สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที แนวคิด พ่ออยู่หัว ร.๙ สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        ตลอดระยะเวลา70 ปีที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทุ่มเทพระวรกายทรงงานไม่ว่างเว้น ทุกอย่างที่พระองค์ท่านทำ ก็เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์ แม้ต้องย่ำน้ำ ลุยโคลน ผ่านเทือกเขาที่รกชัฏต่างๆ หรือแม้แต่สัตว์มีพิษที่จะทำร้ายพระวรกาย พระองค์ท่านไม่เคยย่อท้อใดๆ ทั้งสิ้น เสด็จเข้าไปทั่วทุกผืนถิ่นที่ได้ชื่อว่า “ผืนแผ่นดินไทย” โดยไม่เคยแบ่งแยกว่าชาติใด ศาสนาใด ขอเพียงได้ชื่อว่าอยู่ในแผ่นดินไทย ก็ขึ้นชื่อว่าเป็น “พสกนิกรของพระองค์” 
       
        การเดินทางอันยาวนานกว่า 70 ปี ทำให้เราได้เห็นว่า พ่ออยู่หัว ร.๙ ทำเพื่อพสกนิกรมากมายขนาดไหน เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมห้องทรงงานของพ่ออยู่หัว ถึงมีแผนที่เยอะขนาดนี้? เพราะนั่นเป็นที่มาของโครงการในพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการของพระองค์ท่าน
       
        เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ได้รับรู้ถึงพระราชปณิธานของพระองค์ท่านที่ได้ทำมาอย่างยาวนานได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ขึ้น “เครือข่ายสานต่อที่พ่อทำ” ได้จัดโครงการ “เดิน ทาง พ่อ” (Walk of the King) ชวนคนรุ่นใหม่ออกเดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์ตรง ตามรอยพระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        ** กว่าจะเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน 
       
       เอ็ม-นเรศ แสงอรุณ นักประชาสัมพันธ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เล่าย้อนไปเมื่อ 34 ปีที่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่เพาะปลูก ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรและประมงลดต่ำลง จึงมีพระราชดำริที่จะทำการศึกษาพัฒนาพื้นที่ในเขตที่ดินชายทะเล เพื่อแนะนำให้ประชาชนได้มีความรู้และความสำคัญของการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม จึงพระราชทานพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 ดังนี้
       
       “ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี”
       
       ต่อมาเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2524พระองค์ท่านได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตลดารโหฐาน กับ นายเล็ก จินดาสงวน และ นายสุหะ ถนอมสิงห์ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดจันทบุรี
       
       “ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม หรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา เช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตพื้นที่ชายทะเล”
       
       พระราชดำรัสของพ่ออยู่หัว ร.๙ ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินำผู้เข้าร่วมสัมมนาและบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทาน พระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531
       
       หลังจากรับพระราชดำริของพระองค์ท่านมา จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสมจึงกำหนดพื้นที่ ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 เพื่อศึกษา สาธิต และพัฒนา เนื่องจากชายฝั่งทรัพยากรทางทะเลมีสภาพเสื่อมโทรม ปัญหาการบุกรุกป่าชายเลน ปัญหาการจับสัตว์น้ำมากเกินกำลังของธรรมชาติ และพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย น้ำทะเลท่วมถึง และมีปัญหาดินเค็ม 

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
เอ็ม-นเรศ แสงอรุณ
        ** 34 ปีเต็มกับการพลิกฟื้นป่า
       
       กว่า 34 ปีเต็มที่พ่ออยู่หัว ร.๙ ทรงแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ โดยสิ่งแรกที่พระองค์ท่านต้องการให้ทำ คือ ศึกษา ทดลอง และวิจัย เมื่อประสบผลสำเร็จให้นำความรู้การวิจัยเหล่านั้นไปสอนประชาชน โดยเริ่มจาก การสาธิต ไม่ใช่ การฝึกอบรม
       
       “พระองค์ท่านตรัสว่า ต้องสาธิตให้ดูก่อนว่า พื้นที่แบบนี้ ภูมิสังคมแบบนี้ ควรที่จะปลูกอะไร เลี้ยงอะไรดี หลังจากนั้นเมื่อราษฎรสนใจ ถึงค่อยจัดฝึกอบรมให้ตรงกับความต้องการของราษฎร และต้องมีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สาธิตให้กับประชาชนได้รับรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้” เอ็ม-นเรศ กล่าว
       
       ปัจจุบัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน มีพื้นที่ 83,285 ไร่ โดยเหตุที่เรียกว่าอ่าวคุ้งกระเบนนั้น เพราะว่า ลักษณะรูปร่างของอ่าวคล้ายกับปลากระเบน แต่ถ้าเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เล่าว่า แต่เดิมก่อนที่พื้นที่ป่าชายเลนแห่งนี้ถูกทำลาย ย่านนี้อุดมสมบูรณ์มาก ทำให้มีสัตว์น้ำต่างๆ มาอยู่อาศัยในอ่าว และความอุดมสมบูรณ์นี้จึงเป็นแหล่งดึงดูดให้กับปลากระเบนเข้ามาหากิน ต่อมาจึงก่อเกิดการทำประมงในพื้นที่บริเวณแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า อ่าวคุ้งกระเบน 

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        ** พัฒนาจาก “ยอดเขา” สู่ “ท้องทะเล” 
       
       แรกเริ่มการลงมือพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในขณะนั้น พ่ออยู่หัว ร.๙ ให้เริ่มพัฒนาตั้งแต่ต้นทางจาก “ยอดเขา” สู่ “ท้องทะเล”
       
       โดยทางศูนย์ฯ ดูแลอนุรักษ์ป่าไม้ บริเวณพื้นที่สูง จำนวน 11,370 ไร่ ให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์ โดยพระองค์ท่าน มีพระราชดำริว่า การที่จะมีต้นน้ำลำธารตลอดกาลนั้น สำคัญอยู่ที่การรักษาป่า ปลูกป่าบริเวณต้นน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณยอดเขาและเนินที่สูงชัน และพระองค์ท่านยังทรงเน้นว่า “ให้ศึกษาดูก่อนว่าพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้าง และปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ ที่ศึกษามาได้ ไม่ควรนำพันธุ์ไม้ต่างถิ่นมาปลูก โดยที่ไม่ได้มีการศึกษามาก่อน” นี่คือสิ่งที่พระองค์ท่านบอกเอาไว้ เราก็ได้มีการศึกษาเรื่อง อาหารสัตว์ การสร้างกรงเทียมให้กับสัตว์น้ำ และการจัดการด้านป่าไม้
       
       บางคนถามว่า ทำไมผืนป่าแห่งนี้ถึงอุดมสมบูรณ์ และไม่เกิดไฟป่ามากว่า 34 ปี เพราะว่าด้านบนภูเขา เราสนองงานของพระองค์ท่านด้วย “การสร้างฝายชะลอน้ำ” ไม่ต่ำกว่า 500 ฝายด้านบนเขาแห่งนี้
       

       ฝายชะลอน้ำ ช่วยในการชะลอการไหลของน้ำ กักเก็บตะกอนดินไม่ให้ลงสู่แหล่งน้ำ เพราะถ้าตะกอนดินไหลลงสู่แหล่งน้ำตอนล่างจะตื้นเขิน เมื่อถึงฤดูแล้งจะเก็บกักน้ำได้น้อยลง ทำให้เกิดปัญหาน้ำอุปโภค บริโภค ปัญหาการเกษตรกรรม ดังนั้นพระองค์ท่านจึงต้องการให้สร้างฝาย เพื่อแผ่ขยายความชุ่มชื้นออกไป
       
       นอกจากนี้พระองค์ท่านทรงพระราชดำริให้ปลูก “ต้นกล้วย” เป็นแนวป้องกันไฟป่า เพราะกล้วยเป็นพืชที่อมน้ำ เวลาเกิดไฟป่าขึ้นมาจริงๆ จะใช้เวลาค่อนข้างนาน กว่าที่ไฟจะไหม้ต้นกล้วยได้ รวมถึงต้นกล้วยยังเป็นอาหารของสัตว์ป่าอีกด้วย อันนี้คือ “มรรควิธี” ของพระองค์ท่าน วิธีที่ภัทรมหาราชภูมิพล ทำมาตลอดรัชสมัยแห่งธรรมราชา
       
       พระองค์ท่านยังทรงตรัสอีกว่า “เมื่อมีป่า ป่าสร้างน้ำ เมื่อมีน้ำ การเกษตรก็จะตามมา” การเกษตรจะดีได้ต้องมีการพัฒนาที่ดิน และปศุสัตว์ควบคู่ไปด้วย นี่คือการมองแบบองค์รวมของพ่ออยู่หัวฯ ที่พระองค์ทรงรู้ว่าทุกเรื่องนั้นถูกเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จึงสานต่อ พื้นที่รอยต่อป่าชายเลน และเชิงเขา ในการศึกษาทดลองวิจัย พันธ์ไม้พืชเศรษฐกิจ และส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำเกษตรผสมผสานทฤษฏีใหม่ การปลูกข้าวพันธุ์ดีครบวงจร การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ และการปลูกผักปลอดสารพิษ
       รวมถึง การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง มีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำไม่ต่ำกว่า 20 ล้านตัว สู่พื้นที่อ่าวคุ้งกระเบน ทั้งกุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย ปลากระพงขาว หอยหวาน และการเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน 

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        โดยในปี พ.ศ. 2530 พ่ออยู่หัว ร.๙ ได้มีพระราชดำริให้ราษฎรยากจนเข้าไปประกอบอาชีพบนป่าพื้นที่ชายเลน 128 ไร่ ต่อมาในปีพ.ศ. 2542 ทางศูนย์ฯได้ส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงกุ้งด้วยระบบชลประทานน้ำเค็มขึ้นมา เพราะเมื่อก่อนเวลาที่ชาวบ้านเลี้ยงกุ้งจะสูบน้ำจากอ่าวคุ้งกระเบนไปเลี้ยงกุ้งประมาณ 4-5 เดือน เมื่อจับกุ้งเสร็จจะสูบน้ำเสียดินเลนลงสู่อ่าวคุ้งกระเบน และสิ่งที่ตามมาคือ การเกิดโรคไวรัสในสัตว์น้ำทะเล เป็นผลให้ราษฎรที่เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาขาดทุนกันอย่างมาก
       
       ทันทีที่พ่ออยู่หัว ร.๙ ได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าว พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเลที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยกรมประมงและฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงสนองงานของพระองค์ท่านด้วยการทำ “ชลประทานน้ำเค็ม” เข้ามา ด้วยการสูบน้ำจากชายหาดแหลมเสด็จ ซึ่งห่างจากชายฝั่ง 350 เมตร และสูบน้ำจากทะเลขึ้นมาฝังเป็นท่ออยู่ใต้ดิน ให้ราษฎรได้ใช้น้ำทะเลที่สะอาดเข้าสู่พื้นที่การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรรอบอ่าวคุ้งกระเบน เป็นระยะทางกว่า 8 กิโลเมตร และมีการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้การเกษตรกรรมได้ผลดีส่งออกกุ้งที่เลี้ยงได้กว่า 5,000 ตันต่อปี และไม่ประสบกับปัญหาการติดเชื้อที่ทำให้การเกษตรขาดทุนอย่างที่เคยเป็นมา
       
       ปัจจุบันราษฎรที่เลี้ยงกุ้งไม่สามารถฉีดดินเลน และผันน้ำที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งลงสู่อ่าวกระเบนได้ ถ้าไม่ผ่านการบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ก่อน ซึ่งวิธีการบำบัดน้ำเสีย พ่ออยู่หัว ร.9 ได้พระราชทาน บ่อเก็บเลน และ บ่อตกตระกอน มาให้ โดยที่ชาวบ้านจะสูบน้ำและตะกอนเข้าสู่บ่อเก็บเลนไว้ก่อน จากนั้นจะปล่อยให้น้ำในบ่อตกตะกอนก่อนอย่างน้อย 24 ชม. หรือมากกว่านั้น โดยน้ำด้านบนจะกลายเป็นน้ำเสียส่วนใส จะถูกปล่อยให้ไหลลงสู่คลองบำบัดที่ 1 ด้วยการติดเครื่องเพิ่มอากาศให้กับจุลินทรีย์ได้ย่อยของเสียในน้ำให้เป็นของดี ซึ่งของดีที่เกิดขึ้นมานั้นคือ แพลนตอน และ สาหร่าย
       
       เมื่อถึงเวลากลางคืน แพลนตอนและสาหร่ายไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จึงเกิดการน็อกอากาศ ทางศูนย์จึงนำภูมิปัญญาของชาวบ้านภาคตะวันออกมาผสมผสานในการแก้ปัญหานี้ด้วย “การเลี้ยงหอยนางรม” ผ่านทางไหลของน้ำ และหอยนางรมนี้เองจะช่วยกินแพลนตอนในน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จากนั้นน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่ป่าชายเลน ผ่านหญ้าทะเล ก่อนไหลลงสู่ทะเลในอ่าวคุ้งกระเบน
       
       จากการดูแลและช่วยกันรักษาแหล่งน้ำของราษฎร ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางน้ำกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะปลาหมึก เข้ามาวางไข่บริเวณหญ้าทะเลที่พ่ออยู่หัว ร.๙ อนุรักษ์ไว้ รวมถึงการกลับคืนมาของ “ปลาพยูน” 

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        ในส่วนของการอนุรักษ์ป่าชายเลน ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้อนุรักษ์ป่าชานเลน610 ไร่ และปลูกเพิ่มเติมอีกกว่า 690 ไร่ มีการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรป่าชายเลน มีการเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลนเพื่อนำไปปลูกขยายผล ปัจจุบันยังคงปลูกพันธุ์ไม้ในพื้นที่ส่วนขยายผลอยู่ นอกจากนี้ พื้นที่โดยรอบของป่าชายเลน ยังสามารถใช้ สะพานเดินศึกษาธรรมชาติและป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน ระยะทาง 1,793 เมตร ในการเที่ยวชมตามจุดต่างๆ พร้อมกับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนที่ติดอยู่ตลอดเส้นทาง พร้อมชมความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าทางธรรมชาติมากมาย
       
       จากยอดเขา สู่ท้องทะเล ความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ ภายใต้พระราชดำริของพ่ออยู่หัว ร.๙ นำมาสู่ผลสำเร็จของการพัฒนา เพื่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์ท่านได้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี นี่คือคำตอบว่าทำไมคนไทยถึงรัก พ่ออยู่หัว ร.๙ ได้มากขนาดนี้
        
        
       
       

       
       สัมภาษณ์โดย ผู้จัดการ Lite
       เรื่องและภาพ: นับดาว รัตนสูรย์
       ขอบคุณภาพประกอบบางส่วน : กรมป่าไม้ 

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
        

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
การเลี้ยงหอยนางรมผ่านการไหลของน้ำ
        

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
ซังเชือก หรือการทำสาหร่ายเทียมให้สัตว์น้ำมาวางไข่
        

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” แนวคิด “พ่ออยู่หัว ร.๙” สู่...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
คนรุ่นใหม่รวมพลังทำซังเชือก หรือการทำสาหร่ายเทียมให้สัตว์น้ำมาวางไข่

สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที แนวคิด พ่ออยู่หัว ร.๙ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี

view