สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จ่อรีดภาษีออนไลน์ คลัง เตรียมรอชง ครม. คาดขายของผ่านเน็ตเจอแน่

จากประชาชาติธุรกิจ

จ่อรีดภาษีออนไลน์ “คลัง” เตรียมรอชง ครม. คาดขายของผ่านเน็ตเจอแน่

        “คลัง” จ่อรีดภาษีออนไลน์ เตรียมรอชง ครม. คาดขายของผ่านเน็ตเจอแน่ ยืนยันการจัดเก็บจะเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความเป็นธรรมอย่างแน่นอน
       
       นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์) เกี่ยวกับร่างกฎหมาย เรียกเก็บภาษีจากการทำธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ ซึ่งขั้นตอนหลังจากการรับฟังความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว จะสรุปรายละเอียดเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยยอมรับว่า ร่างกฎหมายมีความล่าช้ากว่าแผนเดิมที่จะเสนอ ครม.ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2560
       
       “โดยหลักการของกฎหมาย ตามมาตรา 47 คือ เราต้องเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน สาธารณชนก่อน ซึ่งกรมอยู่ระหว่างดำเนินการ และคาดว่าจะสามารถเปิดรับความเห็นทางเว็บไซต์ของกรมสรรพกรได้ในเร็ว ๆ นี้ โดยจะเปิดเป็นเวลา 15 วัน ก่อนที่จะรวบรวมความเห็น และเสนอให้ ครม. พิจารณา โดยยืนยันการจัดเก็บจะเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความเป็นธรรมอย่างแน่นอน” นายประสงค์ กล่าว
       
       สำหรับแนวทางในการจัดเก็บเบื้องต้น จะจัดเก็บจากธุรกรรมการซื้อขายสินค้า และการโอนเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงการดำเนินธุรกิจบนนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ อย่างระบบการทำธุรกิจผ่าน e-Payment และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ก็เข้าข่ายต้องชำระภาษี ซึ่งกฎหมายจะให้อำนาจสถาบันการเงินเป็นผู้จัดเก็บภาษี หัก ณ ที่จ่าย แทนกรมสรรพากร โดยเมื่อใดที่มีการโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้า หรือบริการ ทางสถาบันการเงินในไทยมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 5% เพื่อนำไปชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากร
       
       ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการจัดเก็บภาษีได้พอสมควร เพราะมูลค่าการทำธุรกรรมบนธุรกิจออนไลน์สูงหลักล้านล้านบาท
       
       “ที่ผ่านมา ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ เพราะร้านค้าที่ตั้งขึ้นนั้น ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างถูกต้อง เป็นการโอนเงินไปยังบุคคลถึงบุคคลเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่ข้อมูลพบว่า กลุ่มออนไลน์ เติบโตเร็วมาก ทำให้ต้องหาช่องทางปิดรูรั่วการจัดเก็บ” นายประสงค์ กล่าว
       
       ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีอี-คอมเมิร์ซ เช่น 1. เว็บไซต์แสดงรูปและราคาสินค้า Catalog Website 2. เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า e-Shopping 3. การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง Community Web 4. เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้า e-Auction (electronic auction) 5. เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ e-Market Place หรือ Shopping Mall 6. เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอล Stock Photo 7. การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเกิล Google AdSense 8. การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิล ติดลำดับแรก ๆ หรือ Search Engine Optimization-SEO 9. เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้า และบริการ Affiliate Marketing 10. การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ Game Online เป็นต้น
       
       “เมื่อเป็นผู้มีรายได้ก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแสดงรายการภาษี เพื่อเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” นายประสงค์ กล่าว
       
       มีรายงานแจ้งว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังเรื่องกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ OTT (Over The Top) พร้อมระบุว่า ยูทูป-เฟซบุ๊ก เข้าข่ายการให้บริการ OTT พร้อมส่งสัญญาณว่า อาจต้องมาการเรียกเก็บภาษี เนื่องจากมีรายได้ 


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จ่อรีดภาษีออนไลน์ คลัง เตรียมรอชง ครม.  ขายของผ่านเน็ต เจอแน่

view