็นการขับเคลื่อนของภาครัฐที่มีมากในหลายกระทรวง ไม่เฉพาะกระทรวงการคลัง แต่สิ่งเหล่านี้ข่าวไม่ค่อยออกไป เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญ เราไปให้ความสำคัญกับจีดีพีว่าจะโตกี่เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้จีดีพีในอนาคตข้างหน้าเติบโตขึ้น และเป็นดัชนีที่ต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในเชิงความสามารถวัดการแข่งขัน ซึ่งในการวัดความสามารถในการแข่งขัน เราได้คะแนนไม่ดีมาโดยตลอด แต่ต่อไปนี้ผมเชื่อว่าเราจะได้คะแนนดีขึ้นโดยลำดับ

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ต้องจริงจัง โดยเฉพาะ บทลงโทษ ต้องมีและเฉียบขาดด้วย เพื่อเป็นเยี่ยงอย่าง อย่างไรก็ดี ในเรื่องของการต่อต้านและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น เสาหลักภาครัฐอย่างเดียวไม่พอ เสาหลักที่สำคัญที่สุด คือ ภาคประชาสังคม

ในประเทศไทยเราละเลยพอสมควร เพราะเห็นว่าทุกเรื่องภาระอยู่ที่รัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี หรือ ป.ป.ช. ที่ต้องจัดการกับเรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ถ้าเกิดคอร์รัปชั่นมากถือว่าเป็นความผิดของคนเหล่านี้ ซึ่งความจริงไม่ใช่เลย เพราะความจริง คือ ยิ่งทุจริตคอร์รัปชั่นมีมากเท่าไหร่ ยิ่งสะท้อนว่าภาคประชาสังคมของประเทศหรือภาคประชาชนเราอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งไม่มีทางเลยที่ทุกคนจะปัดความรับผิดชอบนี้ได้ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การปราบปรามคอร์รัปชั่นได้อย่างแท้จริงนั้น ภาคประชาสังคมต้องแข็งแรงมาก ภาคประชาสังคม คือทั้งเอกชน และประชาชน ประเทศใหญ่ ๆ อย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง เขาได้คะแนนสูงมากในการจัดการปัญหาคอร์รัปชั่น เนื่องจากมีภาคประชาชนที่แข็งแรง ในประเทศสิงคโปร์ ถ้าใครสักคนมีกลิ่นคอร์รัปชั่น แน่นอนว่าคนคนนั้นยืนอยู่ยากในสังคม ประเทศญี่ปุ่นเอง ลองมีใครทุจริตนิดเดียว คุณไม่มีทางยืนอยู่ได้ในสังคมเลยประเทศเกาหลีใต้พัฒนาเร็วขนาดนี้ แรงขนาดนี้ เพราะเขาเอาจริงในการใช้ภาคประชาสังคมจัดการกับคอร์รัปชั่น ทุกคนพร้อมจะส่งเสียง พร้อมจะบอกว่า คนนั้นคนนี้ทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ว่าคนนั้นจะยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตา

แต่สำหรับประเทศไทย บางคนรู้ว่าทุจริตก็ยังยืนยิ้มอยู่ได้ แล้วจะให้โทษใคร โทษภาครัฐหรือโทษประชาสังคม อันนี้ฝากเป็นการบ้านให้คิดกันครับ

การจะทำให้ภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคมเติบโตขึ้นมา แน่นอนว่าอยู่ที่ "จิตสำนึกของคน"


การจะปลูกฝังจิตสำนึกให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ต้องปลูกฝังให้ลึกลงไปในดีเอ็นเอของเยาวชน เด็ก ๆ ให้ลึกลงไปว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งเลวร้าย ไม่มีการประนีประนอม ไม่มีว่าพอรับได้ วิธีนี้คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โลกตะวันตกพัฒนาไปได้ไกลมาก เพราะเขาสร้างขึ้นมาอย่างเป็นจริงเป็นจัง และอยู่ในสิ่งที่เรียกว่าบุคลิกของเด็ก ๆ เขาไม่ได้บอกว่าคุณต้องเรียนหนังสือเก่ง เป็นเจ้าคนนายคน แต่เขาบอกว่าคุณต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่ทุจริต ต้องไม่รับโดยเด็ดขาด

ฉะนั้น เราต้องทบทวนการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็ก ๆ ของเรา ปลูกฝังให้กับนักธุรกิจที่คิดว่ามีเงินเสียอย่างสามารถทำทุกอย่างได้ ต้องให้เขารู้จักอาย รู้จักเกรงกลัว ซึ่งไม่ใช่เพียงการใช้กฎหมายบังคับ แต่ต้องเป็นเรื่องของความกดดันจากสังคมด้วย หลักการอย่างหนึ่งของการต่อต้านทุจริต คือ คนเราต้องรู้จักขีดเส้นซึ่งเส้นนี้ถ้าเกินจากนี้แล้ว มันคือทุจริต รับไม่ได้ คนดี ๆ กลายเป็นคนชั่วร้ายได้อย่างไร เป็นเพราะว่าคนเรามีเส้นแบ่งอยู่ ถ้าเราก้าวข้ามเส้นแบ่งนี้ไปเพียงครั้งเดียว ครั้งต่อ ๆ ไป จะง่ายขึ้นเรื่อย ๆ

ถ้าสังคมไหนปล่อยให้คนในสังคมนั้น เริ่มข้ามเส้นแบ่งนี้ไปได้เรื่อย ๆ งานติดขัด หยอดน้ำมันนิดหน่อย ไม่บาป เพราะไม่เช่นนั้นเราสู้คู่แข่งไม่ได้ หรือถูกปรับบนทางด่วนขี้เกียจไปเสียค่าปรับ หยอดน้ำมัน ไม่อยากประมูลงานก็หยอดน้ำมันมาก ๆ หน่อย ทุกอย่างไปเรื่อย ๆ ก้าวข้ามไปเรื่อย ๆ ถ้าเกิดกับคนส่วนใหญ่หรือคนทุกคนของประเทศ มันจะเหมือนโรคร้ายที่แพร่เชื้อเต็มไปหมด เหมือนที่หลายประเทศประสบมาแล้ว ที่สุดประเทศทั้งประเทศล้มครืนลงไป เป็นเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่เน่าที่ราก


ฉะนั้น เส้นแบ่งนี้สำคัญมาก มันเป็นเส้นแบ่งศีลธรรม ที่เราไม่เพียงจะปลูกฝังในจิตใจของเด็กรุ่นใหม่ แต่ต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ว่าคนทุกคนจะไม่ยอมรับอย่างเด็ดขาดในสิ่งเหล่านี้ เมื่อเห็นคนหนึ่งทำ เขาจะไม่นิ่งอยู่กับที่ ต้องเปิดเผยออกมา ภาคประชาสังคมถึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ มีทฤษฎีหนึ่งชัดเจนบอกว่า ประเทศที่จะพัฒนาได้เร็ว ก้าวหน้าได้ไกล ประเทศนั้นต้องมี "ทุนทางสังคม" ซึ่งไม่ใช่เงิน ประเทศที่มีทุนทางสังคมที่สูงมาก ย่อมไม่ยอมให้สิ่งชั่วร้ายเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และผมจะไม่บอกว่าประเทศไทยมีทุนทางสังคมสูงหรือต่ำ

ภาคประชาสังคมเป็นภาคที่สำคัญอย่างยิ่ง และคนที่จะนำนั้นต้องเป็นภาคเอกชน เพราะภาคประชาชนเรายังไม่แข็งแรงเท่าไหร่ เนื่องจากยังยากจน ฝ่ายรัฐเองได้วางระเบียบ ก.ล.ต.ก็ออกกฎเกณฑ์เต็มไปหมด ขณะที่บริษัทในประเทศไทยแข็งแรงติดท็อปในเอเชีย ในอาเซียนก็ไม่ได้ด้อยกว่าใคร แต่สิ่งเหลานี้ต้องอย่าลืมว่าเอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่อยู่ทั่วไปหมด

คำถามคือจะคุมเขาได้อย่างไร
คำตอบจะคุมเขาได้ก็ต่อเมื่อภาคประชาสังคมแข็งแรงเข้มแข็ง ฉะนั้น การเคลื่อนไหวโดยโซเชียลมูฟเมนต์ นำโดย ป.ป.ช. นำโดยรัฐบาล แล้วร่วมกับภาคประชาชน จึงจะมีพลังที่ยิ่งใหญ่ในการจัดการกับคอร์รัปชั่น ให้รู้เลยว่า ถ้ามีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ นายคนนี้มีประวัติด่างพร้อย แม้ไม่มีใบเสร็จก็ต้องให้สอบตกการเลือกตั้งให้ได้

อย่าลืมว่าถ้าท่านไม่จ่าย คอร์รัปชั่นไม่มีทางเกิด แต่ที่มันเกิดขึ้นมาได้ เพราะบางคนบางท่านยอมจ่าย คิดว่าการจ่ายนั้นเป็นการซื้อความได้เปรียบ ซื้อเส้นทางลัด จริง ๆ แล้วไม่ใช่ แต่เป็นการทำให้ประเทศทั้งประเทศย่ำแย่ ทำลายศีลธรรม ทำลายความดีงาม ทำลายศักดิ์ศรีของประเทศไทยให้เป็นที่อับอายของโลก


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : NOW Choose news Aggressive Luxury by Ek Thongprasert แด่ "ผู้หญิงสตรอง" แกลลอรี่/วีดีโอ ประชาชาติไลฟ์ นสพ.ฉบับล่าสุด มาตรการภาคธุรกิจ ต้านทุจริต ติดสินบน

view