จากประชาชาติธุรกิจ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านต่าง ๆ อันนำมาสู่โครงการส่วนพระองค์และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนนับ หมื่นโครงการ ซึ่งล้วนแต่ก่อเกิดประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างมากล้นประมาณมิได้ ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาที่โลกยกย่องโดยองค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าทูล กระหม่อมถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ผู้นำปรัชญาเศรษฐกิจ
ในโลกสมัยใหม่ เศรษฐกิจเป็นหัวใจขับเคลื่อนประเทศ ดังนั้นเรื่องเศรษฐกิจจึงเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงให้ความสำคัญและทรงเป็นห่วงมาตลอด ในด้านเศรษฐกิจนี้พระองค์ได้พระราชทาน "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ให้คนไทยรับไปปรับใช้
ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเมืองไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเพื่อเป็นแนวทางแก่คนไทยว่า
"...การ จะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...
...ความ พอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่า ล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียงได้...
...ถ้า สามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้..."
ทั้งนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่พระองค์เพิ่งตรัสเมื่อคราวประเทศ เผชิญพิษเศรษฐกิจ หากย้อนไปดูในอดีต พระองค์พระราชทานแนวคิดนี้มาเนิ่นนานแล้ว ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า
"...คน อื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธานในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอ กิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้..."
พัฒนาเส้นทางคมนาคม
"การ คมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการสร้างความเจริญของ ประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน..." พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเนื่องในโอกาสวันคล้ายวัน สถาปนากระทรวงคมนาคม ครบรอบ 100 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555
ย้อน กลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2495 ถนนประวัติศาสตร์สายแรกที่สร้างตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เริ่มขึ้น ณ บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีถนนออกจากหมู่บ้าน หลังจากนั้นกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการสร้างถนนอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีก มากมาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงศึกษาและวางแผนปรับปรุงการ คมนาคมและขนส่งในชนบท โดยทรงพิจารณาประโยชน์ที่จะเกิดแก่ท้องถิ่นเป็นหลัก จากนั้นก็จะเสด็จฯ ไปยังพื้นที่นั้น ๆ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลมาประกอบการพิจารณาลักษณะการเชื่อมต่อและแนวของถนน แล้วจะพระราชทานให้หน่วยงานที่เหมาะสมรับไปดำเนินการต่อไป ในระหว่างการก่อสร้าง พระองค์จะเสด็จฯ ไปตรวจสอบและพระราชทานคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นครั้งคราว
ภาพรวม โครงการตามพระราชดำริส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและขนส่งส่วนใหญ่จะเป็น โครงการสร้างถนนหนทางในท้องถิ่นชนบท แต่ก็มิได้ทรงละทิ้งคนเมืองเห็นได้จากที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริแก้ปัญหา จราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑลหลายโครงการ เช่น โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โครงการสะพานพระราม 8 เป็นต้น
นักพัฒนาการเกษตร "ดิน-น้ำ"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยด้านการเกษตรซึ่งเลี้ยงปากท้อง ประชาชนชาวไทย เรื่องเด่น ๆ ที่เราชาวไทยเคยได้ยินกันอย่างทั่วถึง ทั้งเกษตรกรและคนที่ไม่ใช่เกษตรกรก็คือ การที่พระองค์พระราชทานแนวคิด "เกษตรทฤษฎีใหม่" เพื่อความยั่งยืน โดยมีสูตร 30:30:30:10 คือการจัดสรรพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน 30% ขุดสระน้ำ 30% ปลูกข้าว 30% ปลูกไม้ยืนต้น 10% สร้างบ้านและสิ่งอำนวยความสะดวก
อีก 2 ด้านที่พระองค์ทรงเป็นห่วงและทรงใส่พระทัยเป็นอย่างยิ่งคือด้านน้ำและดิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการเกษตร
"...หลัก สำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่นถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้..."
พระองค์ ทรงแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำตั้งแต่ต้นทางคือทรงมีพระราชดำริให้จัดทำฝนหลวง หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดารในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2498 จากนั้นพระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัย จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่
หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น
นอกจากการทำให้เกิดฝนแล้ว พระองค์ท่านทรงสนพระทัยเกี่ยวกับการชลประทานและการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอย่าง มาก เพราะทรงตระหนักว่า "น้ำคือชีวิต" เมื่อมีฝนแล้วต้องมีการกักเก็บและบริหารจัดการน้ำให้ดีจึงจะไม่ขาดแคลน โดยมีกรมชลประทานรับหน้าที่ดำเนินการตามพระราชดำริ มีการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำน้อยใหญ่มากมายเกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของ ประเทศไทย และมีคำว่า "อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ต่อท้ายชื่อ
ส่วนเรื่องดินก็เป็นอีกด้านที่พระองค์เอาพระทัยใส่อย่างยิ่ง พระองค์ทรงศึกษาถึงสาเหตุที่มาของปัญหาและทรงหาวิธีการแก้ไขปัญหารูปแบบต่าง ๆ ให้แก่เกษตรกร พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
ด้านการพัฒนาดิน อย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นที่ประจักษ์แก่นานาชาติ จนองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้จัดตั้งให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดินโลก" (World Soil Day) เพื่อสดุดีแด่กษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์แห่งการพัฒนาดิน
กษัตริย์นักออกแบบพลังงาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงทรงค้นคว้าวิจัยหาแนวทางการใช้พลังงานที่เหมาะสม โดยนำทรัพยากรที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังพระราชทานพระราชดำริในโครงการด้านการพัฒนาใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน ภายในประเทศ ทั้งด้านพลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากมวลชีวภาพ ยกตัวอย่างเช่น พระราชทานพระราชดำริว่า อ่างเก็บน้ำที่มีลักษณะเหมาะสมจะผลิตไฟฟ้ากำลังน้ำ ควรพิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำด้วย จึงนำมาซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนหลายแห่ง
นอกจากนั้นยังมีด้าน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ที่พระองค์ทรงสนพระทัยและทรงพัฒนาเพื่อใช้ในโครงการพระราชดำริหลายแห่ง และที่สำคัญยิ่งคือพระราชดำริให้พัฒนาแก๊สโซฮอล์ สืบเนื่องมาจากที่พระองค์เคยมีพระราชดำรัสเรื่องน้ำมันแพง จึงทรงมีพระราชดำริให้คิดค้นพัฒนาพลังงานทดแทน
ราชานักสื่อสาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระราชดำรัสให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงพกเครื่องมือสื่อสารติดพระองค์เพื่อประกอบพระราช กรณียกิจและเพื่อฟังข่าวทุกข์สุขของพสกนิกรอยู่เสมอ
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณฯ หรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ให้มูลนิธิแพทย์อาสา (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อการช่วยเหลือการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นทุรกันดาร อีกทั้งได้ติดตั้งวิทยุหน่วยปฏิบัติการฝนเทียมทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน นอกจากนี้ทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศยานความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ทรงนำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับส่งวิทยุและวิทยุขยายเสียง
เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.ในพระราชวังดุสิต และมีอีกหลายโครงการ อาทิ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านดาวเทียม เป็นการเรียนการสอนผ่านทางไกล DFL e-Learnning ถ่ายทอดหลักสูตรมัธยมศึกษาให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาและสังกัด หน่วยงานอื่น ๆ กว่า 3,000 โรงเรียนทั่วประเทศ
ทรงมีพระราชดำรัสตอน หนึ่งว่า "เทคโนโลยีชั้นสูงนี้ คนส่วนมากเดี๋ยวนี้ก็เข้าใจว่ามีโทรทัศน์ มีดาวเทียม มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ว่าเครื่องเหล่านี้ หรือสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่มีชีวิตจริง มีสีก็มีสีได้ แต่ไม่มีสัน คือสีสัน นั่นรวมแล้วมันครบถ้วน และยังไม่ครบยังไม่มีจิตใจ...อาจจะทำให้คนที่มีจิตใจอ่อนแอเปลี่ยนเป็นคนละ คนก็ได้ แต่ว่าที่จะอบรมโดยใช้สื่อที่ก้าวหน้าที่มีเทคโนโลยีนี่ยากที่สุดที่จะอบรม บ่มนิสัยด้วยเครื่องเหล่านี้ ฉะนั้นไม่มีอะไรแทน คนสอนคน"
จากพระราชดำรัสด้านการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสาร นำมาสู่การจัดตั้งโครงการด้านคมนาคม/สื่อสารมากถึง 77 โครงการ
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน