สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

ปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ปี 2560 ..... คั่นเวลา

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล



ผมสงสัยว่าการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มปี 60 มันมีอะไรกันหนักหนา

พอดีปลวกขึ้นตู้หนังสือเลยไปรื้อออกมาเห็นหนังสือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มเก่าๆ กอร์ปกับอ่านของใหม่เห็นในมีการพยายามทำให้เป็นดราม่ากัน เลยเขียนคั่นเวลาสักหน่อย
ภาษีมูลค่าเพิ่มประเทศไทยนำมาใช้แทนภาษีการค้าในวิกีพีเดียอธิบายไว้ดี เลยเอาลงบางส่วนเลยแล้วกัน

"ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่
.....
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย"

ภาษีมูลค่าเพิ่มมี 3 อัตรา คือ 10 , 2.5 ,0 ในระยะต้นๆ กิจการที่มีรายได้ปีละ 600,000 - 1,200,000 เสียอัตรา 1.5 แต่ไม่เรียกว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่เกินกว่า 1,200,000 ให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังมาเพิ่มเป็น 1,800,000

ทำไมต้องมีภาษีท้องถิ่น
ด้วยเหตุที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมาแทนภาษีการค้า ซึ่งการจัดเก็บเดิมภาษีการค้ามีการบวกการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเข้าไปด้วย เช่นงานบริการ ภาษีการค้าอัตรา 3 % ก็จัดเก็บ 3.3 % ดังนั้นการเปลี่ยนเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มหากไม่ให้ท้องถิ่น 10 % ก็เหมือนกับไปเอาอ้อยออกจากปากช้างอาจถูกกระทืบตายได้ จึงต้องจัดให้

ทำไมต้อง 6.3
อย่างที่ได้กล่าวไว้ เดิมท้องถิ่นเคยได้ 10% จากที่ได้ไปสัมมนาในยุคนั้นได้มีคำอธิบายประกอบว่า สรรพากรยุคนั้นก็คำนวนให้ตามที่เคยได้ โดยใช้ อัตรา 10/110 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะได้ 0.90909090 ไม่รู้จบ จึงใช้วิธีคำนวณถอย เป็น 10 % ของ 10 เป็น 1 ให้เป็นภาษีท้องถิ่น แล้วหักเหลือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9 ซึ่งเป็นเหตุของการใช้ 1 ใน 9

การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอัตราร้อยละ 7
(จากเวปไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/35772.0.html)
ทำไมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ในเมื่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 507) พ.ศ.2553 กำหนดให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3
เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 10.0 เป็นอัตราร้อยละ 6.3 ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 ประกอบกับพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนราชการส่วนท้องถิ่น ในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 6.3 บวกกับภาษีที่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอีกในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ รวมเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้นร้อยละ 7.0

การประกาศลดอัตราลดอัตราภาษีมากี่ครั้ง

ตั้งแต่เริ่มจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หลายครั้ง พอสรุปได้คือ

ครั้งที่1. 01/01/35 -15/08/40 เก็บ 7 %

ครั้งที่2. 16/08/40 - 31/03/42 เก็บ 10 % ยุคพล.อ.ชวลิตเป็นนายกรัฐมนตรีประกาศขึ้น vat ตาม IMF

ครั้งที่3. 01/04/42 - 31/03/44 ยุคคุณชวนเป็นนายกรัฐมนตรี ปรับลดกลับมาเป็น 7 %

ครั้งที่4. 01/04/44 - 30/09/44 เก็บ 7%

ครั้งที่5. 01/10/44 - 30/09/45 เก็บ 7%

ครั้งที่6. 01/10/45 - 30/09/46 เก็บ 7%

ครั้งที่7. 01/10/46 - 30/09/48 เก็บ 7%

ครั้งที่8. 01/10/48 - 30/09/50 เก็บ 7%

ครั้งที่9. 01/10/50 - 30/09/51 เก็บ 7%

ครั้งที่10. 01/10/51 - 30/09/53 เก็บ 7%

ครั้งที่11. 01/10/53 - 30/09/55 เก็บ 7%

ครั้งที่12. 01/10/55 - 30/09/57 เก็บ 7%

ครั้งที่13. 01/10/57 - 30/09/58 เก็บ 7%

ครั้งที่14. 01/10/58 - 30/09/59 เก็บ 7%

ครั้งที่15. 01/10/59 - 30/09/60 เก็บ 7%

ครั้งที่16. 01/10/60 - 30/09/61 เก็บ 7%

ในรัฐบาลชุดนี้เคยมีการเสนอแนวคิดให้ปรับมาเป็น 10 % โดยค่อยทะยอยปรับไปปีละ 1% นักการเมืองสนับสนุนกันใหญ่บอกมีอำนาจให้รีบทำ แต่สุดท้ายรัฐก็ไม่รับข้อเสนอ เพราะการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีผลกระทบต่อค่าครองชีพและภาวะเงินเฟ้อในประเทศ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้รัฐบาลไหนกล้าขึ้น vat ก็บ้าเต็มที่แล้ว

มีข้อสังเกตุช่วงหลังก็มีการประกาศปรับลดกันทุกปี ปีต่อปี แล้วสื่อก็ดราม่ากันทุกปี ........แม่งไม่เคยจำ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน


Tags : ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี คั่นเวลา

view