สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดัชนีคอร์รัปชันไทยปี 59 ร่วงลงมาอยู่อันดับ 101 ของโลก-รั้งที่ 4 อาเซียนเทียบเท่าฟิลิปปินส์

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ดัชนีคอร์รัปชันไทยปี 59 ร่วงลงมาอยู่อันดับ 101 ของโลก-รั้งที่ 4 อาเซียนเทียบเท่าฟิลิปปินส์
        เอเจนซีส์ - องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) เผยแพร่ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index - CPI) ประจำปี 2016 โดยประเทศไทยได้คะแนนความโปร่งใส 35 จากคะแนนเต็ม 100 อยู่ในลำดับที่ 101 ของโลกจากทั้งหมด 176 ประเทศที่ทำการสำรวจ และเป็นลำดับที่ 4 ในภูมิภาคอาเซียนเทียบเท่าฟิลิปปินส์
       
       ทีไอชี้ว่า ค่า CPI ของประเทศไทยลดลงจาก 38 คะแนนในปี 2558 ลงมาอยู่ที่ 35 คะแนนในปี 2559 เนื่องจากพบความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชันกับปัญหาทางการเมือง รวมไปถึงการที่รัฐบาลปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก ขาดการตรวจสอบจากบุคคลหรือองค์กรที่เป็นอิสระ และสถานการณ์ด้านสิทธิที่ย่ำแย่ลงจนบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชน
       

       แม้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของไทยจะเน้นปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันมากเป็นพิเศษ แต่ก็ยังให้อำนาจแก่กองทัพ และไม่มีกลไกตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการคืนอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ การอภิปรายเนื้อหาของรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถกระทำได้อย่างเสรี ฝ่ายค้านถูกปิดโอกาสในการหาเสียง มีการจับกุมนักเคลื่อนไหว และรัฐบาลไม่อนุญาตให้มีผู้สังเกตการณ์อิสระเข้าร่วมสังเกตการณ์การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 
       
       ผลการจัดอันดับในปีล่าสุดนี้พบว่า “เดนมาร์ก” ยังคงได้คะแนนความโปร่งใสสูงที่สุด 90 คะแนน ลดลง 1 แต้มจากเมื่อปี 2015 แต่ยังคงครองอันดับ 1 ของโลกไว้ได้ 3 ปีซ้อน รองลงมาได้แก่ นิวซีแลนด์ (90) ฟินแลนด์ (89) สวีเดน (88) สวิตเซอร์แลนด์ (86) นอร์เวย์ (85) สิงคโปร์ (84) เนเธอร์แลนด์ (83) แคนาดา (82) และเยอรมนี (81)
       
       สำหรับภูมิภาคอาเซียน สิงคโปร์ยังคงรั้งแชมป์ประเทศที่มีความโปร่งใสสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ บรูไน (คะแนน 58 ลำดับที่ 41 ของโลก) มาเลเซีย (คะแนน 49 ลำดับที่ 55 ของโลก) อินโดนีเซีย (คะแนน 37 ลำดับที่ 90 ของโลก) ไทยและฟิลิปปินส์ (คะแนน 35 ลำดับที่ 101 ของโลก) เวียดนาม (คะแนน 33 ลำดับที่ 113 ของโลก) ลาว (คะแนน 30 ลำดับที่ 123 ของโลก) พม่า (คะแนน 28 ลำดับที่ 136 ของโลก) และกัมพูชา (คะแนน 21 ลำดับที่ 156 ของโลก) 

ดัชนีคอร์รัปชันไทยปี 59 ร่วงลงมาอยู่อันดับ 101 ของโลก-รั้งที่ 4 อาเซียนเทียบเท่าฟิลิปปินส์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
        

ดัชนีคอร์รัปชันไทยปี 59 ร่วงลงมาอยู่อันดับ 101 ของโลก-รั้งที่ 4 อาเซียนเทียบเท่าฟิลิปปินส์
        

ดัชนีคอร์รัปชันไทยปี 59 ร่วงลงมาอยู่อันดับ 101 ของโลก-รั้งที่ 4 อาเซียนเทียบเท่าฟิลิปปินส์

เลขาฯ ป.ป.ช.งง! TI นำประเด็นประชาธิปไตยมาร่วมจัดอันดับ ทำไทยโปร่งใส ปี 59 วูบ!

โดย MGR Online

เลขาฯ ป.ป.ช.งง! TI นำประเด็นประชาธิปไตยมาร่วมจัดอันดับ ทำไทยโปร่งใส ปี 59 วูบ!
        เลขาฯ ป.ป.ช.งง! TI นำเรื่องความเป็นประชาธิปไตยมาใช้ในการจัดอันดับความโปร่งใสนานาชาติ ทำไทยคะแนนความโปร่งใส ปี 2559 วูบ! ได้ 35 คะแนน อยู่อันดับที่ 101 ของโลก รับผิดหวังตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 38 คะแนน ระบุต้องกลับไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับการประเมินในครั้งนี้
       
       วันนี้ (25 ม.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ป.ป.ช.ได้รับทราบรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ประกาศคะแนนดัชนีการจัดอันดับความโปร่งใส หรือ Corruption Perceptions Index (CPI) ปี 2016 ที่ประเทศไทย ได้35 คะแนน อยู่อันดับที่ 101 ของโลก ซึ่ง ป.ป.ช.พบว่า มีการนำเรื่องความเป็นประชาธิปไตยมาใช้ในการจัดอันดับด้วย จากนี้ไป ป.ป.ช.จะนำมาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ต่อไป
       
       “ดูจากคะแนนและผลการจัดอันดับที่ออกมา ป.ป.ช.ก็ผิดหวัง เพราะเราคาดการณ์ว่าเราจะได้เกินกว่า 38 คะแนน แต่กลับตกมาที่ 35 คะแนน ก็รู้สึกผิดหวัง โดยต้องกลับไปดูอีกทีว่าเกิดอะไรขึ้นกับการประเมินในครั้งนี้”
       
       ทั้งนี้ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ได้ประกาศค่าคะแนน Corruption Perceptions Index (CPI) ของปี 2559 ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2560 นี้ โดยประเทศไทยได้คะแนน 35 จาก 100 คะแนนเต็ม อยู่ที่ 101จากจำนวน 176 ประเทศ อยู่ในระดับเดียวกันประเทศฟิลิปปินส์ และติมอร์ เลสเต้ ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับที่ 6 จาก 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
       
       ก่อนหน้านั้น ป.ป.ช.ได้ทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ค่าคะแนน CPI ที่วัดดัชนีการรับรู้การทุจริตประเทศไทย (Corruption Perceptions Index : CPI) จำนวน 8 ตอนเผยแพร่ในเว็บไซต์
       
       มีรายงานว่า สำหรับรายงานของ CPI ตอนหนึ่งที่กล่าวถึงประเทศไทย โดยอ้างถึงความเป็นประชาธิปไตย มีใจความว่า
       

       Thailand dropped to 35 in its score this year, reinforcing the link between perceived corruption and political turmoil. Government repression, lack of independent oversight, and the deterioration of rights eroded public confidence in the country.
       
       Thailand's new constitution, while it places significant focus on addressing corruption, entrenches military power and unaccountable government, undermining eventual return to democratic civilian rule. Free debate on the constitution was impossible; campaigning in opposition was banned and dozens of people were detained. The military junta also prohibited monitoring of the referendum. There is a clear absence of independent oversight and rigorous debate.
       
       ขณะที่รายงานดังกล่าวมีการอ้างถึงบทความในประเด็นการเมืองในวาระต่างๆ ทั้งการเลือกตั้ง การเข้าบริหารของรัฐบาลทหาร จากองค์กรต่างๆ และสื่อมวลชน เช่น สำนักข่าวบีบีซี ยูเอ็นนิวส์ ฮิวแมนไรต์วอตช์
       
       บทความของยูเอ็นนิวส์ “Thailand: UN rights expert warns against curbs on free speech ahead of major vote” เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2559 http://www.un.org/apps/news/story.asp?NewsID=54556#.WIhsyxuLTIV
       
       บทความของฮิวแมนไรต์วอตช์ “Thailand: Junta Bans Referendum Monitoring Generals Gag Criticism of Draft Constitution” เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 https://www.hrw.org/news/2016/06/21/thailand-junta-bans-referendum-monitoring
       
       บทความของสื่อเดอะการ์เดียน “Thailand votes in favour of military-backed constitution” เผยแพร่วันที่ 7 กันยายน 2559 https://www.theguardian.com/world/2016/aug/07/thailand-votes-in-favour-of-military-backed-constitution
       
       บทความของบีบีซี “Thai referendum: Military-written constitution approved” เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 http://www.bbc.com/news/world-asia-36972396 

เลขาฯ ป.ป.ช.งง! TI นำประเด็นประชาธิปไตยมาร่วมจัดอันดับ ทำไทยโปร่งใส ปี 59 วูบ!

'องค์การต้านทุจริตโลก'ชี้ให้ระวัง ผู้นำแนวประชานิยมแบบ'ทรัมป์'

โดย MGR Online

'องค์การต้านทุจริตโลก'ชี้ให้ระวัง ผู้นำแนวประชานิยมแบบ'ทรัมป์'
        เอเจนซีส์ - องค์การต่อต้านการคอร์รัปชั่นนานาชาติชื่อดัง เตือนการขึ้นสู่อำนาจของนักการเมืองประชานิยมทั่วโลกไม่ได้ช่วยถอนรากถอนโคนการทุจริต แต่กลับทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น จากการสร้างระบบคอร์รัปชั่นในรูปแบบที่เลวร้ายกว่าเดิม ยกตัวอย่างคณะบริหารชุดใหม่ของทรัมป์ที่เริ่มส่งกลิ่นทะแม่งๆ นับแต่ที่ประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ แต่งตั้งลูกเขยตัวเองเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
       
       โฆเซ อูกาซ ประธานองค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (ทีไอ) เตือนระหว่างการเปิดเผยรายงานดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี 2016 เมื่อวันอังคาร (24 ม.ค.) ว่า ลัทธิประชานิยมเป็นการจ่ายยาผิด ดังจะเห็นได้ว่า ในประเทศที่มีผู้นำที่ชูนโยบายประชานิยมหรือผู้นำเผด็จการนั้น ระบอบประชาธิปไตยมักถดถอย และเกิดรูปแบบความพยายามในการกวาดล้างภาคประชาสังคม จำกัดเสรีภาพสื่อ และบ่อนทำลายความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ
       
       “แทนที่จะจัดการกับระบบทุนนิยมแบบพวกพ้อง ผู้นำเหล่านี้มักสร้างระบบคอร์รัปชั่นในรูปแบบที่เลวร้ายกว่าเดิม” อูกาซเสริม
       
       ในรายงานดัชนีฉบับล่าสุดนี้ ทีไอยกตัวอย่างฮังการีและตุรกีที่มีผู้นำเผด็จการ และอันดับในตารางภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นรูดลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในทางกลับกัน อาร์เจนตินาที่ขับไล่รัฐบาลประชานิยมพ้นจากอำนาจ มีอันดับในตารางดีขึ้น
       
       เปรียบเทียบกันแล้ว สถานการณ์การทุจริตในอเมริกาจึงน่าเป็นห่วงมากขึ้นเช่นเดียวกัน หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ชูนโยบายต่อต้าน “ชนชั้นสูง” ในวงการการเมืองและโวจะปราบปรามทุจริตในกรุงวอชิงตัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว
       
       ฟินน์ ไฮน์ริช ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของทีไอ กล่าวว่า เขาไม่หวังว่า มหาเศรษฐีนิวยอร์กผู้นี้จะทำตามสัญญาที่ให้ไว้ โดยมองเห็นได้จากการที่เขาเพิกเฉยต่อแนวโน้มที่ตัวเขาเองจะเกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน, การมุ่งโจมตีสื่อ, และการปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลการเสียภาษีเงินได้และการขอคืนเงินภาษีของตัวเอง
       
       “กลิ่นเริ่มทะแม่งตั้งแต่ตอนที่เขาแต่งตั้งลูกเขยเป็นที่ปรึกษาอาวุโส มิหนำซ้ำคณะรัฐมนตรีของเขายังเต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน” ไฮน์ริชสำทับ
       
       ทั้งนี้ ในดัชนีล่าสุดของทีไอนี้ อันดับของอเมริกาหล่นไปสองขั้น มาอยู่ที่ 18 จากจำนวนประเทศและดินแดนที่ได้รับการจัดอันดับในปีนี้ทั้งสิ้น 176 ราย โดยมีคะแนน 74 จากคะแนนเต็ม 100 ลดลงจากที่ได้ 76 คะแนนในปี 2015 

'องค์การต้านทุจริตโลก'ชี้ให้ระวัง ผู้นำแนวประชานิยมแบบ'ทรัมป์'
องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (ทีไอ) เตือนระหว่างการเปิดเผยรายงานดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี 2016 เมื่อวันอังคาร (24 ม.ค.) ว่า ลัทธิประชานิยมเป็นการจ่ายยาผิด ดังจะเห็นได้ว่า ในประเทศที่มีผู้นำที่ชูนโยบายประชานิยมหรือผู้นำเผด็จการนั้น ระบอบประชาธิปไตยมักถดถอย โดยยกตัวอย่างคณะบริหารชุดใหม่ของทรัมป์ที่เริ่มส่งกลิ่นทะแม่งๆ นับแต่ที่ประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ แต่งตั้งลูกเขยตัวเองเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
        องค์การที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเบอร์ลินแห่งนี้ระบุในคำแถลงว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องทำการปฏิรูป “แบบหยั่งรากลึก” เพื่อจัดการกับความเหลื่อมล้ำในสังคมและการทุจริตที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นรากฐานสำคัญซึ่งส่งเสริมนักการเมืองประชานิยมให้ขึ้นสู่อำนาจ
       
       สำหรับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี 2016 นี้ ของทีไอ มีการให้คะแนนตั้งแต่ 0-100 คะแนน โดย 0 หมายถึงปัญหาคอร์รัปชั่นระบาดรุนแรงมากที่สุด และ 100 คือปลอดจากการคอร์รัปชั่น
       
       ขณะที่การให้คะแนนพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ อาทิ เจ้าหน้าที่รัฐต้องรับผิดชอบหรือรอดจากการถูกลงโทษจากการทุจริต การแพร่ระบาดของการติดสินบน และการตอบสนองความต้องการของประชาชนของสถาบันรัฐ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากผลสำรวจของธนาคารโลก, ธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกา, อิโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ
       
       ปรากฏว่าในปีนี้ นิวซีแลนด์และเดนมาร์กครองอันดับ 1 ร่วมกันด้วยคะแนน 90 คะแนน ตามด้วยฟินแลนด์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์
       
       ในทางกลับกัน โซมาเลีย ประเทศที่อยู่ท่ามกลางสงคราม รั้งท้ายในตารางต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ตามด้วยซูดานใต้ เกาหลีเหนือ และซีเรีย
       
       ประเทศที่ตกอันดับแรงที่สุดคือกาตาร์ ที่ทำคะแนนน้อยกว่าปีก่อนหน้าถึง 10 คะแนน และหล่นไปอยู่อันดับที่ 31 จาก 22 ในปี 2015 โดยกาตาร์ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเกี่ยวข้องกับแรงงานก่อสร้างที่เป็นผู้อพยพ นับจากที่ประเทศแห่งนี้ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกประจำปี 2022
       
       ขณะเดียวกัน อัฟกานิสถานมีการปรับปรุงชัดเจนที่สุด โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 4 คะแนน แม้ตำแหน่งยังห้อยท้ายที่อันดับ 169 ก็ตาม
       
       สำหรับประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 101 ด้วยคะแนน 35 คะแนน ลดลงจากปี 2015 สามคะแนน
       
       เวลาเดียวกัน เกือบ 70% จากทั้งหมด 176 ประเทศได้คะแนนต่ำกว่า 50 บ่งชี้ความจำเป็นในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
       
       รายงานแนะนำว่า เพื่อทลายวงจรอุบาทว์ระหว่างการคอร์รัปชั่นกับการกระจายอำนาจและความมั่งคั่งในสังคมอย่างไม่เป็นธรรม รัฐบาลควรสกัดช่องทางในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างผู้นำธุรกิจกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล รวมทั้งยังต้องมีการควบคุมธนาคารและธุรกิจอื่นๆ ที่ให้การช่วยเหลือในการฟอกเงินอย่างเคร่งครัดขึ้น และห้ามไม่ให้บริษัทลับที่ปิดบังตัวตนของเจ้าของกิจการตัวจริง

สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ดัชนีคอร์รัปชันไทยปี 59 ร่วงลงมา อยู่อันดับ 101 รั้งที่ 4 อาเซียน เทียบเท่า ฟิลิปปินส์

view