สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คำสอนของพ่อ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย เชอรี่ประชาชาติ cheryd@gmail.com

ในเวลานี้ คนไทยทุกคนต่างโศกเศร้ากับความสูญเสียอันหาที่สุดไม่ได้กับการจากไปของ "พ่อ" อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา หลายคนยังทำใจไม่ไดแม้จะเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต และรู้ดีว่าไม่ช้าก็เร็ว เราเองก็หนีไม่พ้นเช่นกัน แต่เป็นธรรมดาด้วยเหมือนกันที่เรามักอยากให้คนที่เรารักอยู่กับเรานานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

วันที่ 13 ต.ค.2559 จึงเป็นวันที่คนไทยทั้งแผ่นดินพบกับความสูญเสียครั้งใหญ่หลวง


ไม่เฉพาะคนไทยในประเทศไทย แต่เป็นคนไทยทั้งโลกที่ "หัวใจสลาย"

คนไทยค่อนประเทศเกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เราเห็นท่านทรงตรากตรำทำงานหนักเพื่อพวกเรามาตั้งแต่เราจำความได้

ฉันเกิดในรัชกาลที่9ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป...กึกก้องในใจ

นอกจากสิ่งที่พ่อทำให้เห็นเป็นแบบอย่างแล้วคำสอนของพ่อก็เป็นสิ่งที่เราสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี

ที่หยิบมาอ่านบ่อยๆเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ"ปิดทองหลังพระ" จากบันทึกความทรงจำของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร

เรื่องมีอยู่ว่า...

คืนวันหนึ่งของปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ยศในขณะนั้นพันตำรวจโท) หลังจากได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแล้วในวังไกลกังวล

พล.ต.อ.วสิษฐเล่าว่า คืนนั้นผู้ที่โชคดีได้เข้าเฝ้าฯรับพระราชทานพระจิตรลดา เป็นนายตำรวจ 8 นาย และนายทหารเรือ 1 นาย

พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ทรงอยู่ในฉลองพระองค์ชุดลำลอง

ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา

ในภายหลังเมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถามจึงได้ทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่ององค์นั้นด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกันเช่นดินจากปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายในโอกาสต่าง ๆ และเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นตัวยึดแล้วจึงทรงกดลงในพิมพ์ โดยไม่ได้เอาเข้าเตาเผา

หลังจากที่ได้รับพระราชทานแล้วทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า"พระที่ให้ไปน่ะก่อนจะเอาไปบูชาให้ปิดทองเสียก่อนแต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น"

พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า

ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตนเองว่าการทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใครหรือประกาศให้ใครรู้ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว

"ผมเอาพระเครื่องพระราชทานไปปิดทองที่หลังพระแล้วก็ซื้อกรอบใส่หลังจากนั้นมาสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินองค์นั้นเป็นพระเครื่องเพียงองค์เดียวที่ห้อยคอผม"

หลังจากไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่ไกลเบื้องพระยุคลบาท

ผมมีโอกาสกลับไปเฝ้าฯที่วังไกลกังวลอีกครั้งความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯนอกจากจะเป็นความปีติยินดีแล้วก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิดบางครั้งแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ปรากฏว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใด ๆ ทั้งสิ้น

ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง

พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า "จะเอาอะไร"

ผมกราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่าจะขอพระบรมราชานุญาต ปิดทองบนหน้าพระที่ได้รับพระราชทานไป

พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผล

ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่าพระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้นนับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้วต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง

มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียว

พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวล(ยิ้ม)ก่อนที่มีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า"ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อย ๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง"

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 กรกฎาคม 2506 ก็พูดถึงเรื่องนี้

"การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็น ก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้ว คนโดยมาก ไม่ค่อยชอบ "ปิดทองหลังพระ" กันนัก เพราะว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้..."


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คำสอนของพ่อ

view