สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

6ข้อผิดพลาดชวนเสียลูกน้องเก่ง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ธุรกิจจะแกร่งได้ตราบเท่าที่ยังมีพนักงานเก่ง ๆนั่นหมายความว่าคุณจะต้องหลีกเลี่ยงความผิดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป

สำนักงานก่อให้เกิดสังคมเล็ก ๆ ที่สมาชิกมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน เนื่องจากเราใช้เวลาในที่ทำงานหลายชั่วโมง บรรยากาศและความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงานจึงสำคัญยิ่ง

เรารู้กันมาดีว่า พนักงานที่มีความสุขและสมดุลจะสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม ไม่มีความสัมพันธ์ใดสำคัญยิ่งกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าหรือบริษัทในภาพรวม นายจ้างล้วนมีอิทธิพลมหาศาลต่อแรงจูงใจ อารมณ์ การปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทใหญ่อย่างเฟซบุ๊คและกูเกิลจึงเสนอเงื่อนไขการทำงานที่ดี เหล่านี้คือข้อผิดพลาด 7 ประการที่พบได้บ่อยที่อาจทำให้นายจ้างต้องสูญเสียลูกน้องเก่ง ๆ ไป หากคุณมีข้อบกพร่องเหล่านี้จงอย่าปล่อยให้เกิดขึ้น หรือไม่ก็แก้ไข หรือแก้ปัญหาให้ได้

1. ทำให้พนักงานไม่สบายใจ

พนักงานใช้เวลาอยู่ในสำนักงานหลายชั่วโมง จนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ทุกคนจึงควรรู้สึกสะดวกสบายและผ่อนคลายแต่หลายครั้งที่นายจ้างใช้อำนาจทำลายบรรยากาศ ด้วยการสร้างความเครียดและไม่สบายใจให้ พนักงานต้องระวังตัวแจ จะพูดคุยอะไรกันก็ต้องหนีให้พ้นสายตา จะรับประทานอาหารก็ต้องเร่งรีบ ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในงาน

ข้อเสนอแนะ: หากมีหัวหน้ามีบุคลิกเผด็จการเข้มข้นอยู่ในสำนักงาน ต้องสร้างหลักประกันว่าพวกเขาจะต้องไม่สร้างความตึงเครียดหรือความอึดอัดต่อพนักงานได้

2.เลือกบังคับใช้กฎกับบางคน

การเลือกบังคับใช้กฎระเบียบกับพนักงานอย่างชัดเจนทำให้พนักงานเก่ง ๆ หัวเสียได้ เช่น พนักงานที่ทำงานมา 10 ปี ได้รับสิทธิพิเศษอย่างหนึ่งต่างจากพนักงานที่ทำมา 10 เดือน ทั้ง ๆ ที่กฎต้องบังคับใช้กับพนักงานทุกคนเหมือนกันเช่น คนที่ทำผิดเสมอไม่ถูกตำหนิ แต่อีกคนทำผิดครั้งเดียวถูกตำหนิ เขาหรือเธออาจรู้สึกว่าไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม

ข้อเสนอแนะ: รู้นโยบายบริษัทอย่างถ่องแท้ และมั่นใจว่าถูกนำมาใช้กับพนักงานทุกคน

3. ไม่สนใจความต้องการส่วนตัว

พนักงานก็เป็นคน พวกเขาทำผิด มีหลายเรื่องให้จัดการ เหนื่อยล้า และบางครั้งคุณอาจต้องถอดหมวกนายจ้างสวมหมวกผู้ให้คำปรึกษาแทน นายจ้างที่คาดหวังว่าพนักงานต้องทำงานดีเลิศ และเหมาว่าความสัมพันธ์มีแค่งานกับนายจ้าง ไม่มีทางสร้างแรงบันดาลใจทีมงานได้

ข้อเสนอแนะ: คุยกันให้หลากหลายนอกเหนือจากเรื่องงาน ไม่ลืมว่าเขาคือคน

4. ตัดโอกาสก้าวหน้า

มีไม่กี่คนที่ต้องการทำงานแบบเดิม ๆ ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่มีความก้าวหน้าหรือเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หากพนักงานไม่เห็นอนาคตและไม่มีโอกาสก้าวหน้า เขาหรือเธอย่อมไม่พอใจและเริ่มมองหางานใหม่

ในฐานะธุรกิจ การมีแนวทางความก้าวหน้ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกำหนดกรอบผลการปฏิบัติงานที่ต้องการเพื่อความเติบโตในบริษัท แนวทางนี้ครอบคลุมถึงผลประโยชน์หลายอย่าง ทั้งโบนัส การเลื่อนตำแหน่ง และการยกย่อง

ข้อเสนอแนะ: คุยกับพนักงานเรื่องความก้าวหน้าที่เขาควรได้หรือไม่ได้

5. ไม่เคยมีปฏิกิริยาตอบรับเลย

ในฐานะนายจ้าง ปฏิกิริยาตอบกลับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งที่ให้กับลูกน้องได้ ไม่ว่าจะเป็นคำวิจารณ์ แผนการเดินหน้า หรือชมเชยที่ทำงานดี เพราะช่วยเปิดการสื่อสารระหว่างนายจ้างกับพนักงาน

การไม่สื่อสารกันเลยอาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่มีใครมองเห็นและใส่ใจการทำงานของเขา จึงไม่ส่งผลดี ปฏิกิริยาจากนายจ้างเปิดให้พนักงานทราบว่าเขาทำงานเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงส่วนไหน

ข้อเสนอแนะ: สร้างระบบหรือวิธีสื่อสารตอบกลับในที่ทำงาน

6. ขาดช่องทางร้องทุกข์

ข้อนี้คล้ายกับข้อ 5 นายจ้างต้องมีช่องทางให้พนักงานร้องทุกข์ ถ้ามีแผนกทรัพยากรมนุษย์ก็ง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่มีก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น พนักงานจำเป็นต้องทราบ ได้รับการอธิบายจนเข้าใจช่องทางร้องเรียนอย่างเป็นทางการ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของนายจ้าง ไม่เช่นนั้นแล้วพนักงานอาจใช้จดหมายน้อย หรือช่องทางอื่นที่ไม่ทราบว่าเป็นฝีมือของใคร ซึี่งทำลายสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี

ข้อเสนอแนะ: แม้ไม่มีแผนกทรัพยากรมนุษย์ แต่ต้องมีนโยบายทรัพยากรมนุษย์

source: inc.com


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 6ข้อผิดพลาดชวนเสียลูกน้องเก่ง

view