สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แลหน้าเศรษฐกิจโลก 2017 มีทั้งความหวัง-ความเสี่ยง

จากประชาชาติธุรกิจ

ถึงแม้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยจะมองในแง่ดีว่า เศรษฐกิจโลกปี 2017 อาจจะตีฝ่าวงล้อมความซบเซาไปได้

และคงดีกว่าปี 2016 แต่จากโพลที่จัดทำโดยรอยเตอร์ส ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากมืออาชีพทั่วโลกหลายร้อยคนกลับเห็นว่า ถึงแม้จะมีการตั้งความหวังกับนโยบายของ "โดนัลด์ ทรัมป์" ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ที่จะมีการปรับลดภาษี

สำหรับธุรกิจลงอย่างมาก ตลอดจนโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่แนวโน้มเศรษฐกิจน่าจะคล้ายคลึงกับปี 2016 กล่าวคือ "ไม่สม่ำเสมอ" และ "ไม่น่าประทับใจนัก"

เงินเฟ้อของสหรัฐที่เร่งตัวขึ้นและเงินดอลลาร์แข็งค่าอันเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ปรับขึ้นดอกเบี้ยถือเป็นความเสี่ยงต่อสมดุลเศรษฐกิจโลกขณะเดียวกันนักลงทุนยังกังวลว่า จีนอาจทำให้เศรษฐกิจโลก "ตกราง" ก็เป็นได้ เพราะการค้าจีนยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก

ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economy) ยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะบราซิลที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศเอเชียส่วนมากก็จะเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ ทำให้มีความหวังว่า เศรษฐกิจโลกปี 2017 จะเติบโตได้ถึง 3.2% ตามที่มีการคาดการณ์ไว้มีน้อยลง

ส่วนประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกา มีปัญหาเรื่องผลิตภาพ (Productivity) ที่ไร้ประสิทธิภาพมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้ถึงแม้อัตราการว่างงานของสหรัฐจะลดลงเหลือ 4.6 % แต่ทว่าการจ้างงานก็ยังเพิ่มขึ้นช้า 

ดังนั้นคงยากที่เศรษฐกิจจะขยายตัว 3.5-4% ตามที่โดนัลด์ ทรัมป์ สัญญาเอาไว้ฉันทามติของผู้ที่ตอบแบบสอบถามของรอยเตอร์ส (จัดทำหลังจากทรัมป์ชนะเลือกตั้ง) เชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐ ปี 2017 จะขยายตัวเกิน 2% ไปเล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของเฟด และไม่ต่างจากโพลที่รอยเตอร์สจัดทำเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2016 

เงินดอลลาร์ที่แข็งค่ายังอาจทำให้ผลประกอบการในอนาคตของบริษัทสหรัฐที่พึ่งพารายได้จากการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ"ลดลง"นอกจากนี้เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าได้ส่งผลให้เงินสกุลอื่นๆ อ่อนค่า อาจมีผลกระทบให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ต้องใช้นโยบายในเชิงควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งจะกระทบความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ

หากมองไปยัง "จีน" ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากอเมริกา คาดว่าการเติบโตจะช้าลง ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างจีนกับอเมริกา ในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เกิดขึ้นแล้ว 

ส่วนในฟากของ "อินเดีย" ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในโลกประจำปี 2016 ก็คาดว่า การเติบโตในปี 2017 อาจถูกถ่วงรั้งด้วยนโยบายยกเลิกการใช้ธนบัตรขนาด 500 และ 1,000 รูปี ซึ่งสร้างความปั่นป่วนไปทั่ว

อย่างไรก็ตาม จุดสดใสของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่ที่กลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เพราะธนาคารกลางยุโรปยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน โดยขยายเวลาซื้อสินทรัพย์ทางการเงินออกไปอีก ทำให้ค่าเงินยูโรอยู่ในระดับที่สามารถเอื้ออำนวยการส่งออก 

กระนั้นก็ตาม การเลือกตั้งในเยอรมนี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ในปี 2017 ที่อาจได้รัฐบาลที่มีแนวคิดต่างออกไปจากเดิม จะสร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจยุโรปที่กำลังได้รับผลกระทบจากกรณีที่อังกฤษได้โหวตออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู) 

สำหรับการลงทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่นั้น "มาร์ก โมเบียส" ประธานบริหารเทมเพิลตัน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต กรุ๊ป ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาดเกิดใหม่ แสดงทรรศนะว่า ถึงแม้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะประสบภาวะเงินทุนไหลออกจำนวนมาก 

เนื่องจากเฟดขึ้นดอกเบี้ย แต่กระนั้นยังมีบางเซ็กเตอร์ที่อาจได้รับประโยชน์จากการเติบโตรวดเร็วของเศรษฐกิจ โดยเห็นว่าบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและไอทีน่าสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากจะเป็นเพราะเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้เติบโตเร็วแล้ว ยังเป็นเพราะชนชั้นผู้บริโภค (Consumer Class) จับจ่ายใช้สอยอย่างคึกคัก 

มาร์ก โมเบียส บอกอีกว่า เขาชอบหุ้นขนาดเล็กในเอเชีย เพราะมักเป็นหุ้นที่เน้นลงทุนหรือพึ่งพารายได้ในประเทศเป็นหลักมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ ทำให้หุ้นเหล่านี้ได้รับผลกระทบทางลบจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคระดับโลกน้อย อย่างไรก็ตาม สำหรับจีนนั้นเขาขอนั่งดูอยู่ข้างสนามมากกว่า เนื่องจากกังวลหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของภาคธนาคารและอสังหาริมทรัพย์

ความกังวลของมาร์ก โมเบียส ในปี 2017 ก็คล้ายกับคนอื่น คือการที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง ตลอดจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอันเนื่องมาจาก "อังกฤษออกจากอียู" และ "ราคาน้ำมัน"


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แลหน้า เศรษฐกิจโลก 2017 ความหวัง ความเสี่ยง

view