สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กูรูแนะ เทคนิคลงทุนพม่า ถอดบทเรียน แบล็คแคนยอน-ปุ้มปุ้ย

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว กระแสการลงทุนในเมียนมาถือเป็นเรื่องมาแรงถึงขนาดมีคำกล่าวว่า "ถ้าใครช้าอาจตกรถไฟ" หลังเมียนมาเปิดประเทศรับคลื่นการลงทุน พร้อมผนวกตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก

ผลจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย กระแสการลงทุนในเมียนมายังคงเป็นเรื่องที่ได้รับการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง แม้นักลงทุนหลายรายได้รับบทเรียน ทั้งในแง่ของความสำเร็จ ขณะที่บางส่วนก็เจ็บตัวไปไม่น้อย

ในงานสัมมนาธุรกิจผู้ประกอบการพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนรุ่น 3 (ประเทศเมียนมา)โดยศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ "เทคนิคการรุกตลาดเมียนมา"

นายกัลยาณะ วิภัติภูมิประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมาระบุว่า "สังคมเมียนมาที่กำลังเปลี่ยนแปลง อาจไม่ได้เกิดขึ้นในแง่ที่แตกต่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ชาวเมียนมาเริ่มเห็นโลกมากขึ้น ผ่านเครื่องมือสื่อสาร พฤติกรรมทางสังคมและความนิยมของผู้บริโภคเมียนมากำลังเปลี่ยนไป" จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนจะเรียนรู้กระแสสำคัญก่อนไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านของไทย

เมียนมาชนชั้นกลาง20%


"ชวภาสองค์มหัทมงคล" ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการลงทุนในอาเซียน จาก PrimeStreet Advisory Group แนะแนวทางจับตลาดเมียนมาว่า เมียนมามีเมืองใหญ่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่น นครย่างกุ้ง เมืองมัณฑะเลย์ โดยกลุ่มชนชั้นกลางราว 20% ของพลเมืองเมียนมาส่วนใหญ่อยู่ในเมืองขยายเหล่านี้ ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้พร้อมจ่ายให้กับสินค้าที่มีคุณภาพ และสินค้าไทยยังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราคาสินค้าเน้นสินค้าจากจีนเป็นหลัก เนื่องจากราคาถูก

สำหรับการทำตลาดในเมียนมาหลายคนอาจเลือกใช้วิธีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย แต่หลายรายมักเลือกสินค้าท็อปแบรนด์เพราะติดตลาดอยู่แล้ว ซึ่งบางทีอาจดีกว่าที่จะลองใช้บริการตัวแทนจำหน่ายระดับรองลงมา เพราะอาจให้ความสำคัญกับสินค้าเรามากกว่า

นอกจากนี้ การทำตลาดในพื้นที่ อ.มหาชัย จ.สมุทรสาครของไทยเองก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเป็นการจับกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและมีอิทธิพลต่อความนิยมสินค้าในเมียนมา



ร่วมมือพันธมิตรท้องถิ่น

"กรรณิการ์ชินประสิทธิ์ชัย"
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารบริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงความสำเร็จที่มาหลังจากแบล็คแคนยอนบุกตลาดเมียนมาครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อนว่า แบล็คแคนยอนเน้นการขยายธุรกิจด้วยการขายแฟรนไชส์ ด้วยการหาพันธมิตรที่ถูกใจถือเป็นเรื่องสำคัญ

"ครั้งแรกที่แบล็คแคน ยอนไปลงทุนด้วยการขายแฟรนไชส์กับพาร์ตเนอร์คนไทยในเมียนมาแต่ครั้งนั้นก็ไม่ ประสบความสำเร็จเพราะด้วยสไตล์ของร้านยังไม่สอดรับกับพฤติกรรมการบริโภคของ ชาวเมียนมาในขณะนั้น"

หลังความพยายามครั้งแรกไม่เห็นผลแบล็คแคน ยอนตัดสินใจบุกเมียนมาอีกครั้งด้วยการขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนชาวเมียนมา โดยคราวนี้เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลาง พร้อมนำพนักงานชาวเมียนมามาเทรนนิ่งในประเทศไทย ปรับเมนูและสูตรอาหารให้เข้ากับพฤติกรรมการทานของชาวเมียนมา ที่ไม่เน้นทานหวานแบบไทย

โดยกรรณิการ์ระบุว่า ชาวเมียนมาหลายคนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ฝึกอบรมง่าย หลายคนสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว เนื่องจากจบจากต่างประเทศ ไม่ใช่แรงงานที่ไม่มีฝีมือ อย่างไรก็ตาม การกำหนดกรอบการทำงานที่ชัดเจน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารงานอย่างราบรื่น ในสังคมต่างภาษาและวัฒนธรรม

วิธีเลือกตัวแทนจำหน่าย

ด้าน "เชฎฐา ฉันทศักดิ์เสถียร" ผู้ประสานงานขายต่างประเทศ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋อง "ปุ้มปุ้ย" และ "ปลายิ้ม" เล่าถึงข้อผิดพลาดในการลงทุน หลังจากบริษัทล้มเลิกโรงงานในเมียนมา และเปลี่ยนมาใช้ระบบตัวแทนจำหน่ายสินค้าแทน

"ตอนแรกเรามองว่าจากยอดขายสินค้าผ่านชายแดนได้เยอะ ก็เลยตัดสินใจไปตั้งโรงงานที่เมียนมา โดยหาพาร์ตเนอร์เป็นชาวเมียนมาจดทะเบียนตั้งบริษัท"

แล้วปัญหาก็มาเยือน "คำถามคือคุณพร้อมไหม เรามีคนพอไหม พร้อมส่งคนไปประจำคุมงานที่โน่นหรือเปล่า ? ขณะที่คนเมียนมาหลายคนยังขาดทักษะการทำงาน คุยกันเหมือนเข้าใจแล้วแต่ไม่เข้าใจ" เชฎฐากล่าวและว่

หลังพับแผนโรงงาน ปุ้มปุ้ยก็หันมาเน้นการลงตลาดผ่านงานแสดงสินค้าและกระจายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยใช้หลักการดูตัวแทนจำหน่ายที่ดูแลสินค้าที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มที่ตัวแทนถนัด

"อย่างไรก็ตาม มีตัวแทนจำหน่ายติดต่อเข้ามามาก และบางรายก็ต้องการให้บริษัทลดราคา ลดคุณภาพสินค้า ซึ่งการเลือกตัวแทนจำหน่ายของเราต้องมีจุดยืนเดียวกันในการรักษามาตรฐานสินค้า"

สำหรับสินค้าปุ้มปุ้ยตั้งราคาปลากระป๋องคิดเป็นเงินไทยประมาณ18บาทแต่ปัญหาคือ ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ ยังเป็นสินค้าแปลกใหม่ จึงเป็นโจทย์ของบริษัทว่าจะทำยังไงให้ชาวเมียนมาเข้าใจว่าสินค้าของเราทานได้เลย หรือนำไปปรุงกับอาหารท้องถิ่นได้


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กูรูแนะ เทคนิคลงทุนพม่า ถอดบทเรียน แบล็คแคนยอน-ปุ้มปุ้ย

view