สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

7 สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณเป็นพ่อแม่แบบเฮลิคอปเตอร์ / ดร. สุพาพร เทพยสุวรรณ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

        เพราะความเชื่อและบริบทของครอบครัวต่างกัน จึงทำให้แต่ละครอบครัวมีแนวคิดในการเลี้ยงลูกที่แตกต่างกันออกไปด้วย บางครอบครัวเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตย บางครอบครัวเลี้ยงลูกแบบเผด็จการ และอีกหลายครอบครัวเลี้ยงลูกแบบลูกข้าใครอย่าแตะ หรือว่าคุณจะเป็นคุณพ่อคุณแม่แบบเฮลิคอปเตอร์ วันนี้ให้เรามาดูกันว่าการเลี้ยงลูกแบบเฮลิคอปเตอร์นั้นเป็นอย่างไร
       
       1. เราช่วยลูกต่อสู้ในสงครามของลูกหรือไม่ สงครามของลูกหมายถึงเรื่องส่วนตัว เรื่องที่ลูกต้องรับผิดชอบเอง เป็นต้น เช่น ในกรณีที่ลูกร้องไห้กลับมาบ้าน บอกว่า ทะเลาะกับเพื่อน เรามีวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไร เราใช้วิธีโทรศัพท์ไปหาคุณแม่ของเพื่อนลูกทันทีหรือไม่ หรือเราใช้วิธีถอยหลังออกมาดูห่าง ๆ แทน
       
       วิธีที่ควรทำ คือ ให้ลูกจัดการปัญหานั้นด้วยตนเอง แต่ในเวลาเดียวกันเรายังเป็นคนที่ช่วยอยู่ข้าง ๆ สอนให้ลูกรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตั้งคำถามและให้ลูกตอบ สังเกตการควบคุมอารมณ์ ดูซิว่าลูกหาทางออกอย่างไรในการแก้ปัญหาเหล่านั้นกับเพื่อน
       
       2. เราช่วยลูกทำการบ้าน ช่วยลูกในวัยอนุบาลใส่รองเท้า ช่วยแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ให้กับลูกวัยรุ่น วิธีการช่วยเหลือลูกอาจทำได้หลายวิธี โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกระโดดลงไปทำแทน การให้ลูกแก้ปัญหาเองจะทำให้ลูกกล้าเผชิญ และเป็นการท้าทายอย่างหนึ่ง การกระทำทุกอย่างอาจทำให้ลูกมีความเครียด แต่ถ้าเป็นความเครียดในระดับที่เหมาะสมก็จะเป็นแรงผลักดันให้ลูกมีพลัง และพยายามคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้
       
       วิธีที่ควรทำ คือ ให้ลูกหาวิธีในการทำโจทย์ปัญหานั้นด้วยตัวเอง ชมและให้กำลังใจในความพยายามของลูก เพื่อที่เด็กจะสามารถก้าวไปเผชิญกับปัญหาที่ยากขึ้นได้
       
       3. ไม่ทำหน้าที่เป็นโค้ชทางกีฬาให้ลูก โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตะโกนโหวกเหวกข้างสนาม ในระหว่างที่ลูกกำลังแข่งขันกีฬา หรือพยายามเป็นโค้ชให้ลูกทำนู่นทำนี่ในระหว่างที่ลูกกำลังฝึกกีฬากับคุณครู อยู่ อาจจะถึงเวลาแล้วที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะทำตัวให้เหมาะสมและก้าวถอยหลังออก กีฬาเป็นสิ่งที่จะช่วยสอนลูกในการแก้ปัญหา การเผชิญปัญหาและการทำงานเป็นทีมเพื่อไปสู่เป้าหมาย ฝึกการเป็นผู้นำ การต่อสู้ และรับกับความพ่ายแพ้
       
       วิธีที่ควรทำ คือ หากลูกขอความช่วยเหลือจากเราและเราเห็นปัญหาของลูก สอนลูกปรึกษากับโค้ช และฝึกลูกให้เป็นโค้ชของตัวเอง
       
       4. การดึงลูกให้เข้ามาใกล้ตัวเราตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกไปร่วมงานวันเกิดเพื่อน แต่เราในฐานะคุณพ่อคุณแม่ขอพ่วงไปร่วมงานด้วย แทนที่จะให้ลูกสนุกกับเพื่อน ๆ หรือในกรณีที่เราขับรถพาลูกวัยรุ่นไปบ้านเพื่อน ในขณะที่ลูกสามารถเดินไปได้เองเพราะบ้านอยู่ใกล้กัน หรือเราใช้วิธีส่งข้อความไปหาลูกเกือบตลอดทั้งวัน เตือนลูกว่าต้องทำอะไรบ้าง ฟังเหมือนคุ้น ๆ ใช่ไหมคะ ถ้าเป็นดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเริ่มตัดสายที่ดึงรั้งลูกไว้และปล่อย ให้ลูกเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
       
       วิธีที่ควรทำ คือ ให้โอกาสลูกแสดงความเป็นตัวของตัวเองและพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ให้ลูกเล่นที่สนามในขณะที่เรากำลังทำอาหารหรือ เมื่อลูกโตพอให้ลูกช่วยพาสุนัขไปเดินเล่นบ้าง
       
       5. เราเป็นคนรับใช้ในบ้านหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เรายังคงต้องทำเตียงให้ลูก แม้ว่าลูกอยู่ชั้นประถมปีที่หนึ่งแล้วก็ตาม หรือทำความสะอาดห้องให้กับลูกวัยรุ่น หรือยังซักผ้าให้กับลูกที่เรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราควรลดภาระของเราลง และให้ลูกรับผิดชอบงานบ้าน สอนลูกให้ทำหน้าที่ของตัวเองเพราะสิ่งนี้จะทำให้ลูกติดเป็นนิสัยไปจนตลอด ชีวิต
       
       วิธีที่ควรทำ คือ พยายามจัดให้ลูกมีงานรับผิดชอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบ้าน สร้างฐานเหล่านั้นขึ้น ให้ลูกรู้ว่าเรามีความคาดหวังอะไรที่ชัดเจนในงานนั้น ๆ ที่รับผิดชอบ เพื่อลูกจะสามารถฝึกและทำงานเหล่านั้นให้ดีขึ้นและให้กำลังใจเมื่องานเหล่า นั้นเสร็จสมบูรณ์
       
       6. เราปกป้องลูกมากเกินไปหรือไม่ ต้องมีความปลอดภัยตลอดเวลาหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เราพูดเป็นร้อยครั้งว่าระวังนะเดี๋ยวตกลงมา อย่าขับเร็วมาก เอามือจับราวบันไดเลื่อนทุกครั้ง เราชอบบ่นและควบคุมพฤติกรรมลูกอยู่ตลอดเวลา ปกป้องลูกโดยไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนาทางด้านร่างกายหรือกล้าตัดสินใจที่ จะเสี่ยงซึ่งเป็นการพัฒนาด้านสติปัญญา ความหวังดีของเราอาจจะทำให้พัฒนาการลูกล่าช้าได้
       
       วิธีที่ควรทำ คือ แม้ว่าเรารู้ว่าเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก แต่การให้ลูกได้มีโอกาสทำสิ่งที่ท้าทาย เช่น ปีนต้นไม้ มีหกล้มบ้างจะทำให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ได้
       
       7. เราไม่ยอมปล่อยให้ลูกล้มเหลวเลย ให้เราคิดถึงเวลาที่เราทำผิดพลาดครั้งสุดท้าย สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เราได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น ลูกก็เช่นเดียวกันการลองผิดลองถูกจะทำให้ลูกค้นพบ ต่อสู้และกล้าเผชิญกับปัญหาในโลกนี้ หากเราทำให้ลูกหมดทุกอย่าง และทำให้ถูกต้องตลอดเวลาลูกจะไม่เรียนรู้การแก้ปัญหาในอนาคต
       
       วิธีที่ควรทำ คือ ยอมให้ลูกทำผิดพลาดบ้างในบางครั้งบางคราว และเมื่อลูกพลาดหรือล้มเหลว ให้กำลังใจลูกที่จะพยายามต่อไป
       
       การเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาวิธีการ ให้ลูกลองผิดลองถูก แก้ปัญหาด้วยตนเอง อย่าพยายามเป็นเฮลิคอปเตอร์เข้าช่วยเหลือลูกทันที ในขณะที่ลูกสามารถช่วยตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมรักลูก และอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูก แต่การให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองจะเป็นสิ่งที่ลูกจดจำและสอนให้เขารู้จักแก้ ปัญหาและกล้าเผชิญกับปัญหาในอนาคตได้ เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ
       
       ข้อมูลอ้างอิง
       Webmd.com


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 7 สัญญาณเตือน บอกว่า คุณเป็นพ่อแม่แบบเฮลิคอปเตอร์ ดร. สุพาพร เทพยสุวรรณ

view