สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความรู้แบบมีเหตุผล ไม่ใช่ความเชื่อ : ลัทธินมแม่กับความเป็นจริงทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
       ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       ราชบัณฑิต


       
       สังคมไทยยังมีการได้ฟัง บอกต่อ จนเป็นความเชื่อจนขาดเหตุผล ขอยกตัวอย่างเรื่องนมแม่ ไม่มีหมอเด็กคนไหน ไม่สนับสนุนนมแม่อย่างแน่นอน เพราะเป็นของดีที่สุดสำหรับทารก แต่จะให้ไปถึง 3 ขวบ หรือ 6 ขวบ ก็ไม่มีใครว่า เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล
       
       แต่หลัง 1 ปี เด็กจะต้องได้อาหารหลัก เป็นอาหาร 3 มื้อ นมเป็นอาหารเสริม นมที่ต้องการจะต้องเป็นนมจืด ไม่ใช้ปรุงแต่งหวาน นมกล่อง จะมีราคาแพง ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาเป็นนมผง แล้วมาคืนรูปไป ความหวาน และรส ต่างๆ ทำไมเด็กไทยแค่ 2 ขวบชอบนมเปรี้ยว ที่โฆษณากันอยู่ ที่ชอบเพราะความหวาน
       
       องค์การอนามัยโลก สนับสนุน แนะนำให้กินนมแม่อย่างเดียว จนถึง 6 เดือน ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศยากจน การเตรียมอาหารเสริม แม้แต่จะหาน้ำสะอาด และเตรียมอาหารให้ถูกหลักไม่ได้
       
       แต่ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่ายุโรป และอเมริกา บอกว่า ควรให้อาหารเสริมกับทารกเมื่อทารกพร้อม คำว่าพร้อม คือทารกต้องอยู่ในท่านั่งได้ คอแข็ง และการให้อาหารเสริมจะเป็นการฝึกการกลืน ได้เรียนรู้ว่า อาหารมีรส อย่างอื่นอีกมาก โดยไม่ได้หวังคุณค่าอาหารมากนัก ในขวบปีแรก ความพร้อมของเด็ก จะเกิดขึ้นหลัง 4 เดือนไปแล้ว โดยทั่วไปจึงอยู่ในช่วง 4 – 6 เดือน ถ้าเราไม่พร้อมที่จะเตรียมอาหารให้สะอาดได้พอ ก็รอไป 6 เดือน
       
       กฏเกณฑ์ต่างๆ ทุกอย่างมีเหตุและผล ถ้าเราคิดว่าเรายากจน อยู่ชนบทห่างไกล เช่น หนองหมาว้อ ก็ขอให้นมแม่ให้นานที่สุด
       
       แต่ถ้าคิดว่าถ้าทำอาหารเสริมได้ดี และเด็กพร้อม ก็ให้ได้ คงไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ทุกอย่างมีเหตุและผล ไม่ใช่อ้างองค์การอนามัยโลกบอกว่า ... ยูนิเซฟบอกว่า ... การทำแบบสายกลาง ไม่ตึงและหย่อนเกินไป ก็จะดำรงชีวิตอยู่แบบมีความสุข
       
       ผมขอตอบแทน อาจารย์อาวุโส ที่ผมเคารพ และ สังคมไทยมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ผมไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แน่นอน การพูดต่อต่อกันจะคลาดเคลื่อนได้ง่าย และตัดบางส่วนมาพูด ไม่ได้ติดตามทั้งหมด ผมเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการสาธารณสุขของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขอแสดงความเห็นดังนี้
       
        1. ผมอ่าน พ.ร.บ. หมดแล้ว
       
        2. กุมารแพทย์ทุกคน รวมทั้งอาจารย์อาวุโส โดยเฉพาะ ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญโภชนาการเด็ก และเคยทำงานองค์การอนามัยโลกทางด้านอาหารทารกเป็นสิบๆ ปี แต่ยังมีหนังสือพิมพ์ลงข่าวคลาดเคลื่อน รวมทั้งสื่อสังคมกล่าวหาด้วย
       
       3. การส่งเสริมนมมารดา ทุกคนเห็นด้วย ถ้าจะส่งเสริม ทำไมไม่ให้มารดาหยุดเลี้ยงลูกอย่างน้อย 6 เดือน โดยได้รับค่าตอบแทน การที่มารดา (ปัจจุบัน) มีภาระงาน แล้วต้องเลี้ยงลูก ส่งลูกให้ยายเลี้ยง ปั๊มนม ส่งรถทัวร์ ค่าใช้จ่าย ค่าเครื่องเป็นหมื่น ถุงนม ค่าขนส่ง คนรายได้น้อยต้องทำงานจึงเกิดมีปัญหามาก
       
       4. นมมารดา มีคุณค่าสูงสุด ควรให้เต็มที่อย่างน้อย 6 เดือน และให้ต่อไปให้นานที่สุด และถ้าเกิน 2 ปี เด็กไม่ควรจะ “ดูด” จากเต้าหรือขวด เพราะจะทำให้การขบฟันเสีย โตขึ้นต้องใส่ลวดดัดฟัน ถามหมอฟันดูได้เลยจะให้นมมารดาเกิน 2 ขวบ ก็ไม่มีใครว่า เป็นสิทธิแต่ละบุคคล
       
       5. หลัง 1 ปี นมมารดา หรือ Healthy food เป็นอาหารเสริม อาหารหลักคือ อาหารห้าหมู่ 3 มื้อ และ Healthy food นม ไข่ เนื้อ และผักผลไม้ ถือเป็น Healthy food
       
       6. นมทุกชนิดมีประโยชน์ หลัง 1 ปี ควรส่งเสริมให้มีการดื่มนม
       
       7. การควบคุม การสนับสนุน Healthy food ส่วนที่ควบคุมไม่ได้ และเป็น Un-Healthy food จะเข้ามาแทน
       
       8. หลายคนบอก เมื่อเลิกนมมารดา ก็หานมกล่อง หลายคนไม่เข้าใจ นมกล่องในท้องตลาด ก็คือนมผง มาละลายคืนรูป ใส่ความหวาน รส กลิ่น ปรุงแต่ง และค่ากล่องแพง อยากซื้อของแพงก็ไม่ว่ากัน โดยใช่เหตุ ถ้าจะซื้อความสะดวก ไม่ว่า หลายคนไปกินนมเปรี้ยวกันมาก ติดนมเปรี้ยวกันมาก เพราะความหวาน การส่งเสริมการขายเหมือนกัน
       
       9. พ.ร.บ นี้ จะควบคุม ไปถึง 3 ขวบ เพื่อส่งเสริมนมมารดา คงจะไม่ใช่ ถ้าส่งเสริมมารดา จะต้องศึกษาว่าปัจจัยที่มีปัญหา ทำไมไม่ออก พ.ร.บ.ให้หยุดเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาถึง 6 เดือน โดยได้รับเงินเดือน ทำไมไม่เอาสายกลางแบ่งเป็น 2 ส่วน 1 ขวบ และ หลัง 1-3 ขวบ จะออกกฎเกณฑ์ กฎกระทรวงอะไรก็ว่ามา จะควบคุมตรงไหนก็ทำได้อยู่แล้ว
       
       10. การโจมตีท่าน ด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน ผมว่าไม่ยุติธรรม การเปิดเพจให้คนชอบ สะใจ ขายของ ได้ผลประโยชน์ ก็มีผลประโยชน์ทับซ้อน
       
       11. เรามีงบประมาณจำนวนมาก ส่งเสริมสุขภาพ เช่น สสส. สี่พันล้าน รณรงค์ ลดเลิกยาเสพติด มี พ.ร.บ. มากมาย ทำไม ยาเสพติด เหล้า บุหรี่ ขายเพิ่มทุกปี การแก้ปัญหาจะต้องอยู่ที่การให้ความรู้ ในมารดาก็เช่นกัน ไม่ใช่กระจายในสื่อสังคม ห้ามแม้กระทั่ง ห้ามมารดาบริโภคนมตั้งแต่ตั้งท้องจนให้นมบุตร เพราะกลัวภูมิแพ้ ทั้งที่สมาคมภูมิแพ้อเมริกัน ก็เขียนชัดเจนว่าไม่เกี่ยวกัน
       
       12. การทำอะไรถ้าสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะมีแต่ความเครียด อยู่แบบมีความสุขไม่ดีกว่าหรือ สายกลางดีที่สุด พ.ร.บ.ส่งเสริมนมแม่ เรารู้ว่าดี นมมารดาก็ควรให้ ให้นานที่สุด แต่ก็ไม่ใช่เกิน 2 ปี ยังใช้ “ดูด” อยู่ จะให้นมแม่นานกว่านั้นก็ได้ ควรกินจากแก้ว หลัง 1 ขวบ เด็ก ควรได้รับ Healthy food เป็นอาหารหลัก นมเป็นอาหารเสริม พรบ จะควบคุมเข้มถึง 1 ปี และแยกอีกส่วนจะควบคุมหลัง 1-3 ขวบ เกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย รวมทั้งหมดก็ได้ ควรแยกกันให้ชัดเจน ถ้าไปมุ่งควบคุม Healthy food สิ่งที่เรากลัวก็คือ unhealthy food จะเข้ามาแทนที่ เพราะหลายอย่างไม่สามารถควบคุมได้
       
       ทางสายกลางที่ดีที่สุด เลิกดราม่า ได้แล้ว จะเอามันหรือสะใจ เพื่อมุ่งทำลายคนอื่น ผมเองก็ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะอาจารย์อาวุโส ที่ทรงเปี่ยมด้วยความรู้
       
       การจะมี พ.ร.บ. หรือไม่มี พ.ร.บ. ผมคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง และไม่ขัดข้อง แต่ถ้าสุดโต่ง ภาวะแทรกซ้อน unhealthy food ที่ควบคุมไม่ได้จะเข้ามา เพราะผมเชื่อว่า พ.ร.บ. ที่เรามีอยู่มากมาย ก็ไม่เห็นชัดถึงผล เช่น พ.ร.บ.จราจร ก็ยังเห็นอุบัติเหตุมากมาย พ.ร.บ.เหล้า บุหรี่ การเสพ เหล้า บุหรี่ ก็เพิ่มทุกวัน จนงบ สสส. เพิ่มทุกปี
       
       เลิกดราม่าเรื่องนมได้แล้ว ความอบอุ่นของครอบครัวไม่ได้อยู่ที่ นม อย่างเดียว นกไม่มีนมให้ลูกกิน ก็สร้างความอบอุ่นได้
       
        อาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ กล่าวว่า "เห็นดราม่า แล้ว สะท้อนให้เห็น ขีดความสามารถการอ่าน จากผลคะแนน PISA เรื่อง Reading ability ทาง OECD กำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ยไว้ที่ 500 ของไทย ได้คะแนน 409 ลดลงจากคราวก่อน 32 คะแนน OECD วางขีดความสามารถของคนเป็น 6 ระดับ ระดับ1 คือระดับต่ำสุด ขีดความสามารถการอ่านของคนไทยยังน่าเป็นห่วงครับ ขีดความสามารถการอ่านเป็นประตูสู่การเรียนรู้"


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ความรู้แบบมีเหตุผล ไม่ใช่ความเชื่อ ลัทธินมแม่ ความเป็นจริงทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์

view