จากประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 9 ส.ค. 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามรถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทยว่า เฉลิมรัชมงคล อันมีความหมายว่า "งานเฉลิมฉลองความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา"
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง เพื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดใช้รถไฟฟ้าใต้ดินโดยทรงประทับรถไฟฟ้าพระที่นั่งไปยังสถานีปลายทางที่ศูนย์ซ่อมบำรุงสถานีพระราม9เพื่อกดปุ่มระบบคอมพิวเตอร์เปิดการเดินรถอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ยังทรงรับสั่งขอให้รัฐบาลในขณะนั้นเร่งรัดการก่อสร้างส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้ามหานครให้มีโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดให้กับประชาชนในอนาคต
สำหรับรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเส้นทางเชื่อมจาก"หัวลำโพง-บางซื่อ"ก่อสร้างโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ในปี 2542 หลังสร้างเสร็จได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้วันที่ 13 เม.ย. 2547 มีระยะทาง 20 กม. จำนวน 18 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสีลม สุขุมวิท สวนจตุจักรและเพชรบุรี และมี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) เป็นผู้รับสัมปทานเดินรถ
ปัจจุบัน "รฟม." กำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายจาก "บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค" ระยะทาง 27 กม. มี 21 สถานี มีกำหนดเปิดใช้ภายในปี 2563
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน