สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สิ่งท้าทายต่อ Thai Startup ปี 2017 (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ Thai Startup Cafe โดย พงศ์พีระ ชวาลาธวัช www.facebook.com/thaistartupcafe

ตอนที่แล้วเราได้พูดคุยกันถึงที่มาของสิ่งท้าทาย Startup ในปี 2017 ไปถึง 3 ข้อหลัก นั่นก็คือเทรนด์ Fintech และ Internet of Things อย่างที่สองคือเรื่องเงินทุนความท้าทายตลอดกาล และเรื่องที่สามคือบุคลากร  คนที่จะมาช่วยงานเรา ซึ่งสามารถไปหาอ่านตอนที่แล้วได้จากหน้าเพจ Facebook ของผมหรือ prachachat.net ได้เลยครับ (คลิกอ่านที่นี่ )

สำหรับวันนี้เราจะมาว่ากันต่อในอีก 5 ข้อที่เหลือครับ ได้แก่ ข้อสี่-เรื่องของ ค่าโฆษณา คือสิ่งที่ต้องรู้ กล่าวคือ Startup ส่วนใหญ่เมื่อทำสินค้าอะไร

ออกมาแรก ๆ หรือเริ่มต้นนั้นไม่มีใครรู้จัก จึงต้องใช้เวลานานกว่าจะมีคนรู้จัก ดังนั้น หากคุณเป็นคนทำ Startup จะมี 2 ทางเลือก คือ 1.จ่ายเงินปั่นสินค้าให้คนรู้จักเยอะ ๆ เร็ว ๆ 2.จ่ายเงินน้อย เน้นการตลาด ช่องทางเลือกที่ช้ากว่า และอยู่แบบค่อย ๆ โตไป (ซึ่งก็ดูเหมือนจะไม่เป็น Startup เท่าไหร่นัก) 

ทุกวันนี้ Keyword Fee บน Google Adwords นั้น แพงมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึง Facebook เอง Ads View ก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน ขณะที่ Startup เองก็ฉลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ผมจึงอยากแนะนำให้ผู้ทำ Startup ลองมาทำ การตลาดในแบบเลิกเอาเงินมาซื้อวิว แต่อยากให้นึกถึง "กลยุทธ์" ของการทำการตลาดมากกว่า 


รู้จักจับกลุ่มเป้าหมาย (Target) ให้มั่น จากนั้นค่อย ๆ นึกว่าที่จริงแล้วมีแค่ Facebook, YouTube และ Adwords หรือไม่ ที่จะเป็นช่องทางให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ฉะนั้น ขอให้ลองดู Cost Structure กับ Burn Rate ตัวเองดี ๆ ให้คำนวณไปยาว ๆ ว่า จะมีแรงทำถึงเมื่อไหร่ และถ้าถึงจุดนั้นแล้ว จะขึ้นหรือลงอย่างไร 

เผื่อว่าถ้าคำนวณแล้วยังไงก็ไม่รอด ผมแนะนำให้รีบ "ล้มบนฟูก" ก่อนเลยครับ 
Fail Fast แล้วค่อยมาเริ่มกันกับตัวอื่นก็
ยังได้ ไม่มีคำว่าเสียหน้าในโลก Startup อยู่แล้วครับ

ข้อห้า-เพื่อนร่วมทีม (ที่มีเงินหรือวิชา) ก็เป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่ดูถูกไม่ได้เลย เราจะเอาแต่คนที่ถูกใจเพราะรู้จักกัน ไม่ได้ครับ ! โดยเฉพาะที่ภาครัฐให้การสนับสนุนนั้น ทำให้คนที่มีวิชา และคนที่มีเงินมาร่วมทำงานด้วยกัน หายจากตลาดไปมากทีเดียว เพราะฉะนั้น จะพาใครมาร่วมลงเรือลำเดียวกัน ต้องดูดี ๆ เพราะสิ่งนี้ก็เป็นการกำหนดความเป็นความตายของ Startup ของคุณ ตั้งแต่เริ่มจ่ายเงินบาทแรกออกไปเสียด้วยซ้ำ

ข้อหก-ไม่มีการทำ Minimum Viable Product ที่ดีพอ คำว่า MVP คือการทำการทดลอง Concept ตัวสินค้าหรือบริการของเราออกมาเสียก่อน ที่จะมีการลงทุนลงแรง เพราะ Startup คือธุรกิจที่เน้นทำนวัตกรรม มากกว่าการทำซ้ำ 
เราเลยต้องทดลองทุกครั้งเสียก่อน 

แต่เดี๋ยวนี้น้ยคนนักที่จะอดทนมานั่งทดสอบตรงนี้ หลาย ๆ คนเชื่อมั่นในตัวเองสูง แล้วมักจะลงมือทำเลยโดยไม่มีการทดลอง เพราะคิดว่าไม่เป็นไร แค่อยากลอง ผลสุดท้ายก็เลยได้แค่ลองจริง ๆ 

ซื้อประสบการณ์ไปแพงพอสมควร และก็ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายของ Startup จนถึงทุกวันนี้

ข้อเจ็ด-ทำ Minimum Viable Product ดีเกินไป อันนี้ก็เป็นอีกสิ่งท้าทาย ที่ทำให้ผมแปลกใจมาก เรียกว่าผมโดนสอนมวยก็ว่าได้ จากนักธุรกิจจีนคนหนึ่งที่อยู่ใน Startup ในเอเชีย ซึ่งทำเกี่ยวกับ Software ผมแปลกใจมาก ว่าเขามีเวลาทำ MVP ที่สั้นมาก ๆ เรียกว่าแทบจะไม่เกิน 1 วันก็เสร็จ 

เหตุผลของเขาคือในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่เขาทำอยู่นั้น ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าเทรนด์หุ่นยนต์ ยังไงก็มาแน่ ไม่จำเป็นต้อง MVP มาก เพียงแต่ว่าต้องทดสอบ Concept ของหุ่นยนต์ที่กำลังจะสร้างมากกว่า ว่าตลาดตอบสนองหรือไม่ 

อีกปัจจัยคือบางอุตสาหกรรมนั้นจะมี Time to Market ที่ซีเรียสมาก เรียกว่า ของดีอาจจะสู้ของลงตลาดเร็วกว่าไม่ได้ด้วยซ้ำไป ดังนั้น MVP เลยกลายเป็นพระรองไป

ข้อแปด-เรื่องของ "ข่าวลือ" ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือเรื่องการล้มของเทรนด์การทำ Startup ฟองสบู่จะแตก รัฐบาลจะ
ไม่อยู่ กองทุนกำลังจะหนี และอีกมากมายที่จะมาทำให้เรารู้สึกสั่นไหวไปกับข่าวลือต่าง ๆ สำหรับเรื่องนี้ 

ผมได้แต่แนะนำว่าขอให้ทุกคนเสพข่าวอย่างมีสติและเช็กข่าวดี ๆ ให้รอบคอบ ก่อนที่จะตกใจหรือคิดทำอะไรออกไป เพราะวงการ Startup เรานั้น ข่าวลือและเสียงรอบข้างมันมากจริง ๆ ยังไงก็จงอย่าหวั่นไหวครับ 

ถ้ามั่นใจว่า Startup เราดีแล้ว ก็จงมุ่งมั่นทำต่อไปเลย

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สิ่งท้าทาย Thai Startup ปี 2017

view