สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล



ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

อยู่สบายมาตั้งนาน งานเข้าซะแล้ว


ประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่าน มีลูกค้าหลายรายเรียกไปพบเพื่อคุยเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีข่าวว่าจะบังคับใช้ 1 มค 62 พาลลามไปถึง การจัดการธุรกิจครอบครัวและธรรมนูญครอบครัวเพราะมีบริษัทหลายบริษัทจัดสัมมนา บางธนาคารก็เชิญผู้ประกอบการไปรวมสัมมนาเรื่องธุรกิจครอบครัว เหมือนกับสองเรื่องเป็นเรื่องเดียวกันเลยว่าจะคุยเรื่องภาษีทีดินและสิ่งปลูกสร้างหน่อย

เพื่อความเข้าใจ อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2560 ตอนนี้ จะเป็นดังนี้
ที่ดินเกษตรกรรม เพดาน 0.2% ยกเว้นที่ดินราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท
ที่ดินพักอาศัย เพดาน 0.5% ยกเว้นบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 20 ล้านบาท
ที่ดนเพื่อการพาณิชย์ เพดาน 2.0% ราคาไม่เกิน 20 ล้าน เก็บ 0.3%
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพดาน 5% ปีที่ 1-3 เก็บ 2%
(รายละเอียดเดียวค่อยทำเพราะยังไม่แน่นอน)

-----------------------------------------------------------------------------

สองวันก่อนอ่านหนังสือพิมพ์มีข่าวว่าจะเลื่อนการพิจารณาของสนช จากสิ้นสุด กย 60 ไปอีก 60 วัน โดยมีประเด็นที่ขอแปรญัตติและความเห็นของกรรมธิการคือ

  1. ลดมูลค่าการยกเว้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อการเกษตรลง
  2. มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับที่พักอาศัยที่ได้รับมรดก
  3. มีมาตรการบรรเทาภาษีทีดินในกิจการที่ผลประกอบการขาดทุน
  4. กำหนดนิยามสิ่งปลูกสร้างให้ชัดเจนเพื่อลดการใช้ดุลพินิจ
  5. เสนอควรเก็บภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยหรือใช้เพื่อการพาณิชย์ในอัตราเท่ากัน
  6. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
  7. ขยายเวลาการขอคืนภาษีเป็น 3 ปี
  8. ให้นำค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
  9. พิจารณาการเก็บภาษีทีดินเพื่อการพาณิชย์จะมีการยกเว้นหรือบรรเทาภาษีด้วย เช่นนิคมอุตสาหกรรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล สนามกีฬา และที่ดินเพื่อสิ่งแวดล้อม
  10. พิจารณาประเด็นเรื่องที่ดินพาณิชย์กับที่ดินควรมีอัตราเดียวกันเพราะมีผู้ประกอบการใช้บ้านอยู่อาศัยเป็นสำนักงานหรือร้านค้า

มันมีประเด็นที่น่าสนใจคือ


1.ลดมูลค่าการยกเว้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อการเกษตรลง ประเด็นเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่มูลค่าอย่างเดียว แต่มีเรื่องของขนาดที่ดิน และเวลาในการถือครองด้วย ดูเหมือนว่าจะพยายามให้พิจารณาเฉพาะเรื่องมูลค่าอย่างเดียว ซึ่งหากพิจารณาอย่างนั้นประชาชนที่อยู่อาศัยในย่านเศรษฐกิจมานามย่อมเสียประโยชน์เพราะบ้านพักอาศัยหากมีบ้านอยู่ย่านสีลม สาธรหรือสุขุมวิทช่วงต้นๆ จำนวนมูลค่า 20 ล้านบาท ประชาชนเหล่านั้นอาจมีสิทธิที่ได้รับยกเว้นสำหรับคนที่มีที่อยู่อาศัยไม่ถึง 20 ตรว ลองไปดูแถว สาธร เซ็นต์หลุยส์ ดูครับ บางบ้านอาศัยมาหลายสิบปีตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า บางคนทำงานกินเงินเดือนไม่เท่าไหร่ คนพวกนี้จะเอาเงินที่ไหนมาเสียภาษีถ้าดูเฉพาะมูลค่าอย่างเดียว ไม่ดูเวลาถือครอง หรือไม่ดูพื้นที่ในการอยู่อาศัย หรือนี้เป็นวิธีการบีบให้ขายที่ดิน ดูได้จากระยะหลังๆมีแคมเปนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้นำเสนอที่ดิน ถึงเวลานั้นราคาซื้อขายจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่ขายก็เสียภาษี ถ้าขายก็ถูกกดราคา จะร่วมทุนก็ไม่ได้เพราะที่นิดเดียวอำนาจต่อรองไม่มี อย่างลืมนะครับราคาประเมินเป็นที่รู้กันว่าต่ำกว่าราคาตลาด อาจจะถึง 4 เท่า


ยาวไปละแค่นี้ก่อนละกัน

 


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน


Tags : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

view