http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

2.มาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับที่พักอาศัยที่ได้รับมรดก มีมาตรการลดภาษีให้ 50 % ถามว่าพอไหมสำหรับคนกินเงินเดือนที่ได้รับมรดกที่ไม่ได้เป็นเงินสด การลดภาษีที่ดินมรดกคงไม่จำเป็น ถ้าพิจารณาจากระยะเวลาการอยู่อาศัย บางคนอยู่กับบ้านพ่อแม่มาทั้งชีวิต อยู่ๆพ่อแม่ เสียแทนที่จะได้อาศัยต่อ เป็นอันว่าต้องขายเอาเงินมาจ่ายภาษี

3.มาตรการบรรเทาภาษีทีดินในกิจการที่ผลประกอบการขาดทุน ถามว่าจำเป็นไหม ใครๆก็ไม่อยากเสียภาษี ถ้าถามก็ต้องได้รับคำตอบว่าจำเป็นทั้งนั้น ลองดูขอเสนอข้อ 8 ,9 ดูซิครับถ้าคุณประกอบกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แล้วกิจการคุณอยู่ในช่วงการพัฒนาแล้วคุณยังขายได้ไม่หมดโครงการ คุณขอไม่เสียภาษี แต่เวลาคุณกำไรคุณขอเอาภาษีมาหักเป็นค่าใช้จ่าย ต้องถามว่าความเป็นธรรมในการเสียภาษีอยู่ที่ไหน ถ้าเปิดช่องว่างนี้ไว้ ต่อไปคุณคงเห็นบริษัทขาดทุนเป็นแถว ที่นี้นอกจากเก็บภาษีที่ดินไม่ได้แล้วยังเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้อีกต่างหาก

4.นิยามสิ่งปลูกสร้างให้ชัดเจนเพื่อลดการใช้ดุลพินิจ /กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กำหนดชัดเจนนะดีครับ แต่ควรจะฟังคนเยอะๆ เพราะนิยามสองประเด็นนี้จะเป็นช่องโหว่ในการหลบภาษีทีดินและสิ่งปลูกสร้างและการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ แต่สงสัยว่ากฎหมายฉบับนี้กำหนดบทลงโทษผู้เสียภาษีที่พยายามหลีกเลี่ยง ทำไมไม่กำหนดบทลงโทษของผู้มีหน้าที่ปฎิบัติแต่ใช้อำนาจหน้าที่ไปในการมิชอบให้มันชัดๆไปเลย ถ้าคิดว่ากฎหมายมีช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจไปในทางมิชอบได้ การกำหนดบทลงโทษไปเลยก็เป็นการสมควรเพราะถือว่าเป็นการปรามแต่ต้น ทำไมต้องให้ไปฟ้องคดีตามกฎหมายอาญา หรือ พรบ ศาลปกครอง

5.เสนอควรเก็บภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยหรือใช้เพื่อการพาณิชย์ในอัตราเท่ากัน นี่ผมก็ไม่เข้าใจ ในการภาษีอากร ถ้าเราอาศัยในที่ที่เป็นสำนักงานด้วย เราจะต้องถือเป็นประโยชน์อื่นที่ได้จากบริษัท เพราะเราอาศัยน้ำไฟ ที่อยู่อาศัย ในกรณีที่ผู้ประกอบการใช้บ้านเป็นบริษัท ก็มีข้อพิจารณาของมัน ถ้าเป็นบริษัทให้อยู่ กิจการก็เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากยอดรวมเพราะคุณเป็นเจ้าของที่ดินและอาคาร เจ้าของกิจการเป็นผู้อาศัย แต่ถ้าเจ้าของกิจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ให้บริษัทเช่าดำเนินการ เจ้าของก็มีเงินได้จากการให้เช่าก็เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามส่วนที่ให้เช่าตามสัญญา ส่วนอื่นก็เป็นที่อยู่อาศัยตามปกติ สามารถแยกได้ตามสัญญาอยู่แล้ว มันไม่ได้มีอะไรซับซ้อนจนต้องมาเปลี่ยนอัตราภาษีเพื่อการอยู่อาศัยกับการพาณิชย์ให้เป็นอัตราเดียวกัน เพราะถ้าจะให้อัตราเดียวกัน ไม่มีใครที่จะคิดภาษีที่อยู่อาศัยเท่ากับเพื่อการพาณิชย์ นั้นเท่ากับอัตราภาษีของที่ดินเพื่อการพาณิชย์ลดลงจาก 2% เหลือ 0.5% นี้คือความพยายามจะใช้ข้ออ้างของ SME มาลดภาษีบริษัทใหญ่

6.ข้อ 9 10 น่าจะเป็นประเด็นที่เอกชนยื่นขอให้ปรับเนื่องจาก หลังจากที่มีการแถลง 2 วันก็มีการยื่นให้มีการทบทวนโดยสมาชิก สนช และสภาหอการค้าให้มีการยกเว้นภาษีโดยการใข้มูลค่ารวมของทรัพย์สินทั้งหมด ในเขตการปกครองท้องถิ่นเดียวกัน เช่น ทรัพย์สินที่ใช้ที่อยู่อาศัยมูลค่ารวมกันในเขตเทศบาลเดียวกันไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษีและรัฐบาลควรลดภาษีให้กับทรัพย์สินจากการรับมรดก ทรัพย์สินประเภทสถานพยาบาล สถานศึกษาเอกชน สวนสัตว์ หรือแหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรมในระหว่างการพัฒนา รวมถึงขอยกเว้นภาษีที่ดินสำหรับทรัพย์ส่วนกลางของคอนโดมิเนียม (แล้วจะมีขอยกเว้นสำหรับห้องในคอนโดที่ยังขายไม่ได้ด้วยไหมเนี่ย)

กรณีนี้เห็นได้ชัดว่ามีการยัดใส้อ้างรวมๆ จะให้ยกเว้นการดำเนินธุรกิจ สถานพยาบาล สถานศึกษาเอกชน สวนสัตว์ หรือแหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรมในระหว่างการพัฒนา พวกนี้เป็นงานบริการทุกวันนี้เราเห็นได้ชัดเจนว่ากิจการพวกนี้มีกำไรทั้งนั้น หลายกิจการในยามที่ธุรกิจนั้นๆ ซบเซารัฐต้องเข้าไปอุ้ม นี้เท่ากับว่าตอนเวลาดีๆไม่ยอมจ่าย เวลาร้ายจะให้อุ้ม ผมว่ามันเอาเปรียบกับธุรกิจอื่น โดยเฉพาะคนที่กินเงินเดือนมากไป เพราะธุรกิจคุณรุ่งเรืองได้ด้วยคน

แล้วทำไม ?

 ทำไมต้องขอลด ขอลด แล้วก็ขอลด แบบได้คืบเอาศอก แล้วคนที่พิจารณาก็ลดให้ บางทีคนพิจารณาพามาขอเสียเอง โดยเฉพาะการขอยกเว้นเสียภาษีเพื่อการพาณิชย์ หรือ เอาอัตราภาษีไปแอบกับอัตราการเสียภาษีของที่อยู่อาศัย

 เพจ Land Watch Thai ได้แฉสาเหตุของการยื้อกฎหมายนี้เพราะบรรดาส.น.ช.ทั้งหลาย มีที่ดินกันไม่น้อยเป็นระดับหมื่นล้าน เพจนี้ไปรวบรวมข้อมูลบัญชีทรัยพ์สินที่ยื่นไว้กับ ปปช ทั้ง 247 คน พบว่าทั้งหมดถือที่ดินรวมกันแล้ว 9,803,618,528 บาท คนที่ครอบครองที่ดินมากที่สุดมีมูลค่า 1,197,900,920 บาท เฉลี่ยมีที่ดินในครอบครองมูลค่า 42,075,616 บาทต่อคน

ด้วยเหตุนี้ สมาชิกสนช.บางคนจึงอาสาพาสภาหอการค้าเข้ามายื่นขอยกเว้นสารพัดกับทางประธาน สนช. โดยเหตุผลก็อ้างว่าเกษตรกรเดือดร้อนบ้าง ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เดือดร้อนบ้าง ก็ว่ากันไป

 ลองมาพิจารณาจากจำนวนที่ดินของเกษตรจำนวน 50 ล้านบาทที่ได้รับยกเว้นภาษีดู ที่ดินทำเกษตรต่างจังหวัด ราคาไม่ได้สูงมาก ไร่ละ 5 แสนบาทก็ถือว่าหรูแล้ว ที่่บอกไร่ละ 5 แสนเพราะผมเคยทำงบวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนทางเกษตรทั่วไปเมื่อตอนเรียนเกษตรศาสตร์ พบว่า ที่ดินราคาเกินกว่า 5 แสนบาทไม่เหมาะกับการลงทุนยกเว้นเป็นที่มรดกตกทอด การทำเกษตรไม่ควรเกิน 10 ไร่ หากเกินกว่านั้นจะต้องมีการลงทุนในเครื่องมือที่เหมาะสมกว่าเดิมและถ้าทำมากกว่า 50 ไร่จะต้องลงทุนในอุปกรณ์การเกษตรที่หนักกว่าเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของพืชผลทางการเกษตรด้วย ถ้ารัฐให้ยกเว้น สำหรับที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท ไร่ละ 5 แสนบาท คิดเป็นที่ดิน 100 ไร่ คำถามคือเกษตรกรที่ทำเกษตรระดับ 100 ไร่ต้องลงทุนเท่าไหร่ เกษตรกรมีปัญญาลงทุนไหม

 จากข้อมูลงานวิจัยเคยมีการอ้างอิงว่าเกษตรกรไทยที่ทำเกษตรอยู่จริงๆมีที่ดินทำกินของตัวเองครอบครัวละไม่เกิน 5 ไร่ เกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องห่วง อย่างไรเสียเกษตรกรที่ทำเกษตรอยู่ตอนนี้ทุกคนไม่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซักบาทอยู่แล้ว

ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่เห็นต้องเป็นห่วง เอางบโฆษณามาแค่ 10 % มาเสียภาษีก็เหลือๆแล้ว

 แล้วจะมา ขอลด ขอยกเว้น ไปเพื่อ?

 อย่าให้เป็นแบบ ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ว่าไว้เมื่อพูดถึงฉบับนี้ ว่า "กฎหมายฉบับเดียว เสียวไปทั้งเมือง" ก็แล้วกัน

ตอนนี้ขอเก็บ List รายชื่อ สมาชิกสนช. ชุดนี้ไว้ และรอดูว่า

1มีใครไปเป็นประธานกรรมการบริษัท หรือกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นของกิจการอสังหาริมทรัพย์หรือไม่

2มีญาติใครไปเป็นประธานกรรมการบริษัท หรือกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นของกิจการอสังหาริมทรัพย์หรือไม่

3มีใครไปเป็นกรรมการอิสระในบริษัทอสังหาริมทรัพย์หรือไม่

4มีใครเข้าสู่วงการอสังหาริมทรัพย์หรือไม่

5บริษัท ที่มี สนช.ที่เป็นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ มีกำไร เสียภาษีอย่างไร

 

ต่อไปจะเป็นเรื่องของ ภาษีทีดินกับธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน แต่จับมาพ่วงกันได้เหมือนขายเหล้าพ่วงเบียร์


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน



Tags : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

view

*

view